ตัวแทนขายประกัน วางแผนการเงิน ที่ปรึกษาการเงิน Unite Linked UDesign Elite Health Plus DHealth Plus เมืองไทยยูแอลพลัส UL Plus เมืองไทยประกันชีวิต
ก.ล.ต. เพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้แนะนำการลงทุน
วันพุธที่ 7 มกราคม 2558 | ฉบับที่ 3 / 2558
ก.ล.ต. เพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย {ก} สังกัดบริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรด จำกัด
ก.ล.ต. ได้รับรายงานการตรวจสอบจากบริษัทต้นสังกัดและตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า {ก} ส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้าซึ่งเป็นน้องชายของ {ก} ทั้งทางอินเตอร์เน็ตและผ่าน trader ID ของ {ก} เป็นระยะเวลา 11 เดือน โดยลูกค้ารับรู้และให้ความยินยอม ซึ่ง {ก} ได้ยอมรับว่าเป็นผู้ส่งคำสั่งซื้อขายที่เกิดขึ้นทั้งหมด และเงินที่ใช้ในการชำระค่าซื้อหลักทรัพย์เป็นเงินของครอบครัว ซึ่งในระยะหลังเป็นเงินของนางสาวพีรญาเอง
การกระทำของ {ก} เป็นการใช้บัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้าซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเอง ซึ่งฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน* ก.ล.ต. จึงเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย {ก} โดยมีกำหนดระยะเวลาในการรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเป็นเวลา 4 ปี แต่เมื่อคำนึงถึงกรณีที่ บล. ต้นสังกัดได้สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุนของ {ก} แล้วเป็นเวลา 3 เดือน จึงเหลือระยะเวลาในการรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบในคราวต่อไปอีกเป็นเวลา 3 ปี 9 เดือน มีผลตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2558
*ข้อ 20(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 อันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 6(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 23(1) และเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 31(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ที่ใช้บังคับแทนประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าว
ก.ล.ต. เดินหน้ารวม AFET กับ TFEX พร้อมรับโอนงานและบุคลากรจาก ก.ส.ล.
วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม 2558 | ฉบับที่ 4 / 2558
ก.ล.ต. เดินหน้ารวมตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (“AFET”) กับตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (“TFEX”) พร้อมรับโอนงานและบุคลากรจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (“ก.ส.ล.”) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2557
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า ?คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติเห็นชอบแนวทางดำเนินการรองรับการรวม AFET กับ TFEX ซึ่งการรวมตลาดดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศในด้านการประหยัดต่อขนาด (economy of scale) และอำนวยความสะดวกให้ผู้ลงทุนสามารถทำธุรกรรมได้ในตลาดเดียว ซึ่งจะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของตลาดซื้อขายล่วงหน้าของไทยสู่ระดับสากล ซึ่ง ก.ล.ต. ได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปได้อย่างราบรื่น โดยพิจารณาใน 3 ด้านหลัก คือ (1) ด้านสินค้าและตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (2) ด้านผู้ประกอบธุรกิจ และ (3) ด้านบุคลากร
(1) ในด้านสินค้าและตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ก.ล.ต. จะดำเนินการให้สินค้าเกษตรมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลตาม พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และให้ TFEX สามารถออกและเปิดให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงสินค้าเกษตรได้ โดยในช่วงแรกให้ซื้อขาย
ควบคู่ไปกับตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าก่อน เพื่อให้การซื้อขายมีความต่อเนื่องและไม่กระทบต่อผู้ลงทุน
(2) ด้านผู้ที่ประกอบธุรกิจสินค้าเกษตรล่วงหน้าอยู่แล้ว ก.ล.ต. จะออกเกณฑ์รองรับให้มาขออนุญาตประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ ได้ โดยอ้างอิงเกณฑ์กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ ในปัจจุบัน แต่จะผ่อนปรนบางเรื่องไประยะหนึ่ง อาทิ คุณสมบัติของผู้ยื่นขอรับใบอนุญาต ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว การดำรงเงินกองทุน เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บริการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงสินค้าเกษตรใน TFEX ได้อย่างต่อเนื่อง และขณะเดียวกันผู้ลงทุนก็ได้รับความคุ้มครองและไม่ให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบโดยรวม และ (3) ด้านบุคลากร ก.ล.ต. ยินดีรับบุคลากรของ ก.ส.ล. ที่สมัครใจเข้าปฏิบัติงานที่ ก.ล.ต. ในตำแหน่งที่เหมาะสมโดยพิจารณาตามความรู้ความสามารถและประสบการณ์ และเงินเดือนไม่น้อยกว่าเดิม รวมทั้งดูแลให้ได้รับสวัสดิการที่เทียบเท่าบุคลากรของ ก.ล.ต. ในตำแหน่งที่เทียบเท่ากันด้วย?
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจาก ก.ล.ต. ได้ที่ โทรศัพท์ 0-2263-6053 หรือ 0-2263-6255
ก.ล.ต. สนับสนุนธุรกิจจัดการลงทุนให้มีความพร้อมในการแข่งขันและผลักดันกองทุนรวมแก้ปัญหาการออม
วันจันทร์ที่ 12 มกราคม 2558 | ฉบับที่ 5 / 2558
ก.ล.ต. ส่งเสริมให้บริษัทจัดการลงทุนเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้วยการเพิ่มช่องทางการขาย เพิ่มกองทุนรวมประเภทใหม่ ร่วมพัฒนาธุรกิจในภูมิภาคด้วยกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ ตลอดจนใช้กองทุนรวมเพื่อช่วยแก้ปัญหาการออมของภาคประชาชน
ก.ล.ต.-นิด้า ลงนาม MOU โครงการ ?พันธมิตรวิชาการ?
วันอังคารที่ 6 มกราคม 2558 | ฉบับที่ 1 / 2558
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือโครงการ ?พันธมิตรวิชาการ? ร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารงานภาครัฐและภาคเอกชน การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และตลาดทุน เพื่อมุ่งสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ ผ่านการสนับสนุนโครงการวิชาการต่างๆ
ดร. วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ?การลงนามร่วมกันในวันนี้ จะช่วยผลักดันให้ภาคการศึกษาเข้ามามีบทบาทในการช่วยพัฒนาตลาดทุนและเศรษฐกิจไทย โดย ก.ล.ต.และนิด้าจะร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้และหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความพร้อมเข้าสู่ภาครัฐ ภาคเอกชนและตลาดทุน นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือทางด้านการจัดทำผลสำรวจความคิดเห็นด้านตลาดทุน ด้านความรู้ความเข้าใจทางการเงินและการลงทุนของประชาชนผ่าน ?นิด้าโพล? การผลิตและเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยต่างๆ ที่จะช่วยต่อยอดให้ ก.ล.ต. นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตลาดทุนได้ต่อไป และความร่วมมือนี้ ยังริเริ่มโครงการให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทแก่ผู้บริหารภาครัฐและเอกชนจากประเทศต่างๆ ที่ ก.ล.ต. มีความร่วมมือ อาทิ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม ภูฏาน เกาหลี และจีน โดยเฉพาะจากมณฑลยูนนาน มณฑลกวางสี มณฑลกวางตุ้ง และมณฑลฝูเจี้ยน โดยให้ ก.ล.ต. เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกจำนวนกว่า 10 ทุน เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น?
รองศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดี นิด้า กล่าวว่า ?นิด้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในโครงการ ?พันธมิตรวิชาการ? กับ ก.ล.ต. ในวันนี้ เพื่อร่วมมือกันทั้งในด้านการพัฒนาหลักสูตรและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ตลาดทุน การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนจากประสบการณ์จริงเพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานและสามาถนำมาต่อยอดและใช้ประโยชน์ได้จริง รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการทางวิชาการต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพผลงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จากความร่วมมือที่เกิดขึ้นในวันนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อยอดไปได้อีกหลายๆ ส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยรวมต่อไป?
ก.ล.ต. สั่งพักผู้แนะนำการลงทุนฐานไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
วันพุธที่ 7 มกราคม 2558 | ฉบับที่ 2 / 2558
ก.ล.ต. สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนราย {ก} สังกัด บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (บล.กสิกรไทย) ฐานไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าให้ครบถ้วน
ก.ล.ต. ตัวแทนขายประกัน สนับสนุนการจัดงาน CrowdFunding Asia™ Thailand Summit 2015
วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 | ฉบับที่ 10 / 2558
ก.ล.ต. ให้การสนับสนุน Phoenixict Pte Ltd. และองค์กรพันธมิตรภาครัฐและเอกชนด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี จัดงาน CrowdFunding Asia™ Thailand Summit 2015 ครั้งแรกขึ้นในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 10 -11 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมเรอเนสซองซ์ กรุงเทพ ราชประสงค์ เพื่อเปิดมุมมอง สร้างความตระหนักและแรงจูงใจให้แก่ผู้ประกอบการโดยเฉพาะภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) และธุรกิจเกิดใหม่ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย เกี่ยวกับการนำความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เช่น crowdfunding มาใช้ประโยชน์เพื่อการระดมทุนและขยายธุรกิจ เพื่อให้สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ รวมทั้งส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า ก.ล.ต. ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาช่องทางและเครื่องมือทางการเงินเพื่อเอื้อให้ธุรกิจในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ ที่มีศักยภาพทั่วไทย โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่ปัจจุบันมีประมาณ 3 ล้านราย คิดเป็นประมาณ 37% ของ GDP ให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนและใช้ประโยชน์จากตลาดทุนได้มากยิ่งขึ้น เพิ่มเติมจากแหล่งเงินทุนเดิมที่เคยใช้ เพื่อช่วยยกระดับประสิทธิภาพในการแข่งขันของ SMEs อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบันส่งผลให้การสื่อสารและการทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ Crowdfunding หรือการระดมทุนจากประชาชนรายย่อย ๆ หรือมวลชนผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต (internet-based crowdfunding) กลายเป็นช่องทางระดมทุนที่ได้รับความนิยมในกลุ่ม SMEs และธุรกิจเกิดใหม่ และเติบโตต่อเนื่องอย่างมากในช่วงหลายปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรป รวมทั้งประเทศเทคโนโลยีชั้นนำในเอเชีย
ก.ล.ต. เห็นแนวโน้มการเติบโตและประโยชน์ของ Crowdfunding ต่อประเทศไทยใน 5 มิติ ทั้งต่อธุรกิจในการเข้าถึงแหล่งทุน ผู้ลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น การสร้างมูลค่าเพิ่มและนวัตกรรมใหม่ๆ ตลาดทุนเติบโตและมีคุณภาพ และประเทศชาติโดยรวมให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ประชาชนมีรายได้สูงขึ้น สามารถพ้นจากกับดักประเทศรายได้ระดับปานกลาง โดยเปลี่ยนจากเศรษฐกิจฐานการผลิต (production-driven economy) สู่เศรษฐกิจที่มุ่งเน้นคุณค่าของสินค้า (value-driven economy)
งาน CrowdFunding Asia™ Thailand Summit 2015 ได้เชิญผู้แทนจากภาครัฐและภาคเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ มุมมอง และประสบการณ์ตรงทั้งจากภาครัฐในฐานะผู้กำกับดูแลและพัฒนา และภาคเอกชนในฐานะผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการระดมทุนผ่าน Crowdfunding นอกจากนี้ ยังมีภาคปฏิบัติที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจได้พบปะและนำเสนอความคิดใหม่ๆ ต่อนักลงทุนด้วย
เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ
เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)
ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว
คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ทั้งนี้ การถูก ก.ล.ต. กล่าวโทษเนื่องจากการกระทำเข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรา 243 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ มีผลให้นายพรเทพ และนางสาวอารดา เข้าข่ายมีลักษณะต้องห้ามเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนและขาดความน่าไว้วางใจในการเป็นกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียนตลอดระยะเวลาที่ถูกกล่าวโทษดำเนินคดี โดยก่อนหน้านี้ บุคคลทั้งสองเคยถูก ก.ล.ต. กล่าวโทษกรณีสร้างราคาหุ้นบริษัทเมโทรสตาร์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) (METRO) บริษัทไทยยูนีคคอยล์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) (TUCC) และบริษัท เอส.อี.ซี. ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (SECC) และบริษัทริช เอเชีย สตีล จำกัด (มหาชน) (RICH)
อนึ่ง การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลยุติธรรม
ข่าวฉบับนี้แสดงข้อมูล ณ วันที่ออกข่าวตามที่ระบุไว้ข้างต้น หากประสงค์จะดูข้อมูลสถานะปัจจุบันของเรื่อง โปรดดู ข้อมูลการกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
ก.ล.ต. ลงโทษบุคลากรตลาดทุน 5 ราย
วันพุธที่ 10 กันยายน 2557 | ฉบับที่ 130 / 2557
ก.ล.ต. ลงโทษบุคลากรตลาดทุน 5 ราย ขณะกระทำผิดสังกัดบริษัทหลักทรัพย์ อาร์เอชบี โอเอสเค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (บล.โอเอสเค) โดยห้ามปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนและพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนราย {ก} มีผลตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2557 พักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนราย {ข} {ค} {ฆ} และพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย {ง} มีผลตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2557
ก.ล.ต. ตรวจสอบการดำเนินงานตามปกติของ บล.โอเอสเค พบว่า {ข} {ค} {ฆ} และ {ง} จัดทำรายงานการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า (ใบ F8) ให้ลูกค้าลงนามรับรองรายการซื้อขายหลักทรัพย์โดยลูกค้าไม่ได้มาส่งคำสั่งซื้อขายที่ห้องค้า และบันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าจำนวนหลายรายเป็นจำนวนหลายรายการไม่ครบถ้วน ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 23(1) และ 23(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (ประกาศ ที่ ทลธ. 8/2557) ตามลำดับ อันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 31(1) แห่งประกาศฉบับเดียวกัน
ในขณะที่ {ก} ในฐานะผู้จัดการสาขา ละเลยการตรวจสอบดูแลการปฏิบัติงานของผู้แนะนำการลงทุนภายใต้การบังคับบัญชาราย {ข} {ค} และ {ง} เกี่ยวกับการกระทำผิดข้างต้น อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหลักทรัพย์และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เข้าข่ายเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 31(4) แห่งประกาศ ที่ ทลธ. 8/2557
ก.ล.ต. จึงพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนราย {ข} {ค} และ {ฆ} เป็นเวลา 9 เดือน โดยกรณี {ฆ} เนื่องจากถูก บล.โอเอสเค พักการปฏิบัติหน้าที่แล้วเป็นเวลา 1 เดือน จึงเหลือระยะเวลาพักการให้ความเห็นชอบตามคำสั่งของ ก.ล.ต. อีกเป็นเวลา 8 เดือน พักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ {ง} เป็นเวลา 9 เดือน และห้าม {ก} ปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ตลอดจนพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุน เป็นเวลา 9 เดือน แต่เนื่องจากถูกบริษัทต้นสังกัดลงโทษมาแล้วเป็นเวลา 1 เดือน 13 วัน จึงเหลือระยะเวลาลงโทษอีกเป็นเวลา 7 เดือน 17 วัน