ทำประกันชีวิตออนไลน์ เมืองไทยประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี ยื่นภาษี 2566 ขอเอกสารลดหย่อนภาษีได้จากไหน? ฟรีแลนซ์พนักงานออฟฟิศคนมีครอบครัวลดหย่อนภาษีภาษี
ถึงเวลายื่นภาษีเงินได้ปี 2565 กันอีกแล้ว เชื่อว่าทั้งมือเก่าและมือใหม่หัดยื่นภาษีเป็นงงแน่นอน เพราะมีเอกสารเยอะแยะไปหมด โดยเฉพาะเอกสารลดหย่อนภาษีที่มีหลายตัวมาก ๆ แต่ถ้าเพื่อน ๆ เตรียมเอกสารไว้ครบถ้วน รับรองว่าจะช่วยลดหย่อนภาษีและไม่เสียสิทธิแน่นอน
วันนี้เมืองไทยประกันชีวิตมีเช็กลิสต์เอกสารลดหย่อนภาษีมาฝาก จะได้เก็บเอาไว้เช็กกันพลาด เอกสารลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง และแต่ละตัวขอได้จากที่ไหน เราสรุปมาให้แล้ว
Checklist เอกสารลดหย่อนภาษี ขอได้จากที่ไหนบ้าง ? ก่อนยื่นภาษีเราต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม จะได้ไม่ตกหล่นและไม่เสียสิทธิในการลดหย่อนภาษีอีกด้วย มีเอกสารอะไรบ้าง และขอได้จากที่ไหน เช็กตามนี้ได้เลย
1.เอกสารแสดงรายได้
หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) : สำหรับพนักงานออฟฟิศ ใช้ใบ 50 ทวิ หรือ Freelance ใช้ใบหัก ณ ที่จ่าย สามารถขอจากบริษัทที่ว่าจ้างได้เลย ซึ่งเพื่อน ๆ จะต้องรวบรวมให้ครบทุกแหล่งที่มาของรายได้ด้วย
2.เอกสารลดหย่อนภาษี
กลุ่มภาระส่วนตัวและครอบครัว เช่น
ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา : ดาวน์โหลดและกรอกแบบ ล.ย.03 ได้ที่เว็บกรมสรรพากร (ดาวน์โหลดที่นี่)
กลุ่มการออมและลงทุน เช่น
กองทุน RMF/SSF : บลจ. จะส่งเอกสารให้กรมสรรพากรเอง
ประกันต่าง ๆ เช่น ประกันชีวิตแบบบำนาญ, ทำประกันชีวิตออนไลน์ ประกันสุขภาพของตัวเองและพ่อแม่ สามารถดาวน์โหลดหนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันภัยได้จากบริษัทประกัน
เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ : ขอจากบริษัทที่ตัวเองทำงาน
กลุ่มบริจาค : ใบอนุโมทนาบุญ ขอได้จากสถานที่ที่บริจาค
กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น
เอกสารกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย : ขอจากธนาคารที่ทำเรื่องกู้ยืม
ช้อปดีมีคืน : ขอใบกำกับภาษีได้จากห้างและร้านค้าที่เราซื้อของ (ต้องเข้าร่วมโครงการ)
เตรียมเอกสารลดหย่อนให้พร้อม! แล้วนำมายื่นผ่านระบบออนไลน์ได้เลยตั้งแต่วันนี้ – 10 เมษายน 2566 ส่วนเพื่อน ๆ ที่อยากหาตัวช่วยมาลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม อย่าลืมมองหาประกันดี ๆ เอาไว้ รับรองคุ้มสุด! เพราะได้ทั้งความคุ้มครองสุขภาพและยังใช้ลดหย่อนภาษีได้อีกจุก ๆ
เลือกประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายจากเมืองไทยประกันชีวิต คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผน ความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
นางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยภายหลังการร่วมหารือเพื่อให้การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วม กับสมาคมชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมอู่กลาง ว่า ในระยะแรก จะจัดตั้ง “ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้านการประกันภัย” เพื่อให้คำปรึกษาด้านการประกันชีวิต การประกันภัยรถยนต์ และการประกันภัยประเภทต่างๆ นอกจากนั้นยังมีบริการด้านตรวจเช็คสุขภาพและบริการตรวจเช็คเครื่องยนต์รถยนต์และจักรยานยนต์ฟรี ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการเปิดศูนย์ดังกล่าวได้ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 เป็นต้นไป โดยจะเริ่มจากจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา ตามลำดับ
ในระยะต่อไป จะจัดตั้ง “ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนด้านการประกันภัย” เพื่อให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของการประกันภัยและใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการทำประกันภัยซึ่งศูนย์ฯ ดังกล่าวจะตั้งอยู่ที่สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด
อธิบดีกรมการประกันภัย กล่าวต่อไปอีกว่า จากการประเมินความเสียหายพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยยังมีการทำประกันภัยน้อยมาก จึงจะจัดสัมมนาเพื่อให้ความรู้กับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป ให้เห็นถึงความสำคัญในการป้องกันภัยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินด้วยการประกันภัย
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับความเสียหายและมีการทำประกันภัยประเภทต่างๆไว้ โปรดตรวจสอบความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย หากได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่ซื้อไว้ ให้เตรียมเอกสาร/หลักฐานความเสียหายและแจ้งบริษัทประกันภัยเพื่อขอรับค่าสินไหมทดแทนต่อไป และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด หรือสายด่วนประกันภัย 1186
กรมการประกันภัยเตือนตัวแทน/นายหน้าประกันภัยที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันสิ้นอายุ รีบขอรับใบอนุญาตใหม่ภายใน ธ.ค. 2549 หากเลยกำหนดต้องสอบความรู้ใหม่
นางสาวชำเลือง ชาติสุวรรณ รองอธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยถึงเรื่องระยะเวลาในการขอรับใบอนุญาตสำหรับตัวแทน/นายหน้าประกันภัยทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลว่า ผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นตัวแทน/นายหน้าประกันภัย และใบอนุญาตดังกล่าวสิ้นอายุ แต่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ ( ที่เรียกว่า “ขาดต่อ ขอใหม่”) ก็ขอให้มาขอรับใบอนุญาตใหม่ได้ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2549 นี้ ซึ่งหากพ้นจากวันที่กำหนด ก็จะต้องผ่านการสอบความรู้ใหม่ จึงจะยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทน/นายหน้าประกันภัยได้
ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 กำหนดให้ใบอนุญาตเป็นตัวแทนและนายหน้าประกันภัยมีอายุ 1 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ถ้าผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตภายในสองเดือนก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ ดังนั้น เมื่อมีการพัฒนากฎหมายจึงต้องมีการปรับปรุงข้อกำหนดในประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งประกาศฉบับหนึ่งที่ได้มีการพัฒนา คือ ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตสำหรับผู้สมัครสอบความรู้ เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต และกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบความรู้ สำหรับตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย ฉบับลงวันที่ 25 กันยายน 2549 และเพื่อให้ตัวแทน/นายหน้าประกันภัยที่ใบอนุญาตสิ้นอายุแต่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีดังกล่าวได้มีระยะเวลายื่นคำขอรับใบอนุญาตใหม่ได้ทัน จึงกำหนดให้ประกาศทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับตั้งแต่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป และให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิต ฉบับลงวันที่ 9 มีนาคม 2547 และการประกันวินาศภัย ฉบับลงวันที่ 31 ธันวาคม 2546
อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการขอรับใบอนุญาตข้ออื่นๆ ในประกาศนายทะเบียนฉบับใหม่ยังคงกำหนดให้เป็นไปตามเดิม กล่าวคือ ผู้ที่สอบได้ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทน/นายหน้าประกันภัยต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ประกาศผลสอบ และหากผู้ที่สอบได้และมีสิทธิขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทน/นายหน้าประกันภัย ไม่ขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาดังกล่าว จะถูกตัดสิทธิ์ในการขอรับใบอนุญาต แต่ไม่ตัดสิทธิ์ในการสมัครสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิต / ประกันวินาศภัยใหม่
สำหรับผู้ที่ต้องการขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทน/นายหน้าประกันภัย สามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายทะเบียนตัวแทนนายหน้าประกันภัย กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ จ.นนทบุรี หรือสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ www.doi.go.th
นางสาวชำเลือง ชาติสุวรรณ รักษาการอธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหาย รวมทั้งทรัพย์สินได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมากนั้น กรมการประกันภัยได้มอบหมายให้สำนักงานประกันภัยจังหวัดในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยดังกล่าว ให้ความร่วมมือในการประสานงาน ให้คำแนะนำ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นโดยเร่งด่วนแล้ว
นางสาวชำเลือง ชาติสุวรรณ กล่าวต่อไปว่า ผู้ประสบภัยมีสิทธิที่จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายในส่วนของชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินจากบริษัทประกันภัย หากผู้ประสบภัยได้ มีการทำประกันภัยไว้ โดยผู้ประสบภัยที่จะได้รับการชดใช้จากการประกันภัย มีดังนี้
1. ผู้ที่ได้ทำประกันภัยชีวิต
2. ผู้ที่ได้ทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล
3. ผู้ที่ได้ทำประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร ซึ่งจะได้รับการชดใช้ในกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร ในวงเงิน 300,000 บาท
4. ผู้ที่ได้ทำประกันอัคคีภัยสำหรับทรัพย์สิน ซึ่งได้ซื้อภัยเพิ่ม “น้ำท่วม” ไว้
5. ผู้ที่ได้ทำประกันภัยรถยนต์ โดยผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากการใช้รถในระหว่างการเกิดอุทกภัยดังกล่าวก็จะได้รับการชดใช้ตามความคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยนั้นๆ ส่วนตัวรถคันเอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองเฉพาะได้มีการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ไว้ เท่านั้น
นางสาวชำเลืองฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายและมีการทำประกันภัยไว้ ได้ตรวจสอบความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย หากได้รับความคุ้มครองโปรดจัดเตรียมเอกสารหลักฐานความเสียหาย และแจ้งบริษัทประกันภัยเพื่อขอรับค่าสินไหมทดแทน ต่อไป ทั้งนี้กรมการประกันภัยพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทุกคนอย่างเต็มที่ หากมีปัญหาและข้อสงสัยเกี่ยวกับการประกันภัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด หรือกลุ่มคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขต ทั้ง 4 เขต หรือสายด่วนประกันภัย 1186
คปภ. เตรียมรับเทศกาลปีใหม่เปิดบริการสายด่วน 1186 ตลอดวันหยุด พร้อมประสานงาน คปภ. จังหวัดทุกจังหวัด เตรียมอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสอบถาม ข้อมูลและสิทธิประโยชน์จากการประกันภัย พร้อมฝากเตือนผู้ใช้รถตรวจสอบการทำประกันภัยและวันหมดอายุก่อนออกเดินทาง
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน จะมีประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาในต่างจังหวัดและท่องเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่ใช้รถยนต์เป็นพาหนะ ในการเดินทาง ทำให้ปริมาณรถบนถนนคับคั่ง คปภ. มีความห่วงใยในอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ จึงได้ประสาน คปภ. จังหวัดทุกจังหวัด เตรียมอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและเป็นศูนย์กลางประสานงานเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชาทราบถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับจากการทำประกันภัย ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประสบภัยในการเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยเพื่อให้การจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม นอกจากนี้ คปภ.ยังได้จัดเจ้าหน้าที่ให้บริการประชาชนที่มีข้อสงสัยเรื่องการประกันภัยในช่วงวันหยุด โดยสามารถสอบถามข้อมูลได้ทางโทรศัพท์ สายด่วน 1186
สำหรับการประกันภัยรถนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. เป็นการประกันภัยรถภาคบังคับที่รถทุกคันต้องทำประกันภัย ซึ่งผู้ประสบภัยทุกคนจะได้รับความคุ้มครองในด้านค่ารักษาพยาบาลวงเงินสูงสุด รายละไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนในกรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะจะได้รับค่าสินไหมทดแทนรายละ 100,000 บาท
2. การประกันภัยรถภาคสมัครใจ หรือการประกันภัยประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 3 และประเภท 4 เป็นการประกันภัยที่ขยายความคุ้มครองในส่วนที่เกินวงเงินคุ้มครองของการประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ และยังให้ความคุ้มครองรวมไปถึงทรัพย์สินของบุคคลภายนอกด้วย
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้เจ้าของรถทุกคันขับรถยนต์ด้วยความระมัดระวัง ตรวจสอบการทำประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. ตลอดจนวันหมดอายุของการทำประกันภัยก่อนการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ ตรวจสภาพรถและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และที่สำคัญอย่างยิ่งคือต้องไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างขับขี่เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยปรับลดเบี้ยประกันภัยรถตามพ.ร.บ. สำหรับรถยนต์ 3 ประเภท ได้แก่ รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน รถยนต์โดยสารขนาดไม่เกิน 15 ที่นั่ง และรถยนต์บรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน ประเภทละ 100 บาท
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า จากที่ คปภ.ได้ร่วมมือกับสมาคมประกันวินาศภัยดำเนินการศึกษาเพื่อปรับลดเบี้ยประกันภัยรถตามพ.ร.บ. บัดนี้ ได้ข้อสรุปเป็นที่ยุติว่าจะปรับลดเบี้ยประกันภัย สำหรับรถยนต์ 3 ประเภท ได้แก่ 1)รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน ปรับลดจาก คันละ 700 บาท เหลือ 600 บาท 2)รถยนต์โดยสารขนาดไม่เกิน 15 ที่นั่ง ปรับลดจาก 1,200 บาท เหลือ 1,100 บาท และ3)รถยนต์บรรทุก น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน ปรับลดจาก 1,000 บาท เหลือ 900 บาท โดยให้มีผลบังคับใช้สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่เริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2551 เป็นต้นไป
นางจันทราฯ กล่าวต่อไปว่า นอกจากการปรับลดเบี้ยประกันภัยแล้ว คปภ.ยังได้เร่งพัฒนาปรับปรุงระบบการดำเนินงานต่างๆให้มีประสิทธิภาพก้าวสู่ระดับสากลมากขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก รวดเร็วในการบริการประชาชนให้ดียิ่งขึ้น เช่น การสร้างระบบการส่งข้อมูลการรับประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.ฯ โดยระบบนี้จะช่วยให้ผู้เอาประกันภัย ผู้ประสบภัยและประชาชนทั่วไป สามารถตรวจสอบข้อมูลการทำประกันภัยรถ บริษัทที่รับประกันภัย ระยะเวลาประกันภัยได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และหากระบบนี้พัฒนาเต็มรูปแบบแล้ว จะเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแบบออนไลน์ ที่เรียกว่า “ระบบสินไหมทดแทนอัตโนมัติ (E-Claim System)” ที่ทำให้การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเกิดความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย
จากข่าวการเกิดอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2545 เวลาประมาณ 10.00 น. บริเวณถนนราชวารีเดช สายเลิงนกทา-ยโสธร ตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร รถยนต์โดยสารปรับอากาศเดินทางรับส่งผู้โดยสารระหว่างกรุงเทพฯ นครพนม หมายเลขทะเบียน 10-4743 นครราชสีมา เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์ หมายเลขทะเบียน กจย 62 นครพนม เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 21 ราย นั้น นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า รถยนต์โดยสารปรับอากาศคันดังกล่าวได้ทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ไว้กับบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด ส่วนรถจักรยานยนต์ไม่การทำประกันภัยแต่อย่างใด ผู้ได้รับบาดเจ็บและทายาทของผู้เสียชีวิตสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากการประกันภัยไเด้ดังนี้ 1. กรณีรถยนต์โดยสารเป็นฝ่ายผิด ผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บและทายาทของผู้เสียชีวิตสามารถเรียยกร้องขขอค่ารักษาพยาบาลได้ตามความเป็นจริงและค่าอนามัยตามความเหมาะสมจากการประกันภัยตาม พ.ร.บ. จำนวนรายละไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนผู้ประกอบภัยที่เสียชีวิต ทายาทสามารถขอรับค่าสินไหมทดแทนได้จำนวนรายละ 80,000 บาท 2. กรณีรถจักรยานยนต์เป็นฝ่ายผิด เนื่องจากรถจักรยานยนต์ไม่มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ. ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่เสียชีวิตสามารถขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น เป็นค่าปลงศพจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ จำนวน 15,000 ส่วนผู้ประสบภัยที่โดยสารสามารถขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจาก บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด เป็นค่ารักษาพยาบาลตามความเป็นจริงรายละไม่เกิน 15,000 บาท ผู้เสียชีวิตจะได้ค่าปลงศพจำนวนรายละ 15,000 บาท 3. นางสาวพจนีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา กรมการประกันภัยประสบความสำเร็จในการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับอุบัติเหตุที่ จะเกิดขึ้นจากการที่ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาในต่างจังหวัด โดยนอกจากจะมีการประชาสสัมพันธ์ให้เตรียมความพร้อมในการเดินทางและรณรงค์การประกันภัยตาม พ.ร.บ. เพื่อคุ้มครองผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตแล้ว ยังได้จัดเจ้าหน้าที่คอยประสานงานและตอบปัญหาทางสายด่วนประกันภัย 1186 ได้สั่งการให้สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัดจัดเจ้าหน้าที่เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในด้านการเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้น โดยให้ประสานงานกับโรงพยาบาล รับมอบอำนาจจากผู้ประสบภัยในการเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล เพื่อผู้ประสบภัยจะได้ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินเพื่อจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลเอง รวมถึงให้สำนักงานประกันภัยจังหวัดรายงานอุบัติเหตุรายใหญ่ให้ส่วนกลางทราบ เพื่อการประสานงานในเรื่องการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว และเป็นธรรมต่อไป หากมีปัญหาและข้อสงสัยเกี่ยวกับการประกันภัย สามารถสอบถามได้ที่ กรมการประกันภัย 0-0547-4524 หรือจากสายด่วนประกันภัย 1186สำนักงานประกันภัย 1186 สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด
เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ
เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)
ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว
คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย