ประกันอุบัติเหตุ เมืองไทยประกันชีวิต สมัครประกันออนไลน์


ประกันอุบัติเหตุ เมืองไทยประกันชีวิต สมัครประกันออนไลน์ ตัวแทนประกันชีวิต ที่ปรึกษาวางแผนสุขภาพและการเงิน ประกันคุ้มครองชีวิต ประกันชีวิตควบคู่การลงทุน ประกันตลอดชีพ

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2561 ตนและคณะผู้บริหารสำนักงาน คปภ. ได้เดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเข้าพบ นาย Pei Guang, Director General ของ China Insurance Regulatory Commission (CIRC) เซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลการประกอบธุรกิจประกันภัยของสาธารณรัฐประชาชนจีนในเขตปกครองพิเศษเซี่ยงไฮ้ เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการกำกับดูแลด้านต่างๆ โดยเฉพาะการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยผ่านช่องทางออนไลน์ของธุรกิจประกันภัย โดยในประเทศจีนการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยผ่านช่องทางออนไลน์มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ซึ่ง CIRC อยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎหมายและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำกับดูแลการขายประกันภัยออนไลน์ แต่ก็มีการกำกับตรวจสอบการขายประกันภัยออนไลน์ของบริษัทประกันภัยผ่าน IT Audit ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของ CIRC ที่มีความรู้ด้าน IT และประกันภัย เข้าไปตรวจสอบการดำเนินการของบริษัทประกันภัย โดยลักษณะการกำกับดูแลของ CIRC จะเป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทประกันภัยสามารถพัฒนาและใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจได้เอง แต่จะไม่ได้เข้าไปควบคุมอย่างเคร่งครัดในตอนแรก และเมื่อมีการดำเนินธุรกิจดังกล่าวไปได้ระยะหนึ่งจนเริ่มเกิดความชัดเจนเกี่ยวกับลักษณะของการดำเนินธุรกิจนั้น CIRC จึงจะออกกฎระเบียบเข้าไปกำกับดูแล

นอกจากนี้ยังได้มีการหารือเกี่ยวกับการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีการขายประกันภัย ซึ่งในประเทศจีนมี China Banking Regulatory Commission (CBRC) เป็นหน่วยงานกำกับดูแลธนาคาร แต่ CIRC ก็มีการเข้าตรวจสอบธนาคาร ณ สถานที่ทำการ เพื่อตรวจสอบกระบวนการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยของธนาคารดังกล่าว และจะมีการประสานกับ CBRC เกี่ยวกับผลการตรวจสอบ ส่วนกระบวนการลงโทษธนาคารที่มีการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ภายใต้อำนาจของ CIRC ทั้งนี้ ช่องทางการขายผ่านตัวแทนและนายหน้าประกันภัยยังถือเป็นช่องทางหลักในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยในประเทศจีน แม้ช่องทางออนไลน์จะมีความเติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดีตัวแทนประกันภัยมีการปรับตัวโดยใช้เทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกมากขึ้น

นอกจากนี้ เลขาธิการ คปภ. ยังได้หารือกับ Dr.Woody Mo ประธานบริษัท eBaoTech ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศจีน โดยนอกจากการนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาการประกอบธุรกิจประกันภัยแล้ว บริษัทยังพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการปฏิบัติตามกฎหมายของบริษัทประกันภัย (RegTech) และระบบเทคโนโลยีเพื่อลดภาระในการจัดเก็บรายงานของหน่วยงานกำกับดูแล (SupTech) ซึ่งได้มีการทำ Pioneer Regulatory Real Time Data Automatic Filing อันเป็นการเชื่อมระบบของบริษัทกับแพลตฟอร์มของหน่วยงานกำกับดูแล เมื่อพนักงานของบริษัทประกันภัยได้กรอกข้อมูลที่จะต้องจัดทำเป็นรายงานเพื่อนำส่งต่อหน่วยงานกำกับดูแล ระบบจะทำการจัดเก็บและจัดทำเป็นรูปแบบรายงานส่งไปยังหน่วยงานกำกับดูแลโดยอัตโนมัติแบบ Real-time โดยที่บริษัทไม่ต้องเสียเวลาทำเป็นแบบฟอร์มรายงานอีกครั้ง นอกจากนี้ ได้มีการพัฒนาระบบในการแจ้งเตือนการทำประกันภัยที่สามารถนำเบี้ยประกันภัยไปลดหย่อนภาษีจากกรมสรรพากรของรัฐบาล เมื่อผู้เอาประกันภัยจะต้องยื่นแบบรายการเสียภาษี ระบบของกรมสรรพากรจะมีการคำนวณรายการหักจากการทำประกันภัยที่สามารถลดหย่อนภาษีไว้ให้แก่ผู้เสียภาษีโดยอัตโนมัติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการกรอกข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยที่ใช้ลดหย่อนภาษี รวมถึงอำนวยความสะดวกให้ผู้เสียภาษีว่ามีการทำประกันภัยเพื่อลดหย่อนภาษีไปกี่ฉบับ ซึ่งจากการพูดคุยกับบริษัทยังพบว่า รัฐบาลกลางของประเทศจีนให้การสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีจึงไม่ถูกกำกับอย่างเคร่งครัดมาก นอกจากนี้ ประเด็นเรื่องความเชื่อมโยง (Connectivity) ระหว่างผลิตภัณฑ์ประกันภัยกับพฤติกรรมผู้บริโภคและสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะสร้างความสำเร็จและความเติบโตให้กับธุรกิจประกันภัย

ต่อมาวันที่ 3 เมษายน 2561 ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ ได้รับเชิญให้ประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ZhongAn ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยที่ได้รับอนุญาตให้ขายประกันภัยผ่านช่องทางออนไลน์เป็นแห่งแรก เพื่อศึกษาดูงานในแง่มุมที่เกี่ยวกับการขายประกัน และธุรกรรมอื่นผ่านทางช่องทางออนไลน์ ซึ่งปัจจุบัน บริษัท ZhongAn ขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยเฉพาะช่องทางออนไลน์อย่างเดียว ไม่ใช้การขายผ่านตัวแทน โดยบริษัทออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เน้นความเชื่อมโยง (Connectivity) กับพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือ ผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่แนบติดไปกับสินค้าและบริการออนไลน์ต่างๆ เช่น กรมธรรม์ประกันภัย Shipping Return Insurance อันเป็นกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองแก่ทั้งผู้ที่ซื้อสินค้าและผู้ที่ขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่พอใจกับสินค้าหรือสินค้ามีความไม่สมบูรณ์ ต้องมีการส่งสินค้าคืนให้แก่ผู้ขาย กรมธรรม์ประกันภัยนี้จะให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าคืนผ่านไปรษณีย์หรือช่องทางการขนส่งสินค้าอื่นๆ ที่ผู้ส่งคืนสินค้าจะต้องจ่ายไป นอกจากนี้ บริษัทได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อป้องกันปัญหาจากการ ฉ้อฉล มีการพัฒนาระบบ Big Data เพื่อเป็นฐานข้อมูลกลางในการตรวจสอบการฉ้อฉลประกันภัยระหว่างบริษัทประกันภัยด้วยกัน และในบางบริษัทมีการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ในการตรวจจับข้อมูลเสียงของ ผู้ที่มาเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนว่ามีความแตกต่างจากปกติหรือมีสภาวะที่อาจก่อให้เกิดการฉ้อฉลประกันภัยหรือไม่

“ในวันที่ 4 เมษายน 2561 ประกันอุบัติเหตุ ผมได้นำคณะเข้าศึกษาดูงานกลุ่มบริษัท Alibaba ซึ่งจากการเข้าเยี่ยมชม Alibaba Museum ได้เห็นถึงแผนงานที่จะสร้าง Electronic World Trade Platform เพื่อทำให้เกิดตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมทั่วโลก รวมถึงได้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดตลอดจนโครงการที่น่าสนใจในการนำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยพัฒนาศักยภาพและสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยงในงานด้านอื่นๆ เช่น การใช้เว็บไซต์เป็นสื่อกลางในการเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตสินค้าสามารถนำเสนอผลผลิตของตนต่อผู้บริโภคได้โดยตรงพร้อมทั้งระบบการบริการขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตถึงหน้าบ้านของผู้บริโภค ไม่ว่าจะในประเทศจีนหรือในต่างประเทศ โดยบริษัทได้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและแผนการนำเทคโนโลยีไปต่อยอดในด้านต่างๆที่มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน

นอกจากนี้ผมยังได้รับเชิญให้แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาธุรกิจประกันภัยกับคณะผู้บริหารระดับสูงซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบการเงินและเทคโนโลยีของบริษัท Ant Financial Services ซึ่งเป็นบริษัททางการเงินในกลุ่มบริษัท Alibaba โดยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาผนวกกับพฤติกรรมของผู้บริโภคและกระบวนการในการประกอบธุรกิจของบริษัทประกันภัยเพิ่มมากขึ้น เช่น สร้างแอพพลิเคชั่นให้ผู้เอาประกันภัยสามารถถ่ายรูปรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุเพื่อส่งมาเป็นหลักฐานประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้กับบริษัท โดยในแอพพลิเคชั่นจะมีการแจ้งเตือนแก่ผู้เอาประกันภัยว่าต้องถ่ายรูปในมุมองศาไหน และระยะเท่าใด เพื่อให้ได้รูปถ่ายที่เหมาะสมที่ระบบสามารถประมวลผลอัตโนมัติโดยระบบ AI ของบริษัทประกันภัย เพื่อนำมาพิจารณาประเมินค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุดังกล่าวได้ ซึ่งลูกค้าจะได้รับข้อมูลการประเมินค่าซ่อมโดยอ้างอิงจากราคากลางของศูนย์บริการซ่อมรถที่ลูกค้าเลือกผ่านทางแอพพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือ นับว่าเป็นประโยชน์และจะป้องกันเรื่องการฉ้อฉลประกันภัย” ดร.สุทธิพลกล่าว

จากการประชุมหารือกับหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยและการศึกษาดูงานบริษัทพัฒนาเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีน จะเห็นได้ว่า ตลาดประกันภัยในประเทศจีนได้มุ่งหน้าเข้าสู่ตลาดดิจิทัลอย่างเต็มตัว โดยภาคธุรกิจประกันภัยได้ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาเชื่อมต่อกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของตน รวมถึงเชื่อมต่อกับรูปแบบพฤติกรรมของลูกค้า ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีของธุรกิจประกันภัยในประเทศจีนปรากฏทั้งรูปแบบที่บริษัทประกันภัยพัฒนาขึ้นด้วยตนเองหรืออาศัยเทคโนโลยีของบริษัทในเครือ รูปแบบที่ใช้การร่วมทุนและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีกับบริษัทประกันภัยอื่น และรูปแบบที่มีการว่าจ้างบริษัทเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนา ซึ่งในมุมมองของบริษัทพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศจีนมองว่า ตลาดประกันภัยในประเทศไทยมีศักยภาพเติบโตอีกมากหากมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับกับการเติบโตดังกล่าว แต่สิ่งที่สำคัญคือ บริษัทประกันภัย ต้องสร้างการเชื่อมต่อ (connectivity) กับทั้งลูกค้าของตนเองและบริษัทคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อที่จะสามารถพัฒนาขีดความสามารถในการประสานงาน ตลอดจนต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เหมาะสมแก่กลุ่มเป้าหมายของบริษัท

“ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยได้ดำเนินการในแนวทางการกำกับดูแลที่สอดคล้องกับแนวทางของประเทศจีน โดยกำกับดูแลเท่าที่จำเป็นเพื่อให้ธุรกิจมีความคล่องตัวและส่งเสริมการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในระบบประกันภัย แต่ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญในการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอันดับต้นๆ นอกจากนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถขยายขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจประกันภัยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ สำนักงาน คปภ. ได้พยายามส่งเสริมผ่านการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับ FinTech และ InsurTech ต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทประกันภัยสามารถหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อขยายขีดความสามารถของตน รวมถึงจะส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เชื่อมโยงกับพฤติกรรมผู้บริโภคและสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อที่จะให้ผลิตภัณฑ์ประกันภัยช่วยอำนวยความสะดวกและสร้างความมั่นใจอย่างเต็มที่ในทุกกิจกรรมของการดำเนินชีวิตของประชาชน” ดร.สุทธิพล กล่าวย้ำในตอนท้าย

อนุมัติแบบกรมธรรม์ประกันภัยข้าวและอัตราเบี้ยประกันภัยแล้ว เตรียมยกทีมลงพื้นที่กระจายความรู้สู่ชาวนาไทยประเดิมจังหวัดเชียงใหม่ที่แรก เผยใช้เทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอบรมให้ความรู้เกษตรกรชาวนา

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2561 เห็นชอบการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2561 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งเป็นการดำเนินโครงการต่อเนื่องจากปี 2560 เพื่อให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวนาปี ได้มีเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ซึ่งในปีนี้ได้กำหนดเป้าหมายสูงสุดไม่เกิน 30 ล้านไร่ สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ได้เตรียมความพร้อมและเริ่มเดินหน้าเร่งขับเคลื่อนโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2561 ตามนโยบายของรัฐบาลแล้ว เพื่อให้ทันฤดูการเพาะปลูก โดยเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2561 นายทะเบียน ได้ให้ความเห็นชอบแบบและข้อความ และอัตราเบี้ยประกันภัย ของกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2561 แล้ว ซึ่งมีบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการแล้วจำนวน 22 บริษัท โดยบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการสามารถรับประกันภัยข้าวได้แล้ว

สำหรับรูปแบบการรับประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2561 ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายการรับประกันภัยสูงสุดไว้ไม่เกิน 30 ล้านไร่ มีเงื่อนไขการรับประกันภัยคือ เกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร (ทบก.) กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปีการผลิต 2561/62 โดยแบ่งกลุ่มผู้เอาประกันภัย เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ กลุ่มเกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2561 ของ ธ.ก.ส. ทุกราย โดยมีพื้นที่เป้าหมาย จำนวนไม่เกิน 29 ล้านไร่ และกลุ่มที่สอง คือ กลุ่มเกษตรกรทั่วไปที่เพาะปลูกข้าวนาปี ที่ไม่ใช่ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. โดยมีพื้นที่เป้าหมาย จำนวนไม่เกิน 1 ล้านไร่ สำหรับอัตราเบี้ยประกันภัยยังคงเดิม คือ 90 บาทต่อไร่ ซึ่งเป็นอัตราเดียวทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จะได้รับวงเงินความคุ้มครองสูงสุด 1,260 บาทต่อไร่ สำหรับภัยธรรมชาติทั้งหมด 6 ประเภท ได้แก่ น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ และไฟไหม้ และวงเงินความคุ้มครองสูงสุด 630 บาทต่อไร่ สำหรับภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด ทั้งนี้ในส่วนของค่าเบี้ยประกันภัย 90 บาทต่อไร่นั้น รัฐบาลจะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้กับเกษตรกรผู้ทำประกันภัย 54 บาทต่อไร่ และ ธ.ก.ส. อุดหนุนส่วนที่เหลือ 36 บาทต่อไร่ (โดยภาครัฐยังอุดหนุนค่าอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย) ดังนั้นเกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อของ ธ.ก.ส. จะไม่เสียเงินค่าเบี้ยประกันภัยเลย แต่ถ้าไม่ได้เป็นลูกค้าธ.ก.ส. จะจ่ายเบี้ยประกันภัยเองเพียง 36 บาทต่อไร่ โดยมีระยะเวลาโครงการเริ่มตั้งแต่ฤดูการเพาะปลูก ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2561 ยกเว้นภาคใต้ ไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคม 2561

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเร่งเดินหน้าโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2561 ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2561 ได้จัดประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) เพื่อมอบนโยบายให้แก่สำนักงาน คปภ. ภาค ทั้ง 9 ภาค ให้เตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวทันที เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการรับประกันภัยข้าวนาปี ปี 2561 และให้เกษตรกรชาวนามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และความจำเป็นของการประกันภัยข้าวนาปี โดยสำนักงาน คปภ. จะร่วมบูรณาการกับกรมส่งเสริมการเกษตร กรมการปกครอง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมประชาสัมพันธ์ กรมการข้าว สมาคมประกันวินาศภัยไทย และ ธ.ก.ส. ในการจัดโครงการ“อบรมความรู้ประกันภัย (Training for the Trainers) สำหรับการประกันภัยข้าวนาปี” ประจำปี 2561 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านประกันภัย โดยเฉพาะกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปีให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรโดยตรง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในการเข้ารับการอบรมครั้งนี้ประกอบด้วย เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้จัดการสาขาและพนักงาน ธ.ก.ส. ประชาสัมพันธ์จังหวัด และสื่อมวลชน เป็นต้น และเพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องการประกันภัยข้าวนาปี จึงได้เพิ่มกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมในโครงการดังกล่าว ได้แก่ เจ้าหน้าที่จากกรมการข้าว และกำนันในพื้นที่ ซึ่งผู้ที่ผ่านการอบรมจะนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ในลักษณะการสร้างเครือข่ายด้านองค์ความรู้และความเข้าใจด้านการประกันภัย รวมถึงเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันและสร้างแรงจูงใจให้กับชาวนาไทยให้เข้าสู่ระบบการบริหารความเสี่ยงภัยได้อย่างทั่วถึง

สำนักงาน คปภ. กำหนดแผนการลงพื้นที่จัดอบรมเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่กำหนดไว้ 9 จังหวัด ในปี 2561 นี้เพิ่มขึ้น เป็น 10 จังหวัด ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยประเดิมจัดครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 29 – 30 เมษายน 2561 ต่อด้วย จังหวัดลพบุรี จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดพะเยา จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดพัทลุง และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรมในโครงการดังกล่าว สำนักงาน คปภ. จึงได้เพิ่มกิจกรรมการลงพื้นที่ไปยังศูนย์การเรียนรู้ หรือศูนย์วิจัยเกี่ยวกับการเพาะปลูกข้าวในจังหวัด ตลอดจนพบปะกับชุมชนในพื้นที่เพื่อให้ได้รับทราบสภาพทั่วไปของพื้นที่ และสภาพปัญหาของการเพาะปลูกในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนวิธีการที่เกษตรกรใช้ในการแก้ไขปัญหาเพื่อจะได้นำมาปรับปรุงโครงการประกันภัยข้าวนาปีให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอบรม จึงได้ใช้เทคโนโลยีมาช่วย โดยได้จัดทำคู่มือสำหรับ Trainers ใน 2 รูปแบบ คือ ในรูปแบบแผ่นพับ Infographic และ ภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบ Animation ซึ่งคู่มือทั้ง 2 รูปแบบนี้สามารถดาวน์โหลดข้อมูลดังกล่าวผ่านการสแกน QR Code ซึ่งจะแสดงกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ และเงื่อนไขต่างๆ ของการรับประกันภัยข้าวนาปี ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล และมีความเข้าใจในขั้นตอนการทำประกันภัยข้าวนาปีได้ง่ายขึ้น รวมถึงสามารถนำไปใช้ถ่ายทอดให้กับเกษตรกรได้เข้าถึงมากยิ่งขึ้น

“สำนักงาน คปภ. ตระหนักถึงความสำคัญของการนำระบบประกันภัยไปช่วยลดความเลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจของประชาชน โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมของประเทศ ซึ่งอาชีพทำนาในปัจจุบันมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากต้องพึ่งพิงปัจจัยทางธรรมชาติเป็นอย่างมาก เกษตรกรชาวนาจึงมีความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง ลมพายุ และแมลงศัตรูพืช ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกษตรกรชาวนาส่วนใหญ่ยังคงมีรายได้ค่อนข้างต่ำ ไม่คงที่แน่นอน และบางรายต้องสูญเสียที่ดินทำกิน จึงจำเป็นต้องมีระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและยกระดับรายได้ สำนักงาน คปภ. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการอบรมนี้จะเป็นประโยชน์และขยายผลไปถึงเกษตรกรชาวนาไทยให้มีความรู้ความเข้าใจ และเล็งเห็นความสำคัญของการประกันภัยมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการปฏิรูปนโยบายการประกันภัยพืชผล ซึ่งนำไปสู่การสร้างความมั่นคงในชีวิต และยกระดับรายได้ของเกษตรกรในประเทศต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2561 เวลา 22.50 น. เกิดเหตุรถโดยสารปรับอากาศ 2 ชั้น หมายเลขทะเบียน 33-5488 กรุงเทพมหานคร ซึ่งรับแรงงานชาวเมียนมา จำนวน 51 ราย (หญิงทั้งหมด) เป็นแรงงาน MOU (แรงงานใหม่ทั้งหมด) จากพรมแดนอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อเดินทางไปบริษัท สุโขนวศร จำกัด (ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิค) อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา แต่รถโดยสารคันดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุ เสียหลักพลิกคว่ำลงข้างทางบริเวณดอยรวก ทางหลวงหมายเลข 12 ตาก-แม่สอด กม.68 +200 (กม.ที่ 68-69) เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 6 ราย บาดเจ็บกว่า 30 ราย

จากการติดตามและประสานงานอย่างใกล้ชิดของ สำนักงาน คปภ. ส่วนกลาง และสำนักงาน คปภ. จังหวัดตาก พบว่า รถโดยสารปรับอากาศ 2 ชั้น หมายเลขทะเบียน 33-5488 กรุงเทพมหานคร ได้ทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ไว้กับบริษัท เคเอสเค ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ตามกรมธรรม์เลขที่ BKK-A-COI-17-100098 เริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2560 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 30 มิถุนายน 2561 ซึ่งกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคบังคับนี้ ได้ให้ความคุ้มครองต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ของผู้ประสบภัยจากรถทุกคน โดยในส่วนของผู้โดยสาร กรณีบาดเจ็บจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน และกรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวรจะได้รับค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาทต่อคน และกรณีสูญเสียอวัยวะ 200,000-300,000 บาท กรณีเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลในฐานะคนไข้ในจะได้รับค่าชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

โดยรถโดยสารคันดังกล่าว ยังได้ทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ประเภท 1 ไว้กับบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตามกรมธรรม์เลขที่ 60-1-0-703548 เริ่มคุ้มครองวันที่ 14 ธันวาคม 2560 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 14 ธันวาคม 2561 ซึ่งกรมธรรม์ฉบับนี้ ให้ความคุ้มครองความรับผิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ของบุคคลภายนอก เป็นจำนวน 300,000 บาทต่อคน และ 10,000,000 บาท/ครั้ง คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินไม่เกิน 600,000 บาท/ครั้ง และมีความคุ้มครองจากการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) โดยให้ความคุ้มครองต่อกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ และทุพพลภาพถาวร ของผู้ขับขี่ 100,000 บาท และผู้โดยสาร 44 คนๆคนละ 100,000 บาทต่อคน และค่ารักษาพยาบาลอีกจำนวน 50,000 บาทต่อคน ซึ่งขณะนี้กระบวนการจ่ายค่าสินไหมทดแทนกับผู้ประสบอุบัติเหตุที่เป็นแรงงานจากประเทศเมียนมานั้นอยู่ระหว่างการประสานงานกับทางสถานทูตเมียนมาประจำประเทศไทย

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2561 เวลา 10.20 น. ได้เกิดอุบัติเหตุซ้ำในจุดเดิม ขณะที่เจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงานเดินทางมายังจุดเกิดเหตุ บริเวณดอยรวก ทางหลวงหมายเลข 12 ตาก-แม่สอด กม.68+200 (กม.ที่ 68-69) ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่เกิดอุบัติเหตุแรงงานชาวเมียนมาเสียชีวิต 6 ศพ ปรากฏว่า รถบัสโดยสารไม่ประจำทาง หมายเลขทะเบียน 30-0269 ปทุมธานี ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยุพาการท่องเที่ยว ซึ่งไม่มีผู้โดยสาร เกิดเบรกแตกเป็นเหตุทำให้พุ่งชน นางสาวมานิดา ธัญกิจรุ่งโรจน์ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ ประจำสำนักงานแรงงานจังหวัดตาก ที่กำลังตรวจสอบสถานที่เกิดอุบัติเหตุของแรงงานชาวเมียนมาเสียชีวิต 6 ศพ เมื่อวันที่ 9 ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้นางสาวมานิดา เสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันที

ทั้งนี้จากการตรวจสอบของสำนักงาน คปภ. พบว่า รถบัสโดยสารคันดังกล่าว ได้ทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ไว้กับบริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตามกรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ 11001-018-170007935 เริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2560 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 30 มิถุนายน 2561 ซึ่งผู้เสียชีวิตในกรณีนี้จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวน 300,000 บาท นอกจากนี้รถบัสโดยสารคันดังกล่าวยังได้ทำประกันภัยรถภาคสมัครใจไว้กับบริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ 11002-018-170015541 (3) เริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2560 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 30 มิถุนายน 2561 ซึ่งกรมธรรม์ฉบับนี้ให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก กรณีความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย จำนวน 500,000 บาท

โดยล่าสุดสำนักงาน คปภ.จังหวัดตากได้ประสานงานกับบริษัทประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามพ.ร.บ.แก่ญาติผู้เสียชีวิตแล้วจำนวน 300,000 บาท ส่วนค่าสินไหมทดแทนจากกรมธรรม์ประกันภัยอื่นๆจะเร่งตรวจสอบเพื่อประสานกับบริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างเร่งด่วนต่อไป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *