ประกันชีวิต เมืองไทยประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี


ประกันชีวิต เมืองไทยประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี ที่ปรึกษาประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ตัวแทนประกันชีวิต

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน
วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน 2557 | ฉบับที่ 131 / 2557
.ล.ต. มีแนวคิดที่จะปรับปรุงหลักเกณฑ์การสิ้นสุดหน้าที่การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนตามมาตรา 56 และการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหารตามหมวด 3/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกัน และกำหนดหลักเกณฑ์รองรับการรับซื้อหลักทรัพย์เพื่อให้สิ้นสุดหน้าที่ของบริษัทจดทะเบียน ทั้งนี้ เพื่อมิให้มีต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์สูงเกินกว่าประโยชน์ต่อสาธารณชน

ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2263-6099 หรือทาง e-mailที่ corgov@sec.or.th จนถึงวันที่ 19 กันยายน 2557

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นเกณฑ์การติดต่อและให้บริการลูกค้า
วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน 2557 | ฉบับที่ 132 / 2557
ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะรวบรวมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้เป็นประกาศฉบับเดียวโดยปรับปรุงให้มีความรัดกุม เหมาะสมยิ่งขึ้น ครอบคลุมหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้า การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน รวมถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ การวิเคราะห์และการแนะนําการลงทุน การจัดส่งหลักฐานยืนยันการทําธุรกรรมของลูกค้า การให้บริการผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน และการรับคําสั่งซื้อขายนอกสถานที่

ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2263-6311 หรือทาง e-mailที่ rangrong@sec.or.th จนถึงวันที่ 17 กันยายน 2557

ก.ล.ต. สั่งพักผู้แนะนำการลงทุนฐานตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์โดยไม่ได้สั่งและไม่บันทึกการให้คำแนะนำ
วันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557 | ฉบับที่ 133 / 2557
ก.ล.ต. สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย {ก} สังกัดบริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด (บล. โกลเบล็ก) เนื่องจากตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนโดยผู้ลงทุนไม่ได้สั่ง และไม่บันทึกการให้คำแนะนำและการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์

ก.ล.ต. ได้รับรายงานของ บล. โกลเบล็ก กรณีลูกค้าร้องเรียนผู้แนะนำการลงทุนราย {ก} พร้อมทั้งตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า {ก} ตัดสินใจซื้อหลักทรัพย์ในบัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้าโดยลูกค้าไม่ได้สั่ง ซึ่ง {ก} ยอมรับว่าได้สั่งซื้อหลักทรัพย์โดยไม่ได้สั่งจริง เนื่องจากติดต่อลูกค้าไม่ได้ ประกอบกับราคาของหลักทรัพย์ อยู่ในระดับที่ลูกค้าสนใจและน่าจะขายเพื่อทำกำไรได้เหมือนกับที่ลูกค้าเคยซื้อในช่วงเช้า และยอมรับอีกว่าได้แนะนำให้ลูกค้าขายหลักทรัพย์อีกหลักทรัพย์หนึ่ง เพื่อนำเงินมาชำระค่าซื้อจริง ซึ่งลูกค้าเห็นด้วยและสั่งทางโทรศัพท์มือถือให้ {ก} ขายหลักทรัพย์ดังกล่าวทำให้ไม่พบที่มาของคำสั่งจากลูกค้าสำหรับรายการขายดังกล่าว

การตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนโดยผู้ลงทุนไม่ได้สั่ง และการไม่บันทึกการให้คำแนะนำและการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์จากลูกค้าอย่างครบถ้วน เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน* ก.ล.ต. จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย {ก} เป็นเวลา 2 เดือน แต่เมื่อคำนึงถึงกรณีที่ บล. โกลเบล็ก ได้สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุนของ {ก} แล้วเป็นเวลา 1 เดือน จึงเหลือระยะเวลาพักการให้ความเห็นชอบอีกเป็นเวลา 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2557

หมายเหตุ : ข้อ 20(2) ประกันชีวิต และ ข้อ 20(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 23(2) และ 23(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ที่ใช้บังคับแทนประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทลธ. 3/2555

ก.ล.ต. กำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมผู้ประเมินหลักสำหรับธุรกรรมในตลาดทุน
วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2557 | ฉบับที่ 134 / 2557
ก.ล.ต. กำหนดให้ผู้ประเมินหลักสำหรับธุรกรรมในตลาดทุนรายใหม่ต้องผ่านการสอบวัดความรู้ และการสอบสัมภาษณ์จาก ก.ล.ต. เพื่อเพิ่มคุณภาพและจำนวนบุคลากร และรองรับผลิตภัณฑ์ทางการเงินในตลาดทุนที่มีหลากหลายยิ่งขึ้น

นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ก.ล.ต. กำหนดคุณสมบัติผู้ประเมินสำหรับธุรกรรมในตลาดทุนเพิ่มเติม โดยผู้ที่จะยื่นขอความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินรายใหม่ต่อ ก.ล.ต. จะต้องผ่านการสอบวัดความรู้ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินสำหรับธุรกรรมในตลาดทุนที่จัดโดยศูนย์ทดสอบทักษะด้านการจัดการแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่เกิน 2 ปีนับจากวันที่ผ่านการทดสอบ และต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์จาก ก.ล.ต. เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้ประเมิน และเพิ่มจำนวนบุคลากรในตลาดทุนให้มากขึ้น รองรับความต้องการระดมทุนผ่านผลิตภัณฑ์ทางการเงินในตลาดทุนที่เพิ่มจำนวนและหลากหลายขึ้น อีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุนและส่งผลดีต่อเสถียรภาพของตลาดทุนโดยรวม

สำหรับผู้ประเมินที่เคยสอบผ่านการทดสอบความรู้จากสมาคมวิชาชีพเดิมตั้งแต่ 16 ธันวาคม 2553 สามารถนำผลสอบมายื่นขอความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินหลักต่อ ก.ล.ต. ได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ส่วนผู้ประเมินที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. แล้วและต้องการยื่นขอต่ออายุความเห็นชอบ บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้นสังกัดจะต้องยื่นคำขอล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วันก่อนวันสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ

ก.ล.ต. เตือนผู้ถือหุ้น ADAM ใช้สิทธิออกเสียงกรณีรายการจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทที่เกี่ยวข้อง
วันศุกร์ที่ 19 กันยายน 2557 | ฉบับที่ 135 / 2557
ก.ล.ต. เตือนผู้ถือหุ้น ADAM ศึกษาข้อมูลการเข้าทำรายการจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทที่เกี่ยวข้อง ก่อนใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 25 กันยายน 2557

ตามที่บริษัท อาดามัส อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“ADAM”) จะขออนุมัติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท อาดามัส เวิลด์ จำกัด บริษัท อาดามัส คอนซูเมอร์ จำกัด บริษัทร่วมและบริษัทที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บริษัท นิวส์ มัลติมีเดีย จำกัด บริษัท จี จี นิวส์ เนทเวิร์ค จำกัด รวมมูลค่า 9.46 ล้านบาท ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (“IFA”) มีความเห็นว่าผู้ถือหุ้นไม่ควรอนุมัติการเข้าทำรายการดังกล่าว เนื่องจากการจำหน่ายธุรกิจทั้งหมดของ ADAM จะส่งผลให้บริษัทเข้าข่ายมีสินทรัพย์ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดในรูปเงินสด ซึ่งอาจเข้าข่ายถูกขึ้นเครื่องหมาย NP ก่อนจะถูกห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ต่อไป ซึ่งในกรณีดังกล่าว ADAM จะต้องดำเนินการให้มีธุรกิจใหม่ภายใน 12 เดือนตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ในปัจจุบัน ADAM ยังไม่มีความชัดเจนของแผนธุรกิจ จึงมีความเสี่ยงเรื่องคุณสมบัติของบริษัทจดทะเบียนและการซื้อขายหุ้นของบริษัทในอนาคต ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทมีมติเห็นด้วยกับความเห็น IFA แต่เนื่องจากสิทธิในการพิจารณาอนุมัติเป็นของผู้ถือหุ้น จึงเสนอรายการดังกล่าวให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ

เนื่องจากรายการข้างต้นมีผลต่อคุณสมบัติการเป็นบริษัทจดทะเบียนและการซื้อขายหุ้นของบริษัทในอนาคต และเป็นรายการที่ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยไม่นับส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย ก.ล.ต. จึงขอให้ผู้ถือหุ้นศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบ ใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นในการรักษาประโยชน์ของตนเอง และตั้งข้อซักถามผู้บริหารบริษัท เพื่อให้มีข้อมูลอย่างเพียงพอประกอบการตัดสินใจ

ก.ล.ต. ปรับปรุงเกณฑ์การแก้ไขฐานะเงินกองทุนสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้
วันพุธที่ 24 กันยายน 2557 | ฉบับที่ 136 / 2557
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีมติเห็นชอบการปรับปรุงข้อกำหนดสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ ทั้งในด้านการดำเนินการแก้ไขฐานะเงินกองทุน ประกอบด้วย การกำหนดระยะเวลาในการแก้ไขเงินกองทุน การจำกัดการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขฐานะเงินกองทุน และในด้านการดำเนินการกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขฐานะเงินกองทุนได้ ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดโอกาสและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบ
ต่อลูกค้า คู่สัญญาของบริษัทหลักทรัพย์ และระบบตลาดทุนโดยรวม โดยข้อกำหนดที่ปรับปรุงใหม่จะมีความชัดเจนและครอบคลุมธุรกรรมที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถให้บริการได้ และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติในปัจจุบัน ซึ่งจะมีผลใช้บังคับทันทีภายหลังจากประกาศลงนามภายในเดือนตุลาคม 2557

ก.ล.ต. ร่วมกับ มก. เผยผลวิจัย ชี้ผู้ลงทุนควรใช้หลายปัจจัยประกอบการพิจารณาสุขภาพบริษัทจดทะเบียน
วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน 2557 | ฉบับที่ 137 / 2557
ก.ล.ต. จัด ?SEC Working Papers Forum ครั้งที่ 3? ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจและคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในหัวข้อ ?สำรวจสุขภาพบริษัทจดทะเบียน?

ดร. วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า งานสัมมนา SEC Working Papers Forum ครั้งที่ 3 ที่ ก.ล.ต. ร่วมกับ 4 สถาบันการศึกษานำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวข้องกับตลาดทุน ครั้งนี้ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานวิจัยภายใต้หัวข้อ ?สำรวจสุขภาพบริษัทจดทะเบียน? เผย 3 ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นอาจใช้อ้างอิงสำหรับการพยากรณ์สถานะของบริษัทจดทะเบียนและให้ผลในทิศทางเดียวกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของทริสเรตติ้ง และมีผลการศึกษาที่ปรากฏว่าหลักทรัพย์ในกลุ่มที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนมือสูง มีตัวแปรบางตัวที่สะท้อนถึงพัฒนาการทางการเงินที่ดีอย่างมีนัยสำคัญ ชี้ให้เห็นถึงโอกาสและแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน ขณะที่ผู้ลงทุนควรอาศัยหลายปัจจัยในการพิจารณาเลือกลงทุนบริษัทจดทะเบียนส่วนผลการศึกษาเรื่องการซื้อหุ้นโดยผู้ใกล้ชิดกับข้อมูลภายในและจำนวนกรรมการบริษัท สามารถบอกทิศทางการจัดการกำไรของบริษัทได้ชัดในบริษัทกลุ่มธุรกิจการเงิน

ดร. ณัฐวุฒิ คูวัฒนเธียรชัย ผู้วิจัยจาก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอันดับความน่าเชื่อถือกับโอกาสประสบความตกต่ำทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นการหาแบบจำลองที่เหมาะสม เพื่อใช้พยากรณ์โอกาสที่บริษัทจะประสบปัญหาทางการเงิน โดยใช้ข้อมูลและเทคนิคที่ไม่ซับซ้อน สามารถนำผลการพยากรณ์จากแบบจำลองมาจัดอันดับความน่าเชื่อถือ แล้วเปรียบเทียบกับอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันจัดอันดับ ผลปรากฏว่าแบบจำลอง MDA
ที่พัฒนาขึ้น สามารถพยากรณ์สถานะของบริษัทจดทะเบียนได้ดีกว่าแบบจำลองมาตรฐานของ Altman* รวมถึงสามารถพยากรณ์โอกาสประสบประสบปัญหาทางการเงินได้โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของทริสเรตติ้ง

รศ. ดร. ภัทรกิตติ์ เนตินิยม ผู้วิจัยจาก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เมื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของตัวแปรทั้ง 9 ตัว ประกอบด้วย อัตราการเปลี่ยนแปลงของกําไรขั้นต้น หนี้สิน รายได้รวม กระแสเงินสด ราคาหุ้น กําไรต่อหุ้น ปริมาณกระแสเงินสด ปริมาณกําไรต่อหุ้น และจํานวนครั้งการติด Turnover list แล้วนำมาทดสอบกับกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนมือสูงพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพัฒนาการทางการเงินที่ดี เช่น การขยายตัวของสินทรัพย์ ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือ ความสามารถในการทำกำไร ดังนั้น ในอนาคตหากมีการปรับปรุงเกณฑ์การควบคุมการซื้อหลักทรัพย์ อาจเพิ่มตัวแปรที่สะท้อนพัฒนาการทางการเงินเข้ามาเพื่อให้สะท้อนผลตอบแทนที่เหมาะสมตามปัจจัยพื้นฐานของหลักทรัพย์นั้น

ดร. สุนทรี เหล่าพัดจัน ผู้วิจัยจาก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ผลการศึกษาระบุการซื้อหุ้นโดยผู้ที่ใกล้ชิดกับข้อมูลภายในบริษัท สำหรับกรณีของบริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงิน สามารถบอกทิศทางการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนได้ ขณะที่ข้อมูลด้านบรรษัทภิบาลที่มีความสำคัญ คือจำนวนกรรมการ

*แบบจำลองมาตรฐานของ Altman คือ แบบจำลองพยากรณ์การล้มละลายของ Altman หรือที่รู้จักกันในนาม Altman?s Z-score model

หมายเหตุ: การเผยแพร่งานวิจัยเป็นการดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือระหว่าง ก.ล.ต. กับสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ 4 แห่ง ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย แลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างภาควิชาการกับผู้บริหารในตลาดทุน และนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตลาดทุน

เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน

เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You

พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ

เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)

ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว

คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%

(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง

(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี

โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์

เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

?ก.ล.ต. มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้ตลาดทุนไทยเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงออกมาตรการและดำเนินการด้านต่าง ๆ เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนและผู้เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญและดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งการพัฒนาเว็บไซต์ CG Thailand จะช่วยให้บริษัทจดทะเบียนเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้โดยสะดวกและครบถ้วนในที่เดียวและผู้ลงทุนมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ? นายวรพล กล่าว

ก.ล.ต. แก้เกณฑ์การลงทุนของกองทุนและจัดประเภทกองทุนให้สอดคล้องกับแนวทางสากล

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม 2557 | ฉบับที่ 108 / 2557

นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีมติเห็นชอบการแก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนรวม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้สามารถรองรับพัฒนาการของตลาด เพิ่มความหลากหลายของทรัพย์สินที่จะลงทุน และเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางสากลมากขึ้น

การแก้ไขหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่ กำหนดให้หลักเกณฑ์ประเภททรัพย์สินที่กองทุนสามารถลงทุนได้มีลักษณะเน้นกำหนดเป็นหลักการ (principle-based) มากขึ้น กำหนดหลักเกณฑ์อัตราส่วนการลงทุนให้มีการกระจายการลงทุนและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น กำหนดให้หลักเกณฑ์การจัดประเภทกองทุนสะท้อนความเสี่ยงการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น โดยพิจารณาจากฐานะการลงทุนสุทธิในทรัพย์สินต่างๆ แทนการกำหนดตามมูลค่าการลงทุน รวมทั้งยกเลิกการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน (“MF สำหรับ non-retail”) เพื่อลดความซ้ำซ้อนกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ที่เสนอขายกับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่เสนอจะมีผลใช้บังคับในอีก 1 ปี หลังจากวันที่ลงนามประกาศ เพื่อให้บริษัทจัดการมีเวลาปรับปรุงระบบการดำเนินงาน ขณะที่การยกเลิกการจัดตั้ง MF สำหรับ non-retail จะมีผลเมื่อมีการประกาศใช้บังคับ

ก.ล.ต. สั่งให้ RICHY แก้ไขแบบ filling และขยายเวลาจองซื้อหุ้น

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม 2557 | ฉบับที่ 109 / 2557

ก.ล.ต. สั่งให้บริษัท ริชี่เพลซ 2002 จำกัด (มหาชน) แก้ไขข้อมูลที่คลาดเคลื่อนในแบบ filing ในส่วนของการเปรียบเทียบค่าพีอีของบริษัทและของอุตสาหกรรมให้เป็นช่วงเวลาเดียวกัน และให้ขยายเวลาจองซื้อหุ้น IPO ต่อไปอีกอย่างน้อย 2 วัน เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่เหมาะสมและมีเวลาใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน

นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ก.ล.ต. สั่งให้บริษัท ริชี่เพลซ 2002 จำกัด (มหาชน) หรือ RICHY แก้ไขข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ filing) โดยให้เปรียบเทียบอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ (พีอี) ของ RICHY และของภาคอุตสาหกรรมในช่วงระยะเวลาเดียวกัน เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยในแบบ filing ในช่วงเวลาการขายหุ้น IPO เป็นการคำนวณค่าพีอีของบริษัทจากกำไรสุทธิ 4 ไตรมาสย้อนหลัง เปรียบเทียบกับค่าพีอีเฉลี่ยของอุตสาหกรรมในช่วงระยะเวลา 24 เดือน

พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. สั่งให้ RICHY ขยายระยะเวลาการจองซื้อหุ้น IPO ออกไปอีกไม่น้อยกว่า 2 วันทำการ นับแต่วันที่ได้แก้ไขข้อมูลแล้ว เพื่อให้ผู้ลงทุนมีเวลาพิจารณาข้อมูลใหม่และทบทวนการตัดสินใจลงทุน โดยผู้ลงทุนที่ได้จองซื้อหุ้นไปแล้วและเปลี่ยนใจไม่ลงทุนหลังได้รับข้อมูลใหม่ สามารถขอคืนเงินค่าจองซื้อหุ้นจากบริษัทได้ นอกจากนี้ หากการแก้ไขข้อมูลในแบบ filing และขยายระยะเวลาซื้อหุ้น IPO ทำให้ RICHY ต้องเลื่อนวันเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทต้องให้ข้อมูลดังกล่าวแก่ผู้ลงทุนด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *