ตะกาฟุล เมืองไทยประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี ประกันชีวิตควบคู่การลงทุน ประกันตลอดชีพ ประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษี ลดหย่อนภาษีสูงสุด ประกันบำนาญ
สังเกตให้เป็นป้องกันมะเร็งได้ทัน
ความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของร่ายกายคือร่างกายสามารถส่งสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ก่อนเป็นไข้ คุณจะรู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว ก่อนจะเป็นหวัดคุณมักจะรู้สึกแน่นจมูก หรือเวลาที่คุณพักผ่อนน้อยก็มักจะเวียนหัวปละปวดหัว ซึ่งสัญญาณเตือนเหล่านี้มีข้อดีตรงที่สามารถช่วยให้เราพยากรณ์สุขภาพของเราล่วงหน้าได้ ทำให้เรามีเวลาในการเตรียมตัวและหาทางป้องกันก่อนที่อาการจะหนักขึ้น เห็นได้เลยว่าการหมั่นสังเกตตัวเองทั้งภายนอกและภายในช่วยให้เราสามารถรับรู้ได้ถึงความผิดปกติทางสุขภาพและทำให้เราได้มีเวลาในการเตรียมรับมือหากต้องเผชิญกับการเป็นโรคมะเร็ง
ซึ่งการสังเกตตัวเองนั้นคุณสามารถทำได้ทุกวัน และอาจจะโฟกัสเป็นพิเศษด้วยวิธีการตรวจเช็กดังนี้
สังเกตความเปลี่ยนแปลงไปของระบบภายในของร่างกาย
ระบบขับถ่ายที่เปลี่ยนไป มีอาการท้องผูกสลับท้องเดินเรื้อรัง
มีสารคัดหลั่งออกผิดปกติหรือเลือดออก เช่น ตกขาวผิดปกติ ตกขาวปนเลือด
หายใจลำบาก มีอาการแน่นท้องตลอดเวลา
ไอและเสียงแหบเรื้อรัง
สังเกตความเปลี่ยนแปลงไปของระบบภายนอก
เมื่อเกิดแผลแล้วไม่รู้จักหายเสียที หากมีแผลในปากเรื้อรัง
มีก้อนมีตุ่มตามร่างกาย
กลืนอาหารไม่ลง ติดขัดเวลากลืน
ไฝ หรือ หูด ที่เปลี่ยนไป
นอกเหนือจากนี้เพื่อเป็นการเสริมเกราะป้องกันโรคมะเร็งคุณสามารถที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตต่าง ๆ เพื่อเป็นการลดโอกาสของการเป็นมะเร็งได้ด้วยสูตร “ลด-ละ-เลิก” ดังนี้
1. ลด – การกินที่ทำลายสุขภาพ อย่างอาหารดองเค็ม อาหารปิ้งย่าง อาหารไขมันสูง
พร้อมดูแลระบบขับถ่าย และภูมิคุ้มกันร่างกาย ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นด่านแรกในการรับมือกับโรงมะเร็งด้วยการ รับประทานอาหารทำลายสุขภาพ หลีกเลี่ยงการเผชิญมลภาวะ
2. ละ – ความเครียดที่สะสมเอาไว้ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว เพราะความเครียดเป็นสาเหตุสำคัญและเกิดขึ้นกับทุกคน แนะนำให้ค้นหาความสุขให้ตัวเองเพื่อลดความเครียด
3. เลิก – นอนดึก ตะกาฟุล เพราะการนอนเป็นสิ่งสำคัญมาก เมื่อนอนไม่พอร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่ำ อยากแข็งแรงและแฮปปี้เริ่มต้นง่ายๆ จากการนอนอย่างน้อย 6 ชั่วโมงอย่างมีคุณภาพ
ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี
หากคุณเป็นคนทำงานแนะนำให้ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อรับให้ได้รู้ว่าร่างกายของเราต้องรับมือ และป้องกันตรงไหน หรือสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดผลจาการดูแลสุขภาพ และร่างกายของตนเองอีกด้วยประกันมะเร็ง เสริมความอุ่นใจให้ได้ใช้ชีวิตด้วยความมั่นใจยิ่งขึ้น
ในวันที่ปากบอกว่าไหว อยากให้ลองเช็กร่างกายด้วยว่ายังไหวจริงหรือเปล่า และเมื่อไหร่ที่ร่างกายเริ่มเปลี่ยนไปให้คุณรู้ และ รีบหาทางรักษาให้ทันก่อนร่างพักพังจนซ่อมไม่ไหว
เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
คปภ. เผยยอดกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติพุ่ง นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการรับประกันภัยพิบัติ ณ วันที่ 28 มีนาคม ถึง 11 กันยายน 2555 มียอดขายกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ จากบริษัทประกันวินาศภัยจำนวน 46 บริษัท รวมทั้งสิ้น 165,333 กรมธรรม์ มีทุนประกันภัยพิบัติ จำนวน 14,419 ล้านบาท เป็นเบี้ยประกันภัยรับทั้งสิ้น 104 ล้านบาท แบ่งเป็น
1. บ้านที่อยู่อาศัย จำนวน 154,306 กรมธรรม์ ทุนประกันภัย 9,186 ล้านบาท โดยบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) รับประกันภัยสูงสุด
2. ธุรกิจเอสเอ็มอี จำนวน 10,326 กรมธรรม์ ทุนประกันภัย 1,994 ล้านบาท โดยบริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) รับประกันภัยสูงสุด
3. อุตสาหกรรม จำนวน 701 กรมธรรม์ ทุนประกันภัย 3,239 ล้านบาท โดยบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) รับประกันภัยสูงสุด
ทั้งนี้ กองทุนฯ ได้ติดตามสถานการณ์ และดำเนินการประสานกับภาคธุรกิจประกันภัยอย่างใกล้ชิดในการปรับเพิ่มความยืดหยุ่นในหลักเกณฑ์การรับประกันภัยต่อ โดยมุ่งหวังผลักดันให้อัตราเบี้ยประกันปรับลดลง มีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น และให้กลไกการรับประกันภัยพิบัติกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ซึ่งคาดว่าปลายปีนี้ ยอดการขายกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติจะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากกรมธรรม์ประกันภัยของธุรกิจเอสเอ็มอี และอุตสาหกรรม จะมีการต่ออายุการทำประกันภัยในช่วงปลายปี ซึ่งกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ จะให้ความคุ้มครองภัยพิบัติ 3 ภัย ได้แก่ น้ำท่วม แผ่นดินไหว และลมพายุ ทั้งนี้ คำจำกัดความของคำว่า “ภัยพิบัติ” ในกรณีที่
1. คณะรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ภัยพิบัติรุนแรง ตามคำแนะนำของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ
2. กรณีค่าสินไหมทดแทนรวมของผู้เอาประกันภัย ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ มากกว่า 5,000 ล้านบาท ต่อหนึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายใน 60 วัน โดยมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ตั้งแต่ 2 ราย ขึ้นไป หรือ
3. กรณีธรณีพิบัติ ความรุนแรงของแผ่นดินไหวตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ ขึ้นไป หรือ
4. กรณีวาตภัย ความเร็วของลมพายุ ตั้งแต่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงาน คปภ. มีความห่วงใยประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม ดังนั้น ขอให้ตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อประโยชน์ต่อตัวท่านเอง โดยกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองภัยน้ำท่วม ได้แก่ กรมธรรม์ประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) กรมธรรม์ประกันภัยรถภาคสมัครใจ ประเภท 1 กรมธรรม์ประกันชีวิต กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล และกรมธรรม์ประกันภัยอัคคีภัย ที่ได้ซื้อความคุ้มครองจากภัยธรรมชาติเพิ่มเติม ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยให้เกียรติเป็นประธานเปิดการอบรม โครงการ “ความรู้ประกันภัย สู่ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประกันภัยให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล และปริมณฑล ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าอบรมจำนวน 200 นาย ณ ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สำนักงาน คปภ.
การอบรมความรู้ด้านการประกันภัยสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น มีหัวข้อเกี่ยวกับประกันภัยกับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ การฉ้อฉลในธุรกิจประกันภัย กระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีประนอมข้อพิพาท และวิธีอนุญาโตตุลาการ รวมถึงการบังคับให้กฎหมายประกันภัย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ งานจราจร งานสอบสวน และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงเพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยได้อย่างถูกต้องอีกด้วย
คปภ. นำภาคธุรกิจประกันภัยไทย เยือนพม่า สร้างความร่วมมือด้านการกำกับดูแลและขยายโอกาสการลงทุน
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) นำคณะผู้บริหารระดับสูงจากสมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน สมาคมนายหน้าประกันภัย และผู้บริหารสำนักงาน คปภ. เยือนสาธารณรัฐสหภาพพม่า เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย และขยายโอกาสการลงทุนและตลาดประกันภัยไทย ระหว่างวันที่ 14-17 พฤศจิกายน 2555 ในการนี้ได้หารือกับ H.E. Dr. Mg Maung Thein รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและรายได้ Mr.Aye Min Thein ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย และกรรมการผู้จัดการเมียนมาร์อินชัวร์รัน และ Mr.Aye Lwin เลขาธิการ สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมสาธารณรัฐสหภาพพม่า
เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า การเดินทางครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี คณะได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจ นโยบายตลอดจนแผนพัฒนาธุรกิจด้านต่างๆ ของตลาดประกันภัย สาธารณรัฐสหภาพพม่าเป็นประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่มีภูมิศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรมใกล้เคียงกับประเทศไทยมากที่สุด ธุรกิจประกันภัยยังมีขนาดเล็กมาก มีจำนวนกรมธรรม์ประมาณ 500,000 กรมธรรม์ จากจำนวนประชากร 57 ล้านคน ในอนาคตการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภาคอุตสาหกรรมจะมีความต้องการด้านประกันภัยเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจประกันภัยไทยที่จะเข้าไปแสวงหาลู่ทางขยายตลาดและการลงทุนในสาธารณรัฐสหภาพพม่า แม้ในปัจจุบันรัฐบาลยังไม่อนุญาตให้บริษัทประกันภัยต่างชาติเข้าไปจัดตั้งบริษัทประกันภัย แต่อย่างไรก็ดี การเปิดเสรีสาขาการประกันภัยตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่เปิดโอกาสให้ธุรกิจประกันภัยต่างชาติเข้ามามากขึ้น และในปีนี้หน่วยงานภาครัฐเริ่มส่งสัญญาณเริ่มต้นการเปิดเสรีประกันภัย โดยการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนภายในสาธารณรัฐสหภาพพม่ายื่นคำขอประกอบธุรกิจประกันภัยได้จำนวน 12 บริษัท
ผู้แทนภาคธุรกิจประกันชีวิต กล่าวเพิ่มเติมว่า ธุรกิจประกันชีวิตในสาธารณรัฐสหภาพพม่า มีโอกาสเจริญเติบโตสูง ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดหลักประกันในชีวิต อย่างไรก็ตาม การเริ่มต้นธุรกิจประกันชีวิตในสาธารณรัฐสหภาพพม่าควรเริ่มจากการให้ความรู้ทางด้านการประกันชีวิตแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการประกันชีวิต ซึ่งจะเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจประกันชีวิตในอนาคตได้
ผู้แทนภาคธุรกิจประกันวินาศภัย ให้ความเห็นว่า ผลจากการเร่งปฏิรูปนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลสาธารณรัฐสหภาพพม่า ส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว การขยายตัวของภาคการค้า การลงทุน และภาคอุตสาหกรรมทำให้การประกันวินาศภัยมีความจำเป็นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการประกันภัยทรัพย์สิน การประกันภัยขนส่งสินค้า รวมถึงการประกันภัยต่อ ดังนั้นตลาดประกันวินาศภัยในสาธารณรัฐสหภาพพม่า จึงถือเป็นตลาดที่มีโอกาสการเติบโตสูง
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า สำนักงาน คปภ. เล็งเห็นความจำเป็นในการสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนากำกับดูแลธุรกิจประกันภัยระหว่างหน่วยงานภาครัฐ จึงได้เสนอการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการโดยเฉพาะการพัฒนากฎหมายประกันภัย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่างๆ นอกจากนี้ได้เชิญผู้แทนจากกระทรวงการคลังและรายได้ และ สำนักงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ของสาธารณรัฐสหภาพพม่า เข้าร่วมการประชุมนายทะเบียนประกันภัยครั้งที่ 15 (15th ASEAN Insurance Regulators’ Meeting) ณ กรุงเทพ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยในอาเซียนต่อไป
คปภ. เผย 8 เดือน ปี 55 ธุรกิจประกันภัยโต หนุนสินทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 49
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ช่วงเดือนมกราคม ถึง สิงหาคม 2555 ธุรกิจประกันภัยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทำให้มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทั้งสิ้น 358,521 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.48 ส่งผลให้ธุรกิจประกันภัยมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 2,325,843 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 49.88 โดยเป็นสินทรัพย์ของธุรกิจประกันชีวิต 1,640,895 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.30 และเป็นสินทรัพย์ของธุรกิจประกันวินาศภัย 684,948 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 244.11 จากการบันทึกรายการสำรองประกันภัยส่วนที่เรียกคืนจากการประกันภัยต่อในรายการสินทรัพย์อื่น ส่งผลให้รายการสินทรัพย์อื่นเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนจำนวน 332,429 ล้านบาท สินทรัพย์ลงทุนของธุรกิจประกันภัย ณ 31 สิงหาคม 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,747,298 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.48 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75.13 ของสินทรัพย์รวม แบ่งเป็น
1. สินทรัพย์ลงทุนของธุรกิจประกันชีวิต 1,563,642 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.37 โดยสินทรัพย์ลงทุนส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ จำนวน 1,329,765 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85.04 ของสินทรัพย์ลงทุนทั้งสิ้น โดยลงทุนในพันธบัตร คิดเป็นร้อยละ 61.01 ของสินทรัพย์ลงทุน
2. สินทรัพย์ลงทุนของธุรกิจประกันวินาศภัย 183,656 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.44 สินทรัพย์ลงทุนส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ จำนวน 124,814 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67.96 ของสินทรัพย์ลงทุนทั้งสิ้น โดยลงทุนในเงินฝากธนาคารสูงสุดร้อยละ 30.10 ของสินทรัพย์ลงทุน
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของธุรกิจประกันภัยทำให้สินทรัพย์ลงทุนของธุรกิจประกันภัยเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับธุรกิจประกันชีวิตและธุรกิจประกันวินาศภัยมีการลงทุนในตราสารทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องสูง เพื่อความสามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยได้ตลอดเวลาหากเกิดความเสียหายขึ้น นับว่าเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธุรกิจประกันภัย และจากนโยบายรัฐบาลในการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยเมื่อปลายปี 54 และมาตรการคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรก ทำให้จำนวนรถยนต์เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนผลิตภัณฑ์ประกันภัยรูปแบบใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ส่งผลให้ประชาชนเล็งเห็นความสำคัญและเข้าถึงการทำประกันภัยมากขึ้น ทำให้คาดการณ์ได้ว่าธุรกิจประกันภัย ในปี 2555 จะมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 18.14 มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทั้งสิ้นจำนวน 553,696 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 4.81
คปภ. สรุปผลภาวะธุรกิจประกันภัย 8 เดือนแรก ปี 55 โตร้อยละ 19.48
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สรุปตัวเลขภาพรวมธุรกิจประกันภัยในช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 19.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทั้งสิ้น 358,521 ล้านบาท
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า แม้มูลค่าการส่งออกของประเทศโดยรวมจะหดตัวลงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา จากผลประทบวิกฤตหนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศยูโรโซน ซึ่งทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปสหภาพยุโรปในช่วงเดือนสิงหาคม 2555 หดตัวถึงร้อยละ 23.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวจากการใช้จ่ายภายในประเทศ ทั้งจากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ส่งผลให้ในช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม 2555 ธุรกิจประกันภัยมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทั้งสิ้น 358,521 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 19.48
โดยเป็นเบี้ยประกันภัยจากธุรกิจประกันชีวิต จำนวน 243,855 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.93 โดยการประกันชีวิตประเภทสามัญมีเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด จำนวน 204,105 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.90 รองลงมาการประกันชีวิตประเภทกลุ่ม จำนวน 30,605 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 23.00 และการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลจำนวน 3,608 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.90 และจากธุรกิจประกันวินาศภัย จำนวนรวมทั้งสิ้น 114,666 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 25.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการประกันภัยรถมีเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด จำนวน 67,003 ล้านบาท ขยายตัวถึงร้อยละ 21.50 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรก ส่งผลให้ยอดจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง รองลงมาการประกันภัยเบ็ดเตล็ด จำนวน 37,516 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 35.17 ซึ่งหากพิจารณาเบี้ยประกันภัยเบ็ดเตล็ดในเดือนสิงหาคม 2555 จะเห็นได้ว่าจากการประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สินมีเบี้ยประกันภัยจำนวน 2,040 ล้านบาท ขยายตัวถึงร้อยละ 83.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนเห็นความสำคัญของการประกันภัยมากขึ้น สอดคล้องกับตัวเลขการรับประกันภัยโดยกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติซึ่งขยายตัวในอัตราเร่งเช่นเดียวกัน และการประกันอัคคีภัย จำนวน 6,721 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 22.09
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่าการเติบโตของธุรกิจประกันภัยไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น เป็นผลมาจากหลายปัจจัย ทั้งจากฝั่งของประชาชนและผู้บริโภคซึ่งมีความตื่นตัวต่อความเสี่ยงภัยต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้การประกันภัยเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน เป็นปัจจัยที่ 5 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยในปี 2555 ธุรกิจประกันชีวิตเน้นการขายผลิตภัณฑ์แบบตลอดชีพ ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด ที่ร้อยละ 47.87 และธุรกิจประกันวินาศภัยเองก็มีการขยายตัวในอัตราเร่งโดยเฉพาะกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองภัยธรรมชาติ รวมถึงภัยพิบัติ และในส่วนของผู้ประกอบธุรกิจประกันภัย ก็มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ๆที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้เอาประกันภัยได้ดีขึ้น อีกทั้งยังมีการพัฒนาช่องทางการขายที่มีความหลากหลายสามารถเข้าถึงประชาชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้ในวงกว้าง
>> เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
>> เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ
>> เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)
ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว
คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย