ประกันสุขภาพสำหรับเด็ก ที่ปรึกษาวางแผนสุขภาพและการเงิน


ประกันสุขภาพสำหรับเด็ก ที่ปรึกษาวางแผนสุขภาพและการเงิน ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ เมืองไทยประกันชีวิต ตัวแทนประกันชีวิต ประกันคุ้มครองชีวิต

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 ได้รับเกียรติมาเป็นประธานในพิธีมอบกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มและน้ำดื่มสำหรับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมทีม การแข่งขันกีฬานักเรียนคนพิการแห่งชาติ“นครนายกเกมส์” ครั้งที่ 19 ซึ่งจังหวัดนครนายก ได้ร่วมกับกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดการแข่งขันกีฬานักเรียนคนพิการแห่งชาติ ในระหว่างวันที่ 1 – 6 มีนาคม 2561 โดยมีนายณัฐพงศ์ ศิริชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก เป็นผู้รับมอบ

สำนักงาน คปภ. ได้เล็งเห็นความสำคัญกับกลุ่มคนพิการเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากยังขาดโอกาสในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานบางอย่าง ฉะนั้นจึงควรที่จะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อช่วยเหลือและให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง และได้รับการส่งเสริมโอกาสของการมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเต็มที่ ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และภาคอุตสาหกรรมประกันภัย จัดทำกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อคนพิการขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อเดือนสิงหาคม 2559 ภายใต้ชื่อ “กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเพื่อคนพิการสำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์)” ซึ่งเป็นกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่ให้ความคุ้มครอง กรณีเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ วงเงินคุ้มครอง 1 แสนบาท โดยเพิ่มผลประโยชน์ชดเชยเงินปลอบขวัญเนื่องจากอุบัติเหตุ วงเงิน 5,000 บาท และผลประโยชน์การชดเชยรายได้ ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลวันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน มีเบี้ยประกันภัยเพียง 300 บาทต่อปี และได้มีการพัฒนากรมธรรม์สำหรับ คนพิการ คือ “กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุพิเศษเพื่อมวลชน” ที่มีการให้ความคุ้มครองเพิ่มในส่วนของผลประโยชน์ชดเชยการบาดเจ็บทางร่างกายและค่าใช้จ่ายสำหรับกายอุปกรณ์เนื่องจากอุบัติเหตุตลอดระยะเวลาประกันภัย

สำหรับการแข่งขันกีฬานักเรียนคนพิการแห่งชาติในครั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย ในการจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มจำนวน 3,156 ฉบับ รวมทั้งสนับสนุนน้ำดื่มจำนวน 40,000 ขวด มอบให้กับคณะนักกีฬา และเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมที “นครนายกเกมส์” โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มนี้ ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จำนวนเงินเอาประกันภัย 1 แสนบาท และผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากอุบัติเหตุตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง จำนวนเงินเอาประกันภัย 5,000 บาท ระยะเวลาการคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 7 มีนาคม 2561 รวม 8 วัน โดยคุ้มครองการแข่งขันกีฬารวม 11 ชนิด ได้แก่ กรีฑา โกลบอล เซปักตะกร้อ เทเบิลเทนนิส วอลเลย์บอลชายหาด เปตอง แบดมินตัน ฟุตซอล ยูโด บอคเซีย และว่ายน้ำ รวมวงเงิน คุ้มครองมากกว่า315 ล้านบาท

เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า สำนักงาน คปภ. มีนโยบายส่งเสริมการเข้าถึงระบบประกันภัย แก่ประชาชนในทุกระดับ ตลอดจนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนากิจกรรมด้านการกีฬา และการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แก่เด็กและเยาวชนมาโดยตลอด ล่าสุดได้ร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทย พัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยเป็นการเฉพาะ ซึ่งได้ให้ความเห็นชอบกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มสำหรับคณะนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมทีม พร้อมได้สนับสนุนกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม จำนวน 8,360 คน รวมวงเงินคุ้มครองทั้งสิ้น 836 ล้านบาท ในการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 39 “ขุนด่านเกมส์” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-30 มกราคม 2561 ไปเรียบร้อยแล้ว

“ระบบประกันภัยถือเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัย ซึ่งสามารถช่วยแบ่งเบาภาระความเดือดร้อนกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ดังนั้น จึงขอให้ประชาชนให้ความสำคัญกับการทำประกันภัยโดยพิจารณาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เหมาะสมกับความต้องการของท่านและครอบครัว อย่างไรก็ตามควรคำนึงถึงความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัยและเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการประกันภัย หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการประกันภัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ.กล่าวในตอนท้าย

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากนโยบายยกระดับมาตรฐานพฤติกรรมทางการตลาดของธุรกิจประกันภัย โดยการพัฒนาช่องทางการจำหน่าย ส่งเสริมและกำกับดูแลให้ตัวแทน/นายหน้าประกันภัยมีมาตรฐานจรรยาบรรณและแนวปฏิบัติที่ดีในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันภัยต่อประชาชน ตลอดจนดูแลประชาชนผู้เอาประกันภัยภายหลังที่มีการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย เพื่อให้ประชาชนในวงกว้างเกิดความเชื่อมั่นในระบบประกันภัยและใช้ประโยชน์จากระบบประกันภัยได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง ส่งผลให้ปี 2560 ธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรงผ่านช่องทางการขายจาก ตัวแทน ธนาคาร โทรศัพท์ นายหน้า ไปรษณีย์ และช่องทางอื่น รวมทั้งสิ้น 608,666 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งช่องทางการขายผ่าน “ตัวแทน” ยังครองแชมป์มีเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรงสูงสุด จำนวน 302,401 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.68 ของเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรงรวมทุกช่องทาง โดยช่องทางการขายผ่านตัวแทนมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาคือช่องทางการขายผ่าน “ธนาคาร” มีเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรง จำนวน 268,538 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 44.12 ของเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรงรวมทุกช่องทาง โดยช่องทางการขายผ่านธนาคารมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 10.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การขายผ่านช่องทาง “นายหน้า” มีเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรง จำนวน 16,627 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.73 ของเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรงรวมทุกช่องทาง โดยช่องทางการขายผ่านนายหน้ามีอัตราการขยายตัวร้อยละ 13.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงผ่านช่องทางการขายจาก นายหน้า ธนาคาร ตัวแทน องค์กร ติดต่อโดยตรง โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต ไปรษณีย์ และช่องทางอื่น รวมทั้งสิ้น 218,932 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 3.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งช่องทางการขายผ่าน “นายหน้า” ยังคงมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงสูงสุด จำนวน 126,550 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 57.80 ของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทุกช่องทาง โดยช่องทางการขายผ่านนายหน้ามีอัตราการขยายตัวร้อยละ7.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาคือช่องทางการขายผ่าน “ตัวแทน” มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง จำนวน 31,683 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.47 ของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทุกช่องทาง โดยช่องทางการขายผ่านตัวแทนมีการหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และการขายผ่านช่องทาง “ธนาคาร” มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงเป็นอันดับ 3 จำนวน 28,841 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.17 ของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทุกช่องทาง โดยช่องทางการขายผ่านธนาคารมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ

เลขาธิการ คปภ. กล่าวต่อว่า ในปี 2561 สำนักงาน คปภ. มีแผนยกระดับการให้บริการและพฤติกรรมในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มความเข้มข้นในการกำกับดูแลคนกลางประกันภัย ซึ่งเป็นช่องทางที่สำคัญในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันภัย โดยจะมีการปรับปรุงกติกาในการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ตลอดจนระบบตรวจสอบการปฏิบัติงานของคนกลางประกันภัยเพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในกระบวนการขายและการดูแลกรณีเกิดปัญหาในเรื่องประกันภัย ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบและออกสุ่มตรวจสำนักงานตัวแทนประกันภัยและสำนักงานนายหน้าประกันภัยโดยจะมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันทั่วประเทศ และดำเนินการตามแผนการเข้าตรวจสอบ อาทิ การตรวจสอบประจำปี (annual examination) เพื่อตรวจสอบติดตามการดำเนินงานของบริษัทประกันภัยป้องกัน/หรือลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนผู้เอาประกันภัยในอนาคต รวมทั้งตรวจสอบบริษัทที่ได้รับใบอนุญาต ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 ถึงเดือนมิถุนายน 2560 เพื่อตรวจสอบแนะนำการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัยให้ถูกต้อง การตรวจสอบเฉพาะ ซึ่งเป็นการตรวจสอบช่องทางการขายผ่านธนาคารพาณิชย์ และการตรวจสอบสื่อโฆษณา รวมถึงการเชิญบริษัทประกันภัย เพื่อหารือถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจและการควบคุมคุณภาพการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย รวมทั้งรับทราบประเด็นปัญหาในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย และ “เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนผู้บริโภคในยุคดิจิทัล สำนักงาน คปภ.ได้พัฒนา Application : รอบรู้ประกันภัย ซึ่งผู้สนใจสามารถโหลดได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดย Application นี้ จะให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับประกันภัย ที่สำคัญคือทำให้ประชาชนสามารถตรวจสอบว่าตัวแทน/นายหน้าที่เข้ามาเสนอขายประกันภัยกับท่านได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตไปแล้วหรือไม่ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้บริษัท วัชรธุรกิจเซ็นเตอร์ จำกัด สาขามิตรภาพ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 20.33 น. ตั้งอยู่เลขที่ 9 ถนนมิตรภาพ ตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นโกดังเก็บรถจักรยานยนต์ทั้งเก่าและใหม่จำนวนมาก ส่งผลให้รถจักรยานยนต์ที่เก็บอยู่ในโกดังเสียหายกว่า 600 คัน โดยในช่วงเวลาที่เกิดเหตุไม่มีผู้อาศัยอยู่ภายในร้าน จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น พบว่าโกดังแห่งนี้ได้มีการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) กับบริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) กรมธรรม์เลขที่ 0042506007000097 โดยมีทุนประกันภัย 32,617,063 บาท ซึ่งขณะนี้ได้ประสานบริษัทประกันภัยเข้าสำรวจความเสียหายของทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยเพื่อการประเมินชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเป็นจริงแล้ว พร้อมทั้งได้สั่งการให้สำนักงาน คปภ. ภาค 4 จังหวัดนครราชสีมา และสำนักงาน คปภ. จังหวัดสระบุรี ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ และมอบหมายให้ประสานบริษัทประกันภัยเร่งสรุปความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องและเป็นธรรมต่อไป

ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 01.00 น. เกิดเหตุเพลิงไหม้ชุมชนหลังวัดคูหาสวรรค์วรวิหาร ถนนเพชรเกษม ซอย 28 แขวงคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นชุมชนแออัดมีบ้านเรือนปลูกติดกันจำนวนกว่า 100 หลังคาเรือน ในเบื้องต้นเสียหายไปกว่า 20 หลังคาเรือน จึงได้สั่งการให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์และสำนักงาน คปภ. เขตท่าพระลงพื้นที่เพื่อติดตามและประสานงานอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัยอย่างทันท่วงที โดยไม่พบผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ นอกจากนี้ยังพบว่าบ้านเรือนที่เสียหายกว่า 20 หลังคาเรือนไม่มีการทำประกันภัยอัคคีภัยไว้แต่อย่างใด

เลขาธิการ คปภ. ได้แสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับผู้ได้รับความเสียหายทุกท่านในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และกล่าวว่าอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และเมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนหันมาให้ความสำคัญกับการทำประกันภัย เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด และสามารถช่วยแบ่งเบาภาระความเดือดร้อนของท่านได้ จากสถานการณ์ปัจจุบัน สภาพอากาศแห้ง ความชื้นต่ำ ซึ่งง่ายต่อการเกิดอัคคีภัย และจากข้อมูลของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2560 ได้มีการบรรเทาสาธารณภัยจากเหตุอัคคีภัย จำนวนกว่า 3,798 ราย ซึ่งมาจากสาเหตุไฟฟ้าลัดวงจร เพลิงไหม้อาคาร/สิ่งของในอาคาร เพลิงไหม้ยานพาหนะ รวมถึงเพลิงไหม้หญ้าและขยะ สำนักงาน คปภ. มีความห่วงใยประชาชนทุกคน ขอให้ป้องกันและระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดเหตุอัคคีภัย หมั่นตรวจสอบระบบสายไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ไม่ชำรุด ดับธูปเทียนบูชาพระหรือไหว้เจ้าก่อนเข้านอน หรือออกจากที่พักอาศัยทุกครั้ง เก็บวัสดุติดไฟง่ายให้อยู่ในที่ปลอดภัย และควรจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยและเครื่องดับเพลิงไว้ประจำบ้านและหมั่นบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

ทั้งนี้ ประกันสุขภาพสำหรับเด็ก กรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองหรือความเกี่ยวเนื่องกับไฟไหม้ เช่น กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย และกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) ที่จะให้ความคุ้มครองกว้างกว่าอัคคีภัย เช่น ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยน้ำท่วม ภัยแผ่นดินไหว ภัยลมพายุ ภัยลูกเห็บ การโจรกรรมและอุบัติเหตุจากสาเหตุที่ไม่ได้ระบุไว้ในข้อยกเว้น เป็นต้น นอกจากนี้ หากมีการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงและการมีระบบการจัดการที่ดีจะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัยอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยแบบประหยัดสำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ซึ่งมีเบี้ยประกันภัยเพียง 400 บาทต่อปี ให้ความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัยถึง 3 ภัย คือ ไฟไหม้ ฟ้าผ่า การระเบิด อีกทั้งคุ้มครองความเสียหายจากภัยธรรมชาติอีก 4 ภัย ได้แก่ ภัยลมพายุ ภัยแผ่นดินไหว และภัยลูกเห็บ และหากเกิดความเสียหายจนทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถอยู่อาศัยได้ จำเป็นต้องจัดหาที่พักชั่วคราวก็จะได้รับความคุ้มครองอีกไม่เกินวันละ 300 บาท ไม่เกิน 30 วัน (หรือไม่เกิน 9,000 บาท) ประชาชนและผู้ประกอบการต่างๆ สามารถเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่เหมาะสมกับสภาพความเสี่ยงของตนเองได้ โดยขอให้พิจารณาจากสถานที่ตั้ง และลักษณะการใช้อาคารของผู้เอาประกันภัย รวมทั้งความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัยด้วย หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน คปภ. 1186

“เลขาธิการ คปภ. เน้น Technology Disruption เปลี่ยนโลกเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจประกันภัยและเพิ่มโอกาสให้กลุ่มสตาร์ทอัพด้านฟินเทค • พร้อมย้ำกฎระเบียบและการกำกับของคปภ.ต้องสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ”

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ได้รับเชิญให้ร่วมงานเปิดตัวโครงการ F13 ศูนย์ทดสอบและพัฒนาสตาร์ทอัพด้านฟินเทค ณ อาคาร Knowledge Exchange ถนนกรุงธนบุรี กรุงเทพมหานคร ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมฟินเทคประเทศไทย ในโอกาสนี้ได้ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “อนาคตธุรกิจประกันภัย” ว่าการเข้ามาของพัฒนาการด้านเทคโนโลยี หากมีการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส และมองในภาพบวกจะถือเป็นแรงกระตุ้นชั้นดีที่จะช่วยให้ธุรกิจประกันภัยสามารถพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานและเสริมสร้างโอกาสการทำธุรกิจ ทั้งในส่วนของภาคประกันภัยและธุรกิจกลุ่มสตาร์ทอัพด้านฟินเทค ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจประกันภัยเติบโตได้ในตลาดการเงินของประเทศไทย รวมถึงส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันทั้งในภาคส่วนธุรกิจประกันภัย ธุรกิจฟินเทค และหน่วยงานกำกับดูแลมากยิ่งขึ้น และในขณะเดียวกันการเข้ามาของพัฒนาการด้านเทคโนโลยีก็จะช่วยยกระดับหน่วยงานกำกับดูแลทั้งในเชิงข้อบทกฎหมายและกระบวนการกำกับดูแลให้มีความทันสมัยและสอดรับกับพัฒนาการของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทั้งนี้สิ่งแรกที่จะเห็นได้ชัดจากการเข้ามาของเทคโนโลยีในธุรกิจประกันภัยคือ การเข้าถึงการบริการและผลิตภัณฑ์ประกันภัย ซึ่งพัฒนาการของเทคโนโลยีจะช่วยย่นระยะเวลาในการติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัทประกันภัยและลูกค้าให้สั้นลง ลูกค้าสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประกันภัยได้ผ่านทางช่องทางที่หลากหลายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น บริษัทประกันภัยเองก็สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที เช่น การนำเทคโนโลยีโดรนมาใช้ในการสำรวจภัย หรือการติดต่อลูกค้าผ่านระบบวีดีโอและเสียงในการบริการการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน สิ่งต่อมาคือการพัฒนาระบบการทำงานของบริษัทประกันภัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่นการพัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบ real time เพื่อให้สามารถนำข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดมาใช้งาน หรือการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ให้เข้ามามีบทบาทในเรื่องของการวิเคราะห์และกรองข้อมูลต่างๆ ของบริษัทประกันภัย การนำเทคโนโลยีมาผนวกกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภค เพื่อใช้ประโยชน์ในการประเมินความเสี่ยงด้านการประกันภัยก็เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

นอกจากบริษัทประกันภัยแล้ว คนกลางประกันภัย (ตัวแทนและนายหน้าประกันภัย) ก็สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ประกอบการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยได้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ในอดีต การที่ตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยจะไปเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้แก่ลูกค้าต้องหอบเอกสารประกอบการเสนอขายรวมถึงตัวอย่างกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ ไปแนะนำให้แก่ลูกค้า แต่เมื่อมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ เอกสารประกอบการเสนอขายทั้งหมดถูกโหลดลงบนแท๊ปเล็ต ซึ่งสามารถเปิดให้ลูกค้าดูได้ทันที เมื่อลูกค้าตกลงทำประกันภัย ก็ใช้แท๊ปเล็ตเชื่อมต่อกับระบบการทำประกันภัยของบริษัท ทั้งการกรอกข้อมูลและการชำระเงินสามารถทำผ่านระบบออนไลน์ได้ทั้งหมด และเมื่อบริษัทตอบตกลง ก็สามารถส่งกรมธรรม์ประกันภัยในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ลูกค้าได้ จึงมองในแง่บวกว่า ในภาคของประกันภัยเทคโนโลยีจะยังไม่สามารถเข้ามาแทนมนุษย์ได้ทั้งหมด แต่จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การประกอบธุรกิจประกันภัยมีความง่ายขึ้นและทำให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น

>> เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน

เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

>> เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You

พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ

>> เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)

ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว

คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%

(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง

(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี

โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์

เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *