ประกันสุขภาพเหมาจ่าย เมืองไทยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ


ประกันสุขภาพเหมาจ่าย เมืองไทยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ สมัครประกันชีวิตออนไลน์ ประกันชีวิตออนไลน์ สายดื่มระวัง! ยิ่งดื่ม ยิ่งเสียง มะเร็งเต้านม

อาจเป็นเรื่องเศร้าประจำวันสำหรับสายดื่มที่หลงใหลในรสชาติและการดื่มด่ำแอลกอฮอล์ประเภทต่าง ๆ แต่ทราบหรือไม่ว่าพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพียงวันละแก้วหรือวันละนิดจิตแจ่มใสนั้น อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมได้ ซึ่งสาเหตุเกิดจากอะไรตามมาหาคำตอบกับเมืองไทยประกันชีวิตกันได้เลย

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ VS มะเร็งเต้านม ใครจะคิดว่าแค่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้เบอร์ใหญ่ขนาดนี้ โดยรายงานจากกองทุนวิจัยมะเร็งโลก (World Cancer Research Fund ) ระบุว่าการดื่มแอลกอฮอล์วันละ 10 กรัม เทียบเท่าไวน์ 1 แก้วเล็ก หรือเบียร์ 240 ม.ล. จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 7%

ซึ่งตัวการสำคัญที่ทำให้แอลกอฮอล์โดนตราหน้าว่าเป็นผู้ร้ายก็เพราะเมื่อดริ๊งแอลกอฮอล์เข้าไปแล้ว ร่างกายจะทำการย่อยแอลกอฮอล์ส่งผลให้เกิดสารอะเซตาลดีไฮด์ (Acetaldehyde) โดยสารชนิดนี้เป็นสารก่อมะเร็งและจะสะสมอยู่ในร่างกาย คอยทำลาย DNA และโปรตีนในเซลล์ ให้ไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองจากการถูกทำร้ายได้ และที่สำคัญคือไม่สามารถควบคุมการงอกของเซลล์ได้ซึ่งจะทำให้เกิดเนื้องอกนั่นเอง

นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปก็อาจเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งตับ รวมถึงเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งช่องปาก มะเร็งลำไส้ ประกันสุขภาพเหมาจ่าย และมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น

ปรับพฤติกรรมลดเสี่ยงมะเร็งเต้านม
ถ้าอยากลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านม สิ่งที่ควรทำอันดับแรกคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งเราสามารถทำได้ดังนี้

เลิก/ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 1 แก้วต่อวัน
ควบคุมนํ้าหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
กินอาหารจำพวกผัก ผลไม้ ลดนํ้าตาล และคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี
เลิก/ลดการสูบบุหรี่

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็น เบียร์ ไวน์ เหล้า หรือค็อกเทล ต่างมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ดังนั้นไม่ว่าจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทไหนต่างทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้เช่นกัน ความเชื่อผิด ๆ ที่ทำให้เป็นมะเร็งเต้านม
สาเหตุการเกิดมะเร็งเต้านมมีหลายปัจจัย แต่ก็ยังมีบางความเชื่อที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่านี่คือสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมได้ ดังนี้

รังสีจากการตรวจเต้านม : ความจริง ต้องตรวจเต้านมถึง 100 ครั้ง ปริมาณรังสีจึงจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย
ใส่เสื้อชั้นใน : ความจริง การใส่เสื้อชั้นในอาจจะทำให้อึดอัด การไหลเวียนของเลือดบริเวณหน้าอกไม่ดี แต่ไม่ได้ทำให้เกิดมะเร็ง
สารเคมีจากการทำผม : ความจริง ไม่มีผลการวิจัยไหนระบุว่า สารเคมีจากการทำผมจะกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านม
ผู้ชายไม่เป็นมะเร็งเต้านม : ความจริง ผู้ชายก็เป็นมะเร็งเต้านมได้ถ้ามีความเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีอายุมาก อ้วนมาก ตับแข็ง หรือมีลักษณะเต้านมเหมือนผู้หญิง
กินกาแฟเสี่ยงมะเร็ง : ความจริง ไม่มีหลักฐานและการวิจัยชิ้นไหนยืนยัน ว่าคาเฟอีนมีผลกับการเกิดมะเร็งเต้านม

การลด ละ หรือเลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ได้มีดีแค่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังช่วยลดความเสี่ยง การเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคตับแข็ง หรือภาวะสมองเสียหายจากสุรา เป็นต้น ดังนั้นถ้าคุณอยากสุขภาพดี เอ็นจอยกับชีวิตในทุก ๆ วัน ต้องหมั่นดูแลสุขภาพ พร้อมเสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You

พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

คปภ. ชี้แจงกรณีอุบัติเหตุรถทัวร์หนองบัวลำภู – กรุงเทพ พลิกคว่ำ

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ชี้แจงถึงความช่วยด้านการประกันภัยกรณีอุบัติเหตุรถทัวร์หนองบัวลำภู – กรุงเทพ พลิกคว่ำ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2554 เวลา 23.00 น. บริเวณหน้าเทศบาลโนนทอง ตำบลโนนทอง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น สาเหตุเกิดจาก รถทัวร์คันดังกล่าวกำลังมุ่งหน้าไปกรุงเทพ พอมาถึงที่เกิดเหตุมีรถสิบล้อบรรทุกอ้อยวิ่งอยู่ด้านหน้า ผู้ขับขี่จึงได้เร่งแซงรถสิบล้อให้พ้น แต่ถนนด้านหน้าชำรุด จึงทำให้รถเกิดเสียหลักพุ่งลงข้างทาง โดยพบผู้เสียชีวิต 5 ราย และบาดเจ็บกว่า 30 ราย

สำนักงาน คปภ.จึงได้เร่งประสานเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในเบื้องต้นตรวจสอบพบว่ารถทัวร์คันดังกล่าวได้ทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ และภาคสมัครใจ (ประเภท 3) กับ บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด โดยมีรายละเอียดความคุ้มครองผู้ประสบภัยคือ ถ้าเสียชีวิตทายาทผู้เสียชีวิตจะได้รับค่าสินไหมทดแทนขั้นต่ำ 300,000 บาท ส่วนผู้บาดเจ็บจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงสูงสุด แต่ไม่เกิน 550,000 บาท ต่อราย

เลขาธิการ คปภ. ได้กล่าวต่อไปอีกว่า สำนักงาน คปภ. ไม่ได้นิ่งนอนใจได้เร่งประสานกับบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด ถึงความคืบหน้า ซึ่งทางบริษัทฯ อยู่ในระหว่างรวบรวมเอกสารหลักฐาน เพื่อจ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับผู้เสียชีวิต และประสานกับโรงพยาบาลที่รับรักษาผู้บาดเจ็บ เพื่ออำนวยความสะดวกเรื่องค่ารักษาพยาบาลต่อไป หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186 เบอร์เดียวทั่วประเทศ

สำนักงาน คปภ ร่วมกับ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ (CEDI)

พัฒนาบุคลากรด้านประกันภัยให้มีประสิทธิภาพ

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ร่วมกับ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ (CEDI) ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม สัมมนา ศึกษาวิจัย รวมทั้งจัดหาวิทยากรทั้งในและต่างประเทศทางด้านธุรกิจประกันภัย และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และเสริมสร้างศักยภาพ บุคลากรด้านการประกันภัยให้มีประสิทธิภาพ

สำนักงาน คปภ. โดยสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง (OIC Advanced Insurance Institute) จะมุ่งเน้นในการพัฒนาบุคลากรด้านการประกันภัยให้มีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้อง ในหลักการประกันภัย มีความเป็นมืออาชีพ และตั้งอยู่บนพื้นฐานของจรรยาบรรณ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาความรู้ด้านการประกันภัย เพื่อให้ธุรกิจประกันภัยเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาสู่ระบบการกำกับดูแลบนพื้นฐานของความเสี่ยง (Risk-Based Supervision: RBS) และเตรียมความพร้อมในการแข่งขันเมื่อมีการเปิดเสรีธุรกิจประกันภัย

นอกจากนี้ สถาบัน CEDI ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับ มหาวิทยาลัย BABSON College ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งในด้านการพัฒนาผู้ประกอบการของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อพัฒนาและการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ และสืบทอดธุรกิจครอบครัวอย่างยั่งยืน ด้วยการวางรากฐานความรู้ด้านการวิทยาการการจัดการ การบริหาร การตลาด กลยุทธ์ต่างๆ และแนวความคิดใหม่ๆ เพื่อนำไปเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจให้แข็งแกร่ง และช่วยให้การสืบทอดธุรกิจครอบครัวเป็นไปด้วยความราบรื่น และประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้บุคลากรด้านการประกันภัย ของสำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัย มีความแข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ และสามารถปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

คปภ. แนะนำ การเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ

ที่ผู้เอาประกันภัยอาจเสียประโยชน์

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) แจ้งเตือนให้ประชาชนระมัดระวังในกรณีที่ต้องการเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ เพราะนอกจากจะเสียประโยชน์จากการรับเงินประกันชีวิตนี้เมื่อครบสัญญาตามเงื่อนไขกรมธรรม์แล้วอาจยังต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับลดหย่อนย้อนหลัง พร้อมเงินเพิ่มตามประกาศของกรมสรรพากร

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่าขณะนี้การทำประกันชีวิตแบบบำนาญ ได้รับความนิยมมากจากผู้เอาประกันภัย เนื่องจากผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินบำนาญเป็นรายงวดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งเป็นการรับผลประโยชน์จำนวนที่แน่นอนเพื่อเป็นหลักประกันต่อการดำรงชีพเมื่อเข้าสู่วัยชรา อีกทั้งเบี้ยประกันชีวิตแบบดังกล่าวยังสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มจากเดิม 100,000.-บาท เป็น 300,000.-บาท โดย วงเงิน 200,000.- บาท ที่เพิ่มขึ้นมาต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินตามประกาศของกรมสรรพากร ดังนั้นขณะนี้ประชาชนจึงทำประกันชีวิตแบบบำนาญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเงื่อนไขสัญญาของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญระบุให้ผู้เอาประกันภัย สามารถเวนคืนกรมธรรม์ได้ก่อนวันครบกำหนดที่จะได้รับเงินบำนาญก็ตาม ในประเด็นนี้สำนักงาน คปภ.มีความเห็นว่ากรณีผู้เอาประกันภัยมีความจำเป็นต้องเวนคืนกรมธรรม์ก่อนกำหนดเวลาก็สามารถทำได้ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการเวนคืนกรมธรรม์แบบนี้ด้วย เพราะนอกจากจะเสียสิทธิในการนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษีนั้นๆแล้ว อาจจะต้องจ่ายเงินในส่วนที่ได้รับการลดหย่อนภาษีในปีก่อนๆพร้อมเงินเพิ่ม คืนให้แก่กรมสรรพากรอีกด้วย

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่าการทำประกันชีวิตแบบบำนาญเป็นการประกันชีวิตที่มุ่งเน้นให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการสร้างหลักประกันรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุเมื่อยามเกษียณอายุ ทั้งนี้ ประชาชนผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ www.oic.or.th หรือสายด่วนประกันภัย 1186

คปภ. ร่วมเป็นสักขีพยานการจ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีอุบัติเหตุรถตู้พลิกคว่ำบนทางด่วน

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ

ประกันภัย (คปภ.) ร่วมเป็นสักขีพยานในการมอบค่าสินไหมทดแทนแก่ทายาทผู้ประสบภัย จากเหตุการณ์รถตู้โดยสารยี่ห้อโตโยต้า หมายเลขทะเบียน 13-7795 กรุงเทพมหานคร ถูกรถฮอนด้า ซีวิค หมายเลขทะเบียน ฎว 8461 กรุงเทพมหานคร เฉี่ยวชนจนเสียหลักพลิกคว่ำบนทางด่วนดอนเมือง โทลเวย์ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2553 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย และบาดเจ็บ จำนวน 6 ราย

เลขาธิการ คปภ.ได้กำชับให้บริษัทประกันภัย เร่งติดตามและประสานให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและทายาทผู้เสียชีวิตอย่างเต็มที่ โดยจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นสำนักงาน คปภ. ขอฝากให้ผู้ขับขี่รถเพิ่มความระมัดระวัง และคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น อย่างไรก็ตามก่อนออกเดินทางอย่าลืมตรวจสอบการทำประกันภัยรถทุกครั้ง เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ นายตนุภัทร รัตนพูลชัย ผู้ช่วยเลขาธิการสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ โทร.081-1748940 และนางสาวราตรี เนตรพระฤทธิ์ โทร.081-4300584

คปภ. แนะเจ้าหนี้ของ บริษัท เอ.พี.เอฟ

ยื่นขอรับชำระหนี้ ได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 3 มีนาคม 2554

ตามที่ ได้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์เนชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2553 นั้น

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เนื่องจากสำนักงาน คปภ. ได้ให้เวลาบริษัทปรับปรุงแก้ไขฐานะการเงิน และหาผู้ร่วมทุน เพื่อให้บริษัทฟื้นฟูฐานะและสามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทน เป็นเวลาร่วม 1 ปี แต่บริษัทยังคงไม่สามารถดำเนินการได้ เพียงแต่จ่ายค่าสินไหมทดแทนไปจำนวน 636 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 13.50 ล้านบาท และยังคงค้างการจ่ายค่าสินไหมทดแทนอีก เป็นจำนวน 357.27 ล้านบาท

ดังนั้น ขอให้ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของบริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์เนชั่นแนล อินชัว-รันส์ จำกัด หรือเจ้าหนี้ที่เคยร้องเรียนกับสำนักงาน คปภ. ยื่นคำขอรับชำระหนี้กับผู้ชำระบัญชี ได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 3 มีนาคม 2554 โดยนำเอกสารต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนาเอกสาร จำนวน 2 ชุด ประกอบการยื่น ดังนี้

1. กรมธรรม์ประกันภัย 2. บัตรประจำตัวประชาชน

3. ใบเคลม 4. ใบนัดชำระหนี้

5. เอกสารอื่นใด ที่แสดงถึงมูลหนี้ 6. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเจ้าหนี้เป็นนิติบุคคล)

7. หนังสือมอบอำนาจ พร้อมบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมายื่นได้ด้วยตนเอง)

ทั้งนี้ ผู้ชำระบัญชีจะเร่งดำเนินการรวบรวมทรัพย์สินและหนี้สิ้นของบริษัทให้เสร็จสิ้น และนำมาเฉลี่ยคืนให้แก่ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยอย่างเร็วที่สุด และหากทรัพย์สินที่นำมาเฉลี่ยคืนหนี้ มีไม่เพียงพอ ต่อจำนวนหนี้ที่เกิดจากสัญญาประกันภัย กองทุนประกันวินาศภัยจะให้ความช่วยเหลือประชาชนจากการที่บริษัทประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาตฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเจ้าหนี้

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นต่อธุรกิจประกันภัย เพราะสำนักงาน คปภ. ได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและวิธีการในการกำกับบริษัทประกันภัยแนวใหม่ โดยมุ่งเน้นการป้องกันไว้ล่วงหน้า เพื่อให้บริษัทมีฐานะการเงินที่มั่นคง มีเงินสดเพียงพอจ่ายหนี้สินให้แก่ผู้เอาประกันภัยได้อย่างครบถ้วน และหากตรวจพบว่าผู้บริหารบริษัทมีการปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย หรือบริษัทใดมีฐานะการเงินไม่มั่นคง สำนักงาน คปภ. จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อไป

หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186 หรือ www.oic.or.th

สำนักงาน คปภ. ห่วงใยความปลอดภัยของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่จะมีประชาชนเดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก สำนักงาน คปภ. มีความห่วงใยและตระหนักถึงภัยที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเดินทางจนทำให้เกิดความสูญเสีย และความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม สำนักงาน คปภ.จึงขอแนะนำการประกันภัยอุบัติเหตุ

เดินทางอุ่นใจ ซึ่งเป็นกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับการเดินทางในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ในประเทศ โดยให้ความคุ้มครอง การสูญเสียอวัยวะ สายตา ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง และค่ารักษาพยาบาล โดยมีอัตราเบี้ยประกันภัยต่ำ เช่น จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท ค่ารักษาพยาบาล 10,000 บาท ระยะเวลาเดินทาง 1-14 วัน เบี้ยประกันภัยอยู่ระหว่าง 15 -60 บาท ส่วนการเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศ มีกรมธรรม์ประกันภัยการเดินทางที่ให้ผลประโยชน์ต่างๆ มากมาย เช่น การเสียชีวิต ทุพพลภาพ ค่ารักษาพยาบาล ความล่าช้าหรือสูญหายของกระเป๋าเดินทาง ความสูญหายของทรัพย์สินส่วนตัว (เงินสด คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค เอกสารเดินทาง เครื่องประดับ ฯลฯ) การพลาดการต่อเที่ยวบิน และค่าใช้จ่ายเมื่อการเดินทางหยุดชะงัก เป็นต้น โดยทั่วไปบริษัทประกันภัยจะจัดทำแผนความคุ้มครองแบบต่างๆ ให้ผู้เอาประกันภัยเลือกซื้อตามความต้องการ ซึ่งเบี้ยประกันภัยจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ในแต่ละแบบ

นอกจากนี้ นางจันทราฯ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการประกันภัยรถยนต์มีทั้งแบบประกันภัยรถ

ภาคสมัครใจที่ให้ความคุ้มครองตัวรถและความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ส่วนการประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยที่บาดเจ็บและเสียชีวิต ดังนั้น ก่อนออกเดินทางท่องเที่ยว ขอให้ประชาชนเลือกซื้อความคุ้มครองที่เหมาะสมกับความต้องการ เพื่อประโยชน์ของตัวท่านและครอบครัว และอย่าลืมตรวจสอบวันหมดอายุและตรวจสภาพรถก่อนการเดินทาง ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ.ได้จัดเจ้าหน้าที่ให้บริการประชาชนผ่าน สายด่วนประกันภัย 1186 ทั่วประเทศ ตลอดช่วงเทศกาล

เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน

เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You

พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ

เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)

ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว

คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%

(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง

(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี

โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์

เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *