ตัวแทนขายประกัน รายได้ ลดหย่อนภาษีสูงสุด ประกันบำนาญ ประกันชีวิตควบคู่การลงทุน ประกันตลอดชีพ ประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษี ประกันชั่วระยะเวลา
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ฝีดาษลิงคือ
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) หรือไข้ทรพิษลิง หรือ โรคฝีดาษวานร ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับเชื้อไวรัสโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ แต่มีความรุนแรงมากกว่า และพบได้ในสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะหลายชนิด เช่น หนู กระรอก
ฝีดาษลิงเกิดจากอะไร แตกต่างจากโรคฝีดาษปกติอย่างไร
โรคฝีดาษลิง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Othopoxvirus เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่พบได้น้อย โรคนี้พบมากในแอฟริกากลาง และตะวันตก โดยเชื้อไวรัสฝีดาษลิงเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษในคน และฝีดาษวัว พบในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิง
ฝีดาษลิงอาการ
ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการหลังจากที่สัมผัสเชื้อประมาณ 12 วัน โดยมีอาการที่สังเกตได้ คือ
1. มีไข้
2. ปวดหัว
3. ปวดตัว
4. ปวดหลัง อ่อนเพลีย
5. หนาวสั่น
6. เจ็บคอ
7. ต่อมน้ำเหลืองโต
ซึ่งเป็นอาการในเริ่มต้น และสามารถแพร่กระจายให้ผู้อื่นได้ หลังจากนั้นประมาณ 1 – 2 วัน ก็จะเข้าสู่ระยะที่แสดงอาการทางผิวหนังโดยจะมีอาการที่สังเกตได้คือ จะมีผื่นขึ้นบริเวณใบหน้า แขนขา และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่วนใหญ่จะพบที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า ผู้ป่วยในบางรายจะมีอาการระคายเคืองอย่างรุนแรง โดยมีลักษณะตุ่มผื่นเป็นรอยจุดแดงๆ เป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มน้ำหนอง ในระยะสุดท้ายจะกลายเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออก ผู้ป่วยก็จะมีอาการดีขึ้น การดำเนินโรคจะใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ โดยมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10 % มีสาเหตุจากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในปอด การขาดน้ำและภาวะสมองอักเสบ การตรวจทางห้องปฏิบัติการใช้การตรวจด้วยวิธี PCR ของเหลวจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง
ฝีดาษลิงติดต่ออย่างไร
โรคฝีดาษลิงสามารถติดต่อได้จากการสัมผัส หรือเมื่อมีการเข้าใกล้ผู้ติดเชื้อ โดยผ่านการสัมผัสทางผิวหนังกับผู้ติดเชื้อโดยตรง ไวรัสชนิดนี้จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางรอยแตกบนผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ หรือผ่านทางตา จมูก หรือปาก รูปแบบการติดต่อ เช่น
การสัมผัสสารคัดหลั่ง เลือด ตัวแทนขายประกัน รายได้ ตุ่มหนอง ของสัตว์ หรือผู้ป่วยที่มีเชื้อที่อยู่ในระยะฟักตัว
การถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด หรือสัมผัสวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
การนำสัตว์ที่มีเชื้อมาประกอบอาหาร
การสัมผัสจากคนสู่คนผ่านละอองฝอยการหายใจ
วิธีป้องกันโรคฝีดาษลิง
เลี่ยงการสัมผัสโดยตรง
หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ให้สะอาดด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยง
รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด งดรับประทานของป่า
หากพบผู้สงสัยว่าจะติดเชื้อฝีดาษลิง แนะนำให้แยกผู้ป่วย ป้องกันระบบทางเดินหายใจของผู้ใกล้ชิด และนำส่งสถานพยาบาลที่สามารถแยกกักตัวผู้ป่วยได้ หลีกเลี่ยงการเลี้ยง หรือนำเข้าสัตว์ป่าจากต่างประเทศที่ไม่ทราบประเทศต้นทาง
การรักษาโรคฝีดาษลิง
รักษาโดยให้ยาต้านไวรัส cidofovir , Tecovirimat , brincidofovir การป้องกันปัจจุบันมีวัคซีนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในการป้องกันโรคฝีดาษลิง ในสหรัฐอเมริกา คือ JYNNEOS
เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ก.ล.ต. พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของ {ก} {ข} และ {ค} เป็นการกระทำผิดฐานใช้บัญชีหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเอง ใช้เงินกู้นอกระบบเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์และแสวงหาประโยชน์จากผู้ลงทุนโดยอาศัยโอกาสในการปฏิบัติงาน สำหรับ {ฆ} กระทำผิดฐานใช้บัญชีหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเอง และใช้เงินกู้นอกระบบเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 20(1) และ (2) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
ก.ล.ต. จึงสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุนของ 1) {ก} เป็นเวลา 2 ปี แต่เนื่องจากบริษัทหลักทรัพย์ต้นสังกัดได้ลงโทษด้วยการสั่งพักงานแล้ว 1 ปี จึงคงเหลือเวลาพักปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของ ก.ล.ต. อีก 1 ปี 2) {ข} เป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน แต่เนื่องจากบริษัทต้นสังกัดได้สั่งพักงานแล้ว 1 ปี จึงคงเหลือเวลาพักปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของ ก.ล.ต. อีก 6 เดือน 3) {ค} เป็นเวลา 1 ปี แต่เนื่องจากบริษัทต้นสังกัดได้สั่งพักงานแล้ว 1 ปี จึงถือว่าได้รับโทษตามคำสั่งของ ก.ล.ต. แล้ว และ 4) {ฆ} เป็นเวลา 1 ปี แต่เนื่องจากบริษัทต้นสังกัดได้สั่งพักงานแล้ว 2 เดือน จึงคงเหลือเวลาพักปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของ ก.ล.ต. อีก 10 เดือน
กรณี {ง} มีส่วนรู้เห็นและสนับสนุนการกระทำของผู้แนะนำการลงทุนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลดังกล่าวเป็นเวลานาน 6 ปี ด้วยการจัดทำบันทึกรับสภาพหนี้ของผู้แนะนำการลงทุนทั้ง 4 ราย ต่อเจ้าของบัญชีหลักทรัพย์ที่เป็นผู้ให้กู้ดังกล่าว ทั้งยังได้รับประโยชน์โดยอ้อมอีกด้วย ซึ่งเป็นการประพฤติผิดต่อหน้าที่ จากการให้บริการด้วยความไม่ซื่อสัตย์สุจริต ขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และสนับสนุนการกระทำความผิดของบุคคลอื่น ด้วยการรู้เห็นและจัดการให้ผู้แนะนำการลงทุนใช้บัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้าซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเอง และรู้เห็นและสนับสนุนการกู้เงินนอกระบบกับลูกค้า รวมถึงละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควรในฐานะผู้จัดการ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ปฏิบัติงานซึ่งอยู่ภายใต้การตรวจสอบดูแลกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ อันเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อกฎหมาย เข้าข่ายลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ตามข้อ 6(1) และ (4) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 ก.ล.ต. จึงห้ามการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์เป็นเวลา 5 ปี และสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุนตามอายุการให้ความเห็นชอบที่เหลือ คือถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาคำขอความเห็นชอบในคราวต่อไปเป็นเวลา 5 ปี นับจากวันที่คำสั่งลงโทษมีผล
ก.ล.ต. แจ้ง บมจ. ไทยยูนีคคอยล์เซ็นเตอร์ (?TUCC?) ให้ความร่วมมือแก่ผู้สอบบัญชีในการสอบทานงบการเงินไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ปี 2555
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 | ฉบับที่ 11 / 2556
ก.ล.ต. แจ้งบริษัท ไทยยูนีคคอยล์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) (“TUCC”) ให้ความร่วมมือแก่ผู้สอบบัญชีในการสอบทานงบการเงินไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ปี 2555 โดย TUCC จะต้องนำส่งงบการเงินฉบับแก้ไขที่ผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีแล้วต่อ ก.ล.ต. พร้อมทั้งเปิดเผยงบการเงินชุดที่แก้ไขดังกล่าวต่อสาธารณชนภายในวันที่ 8 มีนาคม 2556
สืบเนื่องจาก ก.ล.ต. พบว่า ผู้สอบบัญชีได้เสนอรายงานการสอบทานโดยไม่สามารถให้ความเชื่อมั่นต่องบการเงินดังกล่าวของ TUCC เนื่องจากถูกจำกัดขอบเขตการสอบทานโดยผู้บริหารทำให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถหาหลักฐานการสอบทานให้เป็นที่พอใจเกี่ยวกับบัญชีเงินสด รายการซื้อขายที่เป็นเงินสด รายการค่าตอบแทนของผู้บริหาร รายการภาษีอากรที่ถูกเรียกเก็บจากกรมสรรพากร และรายการลูกหนี้การค้าที่ TUCC ได้บันทึกเป็นรายการฝากขายไว้ในปี 2554 และเปลี่ยนเป็นรายการขายเชื่อปกติในปี 2555
ก.ล.ต. จึงได้แจ้งให้ TUCC ให้ความร่วมมือแก่ผู้สอบบัญชีในการให้ข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ จนเป็นที่พอใจ และนำส่งงบการเงินฉบับแก้ไขที่ผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีแล้วต่อ ก.ล.ต. พร้อมทั้งเปิดเผยงบการเงินชุดที่แก้ไขต่อสาธารณชนภายในวันที่ 8 มีนาคม 2556
ก.ล.ต. สั่งพักการปฎิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุน 1 ราย และเปิดเผยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 1 ราย
วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 | ฉบับที่ 12 / 2556
ก.ล.ต. สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุนราย {ก} ขณะกระทำผิดสังกัดบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) เป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 และเปิดเผยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุนราย {ข} ซึ่งสังกัดบริษัทหลักทรัพย์อีกแห่งหนึ่งให้สาธารณชนทราบ
กรณี {ก} ก.ล.ต. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าและตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่า มีการขายหลักทรัพย์ของลูกค้าจำนวน 4 หลักทรัพย์ตั้งแต่ปี 2551 ซึ่ง {ก} ผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนมีหนังสือลงวันที่ 24 เมษายน 2554 ยอมรับกับลูกค้าว่าได้ตัดสินใจขายหลักทรัพย์ดังกล่าว โดยที่ลูกค้าไม่ได้สั่ง นอกจากนี้ {ก} ยังยอมรับว่า ได้รับมอบหมายในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนลูกค้าตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552 ถึงเดือนเมษายน 2554 รวมถึงจัดทำใบคำขอโอนหลักทรัพย์และให้ลูกค้าลงนามไว้ ทั้งที่มีจำนวนหลักทรัพย์ไม่เพียงพอที่จะโอนได้ตามใบคำขอโอนหลักทรัพย์ ทำให้ลูกค้าเสียหายประมาณ 3,000,000 บาท การกระทำของ {ก} ดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 20(1) และ (2) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นผลให้ ก.ล.ต. สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนราย {ก} เป็นเวลา 1 ปี
กรณี {ข} ก.ล.ต. ได้รับรายงานการตรวจสอบจากบริษัทหลักทรัพย์ต้นสังกัดว่า {ข} ผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าจำนวน 2 ราย ซึ่ง {ข} ยอมรับว่า ได้รับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์จากลูกค้าทางโทรศัพท์มือถือและ Blackberry Messenger การกระทำของ {ข} ดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 20(3) แห่งประกาศฉบับเดียวกัน ก.ล.ต. จึงเปิดเผยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในกรณีนี้ให้สาธารณชนทราบ และจะบันทึกพฤติกรรมไว้ประกอบการพิจารณาหากมีการปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ของผู้แนะนำการลงทุนอีก
ก.ล.ต. ประสานสมาคมบริษัทจัดการลงทุนยกระดับมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวม
วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 | ฉบับที่ 13 / 2556
ก.ล.ต. สนับสนุนให้สมาคมบริษัทจัดการลงทุนยกระดับมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของสมาชิกให้ทัดเทียมสากล และนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการเปิดเผยข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ประจำไตรมาสแรกของปี 2556 ว่า ก.ล.ต. สนับสนุนให้สมาคมบริษัทจัดการลงทุนส่งเสริมให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ปฏิบัติตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานระดับสากล (Global Investment Performance Standards: GIPS) ซึ่งจัดทำโดย CFA Institute เพิ่มเติมจากมาตรฐานของสมาคม เพื่อให้การคำนวณและการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานของกองทุนรวมมีความเหมาะสม เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเปรียบเทียบกันได้ในระดับสากล อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนข้ามประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ลงทุนต่างประเทศยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการนำเสนอข้อมูลเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนประเภทเดียวกันไว้ให้ผู้ลงทุนใช้ศึกษาก่อนตัดสินใจลงทุนได้ต่อไป
นายสมจินต์ ศรไพศาล นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า สมาคมเห็นสอดคล้องกับ ก.ล.ต. ในเรื่องการปฏิบัติตามมาตรฐาน GIPS โดยรับที่จะไปศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งมาตรฐานที่ บลจ. ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นไปตาม GIPS แล้วเป็นส่วนใหญ่ และได้เปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานของกองทุนรวมไว้ในเว็บไซต์ของสมาคมบ้างแล้ว ซึ่งต่อไปผู้ลงทุนจะสามารถใช้ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนได้ดียิ่งขึ้น
ก.ล.ต. มุ่งยกระดับการเปิดเผยข้อมูลการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน
วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 | ฉบับที่ 14 / 2556
ก.ล.ต. เดินหน้ายกระดับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน เน้นการจัดทำความเห็นของฝ่ายจัดการเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน (Management Discussion and Analysis หรือ ?MD&A”) ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) เนื่องจากเป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้ลงทุนต้องใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน โดยวางแผนศึกษา รวมทั้งหารือแนวทางดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้อง? ประเดิมต้นปีด้วยการจัดสัมมนาเพื่อสรุปแนวทางการจัดทำ MD&A? เสนอข้อแนะนำ? และเผยแพร่แบบประเมินความครบถ้วนของข้อมูล (“checklist”) เพื่อช่วยให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลได้ดีขึ้น
เนื่องจากคุณภาพข้อมูล MD&A ในแบบ 56-1 มีความสำคัญต่อผู้ลงทุนในการใช้วิเคราะห์ควบคู่กับงบการเงินเพื่อการตัดสินใจลงทุน ประกอบกับจากผลสำรวจความเห็นของผู้ลงทุนสถาบันต่างประเทศใน CG Watch 2012 ซึ่งจัดทำโดย Asian Corporate Governance Association และ CLSA Asia-Pacific Markets ได้ระบุว่า การเปิดเผยข้อมูล MD&A ของบริษัทไทยยังไม่ดีนัก? ก.ล.ต. จึงได้ดำเนินแผนงานศึกษาหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในต่างประเทศ รวมทั้งรวบรวมข้อมูลจากภาคเอกชนและผู้ลงทุน และหารือแนวทางดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับการเปิดเผยข้อมูล MD&A
เริ่มต้นด้วยการจัดสัมมนาแนวทางการจัดทำ MD&A ในแบบ 56-1 ให้แก่บริษัทจดทะเบียนและที่ปรึกษาทางการเงิน เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนากว่า 600 คน ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ? โดยมีวิทยากรจากภายนอกร่วมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานและแนวทางการเปิดเผยข้อมูล รวมทั้งตัวอย่างในต่างประเทศ ตลอดจนข้อเสนอแนะให้บริษัทจดทะเบียนจัดทำ MD&A โดยการวิเคราะห์ให้สะท้อนภาพการดำเนินธุรกิจ ไม่เฉพาะแต่ส่วนที่เป็นงบการเงิน มีคำอธิบายที่ครอบคลุมถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุของตัวเลขผลการดำเนินงานและฐานะการเงินที่สำคัญอย่างชัดเจน ทั้งปัจจัยภายนอกที่เป็นภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และปัจจัยภายใน เช่น นโยบาย หรือกลยุทธ์ที่บริษัทเลือกใช้? รวมทั้งปัจจัยหรือความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานในอนาคตของบริษัท และมาตรการในการบริหารจัดการ
ผลจากการสัมมนามาดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดย ก.ล.ต. ได้นำมาสรุปเป็นข้อแนะนำแก่บริษัทจดทะเบียนเพื่อประกอบการจัดทำ MD&A ปี 2555 และได้เผยแพร่ checklist ที่ ก.ล.ต. ได้จัดทำขึ้นให้บริษัทจดทะเบียนนำไปประโยชน์ในการสอบทานความครบถ้วนของข้อมูลด้วย? โดยผู้ที่สนใจสามารถ download ข้อแนะนำ และ checklist ตลอดจนเอกสารและวีดีโอจากการอบรมได้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th
นายวรพล โสคติยานุรักษ์? เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ?ก.ล.ต. ให้ความสำคัญกับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนมาโดยตลอด การเปิดเผยข้อมูลการวิเคราะห์ MD&A เป็นข้อมูลที่ทุกบริษัทต้องจัดทำและเตรียมไว้คอยตอบคำถามแก่ผู้ลงทุนทั่วไปอยู่แล้ว? เพียงแต่เราควรมาทบทวนดูว่า MD&A ที่เราทำนั้นแสดงข้อมูลที่สำคัญอย่างถูกต้อง เพียงพอ และเข้าใจง่ายแล้วหรือยัง? การสัมมนา ข้อแนะนำ รวมทั้ง checklist ที่ ก.ล.ต. จัดเตรียมให้บริษัทจดทะเบียน น่าจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลได้ดีขึ้น ซึ่งหากบริษัทดำเนินการได้ตามแนวทางดังกล่าว ก็จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ลงทุนและบริษัทต่อไป?
ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศการกำหนดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 | ฉบับที่ 15 / 2556
ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) เพื่อให้การถือหน่วยลงทุนมีการกระจายตัว และไม่เป็นช่องทางการแสวงหาประโยชน์ของกลุ่มบุคคลใด ๆ เช่น กำหนดให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันถือหน่วยลงทุนได้ไม่เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และหากถือเกินข้อจำกัดเนื่องจากการลงทุนเพิ่ม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจะต้องเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ลงทุนทราบ และปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ห้ามนับคะแนนเสียงและจ่ายเงินปันผลในส่วนที่เกิน รวมทั้งจะต้องแก้ไขสัดส่วนการลงทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในการนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่ร่างประกาศและเอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทางโทรศัพท์หมายเลข 0-2263-6071 หรือทาง e-mail ที่ kunpatu@sec.or.th จนถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556
ก.ล.ต. เดินหน้าผลักดันภาครัฐใช้ตลาดทุนเป็นเครื่องมือในการระดมทุน