ตัวแทนขายประกัน รายได้ ที่ปรึกษาวางแผนสุขภาพและการเงิน


ตัวแทนขายประกัน รายได้ ที่ปรึกษาวางแผนสุขภาพและการเงิน ตัวแทนประกันชีวิต ประกันคุ้มครองชีวิต ประกันชีวิตควบคู่การลงทุน ประกันตลอดชีพ

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า คปภ.จะเดินหน้าส่งเสริมการกำกับดูแลที่ดีและการบริหารความเสี่ยงของบริษัทด้วยการจัดสัมมนาคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทประกันภัย ครั้งที่ 2/2558 เรื่อง IT Governance โดยมีคณะวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) (สพธอ.) และผู้บริหารระดับสูงจากภาคเอกชนมาบรรยายเกี่ยวกับ “การกำกับดูแลเทคโนโลยีสารสนเทศ” ในแง่มุมต่างๆ ทั้งด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบ การบริหารข้อมูลลูกค้า ระบบ IT เพื่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และ วิสัยทัศน์การลงทุนในระบบ IT ของสถาบันการเงิน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมสัมมนากว่า 250 คน ประกอบด้วย ผู้แทนสมาคมประกันชีวิตไทย ผู้แทนสมาคมประกันวินาศภัยไทย คณะกรรมการตรวจสอบ และผู้บริหารระดับสูงในสายงาน IT ของบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย

สำนักงาน คปภ. มีแนวทางที่จะปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการกำกับธุรกิจให้มีความพอดีและ กำกับเท่าที่จำเป็น โดยจะกำกับดูแลพฤติกรรมทางการตลาดให้มากขึ้น รวมทั้งจะส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีกลไกในการกำกับดูแลตนเอง มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม เพื่อให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในกลไกการกำกับดูแลตนเอง เพราะเป็นผู้ที่จะทำให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถเชื่อมั่นได้ว่าบริษัทมีการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ตั้งอยู่บนหลักของธรรมภิบาลและมีเสถียรภาพ

ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ สำนักงาน คปภ. มีความคาดหวังว่าคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทต้องให้ความสำคัญใน 2 มิติ คือ มิติที่ 1 การกำกับดูแลการดำเนินงานในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพ โดยมีหน้าที่ใน 3 บทบาท คือ “สอบทาน ให้ความเห็น และพิจารณา” สอบทาน ได้แก่ สอบทานความสมบูรณ์ครบถ้วนของรายงานทางการเงินให้มีความสมบูรณ์ สอบทานความมีประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) ระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) และระบบการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) และสอบทานให้บริษัทมีการดำเนินธุรกิจอยู่ภายในกฎ กติกา และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยเคารพสิทธิของผู้บริโภค ให้ความเห็น ได้แก่ การให้ความเห็นและข้อเสนอแนะแก่ฝ่ายบริหาร เพื่อการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและให้ความเห็นประกอบรายงานผลการประเมินการควบคุมภายในของบริษัทโดยรวม เพื่อสื่อสารให้คณะกรรมการบริษัทได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ และพิจารณา คือ การพิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท รวมถึงการพิจารณาความเหมาะสมของขอบเขตการดำเนินงานและค่าตอบแทนด้วย

ในมิติที่ 2 คณะกรรมการตรวจสอบจะต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ในการบริหารความเสี่ยงสำหรับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีบทบาทโดยตรงในการเป็นผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่า หน่วยงานต่างๆ ได้ปฏิบัติตามกรอบการบริหารความเสี่ยงที่คณะกรรมการบริษัทได้วางไว้ เป็นผู้ให้ข้อมูลสะท้อนกลับในแง่ของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และประเมินความมีประสิทธิภาพของระบบการบริหารความเสี่ยงโดยรวม

ดร.สุทธิพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการวางรากฐานเพื่อการเติบโตของอุตสาหกรรม เราต้องมีการลงทุนในระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยและปลอดภัยสำหรับลูกค้า เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ให้มีต้นทุนที่ต่ำลงในระยะยาว และมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี รวมถึงต้องมีการลงทุนด้านทรัพยากรบุคคลของภาคธุรกิจประกันภัยอย่างจริงจัง เพื่อเสริมสร้างให้ธุรกิจมีความคล่องตัว พร้อมที่จะแข่งขันเมื่อมีโอกาสใหม่ๆ เข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปิดตลาดในภูมิภาคอาเซียน

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยถึงการติดตามกรณีที่ปรากฎในสื่อโซเชียลว่ามีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับโฆษณาขายประกันชีวิตผู้สูงอายุ ไม่เป็นไปตามโฆษณา ซึ่งเรื่องนี้ คปภ. ไม่ได้นิ่งนอนใจและเร่งติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด จึงขอให้ผู้เอาประกันภัยมั่นใจได้ว่า คปภ. พร้อมดูแลและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยด้วยความเป็นธรรม อย่างตรงไปตรงมา ดังนั้นจึงขอชี้แจงเบื้องต้นเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน ว่า การทำประกันชีวิต ก็คือ การที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายผลประโยชน์ตามที่ระบุในสัญญา เนื่องจากการเสียชีวิตทุกกรณีหรือเนื่องจากการมีชีวิตอยู่รอดตามระยะเวลาที่กำหนด หากจะเปรียบเทียบการประกันชีวิตแบบทั่วไปกับการประกันชีวิตแบบผู้สูงอายุมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ การประกันชีวิตแบบทั่วไปนั้น อายุที่เริ่มทำประกันชีวิต สามารถทำได้ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งการพิจารณารับประกันภัย มีทั้งแบบตรวจสุขภาพและไม่ตรวจสุขภาพ โดยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเอาประกันภัยและแบบประกันชีวิตที่เลือกซื้อ ดังนั้นการให้ข้อมูลในใบคำขอเอาประกันชีวิตนั้น ผู้ขอเอาประกันภัยจะต้องแถลงข้อเท็จจริง กรณีผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อเท็จจริงในใบคำขอเอาประกันชีวิต หากบริษัทประกันชีวิตได้ทราบก็จะพิจารณาไม่รับประกันภัย หรือ รับประกันภัย โดยมีอัตราเบี้ยประกันภัยที่สูงขึ้น บริษัทสามารถบอกเลิกและปฏิเสธการรับประกันชีวิต ได้ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่เริ่มต้นความคุ้มครอง ตามสิทธิโต้แย้ง ส่วนกรณีเสียชีวิต บริษัทจ่ายผลประโยชน์ตามระบุไว้ในสัญญา ไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินเอาประกันภัย ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับแบบของการประกันชีวิตที่เลือกซื้อ

สำหรับการประกันชีวิตแบบผู้สูงอายุนั้น กำหนดอายุที่เริ่มทำประกันชีวิตต้องมีอายุ 50 ปีขึ้นไป การพิจารณา รับประกันภัยเป็นแบบไม่ตรวจสุขภาพ การันตีการรับประกันชีวิต จำนวนเงินเอาประกันภัย สูงสุดไม่เกิน 000,600 บาท ซึ่งการให้ข้อมูลในใบคำขอเอาประกันชีวิต ไม่มีคำถามสุขภาพในใบคำขอ จึงไม่ต้องแถลงสุขภาพ ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงไม่สามารถบอกเลิกและปฏิเสธการรับประกันชีวิตตามสิทธิโต้แย้งได้ ส่วนกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย ในช่วง 2 ปีแรก บริษัทจ่ายเบี้ยประกันภัยที่ชำระไปแล้วบวกด้วยเงินเพิ่มเติม (ร้อยละ 2-5 ของเบี้ยที่ชำระมาแล้ว) แต่หากเป็นการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ บริษัทจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย และกรณีการเสียชีวิตตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไปทุกกรณีจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย

เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว สำนักงาน คปภ.ได้ติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด และมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนทั้งระบบให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ใช่ตามไปแก้ปัญหาเป็นกรณีๆไป ซึ่งในเบื้องต้นได้ประสานงานไปยังบริษัทประกันชีวิตที่ถูกพาดพิง เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงต่างๆและไขข้อข้องใจของประชาชน ในขณะเดียวกัน คปภ.ก็ดำเนินการแบบคู่ขนาน ด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนรับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง และจัดทีมผู้เชี่ยวชาญเดินสายชี้แจงผ่านสื่อมวลชนในช่องทางต่างๆอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมภาพยนตร์โฆษณาที่ถูกประชาชนร้องเรียน เพื่อนำมาตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าเป็นไปตามที่มีการร้องเรียนหรือไม่ โดยคปภ. มีมาตรการเข้มงวดในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านสื่อโฆษณา ด้วยการออกประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางสื่อโฆษณาตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต พ.ศ. 2556 ซึ่งบริษัทและนายหน้าประกันชีวิตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด เช่น ข้อความที่โฆษณาต้องไม่เป็นเท็จ หรือเกินความจริงมีความชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่กำกวม และต้องไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยหรือการจ่ายเงินตามสัญญาประกันภัย

ทั้งนี้สำนักงาน คปภ. จะเร่งเชิญสมาคมประกันชีวิตไทยเข้าร่วมประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางการโฆษณาเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านสื่อโทรทัศน์ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมจะกำชับให้บริษัทประกันชีวิตดูแลผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่จะเสนอขาย กำกับตัวแทน นายหน้าประกันชีวิตให้เสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตตามหลักเกณฑ์วิธีการเสนอขาย ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ผู้เอาประกันจะต้องพิจารณาก่อนทำประกันก็คือจะต้องศึกษารายละเอียดเงื่อนไข ความคุ้มครอง และข้อยกเว้นให้เข้าใจ และเมื่อได้รับกรมธรรม์แล้ว ต้องตรวจสอบ เงื่อนไขในกรมธรรม์ ว่าตรงกับความต้องการหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามข้อตกลง สามารถยกเลิกได้ภายใน 15 หรือ 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์

“หลักสำคัญในการซื้อประกันชีวิต ควรซื้อกับตัวแทนหรือนายหน้าประกันชีวิตที่ได้รับใบอนุญาตจาก นายทะเบียน แถลงข้อความจริงในใบคำขอเอาประกันชีวิต ศึกษารายละเอียดเงื่อนไข ความคุ้มครอง และข้อยกเว้น ให้เข้าใจ เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้ว ต้องตรวจสอบ เงื่อนไขในกรมธรรม์ว่าตรงกับความต้องการหรือไม่ ในการจ่ายเงิน ทุกครั้งให้เรียกเอกสารการรับเงินของบริษัทประกันชีวิต เพื่อที่ท่านจะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขในสัญญาประกันชีวิต ซึ่งหากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนคปภ.1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ Mr. Khenlangsy Sengkhamyong , Deputy Director General , State Owned Enterprise Investment Management and Insurance Department กระทรวงการเงิน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อสร้างความร่วมมือและพัฒนาการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยของทั้งสองหน่วยงาน โดยมี ดร.สมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีลงนาม ณ โรงแรมอมันตา จังหวัดหนองคาย

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากเหตุรถยนต์ หมายเลขทะเบียน ชข-5276 กรุงเทพมหานคร เสียหลักข้ามเกาะกลางถนนมาเฉี่ยวชนกับรถยนต์กระบะ หมายเลขทะเบียน กท-1515 นครปฐม และรถเก๋ง หมายเลขทะเบียน 2กณ-9841 กรุงเทพมหานคร บริเวณทางหลวงหมายเลข 345 หน้าโรงเรียนสาธิตปทุมธานี ตำบลบางคูวัด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย และได้รับบาดเจ็บ 2 ราย นั้น

เบื้องต้นได้รับรายงานจากสำนักงาน คปภ. จังหวัดปทุมธานี พบว่ารถยนต์ หมายเลขทะเบียน ชข-5276 กรุงเทพมหานคร เคยทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) แต่กรมธรรม์หมดอายุตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2558 มีผู้เสียชีวิต 1 ราย รถยนต์กระบะ หมายเลขทะเบียน กท-1515 นครปฐม ทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และประกันภัยรถภาคสมัครใจ (ประเภท 1) กับ บมจ. ไอโออิ กรุงเทพประกันภัย มีผู้เสียชีวิต 5 ราย ส่วนรถเก๋ง หมายเลขทะเบียน 2กณ-9841 กรุงเทพมหานคร ทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) กับ บมจ. สินมั่นคงประกันภัย มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย

กรณีดังกล่าวผู้ประสบอุบัติเหตุจะได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันภัย ดังนี้

1. ทายาทโดยธรรมของผู้เสียชีวิตรถยนต์ทะเบียน ชข-5276 สามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท

2. ทายาทโดยธรรมของผู้เสียชีวิตในรถคันหมายเลขทะเบียน กท-1515 นครปฐม จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นค่าปลงศพจากการประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) รายละ 35,000 บาท และจากการประกันภัยรถภาคสมัครใจ ตามเอกสารแนบท้ายอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) สำหรับผู้ขับขี่ 50,000 บาท และผู้โดยสาร 4 คนๆ ละ 50,000 บาท จาก บมจ. ไอโออิ กรุงเทพประกันภัย

3. ผู้ได้รับบาดเจ็บในรถคันหมายเลขทะเบียน 2กณ-9841 ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นสำหรับรักษาพยาบาลจากการประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน จากบมจ. สินมั่นคงประกันภัย

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต และได้เร่งประสานบริษัท ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ให้ดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ทายาทผู้เสียชีวิตด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม อุบัติเหตุครั้งนี้นับว่าเป็นอุบัติเหตุรายใหญ่ แต่น่าเสียดายว่ารถยนต์คันที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ไม่ได้ต่อกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และไม่มีการประกันภัยรถภาคสมัครใจ ทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันภัย ผู้ขับขี่ที่เป็นผู้ทำละเมิดต้องรับผิดชอบความเสียหายในทางแพ่งที่เกิดขึ้นเองทั้งหมด สำนักงาน คปภ. จึงขอย้ำเตือนเจ้าของรถตรวจสอบวันหมดอายุกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันภัยตลอดเวลา และหากต้องการความคุ้มครองเพิ่มขึ้นสามารถซื้อประกันภัยรถภาคสมัครใจเพิ่มเติมได้

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ ตัวแทนขายประกัน รายได้ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เผยตัวเลขธุรกิจประกันภัยปี 2558 (มกราคม – ธันวาคม 2558)​ มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวม 742,408 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 7.84 ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐเป็นผลให้เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 4/2558 ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 2.8 จากการขยายตัวในอัตราเร่งของ อุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอุปโภคบริโภคของทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงการลงทุน

สำหรับภาวะธุรกิจประกันภัยปี 2558 มีเบี้ยประกันภัยรับรวมจากธุรกิจประกันชีวิต จำนวนทั้งสิ้น 533,211 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.91 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด ได้แก่ การประกันชีวิตประเภทสามัญ จำนวน 462,532 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.75 รองลงมาเป็นประเภทกลุ่มจำนวน 57,761 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.19 ตามด้วยประเภทอุตสาหกรรม จำนวน 7,245 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 6.14 และประเภทอุบัติเหตุ จำนวน 5,673 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.16 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงมีเบี้ยประกันภัยรับจากสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ จำนวนทั้งสิ้น 45,413 ล้านบาท เติบโตในอัตราเร่งที่ร้อยละ 13.77 สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใส่ใจเกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น

ขณะที่ธุรกิจประกันวินาศภัยมีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 209,197 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 1.92 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด ได้แก่ การประกันภัยรถ จำนวน 120,405 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.12 ซึ่งแบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยจากการประกันภัยรถภาคบังคับ จำนวน 16,294 ล้านบาท ขยายตัว 5.89 และจากการประกันภัยรถภาคสมัครใจ 104,111 ล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 1.56 จากยอดการขายรถยนต์ในประเทศที่ขยายตัวลดลง รองลงมาคือ การประกันภัยเบ็ดเตล็ด จำนวน 72,970 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.79 ตามด้วยการประกันอัคคีภัย จำนวน 10,484 ล้านบาท หดตัวลดลงร้อยละ 5.20 และการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง จำนวน 5,338 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.84

ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ธุรกิจประกันภัยมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 3,040,887 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.50 เป็นสินทรัพย์ลงทุนทั้งสิ้น จำนวน 2,764,066 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีหนี้สินจำนวน 2,339,330 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.59 มีหนี้สินต่อผู้เอาประกันภัย จำนวน 2,154,798 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.07 และส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวน 701,557 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 5.89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับปี 2559 สำนักงาน คปภ. ได้วางมาตรการพัฒนาธุรกิจประกันภัยไว้หลายมิติ ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 3 (ปี 2559-2563) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้สอดคล้องกับความต้องการและความเสี่ยงของประชาชนทุกระดับ โดยเฉพาะกลุ่มฐานราก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ประกันภัยมีความหลากหลาย รวมถึงการพัฒนาช่องทางการเข้าถึงการประกันภัยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการประกันภัยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดปัจจัยส่งเสริมต่อธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ คาดว่าสิ้นปี 2559 ธุรกิจประกันภัยจะมีเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้นประมาณ 801,923 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.02

“นับจากนี้ไปธุรกิจประกันภัยจะมีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ในขณะเดียวกันก็จะเป็นหลักประกันความมั่งคงให้กับประชาชน ดังนั้น จึงเป็นความ ท้าทายอย่างยิ่งในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยให้ก้าวสู่ความแข็งแกร่ง มีคุณภาพ เสถียรภาพ และมี ธรรมาภิบาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นสำคัญเพื่อให้ธุรกิจประกันภัยเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าว

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่าสำนักงาน คปภ. เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนามาตรฐานความรู้คนกลางประกันภัย โดยจัดอบรมเพิ่มศักยภาพวิทยากรหลักสูตรตัวแทนและนายหน้าประกันภัย ระหว่างวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรฐานความรู้ของคนกลางประกันภัย ให้สามารถเป็นที่ปรึกษาด้านการประกันภัย รวมถึงสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ประกันภัย ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ กลไกสำคัญ ที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำหน้าที่ในการเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ไปยังคนกลางประกันภัย ผู้ปฎิบัติหน้าที่ในการเสนอขายกรมธรรม์ คือ เหล่าวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ในหน่วยงานจัดอบรมที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน คปภ. จำนวนทั้งสิ้น 50 หน่วยงาน ซึ่งมีจำนวนวิทยากรรวมกันกว่า 1,300 ท่าน ทั่วประเทศ โดยการอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงาน คปภ. มาถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ ในหัวข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนประกันภัย นายหน้าประกันภัย อาทิ วิชาการระงับข้อพิพาทด้านประกันภัย ด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ และวิชากฎหมายที่ใช้ในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ตลอดจนวิชาพระราชบัญญัติประกันชีวิต และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย โดยมีผู้เข้าร่วมการอบรม เป็นวิทยากรจากบริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย และสถาบันประกันภัยไทย จำนวน 210 ท่าน

“วิทยากรผู้บรรยายให้ความรู้ในแต่ละหลักสูตร จำเป็นต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ เพื่อสร้างมาตรฐานการทำงานให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพ พร้อมรับความท้าทายใหม่ๆ ในอนาคต”

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า สำนักงาน คปภ. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจประกันภัยให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งตัวแทนและนายหน้าประกันภัย ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขยายตลาดและสร้างรายได้ให้กับธุรกิจประกันภัย รวมถึงส่งเสริมภาพลักษณ์ ทัศนคติที่ดีให้ประชาชนผู้เอาประกันภัยเกิดการยอมรับและเชื่อมั่นต่อธุรกิจประกันภัย ดังนั้น เพื่อการพัฒนาคนกลางประกันภัยที่ยั่งยืน สำนักงาน คปภ. จึงได้จัดโครงการเพิ่มศักยภาพวิทยากรหลักสูตรตัวแทนและนายหน้าประกันภัยขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่สอง ซึ่งถือเป็นการต่อยอดจากปีที่แล้ว ในการพัฒนาศักยภาพคนกลางประกันภัยตั้งแต่ต้นถึงปลายระบบ เพื่อให้เกิดมาตรฐานเดียวกันในการให้ความผู้คนกลางประกันภัยทั้งระบบ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้รับเชิญให้บรรยายพิเศษในหัวข้อ“ทิศทางและนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตไทยภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่” ในงานสัมมนาผู้บริหารระดับสูง สำนักงาน คปภ.และบริษัทประกันชีวิต ระหว่างวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2559 ณ คีรีมายา รีสอร์ท เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยกล่าวว่า คปภ.จะใช้ระบบประกันภัยสนับสนุนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในเชิงรุก เร่งสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนด้วยการทำให้อุตสาหกรรมประกันภัยมีเสถียรภาพ โดยใช้ช่องทางที่เหมาะสมและสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัยให้กับประชาชนพร้อมสร้างกลไกด้านคุ้มครองสิทธิให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนทุกระดับได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบประกันภัยด้วยความเป็นธรรมของทุกฝ่าย ซึ่งขณะนี้คปภ.ได้ให้ความสำคัญกับภาคประชาชน โดยเร่งสร้างความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจประกันชีวิต ดังนั้นจึงอยากให้ภาคธุรกิจให้ความร่วมมือกับคปภ.อย่างจริงจังโดยเฉพาะความร่วมมือในการแก้ไขปัญหากรณีที่มีกลุ่มบุคคลรับจ้างทำเคลมประกันภัยโดยอาศัยช่องทางของกฎหมายและความยุ่งยากของการเคลมประกันภัยมาทำธุรกิจคิดค่าคอมมิสชั่นจากความเดือดร้อนของชาวบ้านในการเคลมประกันภัย และบ่อยครั้งเกินเลยจนอาจเข้าข่ายการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ซึ่งหากไม่มีการควบคุมขบวนการเหล่านี้จะเป็นตัวกัดเซาะอุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระบบให้ได้รับความเสียหายและที่สำคัญจะทำให้ประชาชนไม่เชื่อมั่นในระบบประกันภัย จึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันเข้ามาดูแลในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ในส่วนของคปภ.กำลังจับตามองอย่างใกล้ชิด

เลขาธิการคปภ.กล่าวด้วยว่า ประเด็นที่เป็นปัญหาใหญ่ของประกันภัยในประเทศไทย คือ ปัญหาความเชื่อมั่นจากสาธารณชน ซึ่งอาจเป็นเพราะประชาชนมีประสบการณ์ที่ไม่ดีจากประกันภัยตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่บริษัทประกันภัยล้มทำให้เกิดความเสียหาย ประเด็นการหลอกลวงให้ทำประกัน ประเด็นการเคลมค่าสินไหมทดแทนยากหรือมีการใช้ช่องทางจากความไม่รู้ของประชาชนเพื่อประวิง ไม่จ่าย หรือจ่ายค่าสินไหมทดแทนน้อยกว่าความเป็นจริง ฯลฯ ก็ยิ่งทำให้ความมั่นใจของประชาชนต่อระบบประกันภัยของไทยลดลง ดังนั้นหากจะแก้ปัญหาในเรื่องนี้จึงต้องมองจากมุมมองของประชาชน ซึ่งจะมีความรู้สึกเหมือนกันว่า เวลาทำประกันภัยจะมีการชักจูงว่าดีอย่างโน้นอย่างนี้ ขั้นตอนการทำประกันมีความสะดวกรวดเร็วเป็นอย่างมาก แต่เมื่อซื้อประกันไปแล้ว เมื่อมีเหตุต้องเคลมหรือขอค่าสินไหมทดแทนกลับทำได้ยาก มีการโต้แย้งเรื่องกฎหมายและบ่อยครั้งจบลงด้วยการฟ้องร้องเป็นคดีในชั้นศาล นี่คือสาเหตุใหญ่ที่ประชาชนขาดความมั่นใจในระบบประกันภัยของไทย

ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการต่างๆเหมือนยาขนานแรงเพื่อรักษาเยียวยาเพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากประชาชนคืนมา การที่บริษัทประกันชีวิตหลายบริษัทมีกิจกรรมที่ดีๆให้กับสังคมเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในลักษณะกิจกรรม CSR ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่สำหรับบริษัทประกันภัยนั้น ลำพังกิจกรรม CSR อาจไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์ภาคสังคมได้ชัดเจนและยั่งยืน จึงจำเป็นต้องลงลึกไปกว่าการทำ CSR ไปสู่การทำ CSV หรือCreating Shared Value ซึ่งเป็นการสร้างคุณค่าร่วมกับชุมชน โดยมีการพิสูจน์แล้วว่า CSV จะสามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้ดี

“การทำ CSR เปรียบเหมือนการซื้อเบ็ดตกปลาไปให้ชาวบ้าน ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการและสภาพความเป็นจริงในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน ดังนั้นการทำ CSR จึงไม่เพียงพอต่อสังคมหรือชุมชนนั้นๆ ดังนั้นภาคธุรกิจจึงต้องตอยอดด้วยการทำ CSV ซึ่งเปรียบเหมือนการสอนให้ชาวบ้านรู้จักวิธีใช้เบ็ดตกปลาเพื่อสร้างคุณค่าร่วมทางเศรษฐกิจ”

ดร.สุทธิพล กล่าวอีกว่า คปภ.มีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและสามารถก้าวข้ามผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยมีนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจประกันภัยด้วยการขับเคลื่อนภารกิจ “8 สร้าง” คือ สร้างสมดุลกำกับ-ดูแล-ส่งเสริม ที่มุ่งเน้นการกำกับเท่าที่จำเป็นและควบคู่กับการส่งเสริมธุรกิจประกันภัย เนื่องจากเป้าหมายสำคัญ คือ ธุรกิจประกันชีวิตต้องเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ โดยตั้งอยู่บนกติกาที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ สร้างเสถียรภาพความมั่นคง โดยเร่งพัฒนากรอบการกำกับเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงระยะที่ 2 และให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลพฤติกรรมทางตลาดมากขึ้น สร้างบทบาทของประกันภัยในระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพิ่มขึ้นโดยจะสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ๆให้มีความหลากหลาย คำนึงถึงประชาชนทุกกลุ่ม ให้ความสำคัญกับการประกันภัยเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ การประกันภัยพืชผลทางการเกษตร กลุ่มเอสเอ็มอี และประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) สร้างความรู้ประชาชนและเพิ่มความเชื่อมั่นโดยไม่เพียงแต่พัฒนาให้บริษัทประกันภัยเติบโตเท่านั้น แต่ยังต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถรักษาสิทธิของตนเองและปกป้องตนเองจากมิจฉาชีพที่มากับการประกันภัย ซึ่งจำเป็นต้องเร่งพัฒนาช่องทางการสื่อสารต่างๆให้เข้าถึงได้ง่าย พร้อมกับการพัฒนากระบวนการรับเรื่องร้องเรียน การระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยวิธีไกล่เกลี่ยและอนุญาโตตุลาการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยเพื่อรองรับข้อพิพาทที่อาจจะมีมากขึ้นตามการเติบโตของธุรกิจประกันภัย

สร้างศักยภาพในเวทีสากลและอาเซียน เพื่อรองรับการขยายตลาดการประกันภัยของไทยให้พร้อมแข่งขันใน AEC ซึ่งจะต้องมีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับธุรกิจประกันภัยของประเทศต่างๆในอาเซียน โดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการประกันภัยและพัฒนาบุคลากรร่วมกัน นอกจากนี้จะต้องมีการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของประเทศอื่นๆเพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีอุปสรรคน้อยที่สุด เนื่องจากกฎระเบียบในแต่ละประเทศยังมีความแตกต่างกัน หากไม่บูรณาการให้ใกล้เคียงหรือไม่ทำให้มีกติกากลางก็จะเป็นอุปสรรค ดังนั้นจึงต้องเร่งสร้างกลไกและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการประกันภัยใน CLMV อย่างมีศักยภาพและผลักดันให้เป็น “อาเซียน ซิงเกิลอินชัวรันส์มาร์เก็ต”

รวมทั้ง สร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการประกันภัยให้เป็นมาตรฐานสากลรองรับทิศทางในอนาคต โดยผลักดันการปรับปรุงกฎหมายด้านการประกันภัยทั้ง 3 ฉบับ เพื่อให้กฎหมายมีประสิทธิภาพ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาธุรกิจประกันภัย สร้างความเท่าเทียมกับผู้ประกอบการทุกกลุ่มพร้อมกับผลักดันกฎหมายประกันภัยทางทะเล รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลด้านการประกันภัยที่สมบูรณ์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านการประกันภัยและใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม สร้างศักยภาพและพัฒนาบุคคลากรประกันภัย รวมถึงคนกลางประกันภัย ให้มีความเชี่ยวชาญเป็นมืออาชีพ มีจรรยาบรรณ โปร่งใส สามารถรองรับการพัฒนาและเติบโตของธุรกิจประกันภัยในอนาคต และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนด้านการประกันภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างเสริมศักยภาพสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งในส่วนของสำนักงานคปภ.และภาคธุรกิจประกันชีวิต โดยคปภ.จะเร่งปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเพื่อลดข้อจำกัดต่างๆให้ภาคธุรกิจประกันภัยสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์จากดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการเข้าถึงลูกค้า ในขณะเดียวกันบทบาทในด้านกำกับดูแลประกันภัยมีระบบงานที่ดีสามารถรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าและให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส และเปิดเผยข้อมูลอย่างเหมาะสม ในส่วนของภาคธุรกิจประกันภัยต้องมีการลงทุนในระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยและปลอดภัยสำหรับลูกค้าเพื่อยกระดับประสิทธิภาพกรดำเนินธุรกิจและมีต้นทุนที่ต่ำลงในระยะยาว พร้อมทั้งมีการบริหารความเสี่ยงที่ดีอีกด้วย

“ผมมั่นใจว่านับจากนี้ไปธุรกิจประกันชีวิตจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในขณะเดียวกันก็เป็นหลักประกันความมั่งคงแก่ชีวิตให้กับประชาชน ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตให้ก้าวสู่ความแข็งแกร่ง มีคุณภาพ เสถียรภาพ และมีธรรมาภิบาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชนเป็นสำคัญเพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างยั่งยืนตอไป” ดร.สุทธิพล กล่าวในตอนท้าย

ประกัน 100 บาทยอดฉลุย คปภ. เผยตัวเลขเฉียด 2 หมื่นฉบับภายใน 30 วัน ปลื้มคนไทยเข้าถึงประกันอุบัติเหตุได้ง่าย เบี้ยต่ำคุ้มครองยาวถึง 1 ปี จ่อคิวขยายความสำเร็จเดินหน้าเพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชนด้วยการประกันภัย รองรับความหลากหลาย เข้าถึงได้มากกว่า พร้อมเคียงข้างสางทุกปัญหา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *