ประกันภัยรถยนต์ เมืองไทยประกันชีวิต ตัวแทนประกันชีวิต


ประกันภัยรถยนต์ เมืองไทยประกันชีวิต ตัวแทนประกันชีวิต ที่ปรึกษาประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ที่ปรึกษาวางแผนสุขภาพและการเงิน

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจาก สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน สมาคมธนาคารไทย และบริษัทประกันชีวิต เกี่ยวกับประกาศนายทะเบียนเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิตเสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-Linked Life Policy) พ.ศ. 2559 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 16 (Money Expo 2016) ภายใต้แนวคิด Digital Life Digital Money รับโลกการเงินการลงทุนยุคดิจิทัล โดยมี ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. ร่วมพิธีเปิดงาน รวมทั้งเยี่ยมชมการออกบูธของ สำนักงาน คปภ. และบริษัทประกันภัย ที่เข้าร่วมงานดังกล่าว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2559 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันเส้นทางสัญจรทางน้ำได้รับความนิยมทั้งจากคนไทยและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย จึงมีผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการเดินเรือโดยสารเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรือนำเที่ยว เรือร้านอาหาร เรือหางยาว เรือ Speed Boat เรือ Yacht ฯลฯ ส่งผลให้การสัญจรทางน้ำมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุและสร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นด้วย สำนักงาน คปภ. จึงมีความห่วงใยประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ใช้เส้นทางน้ำเพื่อการสัญจรเป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันคุ้มครองอุบัติเหตุเฉพาะผู้โดยสารที่อยู่บนเรือหรือกำลังขึ้นลงเรือเท่านั้น แต่ไม่รวมบุคคลภายนอกเรือที่ประสบอุบัติเหตุจากพาหนะทางน้ำ ดังนั้นเลขาธิการ คปภ. ในฐานะนายทะเบียนจึงได้ลงนามเห็นชอบในหลักการเอกสารแนบท้ายขยายความคุ้มครองไปถึงผู้ประสบภัยที่อยู่นอกเรือโดยสารด้วย สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยผู้โดยสารเรือสำหรับโดยสารและอัตราเบี้ยประกันภัย เพื่อให้ความคุ้มครองเพิ่มเติมจากกรมธรรม์ประกันภัยผู้โดยสารเรือสำหรับโดยสารที่มีอยู่เดิม

เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า การลงนามความเห็นชอบดังกล่าวเป็นการเพิ่มขอบเขตความคุ้มครองผู้ประสบภัยทางน้ำที่อยู่นอกเรือ หรือบุคคลภายนอกที่ประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากพาหนะทางน้ำ จะได้รับความคุ้มครอง กรณีเสียชีวิต การสูญเสียมือ เท้า หรือสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 100,000 บาทต่อคน และค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งไม่เกิน 15,000 บาทต่อคน โดยมีจำนวนเงินจำกัดความรับผิดรวมไม่เกิน 1,000,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งและตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย เบี้ยประกันภัยต่อเรือ 1 ลำ อยู่ระหว่าง 1,000 – 1,500 บาท ทั้งนี้สำนักงาน คปภ. มีแนวทางในการสนับสนุนและส่งเสริมนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวด้วยการใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง ซึ่งการเพิ่มขอบเขตความคุ้มครองผู้ประสบภัยทางน้ำที่อยู่นอกเรือ โดยจะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับผู้ดำเนินธุรกิจเรือโดยสารและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่ประสบภัยทางน้ำได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพต่อไป

“การเพิ่มความคุ้มครองดังกล่าวเป็นการบรรเทาภาระความเสียหายทางการเงินแก่ผู้ประกอบธุรกิจเดินเรือ รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว หรือประชาชนผู้ประสบภัยที่อยู่นอกเรือที่จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอน ถือได้ว่าเป็นการจัดการบริหารความเสี่ยงที่คุ้มค่า ฉะนั้นผู้ประกอบการเดินเรือควรที่จะซื้อความคุ้มครองดังกล่าวเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ผู้ประสบภัยทางน้ำที่เกิดจากเรือโดยสาร หรือเรือนำเที่ยว ได้รับความคุ้มครองอย่างทั่วถึงและครบวงจร ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีต่อประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186 หรือเว็บไซต์ www.oic.or.th” ดร.สุทธิพล กล่าวในตอนท้าย

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า การเปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัยในครั้งนี้ถือเป็นมิติใหม่ของการระงับข้อพิพาทด้านประกันภัยโดยนำวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาใช้ในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องเรียนกับบริษัทประกันภัย โดยมีนายสมชัย ประกันภัยรถยนต์ สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัย ซึ่งนับได้ว่าเป็นแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนด้านการประกันภัยให้ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยและเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการด้านสินไหมทดแทนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนที่จะสามารถระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัย โดยผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการจากภายนอกที่มีประสบการณ์และมีความเป็นกลางมาช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ยตามกติกาที่เป็นระบบสากลและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ โดยประชาชนผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

ซึ่งก่อนที่จะมีการเปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ ได้มีการออกระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่า ด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย พ.ศ. 2559 โดยมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการระงับข้อพิพาทด้านประกันภัยไว้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการไกล่เกลี่ย วิธีการไกล่เกลี่ย การสิ้นสุดแห่งกระบวนการไกล่เกลี่ย ฯลฯ ไว้อย่างเป็นระบบและครบวงจร ทำให้ประชาชนที่มาร้องเรียนเกี่ยวกับข้อพิพาทด้านประกันภัยสามารถมีทางเลือกในการระงับข้อพิพาท และระเบียบนี้ยังได้วางแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่สำนักงาน คปภ. ด้วยว่า เมื่อรับเรื่องร้องเรียนแล้วจะต้องทำการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นและชี้แจงทำความเข้าใจกับคู่กรณี หากในขั้นตอนนี้สามารถตกลงกันได้ก็จะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แต่หากตกลงกันไม่ได้ก็จะมีกระบวนการไกล่เกลี่ยตามระเบียบฯนี้เข้าไปรองรับอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งหากคู่กรณีตัดสินใจใช้กระบวนการไกล่เกลี่ย กลไกของระเบียบฯนี้ก็จะเริ่มทำงาน และหากสามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จข้อพิพาทก็จะยุติด้วยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แต่หากไม่สามารถตกลงกันได้ คู่กรณีก็สามารถเลือกเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ เนื่องจากสำนักงาน คปภ.มีระบบอนุญาโตตุลาการรองรับไว้เป็นทางเลือกให้กับคู่กรณีด้วยเช่นกัน

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติม ว่า การขึ้นทะเบียนผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยฯนั้นสำนักงาน คปภ.ได้เปิดรับสมัครเพื่อคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกที่เป็นผู้ชำนาญการ มีความรู้และประสบการณ์ด้านการไกล่เกลี่ยในช่วงเดือนมีนาคม 2559 โดยมีผู้สมัครและผ่านคุณสมบัติทั้งสิ้น 58 คน และสามารถผ่านการสอบคัดเลือกและสอบสัมภาษณ์จำนวน 40 คน จากนั้น สำนักงาน คปภ.จึงได้จัดอบรมติวเข้มต่อยอดความรู้ด้านการประกันภัยพร้อมขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้ไกล่เกลี่ยฯไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนการแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยสำหรับข้อพิพาทด้านการประกันภัยแต่ละกรณีนั้นจะแต่งตั้งจากผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่อดังกล่าว โดยคำนึงถึงลักษณะของข้อร้องเรียนและความเหมาะสมของผู้ไกล่เกลี่ย นอกจากนี้ระเบียบฯยังกำหนดเหตุในการคัดค้านผู้ไกล่เกลี่ยกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลาง และระเบียบฯยังกำหนดกรอบจริยธรรมสำหรับผู้ไกล่เกลี่ยไว้อย่างรัดกุมอีกด้วย ดังนั้นคู่กรณีที่เข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ยฯจึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับความเป็นธรรมอย่างแน่นอน

สำหรับรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่อเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัยทั้ง 40 คน ได้แก่ นายกฤษฏิ์นิธิ อุดมศักดิ์พศิน นางเกศรินทร์ คณาวิชยานนท์ นางสาวเกษรา รื่นภิรมย์ นายเขมชาติ สถิตตันติเวช นางสาวจรินทร์รัตน์ จีระภัทรวรรธน์ นายจอมพจน์ ภู่รักศักดิ์ศรี นางจุฬาลักษณ์ แก้วศิวะวงศ์ นายเฉลิมพล โชติเมธากุล นายชินวัฒน์ ญาณสุภาพ นายชูศักดิ์ จึงพานิช นางสาวณัฐชรัตน์ ทวีโชติวรรัชต์ นางดวงจันทร์ บุญรอดชู นายธีรพันธ์ ดวงพลอย นายบุญเลิศ นิติวัฒนานนท์ นายบุญโชค รุ่งโชติ นางปิยวรรณ ญาณสุภาพ นายพิชญา เพิ่มทอง นางสาวพิณลัพธพร นาคสมบูรณ์ นางสาวพูลสุข ปรีชาเดช นายเผด็จ บุญรอด นางสาวลัดดา สัพพัญญูสิริ นางเลื่อมใส ใจแจ้ง นางสาววรวิวรรณ พรหมเจริญ นายราเชนทร์ จารี นายวรนิติ์ เลิศคอนสาร นายวชิรวิทย์ เจียมพิริยะ นายวิพัฒน์ รภาจิตติกุล นายโวหาร ยะสารวรรณ นายสมชัย รักษ์ธรรมกิจ นางสาวสาครรัชต์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา นายสุธี สุวรรณโพธิ์ นางสุพานิช พิสุทธิภักดิ์ นางสุภาพร ภคสิริกุล นางสาวสุภารัตน์ ดีศีลรักษ์ นายสมคิด สมตน นายสมบูรณ์ รุ่งฤทธิไกร นายสุรพันธ์ ฉันทแดนสุวรรณ พ.ต.อ.อดิศักดิ์ วิบูลชัยโยธิน นายอภินันท์ ตั้งศรีอนุกุล และนายพิชัย โชติชัยพร

สำนักงาน คปภ. เร่งสร้างเครือข่ายกระจายความรู้ด้านการประกันภัยเพื่อช่วยเกษตรกรไทยสู้ภัยแล้ง ผ่านโครงการอบรมความรู้ประกันภัย “Training for the trainers” เพื่อขับเคลื่อนการประกันภัยพืชผล ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. เป็นประธานเปิดงาน นายพิภพ บุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ และมีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆเข้าร่วมรับการอบรมเป็นจำนวนมาก

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องการปฏิรูปการประกันภัยพืชผล เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิต และยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกรโดยคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ได้มีมติแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการปฏิรูปการประกันภัยพืชผล เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนการปฏิรูปการประกันภัยพืชผลให้เป็นเอกภาพอย่างเป็นรูปธรรม โดยคณะทำงานฯ ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งผลักด้านการดำเนินงาน รวมทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจน เพื่อให้การปฏิรูปการประกันภัยพืชผล บรรลุผลสำเร็จตามแผนการปฏิรูปการประกันภัยพืชผลของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้นำเสนอความเห็นของคณะทำงานฯต่อสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศแล้ว โดยเสนอให้มีการปรับปรุงระบบบริหารจัดการข้อมูลด้านประกันภัยพืชผลให้มีประสิทธิภาพ ใช้ระบบประกันภัยแก้ไขปัญหาพืชผลทางการเกษตรอย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยจัดทำเป็นวาระแห่งชาติ จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการประกันภัยพืชผล เพิ่มการประสานงานและบูรณาการการทำงานและเสนอให้จัดทำกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการประกันภัยการเกษตร ฯลฯ

ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้รับมอบหมายจากคณะทำงานขับเคลื่อนการปฏิรูปการประกันภัยพืชผล ให้ดำเนินโครงการอบรมความรู้ประกันภัย (Training for the trainers) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ หลักการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยงด้วยระบบประกันภัย โดยเฉพาะเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี การรับประกันภัยข้าวนาปีให้กับผู้เกี่ยวข้องกับเกษตรกรโดยตรง อาทิ เกษตรกรจังหวัด เกษตรอำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยจังหวัด อบจ. อบต. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตลอดจนเจ้าหน้าที่สำนักงาน คปภ.ภาค/จังหวัด ซึ่งผู้ที่ผ่านการอบรมจะนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดแก่เกษตรกรในพื้นที่ในลักษณะการสร้างเครือข่ายด้านองค์ความรู้และความเข้าใจอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง

ดร.สุทธิพล กล่าวเพิ่มเติมว่าเหตุที่เลือกจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นหนึ่งในจังหวัดนำร่อง เนื่องจาก จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นฐานด้านการเกษตรเป็นหลัก ประชาชนร้อยละ 87.9 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น โดยมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 1.2 ล้านไร่จากผลผลิตข้าวในปีที่ผ่านมามีจำนวนมากกว่า 8.6 แสนตัน ดังนั้น การอบรมความรู้ด้านการประกันภัย (Training for the trainers) ครั้งนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งโครงการอบรมฯ ครั้งนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงาน ต่างๆ ที่จัดส่งวิทยากรมาให้ความรู้ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสมาคมประกันวินาศภัยไทย โดยการจัดอบรมที่สุพรรณบุรีนี้ นับเป็นครั้งที่ 2 ภายหลังจากเปิดตัวครั้งแรกที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกำหนดจัดขึ้นอีก 6 จังหวัด ได้แก่จังหวัดนครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานี พิษณุโลก เชียงราย และนครศรีธรรมราช เป็นลำดับเพื่อให้ครอบคลุมทั่วภูมิภาค

“สำนักงาน คปภ. มีนโยบายหลักที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการประกันภัยขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนทุกระดับสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากระบบประกันภัย โดยให้ความสำคัญกับประชาชนในกลุ่มรากหญ้ารวมทั้งกลุ่มเกษตรกรซึ่งถือเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของประเทศ ทั้งนี้ ความคืบหน้าล่าสุด สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้มีหนังสือเชิญประชุมโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2559-2561 เพื่อพิจารณาจัดทำรูปแบบของกรมธรรรม์และบันทึกความเข้าใจในการดำเนินโครงการฯระหว่างหน่วยงานในสัปดาห์นี้ด้วย ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถนำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือนพฤษภาคมนี้” ดร.สุทธิพล กล่าวในตอนท้าย

เลขาธิการ คปภ. สั่งการสำนักงาน คปภ. ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศพร้อมอำนวยความสะดวกด้านการประกันภัยให้กับประชาชนและผู้ประสบภัยจากรถให้ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิประโยชน์จากระบบประกันภัยอย่างทันท่วงทีและเป็นธรรม โดยเปิดบริการสายด่วน คปภ. 1186 ตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้ยึดบัญญัติ “7 ต้อง” ให้บริการประชาชน เน้นย้ำผู้ใช้รถใช้ถนนตรวจสอบวันหมดอายุของประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. ก่อนออกเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านประกันภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 11–17 เมษายน 2559 ว่า ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ของทุกปีจะมีผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างคับคั่ง ประชาชนจำนวนมากเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยว จึงอาจมีความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุ หรืออุบัติภัยต่างๆ สำนักงาน คปภ. มีความห่วงใยประชาชน โดยเฉพาะผู้ใช้รถใช้ถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จึงมีการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ประจำในพื้นที่เพื่อรับมือและพร้อมให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัยกับประชาชนและผู้ ประสบภัยได้อย่างทันที ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมถึงการเปิดให้บริการสายด่วน คปภ.1186 ตลอด 24 ชั่วโมง โดยได้ตรวจเยี่ยมและประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ประจำสายด่วน 1186 และมอบนโยบายให้ยึดถือบัญญัติ “7 ต้อง” ในการให้บริการประชาชน คือ 1. “ต้อง” ใช้วาจาที่สุภาพ อ่อนน้อมและให้เกียรติผู้ใช้บริการ 2. “ต้อง” ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง 3. “ต้อง” รู้จักวิธีประสานงานเพื่อแนะนำผู้ใช้บริการให้เหมาะสม 4. “ต้อง” คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภคโดยไม่ปฏิบัติหน้าที่เพียงเพื่อให้งานพ้นตัว 5. “ต้อง” มีเมตตา กรุณาและรู้จักอดทนอดกลั้น 6. “ต้อง” ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไม่หาเศษหาเลยจากความเดือดร้อนของผู้เอาประกันภัย และ 7. “ต้อง” ไม่เลือกปฏิบัติ

อีกทั้งให้ดำเนินการตามกรอบนโยบายในการให้บริการเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนของภาครัฐอย่างเคร่งครัดตามที่มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เพื่อร่วมกันรณรงค์และส่งเสริมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงมีการประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจประกันภัยเพื่อรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาล สงกรานต์ปี 2559 ให้บริการตรวจเช็คเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและหลอดไฟรถจักรยานยนต์ฟรี รวมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์“กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเทศกาลสงกรานต์สุขใจ” หรือ “ประกันภัย 100” ซึ่งมีเบี้ยประกันภัยเพียง 100 บาทต่อปี ให้ความคุ้มครองกรณีสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงสุดถึง 100,000 บาท มีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี ประชาชนโดยทั่วไปที่มีอายุ 20-60 ปี สามารถซื้อได้ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม ถึง 30 เมษายน 2559 กับบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ทุกสาขา เคาน์เตอร์เทสโก้ฯ โบรคเกอร์ประกันภัยในห้างเทสโก้โลตัส บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัล อินชัวรันส์ เซอร์วิสเซส จำกัด ธนาคารออมสิน และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นต้น

ดร.สุทธิพล กล่าวด้วยว่า อยากฝากเตือนประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์แห่งความสุขที่จะถึงนี้ให้ตรวจสอบวันหมดอายุประกันภัยรถภาคบังคับ หรือ ประกันภัย พ.ร.บ. ด้วย ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ.ได้ออกเป็นคำสั่งนายทะเบียนเรื่องให้ใช้แบบข้อความกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 ซึ่งได้มีการปรับเพิ่มวงเงินคุ้มครอง โดยไม่มีการเพิ่มเบี้ยประกันภัยเพื่อให้ผู้ประสบภัยจากรถได้รับความคุ้มครอง จากเดิมได้รับค่ารักษาพยาบาล 50,000บาทต่อคนปรับเพิ่มเป็น80,000บาทต่อคน ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร จากเดิม 200,000 บาทต่อคน ปรับเพิ่มเป็น 300,000 บาทต่อคน และกรณีสูญเสียอวัยวะ จากเดิม 200,000 บาท ปรับเพิ่มเป็น 200,000-300,000 บาท โดยได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจประกันภัยให้กรมธรรม์ประกันภัยเดิมที่ยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาประกันภัยให้ได้รับความคุ้มครองใหม่ไปด้วยพร้อมกันเพื่อให้การปรับเพิ่มความคุ้มครองครั้งนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพไม่ก่อให้เกิดความสับสน

“การทำประกันภัยมีความสำคัญอย่างมาก นอกจากจะช่วยสร้างหลักประกันให้กับตนเองและครอบครัวแล้วยังเป็นเครื่องมือที่รองรับความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามความสำคัญของการประกันภัย โดยเฉพาะการประกันภัยรถภาคบังคับ ซึ่งถึงแม้กฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย แต่จากสถิติที่เกิดขึ้นมีรถจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถจักรยานยนต์ไม่ได้ทำประกันภัยรถภาคบังคับ ซึ่งทำให้ผู้ประสบภัยต้องเสียผลประโยชน์ และความคุ้มครองอันพึงได้รับจึงอยากฝากเตือนให้เจ้าของรถตระหนัก และเห็นความสำคัญของการทำประกันภัยรถภาคบังคับ ซึ่งนอกจากท่านและผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถจะได้รับความคุ้มครองแล้วยังเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายอีกด้วยและหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186 ซึ่งจะเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงในระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2559” ดร.สุทธิพล กล่าวในตอนท้าย

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ปรากฏข่าวอุบัติเหตุรถไฟชนรถบัส หมายเลขทะเบียน 30-0644 นครปฐม บริเวณถนนสายวัดสุวรรณ- วัดงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย และได้รับบาดเจ็บ 32 ราย นั้น

รายงานจากสำนักงาน คปภ. จังหวัดนครปฐม พบว่ารถบัส หมายเลขทะเบียน 30-0644 นครปฐม ทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และประกันภัยรถภาคสมัครใจ (ประเภท 3) กับบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) และจากการที่สำนักงาน คปภ. ได้ปรับเพิ่มวงเงินความคุ้มครองการประกันภัยรถภาคบังคับ หรือประกันภัย พ.ร.บ. มีผลเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา ในกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร จากเดิม 200,000 บาทต่อคน ปรับเพิ่มเป็น 300,000 บาทต่อคน ค่ารักษาพยาบาล จากเดิม 50,000 บาทต่อคน ปรับเพิ่มเป็น 80,000 บาทต่อคน และกรณีสูญเสียอวัยวะจากเดิม 200,000 ปรับเพิ่มเป็น 200,000 – 300,000 บาทต่อคน โดยไม่มีการเพิ่มเบี้ยประกันภัย ทำให้ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถได้รับความคุ้มครองเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ดังกล่าวเพิ่มขึ้น ซึ่งสำนักงาน คปภ. จังหวัดนครปฐม ได้ประสานบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) แล้ว ทำให้ผู้ประสบอุบัติเหตุจะได้รับความคุ้มครองค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้น ดังนี้

1. การประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ทายาทโดยธรรมของผู้เสียชีวิตจะได้รับค่าสินไหมทดแทน รายละ 300,000 บาท ยกเว้นผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายทำละเมิดจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท และผู้ได้รับบาดเจ็บได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน รวมทั้งค่าชดเชยรายวัน สำหรับการพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลวันละ 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน

2. การประกันภัยรถภาคสมัครใจ (ประเภท 3) ทายาทโดยธรรมของผู้เสียชีวิตจะได้รับค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาทต่อคน และจากการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ให้ความคุ้มครองผู้ขับขี่ 100,000 บาท และผู้โดยสาร 39 คนๆ ละ 100,000 บาท สำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน

เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต และเบื้องต้นได้รับทราบว่าเจ้าหน้าที่ของบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ประสานโรงพยาบาลที่รับรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บ และติดต่อญาติของผู้เสียชีวิต เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลและจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ทายาทผู้เสียชีวิตแล้ว ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2559 ที่จะมาถึงประชาชนจำนวนมากเดินทางท่องเที่ยวและเดินทางกลับภูมิลำเนา ขอให้ใช้รถใช้ถนนด้วยความไม่ประมาทตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัย และวันหมดอายุของการ

ประกันภัยรถภาคบังคับ หรือประกันภัย พ.ร.บ. เพื่อให้ระบบประกันภัยมีผลให้ความคุ้มครองตลอดเวลา และเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สำนักงาน คปภ. ได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเทศกาลสงกรานต์สุขใจ หรือ “ประกันภัย 100” ด้วยเบี้ยประกันเพียง 100 บาทต่อปี ให้ความคุ้มครองกรณีสูญเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรจากอุบัติเหตุ 100,000 บาท การเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรจากถูกฆาตกรรมลอบทำร้ายร่างกาย หรืออุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์คุ้มครอง 50,000 บาท และผลประโยชน์ค่าใช้จ่ายในกาจัดการงานศพกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย 5,000 บาท (ยกเว้นกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยภายใน 120 วัน นับจากวันเริ่มต้นระยะเวลาประกันภัย) จำหน่ายให้กับประชาชนที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ถึง 60 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ทำประกันภัย ซื้อได้ไม่เกินคนละ 2 กรมธรรม์ เปิดจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม ถึง 30 เมษายน 2559 ที่บริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขา เคาร์เตอร์เทสโก้ โปรคเกอร์ประกันภัยในห้างเทสโก้โลตัส บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัล อินชัวร์รันส์ เซอร์วิสเซส จำกัด ธนาคารออมสิน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นต้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *