ขายประกันชีวิต ตัวแทนประกันชีวิต เมืองไทยประกันชีวิต ที่ปรึกษาประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันบำนาญ ที่ปรึกษาวางแผนสุขภาพและการเงิน
รศ.ดร. จิรพล จิยะจันทน์ ผู้วิจัยจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยการศึกษาซึ่งเน้นถึงบทบาทของข้อมูลหรือการส่งสัญญาณที่บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือจะประกาศออกมา (credit watch placement) ก่อนมีการปรับเปลี่ยนอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ของบริษัทจดทะเบียน โดยพบว่าข้อมูลหรือสัญญาณดังกล่าวมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญกับราคาหุ้นของบริษัท โดยเฉพาะต่อราคาหุ้นของบริษัทที่มีข้อมูลสัญญาณแจ้งเตือนก่อนปรับเปลี่ยนการจัดอันดับจริงจะมีนัยสำคัญกว่าบริษัทที่ไม่มีการส่งสัญญาณดังกล่าว และการมีข้อมูลสัญญาณแจ้งเตือนจะช่วยลดความผันผวนของราคาหุ้นได้ นอกจากนี้ ข้อมูลที่เป็นสัญญาณดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กับนักลงทุนในการตัดสินใจลงทุนได้
หมายเหตุ: การเผยแพร่งานวิจัยเป็นการดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือระหว่าง ก.ล.ต. กับสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ 4 แห่ง ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย แลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างภาควิชาการกับผู้บริหารในตลาดทุน และนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตลาดทุน
ก.ล.ต. ขอให้คณะกรรมการ บมจ. อาดามัส อินคอร์ปอเรชั่น (ADAM) ชี้แจงการทำรายการซื้อหุ้นกีธาเป็นรายบุคคล
วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม 2557 | ฉบับที่ 144 / 2557
สืบเนื่องจากบริษัท อาดามัส อินคอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) (“ADAM”) ได้แจ้งมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2557 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2557 ซึ่งผู้ถือหุ้นได้เสนอเพิ่มวาระซื้อหุ้นสามัญของบริษัท กีธา พร๊อพเพอร์ตี้ส์ จํากัด (“กีธา”) ในมูลค่าทั้งสิ้นไม่เกิน 800,000,000 บาท โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณา
และได้รับการอนุมัติ
การซื้อหุ้นกีธาดังกล่าวเข้าข่ายรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ที่มีนัยสำคัญและเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน ซึ่งการใช้มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ได้จากการเพิ่มวาระในที่ประชุมไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ออกตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535? ดังนั้น แม้รายการดังกล่าวจะได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว คณะกรรมการบริษัทที่จะนำมติมาดำเนินการยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายด้วย? ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่มีนัยสำคัญต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นของคณะกรรมการบริษัท มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับรายการดังกล่าวในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น โดยมีความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระประกอบด้วย เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับทราบข้อมูลที่ครบถ้วนและมีโอกาสพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจอนุมัติรายการ?
ก.ล.ต. จึงได้มีหนังสือให้คณะกรรมการบริษัทชี้แจงเกี่ยวกับการซื้อหุ้นกีธาตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งบทบาทการดำเนินการของกรรมการในการประชุมผู้ถือหุ้นในวาระดังกล่าว โดยขอความเห็นและข้อมูลของกรรมการเป็นรายบุคคล เพื่อนำมาใช้พิจารณาการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการแต่ละรายตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ต่อไป
รายการนี้ ก.ล.ต. ได้ประสานงานกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมาโดยตลอดเพื่อสนับสนุนการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จำเป็นต้องบังคับใช้กฎเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนโดยอ้อม (Backdoor Listing) ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์อย่างจริงจัง เพื่อคุ้มครองผู้ถือหุ้นและรักษาความเป็นระเบียบโดยรวมของตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป
ก.ล.ต. สั่งเพิกถอนผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ 2 ราย
วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม 2557 | ฉบับที่ 145 / 2557
ก.ล.ต. สั่งเพิกถอนการเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์รายนางสาวธันย์จิรา พลวัฒน์ธนากุล ขณะกระทำผิดชื่อนางสาวณัฐรียา กุลภควา สังกัดบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด (บลจ. ทิสโก้) และนายสุรศักดิ์ ศักดิ์ฤทธิรณ ไม่ได้สังกัดบริษัทหลักทรัพย์ใด เป็นเวลา 10 ปี
ก.ล.ต. ได้รับรายงานของ บลจ.ทิสโก้ กรณีผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์รายนางสาวธันย์จิรา และตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า นางสาวธันย์จิราได้จัดทำคำสั่งซื้อขาย สับเปลี่ยน โอน หน่วยลงทุนกองทุนรวม และเอกสารขอเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของลูกค้า และลงลายมือชื่อของลูกค้าจำนวน 2 ราย โดยรายแรกนางสาวธันย์จิราลงลายมือชื่อของลูกค้า เพื่อเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในการติดต่อและจัดส่งเอกสารของลูกค้าเป็นที่อยู่ของนางสาวธันย์จิรา ทำคำสั่งลดทุนกองทุนส่วนบุคคลของลูกค้า แล้วนำเช็คไปซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมให้ลูกค้ารายที่สองและนายสุรศักดิ์ นอกจากนี้ นางสาวธันย์จิรายังได้ทำคำสั่งขายหน่วยลงทุนกองทุนรวมของลูกค้า ซึ่งเมื่อได้รับเช็คเพื่อชำระเงินจากการลดทุนแล้วกลับนำเช็คดังกล่าว ไปเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ตนเองลงลายมือชื่อของลูกค้าในใบคำขอเปิดบัญชีเงินฝากบัญชีธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) แล้วซื้อแคชเชียร์เช็คโดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดังกล่าว ไปซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมให้นายสุรศักดิ์ รวมทั้งรับบัตรกำนัลของลูกค้าที่ บลจ. ทิสโก้ ส่งไปตามที่อยู่ที่นางสาวธันย์จิราแจ้งเปลี่ยนแปลง
สำหรับลูกค้ารายที่สองนางสาวธันย์จิราลงลายมือชื่อของลูกค้า เพื่อส่งคำสั่งสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนกองทุนรวมคำสั่งซื้อหน่วยลงทุน และเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารของลูกค้าเป็นที่อยู่ของตนเอง เพื่อปกปิดความผิดที่สับเปลี่ยนและซื้อหน่วยลงทุนในปริมาณสูงโดยลูกค้าไม่ได้สั่ง
กรณีนายสุรศักดิ์ ก.ล.ต.ได้รับรายงานว่า ขายประกันชีวิต นายสุรศักดิ์เป็นผู้ลงลายมือชื่อในใบคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนที่นางสาวธันย์จิรานำเงินจากบัญชีกองทุนส่วนบุคคลและกองทุนรวมของลูกค้าไปซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมให้นายสุรศักดิ์ ซึ่งเมื่อตรวจสอบลายมือพบว่าตรงกับลายมือชื่อของนายสุรศักดิ์ในใบคำขอเปิดบัญชีและหนังสือชี้แจงของนายสุรศักดิ์ นอกจากนี้ นายสุรศักดิ์มีที่อยู่เดียวกันกับนางสาวธันย์จิราและได้ร่วมกับนางสาวธันย์จิราชำระหนี้ให้แก่ บลจ. ทิสโก้ จึงพิจารณาว่า นายสุรศักดิ์มีส่วนร่วมในการกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตของนางสาวธันย์จิรา
การกระทำดังกล่าวข้างต้นเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 23(1) และ (2) แห่งประกาศที่ ทลธ. 8/2557 ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ทั้งนี้ การไม่ปฏิบัติตามข้อ 23(1) และ (2) รวมทั้ง การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ซื่อสัตย์สุจริตเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 31(1) แห่งประกาศ ที่ ทลธ. 8/2557 ก.ล.ต. จึงสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ของนางสาวธันย์จิราและนายสุรศักดิ์ และกำหนดระยะเวลาในการรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเป็นเวลา 10 ปี โดยนางสาวธันย์จิราคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2557 และนายสุรศักดิ์คำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2557
ก.ล.ต. สั่งพักผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
วันพุธที่ 8 ตุลาคม 2557 | ฉบับที่ 146 / 2557
ก.ล.ต. สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย {ก} สังกัด ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (ธ. ไทยพาณิชย์) เป็นเวลา 3 เดือน เนื่องจากลงนามในใบคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนโดยไม่ได้ติดต่อหรือให้คำแนะนำกับลูกค้า ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
ก.ล.ต. ได้รับรายงานของ ธ.ไทยพาณิชย์กรณีลูกค้าร้องเรียนผู้แนะนำการลงทุนราย {ก} พร้อมทั้งตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า {ก} ลงนามในใบคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน โดยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุน จากการที่ลูกค้าสั่งขายคืนกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 ที่ลงทุนครบ 5 ปี แต่เจ้าหน้าที่ของ ธ. ไทยพาณิชย์ ซึ่งไม่ใช่ผู้แนะนำการลงทุน ทำรายการขายคืนหน่วยลงทุนที่ลงทุนยังไม่ครบ 5 ปี ทำให้ผิดเงื่อนไขและถูกกรมสรรพากรเรียกคืนเงินภาษีพร้อมค่าปรับ และจากการตรวจสอบพบว่าขณะที่ลูกค้าติดต่อขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าว {ก} ให้บริการลูกค้ารายอื่นอยู่ แต่หลังจากนั้น {ก} ได้ลงนามเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในใบคำสั่งขายหน่วยลงทุน โดยไม่ได้ติดต่อหรือให้คำแนะนำกับลูกค้า ไม่ได้ตรวจสอบรายการหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากลูกค้าและพนักงานที่ทำรายการ
การลงนามในใบคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนโดยไม่ได้ติดต่อหรือให้คำแนะนำกับลูกค้า เป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามข้อ 23(1) และเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 31(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ก.ล.ต. จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย {ก} เป็นเวลา 3 เดือน แต่เนื่องจากระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ {ก} มีอายุถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบ {ก} ตามอายุการให้ความเห็นชอบที่เหลือถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และกำหนดระยะเวลาในการรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนในคราวต่อไปจากวันที่ 31 ธันวาคม 2557 จนครบกำหนด 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 255
ก.ล.ต. สั่งพักผู้แนะนำการลงทุนฐานรับมอบหมายในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน
วันพุธที่ 8 ตุลาคม 2557 | ฉบับที่ 147 / 2557
ก.ล.ต. สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนรายนายอรรถพล กลับกลั่น สังกัดบริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (บล. กรุงศรี) เนื่องจากรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน
จากรายงานการตรวจสอบของ บล.กรุงศรี และ ก.ล.ต. ตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า นายอรรถพลส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีของลูกค้ารายหนึ่งผ่าน IP Address ของ บล. กรุงศรีในช่วงระยะเวลากว่า 3 เดือน โดยไม่ปรากฏการลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตของลูกค้าที่ห้องค้าของสาขาในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งนายอรรถพลยอมรับต่อ บล. กรุงศรีและ ก.ล.ต. ว่า ลูกค้าได้มอบ username และ password ให้นายอรรถพลส่งคำสั่งซื้อขายแทน เนื่องจากลูกค้าเพิ่งเริ่มลงทุนยังไม่คุ้นเคยกับโปรแกรมการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต
การรับมอบหมายในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน เป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน* ดังนั้น ก.ล.ต. จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนของนายอรรถพลเป็นเวลา 8 เดือน แต่เมื่อคำนึงถึงกรณีที่ บล. กรุงศรี ได้สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ไปแล้วเป็นเวลา 15 วัน จึงเหลือระยะเวลาพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนอีกเป็นเวลา 7 เดือน 15 วัน นับแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2557
*ข้อ 20(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 6(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 23(2) และเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน กลุ่มที่ 3 ตามข้อ 31(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ที่ใช้บังคับแทนประกาศดังกล่าว
เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ
เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)
ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว
คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม 2557 | ฉบับที่ 101 / 2557
ก.ล.ต. เผยผลการประชุมระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง (Mekong Capital Markets Cooperation: MCMC) ครั้งที่ 3 ที่เมืองพัทยา ทุกองค์กรเห็นพ้องถึงประโยชน์ของความร่วมมือด้านตลาดทุนเพื่อพัฒนาเศรษญกิจในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง พร้อมร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการวางรากฐานของตลาดทุนสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยภายหลัง ก.ล.ต. เป็นเจ้าภาพจัดประชุม Mekong Capital Markets Cooperation (MCMC) ครั้งที่ 3 ที่เมืองพัทยาเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนจาก 5 ประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม และไทย? ได้หารือเรื่องการวางรากฐานของตลาดทุนเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน อาทิ การยกระดับมาตรฐานกฎเกณฑ์ให้มีความใกล้เคียงกัน การพัฒนาธุรกิจกองทุนรวม การส่งเสริมความรู้ด้านการเงินของผู้ลงทุน และการยกระดับบรรษัทภิบาลที่ดีผ่านการจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมกรรมการบริษัทจดทะเบียน เพื่อสร้างโอกาสในการระดมทุนและการลงทุนข้ามประเทศ อันจะนำมาซึ่งความเจริญทางเศรษฐกิจของทั่วทั้งภูมิภาคร่วมกัน
นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับสูงจากกัมพูชา ลาว เวียดนาม และไทย? ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาตลาดทุนในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นความร่วมมือภายใต้กรอบ MCMC โดยประเทศเมียนมาร์ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุน จะพิจารณาเข้าร่วมลงนามเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้นี้
?ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศสมาชิกในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงให้ความสำคัญกับการประชุม MCMC ซึ่ง ก.ล.ต. มีส่วนสำคัญในการริเริ่มและผลักดัน โดยการประชุมนี้จะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง และหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนแต่ละประเทศหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งครั้งต่อไปมีกำหนดจะจัดขึ้นที่กัมพูชา โดยมี Securities and Exchange Commission of Cambodia เป็นเจ้าภาพ? นายวรพล กล่าวเสริม
ก.ล.ต. ออกหลักเกณฑ์รองรับให้บริษัทต่างประเทศเสนอขายหุ้นต่อประชาชนได้
วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม 2557 | ฉบับที่ 102 / 2557
ก.ล.ต. เปิดให้บริษัทต่างชาติเสนอขายหุ้นต่อประชาชนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นตลาดแรก (primary listing) หรือเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรกพร้อมกับประเทศอื่น (dual offering) เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุนไทย
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่าคณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การอนุญาตให้บริษัทต่างประเทศเสนอขายหุ้นต่อประชาชน และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นตลาดแรก (primary listing) และบริษัทต่างประเทศเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรกในไทยและประเทศอื่นพร้อมกันหรือในเวลาใกล้เคียงกัน (dual offering) เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ตลาดทุนไทย และเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน อีกทั้งรองรับข้อตกลงของหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในอาเซียน (ASEAN Capital Markets Forum: ACMF) ในการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนของบริษัทในกลุ่มประเทศสมาชิก ACMF อย่างน้อยสองประเทศพร้อมกัน โดยประกาศจะมีผลบังคับใช้ประมาณเดือนสิงหาคม
บริษัทต่างประเทศจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การอนุญาต การเปิดเผยข้อมูล และหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับบริษัทไทย อาทิ การรักษาสิทธิผู้ถือหุ้น ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติม อาทิ
? เป็นการเสนอขายหุ้นที่ถูกกฎหมายและหลักเกณฑ์ของประเทศตน
? กฎหมายและหลักเกณฑ์ที่คุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นเทียบเคียงได้กับกฎหมายไทย
? หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของประเทศที่บริษัทจัดตั้งสามารถให้ความช่วยเหลือ ก.ล.ต. ในการตรวจสอบหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
? มีกรรมการสัญชาติไทยและมีถิ่นที่อยู่ในไทยอย่างน้อย 2 คน โดยอย่างน้อย 1 คนต้องเป็นกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ
? จัดทำงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีไทย หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS)
? ใช้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต.
? ใช้ที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. โดยต้องทำหน้าที่ติดตามและให้คำแนะนำต่อไปอีก 3 ปี
สำหรับกรณีบริษัทต่างประเทศจัดตั้ง holding company ในประเทศไทย โดยมีผู้ถือหุ้นหลักเป็นต่างชาติและมีธุรกิจหลักในต่างประเทศ และจะเสนอขายหุ้นต่อประชาชนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยนั้น holding company ดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมเช่นเดียวกับ primary listing เนื่องจากโดยลักษณะเสมือนบริษัทต่างประเทศมาเสนอขายหุ้นทางอ้อม แต่หากบริษัทต่างประเทศถือหุ้นโดยกลุ่มคนไทยรวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ก็จะถือว่าเป็นบริษัทไทยหรือคนไทยมีอำนาจควบคุม และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับบริษัทไทย
?ก.ล.ต. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นที่น่าสนใจในสายตาของผู้ลงทุนทั่วโลก วิธีการหนึ่งคือการเป็นแหล่งเงินทุนรองรับความต้องการขยายตัวของเศรษฐกิจและธุรกิจต่างประเทศ พร้อมไปกับเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน หลักเกณฑ์รองรับให้บริษัทต่างประเทศออกเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนไทยนี้เป็นมาตรฐานเดียวกับการออกเสนอขายหุ้นของบริษัทไทย โดยมีหลักเกณฑ์เพิ่มเติมที่จำเป็น เพื่อให้มั่นใจ
ได้ว่าผู้ลงทุนจะได้รับการคุ้มครองและรักษาสิทธิอย่างเพียงพอ ทำให้ตลาดทุนไทยสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ? นายวรพล กล่าว
ก.ล.ต. ขยายเวลาให้ VTE นำส่งงบการเงินประจำปี 2556 และงวดไตรมาส 1/2557 ฉบับแก้ไข