ประกันโรคร้ายแรง เมืองไทยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ


ประกันโรคร้ายแรง เมืองไทยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ พนักงานออฟฟิศ ถ้าไม่อยากป่วย ปรับด่วนนน!!

พนักงานออฟฟิศใช้เวลาทำงานเฉลี่ยวันละ 8-10 ชั่วโมง หรือพูดง่าย ๆ คือในหนึ่งวันชีวิตจะเปย์ให้กับการทำงานที่ยาวนาน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และพฤติกรรมการของทำงานเป็นหนึ่งสาเหตุหลักของอาการเจ็บป่วยและโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะจากท่าทางการนั่ง กินจุบกินจิบไม่ตรงเวลา จ้องอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน หรือความเครียดสะสมที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าคุณไม่อยากเจ็บป่วยจากพฤติกรรมการทำงาน เมืองไทยประกันชีวิตขอแนะนำให้เริ่มรีเซ็ต รีบปรับตัวกันด่วน ๆ ก่อนจะสายเกินไป

กินอาหารไม่ตรงเวลา
กินอาหารไม่ตรงเวลา กินจุบจิบ กินอิ่มมากหรือน้อยเกินไป บอกเลยว่าพฤติกรรมเหล่านี้มีส่วนทำให้กระเพาะอาหารของเราทำงานผิดปกติ เกิดเป็นโรคกระเพาะอาหาร โรคลำไส้แปรรวนหรือกรดไหลย้อนตามมาได้

ดังนั้นหากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือรักษาให้หายขาด อาการเหล่านี้อาจพัฒนาไปเป็นโรคที่มีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารทะลุ หรือมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น

ใกล้ชิด ติดจอ มากเกินไป
ถ้าคุณเริ่มมีอาการ ตาแห้ง ตาล้า แสบตา และดวงตาไม่สามารถสู้แสงหรือโฟกัสได้ รวมถึงมีอาการปวดหัว คอ บ่า ไหล่ เกิดขึ้นด้วย แปลว่าสุขภาพของคุณกำลังเข้าใกล้โรค Computer Vision Syndrome หรือ CVS คือกลุ่มของอาการทางตาและการมองเห็น ซึ่งสาเหตุไม่ใช่เรื่องไกลตัว เกิดจากการพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์ ในระหว่างทำงานเป็นเวลายาวนาน จุดทำงานแสงไม่เพียงพอ ระยะมุมอาจมองใกล้หรือไกลจนเกินไป ซึ่งส่งผลเสียต่อสายตาเราทั้งหมด

วิธีหลีกเลี่ยงคือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพิ่มแสงไฟและจอแสดงผลให้เพียงพอ ปรับมุมมองของสายตากับจอให้อยู่ในระยะที่เหมาะสม และหมั่นพักสายตาระหว่างทำงาน ฝึกกะพริบตาบ่อย ๆ หรือหากรู้สึกตาแห้งให้หยอดน้ำตาเทียมเพื่อช่วยให้รู้สึกชุ่มชื้นและสบายตาขึ้น

นั่งผิดท่า ผิดทาง โดยไม่รู้ตัว
เชื่อว่าพนักงานออฟฟิศแค่รู้สึกปวดหลังเบา ๆ ก็หวาดระแวงว่าเราเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมแล้วรึยังนะ และถ้ามีอาการปวดร้าวบริเวณคอ บ่า ไหล่ รวมถึงอาการชาที่นิ้วมือ ฝ่ามือ หรือแขน ประกอบด้วย อาจบอกได้ชัดเจนว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมในเร็ววัน เนื่องจากพฤติกรรมการนั่งทำงานที่ผิดท่าผิดทาง ตำแหน่งของโต๊ะทำงานกับเก้าอี้ไม่สัมพันธ์กับสรีระ ส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ และหากปล่อยทิ้งไว้นานวันอาจเริ่มมีอาการปวดตามมาเป็นลำดับ ซึ่งถ้าไม่อยากเสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งทำงาน และพักจากงานเพื่อยืดเส้นสายบ้าง

นอกจากนี้ โรคออฟฟิศซินโดรม ยังมีกลุ่มอาการที่เกิดจากส่วนของกระดูกสันที่หลังมีปัญหาและอาจรุนแรงได้ เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคหมอนรองกระดูกปลิ้น ประกันโรคร้ายแรง หรือโรคกระดูกสันหลังคด เป็นต้น

นอนดึก ตื่นเช้า ระวังตัวให้ดี
คนนอนดึกเพราะโหมงานหนัก แถมรุ่งเช้ายังต้องรีบตื่นเพื่อไปทำงานต่อ จนนาฬิกาชีวิตเปลี่ยน เวลานอนหรือพักผ่อนนั้นไม่เพียงพอ หากทำบ่อย ๆ อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือสมาธิสั้นลงได้

ดังนั้นไม่ควรปล่อยให้พฤติกรรมการนอนดึกตื่นเช้าเกิดขึ้นจนกลายเป็นเรื่องปกติ ควรจัดสรรเวลางานเสียใหม่ และหมั่นหาเวลาพักผ่อนหลับในช่วงพักกลางวันสัก 10-15 นาที หรือควรนอนหลับให้นานมากขึ้นคืนละอย่างต่ำ 6-7 ชม. เพื่อสุขภาพที่ดี

แม้ว่าในบางพฤติกรรมนั้นอาจยังไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยตรง แต่ในระยะยาวหากไม่รีเซตพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ อาจส่งผลให้เกิดโรคที่รุนแรงภายหลังได้ พร้อมเสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่

ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ

เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

คปภ. ผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันชีวิตในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย

สำนักงาน คปภ. เห็นชอบให้ธุรกิจประกันชีวิตผ่อนผันระยะเวลาชำระเบี้ยประกันชีวิตและการต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามที่สมาคมประกันชีวิตไทยเสนอ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบเหตุอุทกภัย

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์การเกิดอุทกภัยในหลายจังหวัด ซึ่งทำให้มีประชาชนเป็นจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน สำนักงาน คปภ. มีความห่วงใยประชาชนเป็นอย่างมาก จึงเห็นชอบให้ธุรกิจประกันชีวิตขยายระยะเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันชีวิตให้แก่ผู้เอาประกันภัยที่ประสบอุทกภัยออกไปไม่เกิน 91 วัน ซึ่งแต่เดิมบริษัทส่วนใหญ่จะกำหนดไว้เป็น 31วัน เพื่อช่วยเหลือผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตให้ไม่ต้องกังวลเรื่องกรมธรรม์ประกันชีวิตจะขาดอายุระหว่างที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย

นอกจากนี้ กรณีที่ประชาชนไม่สามารถต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตได้ ทางบริษัทประกันชีวิต

จะมีการผ่อนผันโดยไม่คิดดอกเบี้ย และ/หรือ ไม่ตรวจสุขภาพผู้เอาประกันชีวิตที่ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต โดยกรมธรรม์ประกันชีวิตจะต้องขาดอายุไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่กรมธรรม์ประกันชีวิตขาดอายุ ซึ่งการผ่อนผันระยะเวลาการชำระเบี้ยประกันชีวิต และการต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตหรือการกลับคืนสู่สถานะเดิมของกรมธรรม์ประกันชีวิตจะให้เฉพาะผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ซึ่งทางราชการประกาศเป็นเขตประสบอุทกภัยเท่านั้น โดยขณะนี้ มีบริษัทประกันชีวิตสนใจเข้าร่วมการช่วยเหลือประชาชนแล้ว จำนวน 21 บริษัท หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186 ทั่วประเทศ

“คปภ. ประเมินความเสียหาย ด้านการประกันภัย

เพื่อเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลังน้ำลด”

จากกรณีเกิดเหตุอุทกภัยน้ำท่วมใน 34 จังหวัดที่ผ่านมา สำนักงาน คปภ. ได้ประสานให้สมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัย รวบรวมข้อมูลของผู้ประสบภัยเพื่อเร่งประเมินความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประสบภัย เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการประกันภัยทันทีหลังน้ำลด

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยตัวเลขความเสียหายจากเหตุอุทกภัย ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2553 มีรายงานของผู้เสียชีวิต เป็นจำนวนทั้งสิ้น 40 ราย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อมูลของการทำประกันชีวิต สำหรับการประกันวินาศภัยได้รับรายงานว่ามีจำนวนรถยนต์ที่ทำประกันภัยประเภท 1 เป็นจำนวน 443,182 กรมธรรม์ รวมมูลค่าจำนวนเงินเอาประกันภัยทั้งสิ้น 200.476 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ ได้รับรายงานความเสียหายเบื้องต้น จำนวน 666 คัน คิดเป็นมูลค่าจำนวนเงินเอาประกันภัยทั้งสิ้น 49.56 ล้านบาท โดยบริษัทที่รับประกันภัยสูงสุด คือ บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด รองลงมา คือ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งคาดว่าหลังจากน้ำลดแล้วจะได้รับรายงานความเสียหายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

สำหรับการประกันอัคคีภัยและความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน มีจำนวนกรมธรรม์ทั้งสิ้น 684,376 กรมธรรม์

รวมมูลค่าจำนวนเงินเอาประกันภัย ทั้งสิ้น 1.15 ล้านล้านบาท โดยในเบื้องต้นได้รับรายงานความเสียหายของทรัพย์สินเพียง 17 ราย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 29 ล้านบาท ทั้งนี้ จำนวนกรมธรรม์ดังกล่าวจะต้องได้รับการตรวจสอบว่าได้มีการซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมสำหรับภัยน้ำท่วมหรือไม่ ทั้งนี้ รายละเอียดของความคุ้มครองมีดังนี้

1. การประกันภัยรถประเภท 1 ให้ความคุ้มครองตัวรถเอาประกันภัย ที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นมีมูลค่าตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปของมูลค่ารถ จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนเงินเอาประกันภัย ส่วนการประกันภัยรถภาคบังคับ จะคุ้มครองชีวิต ร่างกาย และอนามัยของผู้ประสบภัยจากรถทุกคน โดยให้ความคุ้มครองสูงสุดกรณีได้รับบาดเจ็บตามจริงไม่เกิน 50,000 บาท หากเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ รายละ 200,000 บาท นอกจากนั้น กรณีที่ผู้บาดเจ็บรักษาตัวในสถานพยาบาล ยังได้รับค่าชดเชยรายวัน ๆ ละ 200 บาท แต่ไม่เกิน 20 วัน

2. การประกันอัคคีภัยที่ซื้อความคุ้มครองน้ำท่วมเพิ่ม และการประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน จะได้รับความคุ้มครองตามความเสียหายตามที่ระบุไว้ในตัวกรมธรรม์

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้เอาประกันภัยรายใดยังไม่ได้แจ้งความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดขึ้น ขอให้รีบแจ้งให้บริษัทประกันภัยทราบโดยเร็ว พร้อมแสดงรายละเอียดความสูญเสียและมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นของทรัพย์สิน ส่วนกรณีเสียชีวิตให้ยื่นหลักฐานสำเนาใบมรณบัตร และสำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ เป็นต้น ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. จะเร่งให้ความช่วยเหลือด้านการประกันภัยแก่ผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็วและ เป็นธรรมต่อไป อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม โปรดตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยของท่านว่ามีความคุ้มครองใดบ้าง เพื่อประโยชน์ของชีวิตและทรัพย์สินต่อไป หากมีข้อสงสัยติดต่อสายด่วนประกันภัย 1186

คปภ. เก็บรักษาทรัพย์สินเงินสำรองประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย

เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงต่อผู้เอาประกันภัย

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่กฎหมายกำหนดให้บริษัทประกันภัยจะต้องนำเงินสำรองประกันภัยมาวางไว้กับสำนักงาน คปภ. เป็นมูลค่าไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินสำรองประกันภัยทั้งสิ้น ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2553 มีบริษัทประกันภัย ทั้งสิ้น 70 บริษัท ได้นำทรัพย์สินมาวางไว้กับสำนักงาน คปภ. เป็นเงินสำรองประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันวินาศภัย จำนวนเงินทั้งสิ้น 8,715 ล้านบาท ซึ่งมีรายละเอียดทรัพย์สิน ดังนี้

1. พันธบัตรรัฐบาลไทย จำนวน 3,826 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.90 ของทรัพย์สินเงินสำรองที่วางไว้

2. พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ จำนวน 2,135 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.49 ของทรัพย์สินเงินสำรองที่วางไว้

3. เงินฝากธนาคาร จำนวน 2,315 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 26.56 ของทรัพย์สินเงินสำรองที่วางไว้

4. ตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 250 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.87 ของทรัพย์สินเงินสำรองที่วางไว้

5. หุ้นและหุ้นกู้บริษัทจำกัด จำนวน 76 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.88 ของทรัพย์สินเงินสำรองที่วางไว้

6. หุ้นกู้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 113 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.30 ของทรัพย์สินเงินสำรองที่วางไว้

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทประกันวินาศภัยจะต้องจัดสรรเบี้ยประกันภัยไว้ เป็นเงินสำรองประกันภัย เพื่อจ่ายคืนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ในอนาคตตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับลูกค้า เช่น เมื่อครบกำหนดสัญญา เมื่อเสียชีวิตหรือเมื่อเวนคืนกรมธรรม์ ฯลฯ กฎหมายกำหนดให้บริษัทจะต้องนำเงินสำรองประกันภัยมาวางไว้กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเป็นมูลค่าไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินสำรองประกันภัยทั้งสิ้น

ทั้งนี้ เงินสำรองประกันภัยที่บริษัทประกันวินาศภัยได้วางไว้กับสำนักงาน คปภ. นี้ เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงสำหรับผู้ทำประกันภัยกับบริษัทประกันวินาศภัย ซึ่งตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย กำหนดให้เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยมีบุริมสิทธิพิเศษเหนือเงินสำรองประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย ดังนั้น สำนักงาน คปภ. จึงกำหนดให้ทรัพย์สินที่นำมาวางไว้เป็นเงินสำรองประกันภัย ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีความมั่นคงสูงเท่านั้น

คปภ. เก็บรักษาทรัพย์สินเงินสำรองประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต

เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงต่อผู้เอาประกันภัย

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 บริษัทประกันชีวิตทั้งหมด 25 บริษัท ได้นำทรัพย์สินมาวางไว้กับสำนักงาน คปภ. เป็นเงินสำรองประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิต ที่ยังมีความผูกพันอยู่ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 202,021 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 17 ซึ่งมีรายละเอียดทรัพย์สินดังนี้

1. พันธบัตรรัฐบาลไทย จำนวน 155,315 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 76.88 ของทรัพย์สินเงินสำรองที่วางไว้

2. พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ จำนวน 41,262 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.42 ของทรัพย์สินเงินสำรองที่วางไว้

3. หุ้นกู้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 2,244 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.11 ของทรัพย์สินเงินสำรอง

ที่วางไว้

4. หุ้นกู้บริษัทจำกัด จำนวน 1,787 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.88 ของทรัพย์สินเงินสำรองที่วางไว้

5. เงินฝากประจำ จำนวน 800 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.40 ของทรัพย์สินเงินสำรองที่วางไว้

6. ตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 600 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.30

ของทรัพย์สินเงินสำรองที่วางไว้

7. หน่วยลงทุน จำนวน 13 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.01 ของทรัพย์สินเงินสำรองที่วางไว้

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทประกันชีวิตจะต้องจัดสรรเบี้ยประกันภัยไว้เป็นเงินสำรองประกันภัยเพื่อจ่ายคืนให้แก่ผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้รับประโยชน์ในอนาคตตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับลูกค้า เช่น เมื่อครบกำหนดสัญญา เมื่อเสียชีวิตหรือเมื่อเวนคืนกรมธรรม์ ฯลฯ กฎหมายกำหนดให้บริษัทจะต้องนำเงินสำรองประกันภัยมาวางไว้กับสำนักงาน คปภ. เป็นมูลค่าไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินสำรองประกันภัยทั้งสิ้น

ทั้งนี้ พระราชบัญญัติประกันชีวิต กำหนดให้เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยมีบุริมสิทธิพิเศษเหนือเงินสำรองประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต ดังนั้น สำนักงาน คปภ. จึงกำหนดให้ทรัพย์สินที่นำมาวางไว้เป็นเงินสำรองประกันภัย เป็นทรัพย์สินที่มีความมั่นคงสูง เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นต่อธุรกิจประกันชีวิต และเป็นหลักประกันความมั่นคงสำหรับผู้ทำประกันภัยกับบริษัทประกันภัย

หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186

ประชาชนปลื้ม ! คปภ. จัดงานประกันภัยสู่ประชาชนลงพื้นที่ต่างจังหวัด

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เปิดเผยว่า ภายหลังจากงาน “ประกันภัยสู่ประชาชน” ที่จัดขึ้นในงานฤดูหนาวและงานกาชาด จังหวัดเชียงใหม่ที่ผ่านมา ประสบผลสำเร็จเกินคาดมีประชาชนจากหลายสาขาอาชีพเข้าเที่ยวชมงานดังกล่าวกว่าแสนคน โดยส่วนใหญ่ประชาชนให้ความสนใจการทำประกันชีวิต มากถึงร้อยละ 40 รองลงมาคือ การประกันสุขภาพ การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล และการประกันภัยตาม พ.ร.บ. นอกจากนี้ยังมีประชาชนผู้สูงอายุให้ความสนใจและสอบถามข้อมูลการทำประกันชีวิตแบบบำนาญอีกเป็นจำนวนมาก

งานดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจประกันภัยอย่างดียิ่ง ในการลงพื้นที่พบประชาชนในต่างจังหวัด ร่วมกับสำนักงาน คปภ. เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการประกันภัย หันมาทำประกันภัยมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการประชาสัมพันธ์แนะนำองค์กรให้เป็นที่รู้จัก และเกิดภาพลักษณ์ดีต่อวงการธุรกิจประกันภัยสู่สายตาประชาชน ตลอดจนช่วยสร้างอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจประกันภัยได้ในอนาคต ทั้งนี้ การจัดงาน “ประกันภัยสู่ประชาชน” ได้กำหนดจัดขึ้นเพื่อลงพื้นที่พบประชาชนในต่างจังหวัดทั่วประเทศอย่างใกล้ชิด ดังนั้น ขอเชิญชวนให้ประชาชนและผู้สนใจเที่ยวงาน “ประกันภัยสู่ประชาชน” ครั้งที่ 2 ได้ในงานวันเกษตรภาคอีสาน ประจำปี 2554 ระหว่างวันที่ 21 – 30 มกราคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เพราะนอกจากจะได้รับความรู้ด้านการประกันภัย และนวัตกรรมใหม่ๆ แล้ว ยังสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เหมาะสมกับความต้องการของท่านได้ และสามารถลุ้นรับสิทธิพิเศษต่างๆ มากมายจากการประกันภัยได้ภายในงานอีกด้วย

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำประกันภัยมีประโยชน์อย่างยิ่งและเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะในยามเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น การประกันภัยสามารถช่วยบรรเทาภาระความเดือดร้อนหรือเป็นเงินออมในระยาวให้ท่านได้ ดังนั้น จึงขอให้ช่วยกันเห็นความสำคัญของการทำประกันภัยและหันมาทำประกันภัยมากขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของท่านเองในอนาคต

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยด้านการประกันภัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186 ทั่วประเทศ

เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน

เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You

พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ

เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)

ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว

คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%

(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง

(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี

โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์

เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *