ภาษีมรดก ประกันชีวิตควบคู่การลงทุน ประกันบำนาญ


ภาษีมรดก ประกันชีวิตควบคู่การลงทุน ประกันบำนาญ ประกันตลอดชีพ ประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษี ลดหย่อนภาษีสูงสุด ประกันชั่วระยะเวลา ออมเงินระยะสั้น

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2560 ตนและคณะผู้บริหารระดับสูงจากส่วนกลาง ร่วมกับผู้อำนวยการภาค 5 ผู้อำนวยการ สำนักงาน คปภ. จังหวัดร้อยเอ็ดและเจ้าหน้าที่ในสังกัด สำนักงาน คปภ. ภาค 5 ได้ร่วมกันเข้าตรวจธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อติดตามการปฏิบัติตามประกาศ คปภ. เกี่ยวกับการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยผ่านธนาคารพาณิชย์

ซึ่งทาง สำนักงาน คปภ. ได้ตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเกิดประสิทธิภาพและเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชน จากการตรวจติดตามครั้งนี้พบว่ามีประเด็นที่หมิ่นเหม่ต่อการไม่สอดคล้องกับประกาศ คปภ. ดังกล่าว เช่น แบบฟอร์มใบสมัครบัตรเดบิทที่มีบริการประกันภัยไม่ได้ระบุค่าเบี้ยประกันแยกจากค่าธรรมเนียมบัตร ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคสับสน พนักงานธนาคารที่เสนอขายประกันวินาศภัย แสดงใบอนุญาตนายหน้าหมดอายุ แม้ในวันที่เข้าตรวจจะไม่พบว่ามีการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย และมีการชี้แจงว่าได้ต่อใบอนุญาตแล้ว แต่ก็ไม่สามารถนำหลักฐานมาแสดงได้ นอกจากนี้บางธนาคารไม่มีป้ายแบ่งโซนการเสนอขายประกันให้ชัดเจน โดยใช้ป้ายระบุคำกว้างๆว่า “บริการทางการเงิน”ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน อีกทั้งยังพบว่าเอกสารแนะนำผลิตภัณฑ์และแบบฟอร์มใบสมัครฯของบางธนาคารไม่ชัดเจน ทำให้ลูกค้าอาจเกิดความสับสนและไม่ทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่ตนซื้อเป็นผลิตภัณฑ์ประกันภัย รวมทั้งประเด็นที่ เลขาธิการ คปภ. มีข้อห่วงใยและได้กำชับให้มีการตรวจติดตามเพิ่มเติมเพื่อจะได้มีการแก้ไขให้เกิดความชัดเจนโดยเร็วคือการที่ธนาคารแห่งหนึ่งมีการให้บริการประกันภัยร่วมกับบัญชีเงินฝาก โดยมีการหักค่าดอกเบี้ยเงินฝากในกรณีที่มีบริการประกันภัยดังกล่าว แม้ทางธนาคารจะชี้แจงว่ามิใช่เป็นเบี้ยประกันภัย แต่เมื่อพิจารณาแล้วการหักดอกเบี้ยในกรณีนี้ก็สุ่มเสี่ยงต่อการถูกมองว่าเป็นการหักดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อนำมาชำระเป็นค่าเบี้ยประกันภัยโดยที่ไม่ได้แจ้งลูกค้าว่ามีการชำระเบี้ยประกันภัย และไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนในเรื่องนี้ จึงหมิ่นเหม่ต่อการฝ่าฝืนประกาศของคปภ.

เบื้องต้น เลขาธิการ คปภ. ได้แจ้งให้ทางสาขาธนาคารดังกล่าวรีบปรับปรุงเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ พร้อมกับกำชับทาง สำนักงาน คปภ. ภาค 5 และสำนักงาน คปภ. จังหวัดร้อยเอ็ดให้กลับมาตรวจติดตามบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์แก่ประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งให้ทำรายงานผลการตรวจธนาคารในครั้งนี้อย่างเป็นระบบอีกด้วย ซึ่งจะได้รีบนำประเด็นข้อห่วงใยไปหารือกับสมาคมธนาคารไทยเพื่อให้มีการปรับปรุงโดยเร่งด่วนต่อไป

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลเรื่องการประกันภัยข้าวนาปีในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง โดยหลังจากที่ ครม. มีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 สำนักงาน คปภ. ได้เร่งเตรียมมาตรการต่างๆ เพื่อนำระบบประกันภัยไปช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวนา ซึ่งในฐานะนายทะเบียน ได้ให้ความเห็นชอบในแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย ข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 และอัตราเบี้ยประกันภัย แล้วเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560 ซึ่งให้ความคุ้มครองความเสียหายจากภัยธรรมชาติ 7 ประเภท ได้แก่ ภัยที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ฝนแล้งฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น อากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ และ ไฟไหม้ จำนวนเงินความคุ้มครอง 1,260 บาทต่อไร่ สำหรับภัยที่เกิดจากศัตรูพืชหรือโรคระบาด จำนวนเงินความคุ้มครอง 630 บาทต่อไร่ ซึ่งภัยดังกล่าวผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเป็นเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยมี เบี้ยประกันภัย 97.37 บาทต่อไร่ (รวมอากรแสตมป์และภาษี) ซึ่งรัฐบาลอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัย 61.37 บาทต่อไร่ และ ธ.ก.ส. อุดหนุนส่วนที่เหลือ 36 บาทต่อไร่ ดังนั้นเกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อของ ธ.ก.ส. จะไม่เสียเงินค่าเบี้ยประกันภัยเลย แต่ถ้าไม่ได้เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. จะจ่ายเบี้ยประกันภัยเพียง 36 บาทต่อไร่ แต่ทั้งนี้ เกษตรกรที่จะสามารถซื้อประกันภัยข้าวนาปีได้ ต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร หรือปรับปรุงทะเบียน เกษตรกร ปีการผลิต 2560/2561 กับกรมส่งเสริมการเกษตร โดยซื้อได้ตั้งแต่ก่อนเพาะปลูกจน ถึงวันสุดท้าย ของการขายไม่เกิน 30 สิงหาคม 2560 ของทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคม 2560 โดยเกษตรกรชาวนาสามารถซื้อประกันภัยข้าวนาปีได้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป

สำหรับโครงการอบรมความรู้ประกันภัย (Training for the Trainers) ปี 2560 ได้เลือกจัดในจังหวัด ที่ไม่ซ้ำกับปีก่อนจำนวน 9 จังหวัด โดยได้มีการจัดไปแล้ว 6 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น นครสวรรค์ สุโขทัย ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี บุรีรัมย์ และจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดที่ 7 ต่อจากนั้นก็จะจัดที่ จังหวัดสกลนคร และปิดท้ายที่จังหวัด สงขลา ตามลำดับ

โดยเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2560 ตนได้นำคณะผู้บริหารจากส่วนกลาง พร้อมด้วยผู้อำนวยการภาค 5 ผู้อำนวยการสำนักงาน คปภ. จังหวัดร้อยเอ็ด และบุคลากรในสังกัดสำนักงานคปภ.ภาค 5 ร่วมกับนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทยและคณะฯ ลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาอุปสรรค รวมทั้งข้อเสนอแนะจากเกษตรกรชาวนาในพื้นที่เกี่ยวกับโครงการประกันภัยข้าวนาปีในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังได้ชี้แจงข้อสงสัยให้กับชาวนาเกี่ยวกับขั้นตอน วิธีการในการทำประกันภัยข้าวนาปี ประจำปี 2560 ซึ่งเริ่มรับประกันภัยแล้วตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 ทั้งนี้เพื่อให้ชาวนาได้เข้าใจถึงรูปแบบกรมธรรม์ ความคุ้มครอง ตลอดจนค่าเบี้ยประกันภัยตามที่รัฐบาลให้การสนับสนุนและนำข้อมูลที่ได้รับมาปรับปรุงการดำเนินงานตามโครงการฯให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีนายสมเกียรติ ขันสะอาด ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาเกษตรวิสัยให้การต้อนรับและกล่าวรายงานสภาพปัญหาการรับประกันภัยนาข้าวในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีชาวนาเข้ารับฟังการชี้แจงในครั้งนี้กว่า 200 คน ณ ศาลาการเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านของนายแสวง มะโนลัย ตำบลดงคลั่งน้อย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

“การลงพื้นที่ในแต่ละครั้ง ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากเกษตรในพื้นที่ ได้มีการตอบชี้แจง ประเด็นคำถามที่เกษตรกรไม่เข้าใจ ให้เกิดความเข้าใจ จะมีการบอกเล่าปากต่อปาก สร้างความรู้ความเข้าใจใน พื้นที่อย่างทั่วถึง อันเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์โครง การประกันภัยข้าวนาปีให้ถึงกลุ่มเป้าหมายได้มาก คำถาม เช่น ถ้าที่นาติดจำนองกับ ธ.ก.ส. สามารถทำประกันภัยข้าวนาปีได้ หรือในกรณีนาข้าวได้รับความเสียหาย เป็นวงกว้าง แต่ไม่เพียงพอที่จังหวัดจะประกาศเป็นพื้นที่เขตภัยพิบัติ ให้เกษตรกรแจ้งทางเกษตรอำเภอมา ตรวจสอบ ก่อนจะมีหนังสือแจ้งยืนยันไปยังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยว่าเกษตรกรมีความเสียหาย เกิดขึ้นจริง เพื่อที่จะได้ดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนต่อไป ซึ่งจะเห็นได้ว่าระบบประกันภัยได้เข้าไปมีส่วน ช่วยเหลือเกษตรกรหรือชาวนาไทยในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติอย่างตรงจุด และมี ประสิทธิภาพอย่างแท้จริง”

เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า ภาษีมรดก ส่วนในวันที่ 3 กรกฎาคม 2560 เป็นการจัดอบรมความรู้ประกันภัย ตามโครงการการอบรมความรู้ประกันภัย (Training for the Trainers) ซึ่งเป็นการอบรมความรู้ เพื่อสร้างวิทยากร ซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่มีความใกล้ชิดกับเกษตร เช่น เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอ จังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอ จังหวัด เจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เจ้าหน้าที่จากสำนักงาน คปภ. เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมฯไปต่อยอดความรู้ให้กับเกษตรชาวนาในพื้นที่ต่อไป ซึ่งจัดที่โรงแรมเพชรรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี เลขาธิการ คปภ. เป็นประธานเปิดงาน และได้รับเกียรติจาก นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เข้าร่วมและกล่าวต้อนรับ และมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับการอบรมฯ ในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้กล่าวขอบคุณที่ สำนักงาน คปภ. เห็นความสำคัญและเลือกจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นสถานที่จัดการอบรมความรู้ประกันภัย ซึ่งโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวนาผู้ปลูกข้าวที่จะสามารถนำเอาระบบประกันภัยเข้ามาช่วยในการบริหารความเสี่ยงกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้เพื่อจะขับเคลื่อนโครงการประกันภัยข้าวนาปีให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำนักงาน คปภ. ยังได้มีการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลออนไลน์อย่างเป็นระบบกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีมีการประกาศภัยเพื่อให้ สำนักงาน คปภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธ.ก.ส. และสมาคมประกันวินาศภัยไทย รับทราบข้อมูลอย่างรวดเร็วและนำไปใช้ได้ทันที ซึ่งจะเกิดประโยชน์สูงสุดในการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่เกษตรกรต่อไป

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 เพื่อให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวนาปี ได้มีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายขั้นต่ำ จำนวน 25 ล้านไร่ ดังนั้น เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวนาปีได้รับประโยชน์สูงสุดจากการทำประกันภัยข้าวนาปี ในฐานะนายทะเบียนประกันภัย จึงได้เห็นชอบแบบกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ตามรูปแบบและหลักเกณฑ์ของการรับประกันภัยโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 อัตราค่าเบี้ยประกันภัยจะลดจากเดิม 100 บาทต่อไร่ เป็น 90 บาทต่อไร่ หรือ 97.37 บาทต่อไร่ (รวมอากรแสตมป์และภาษี) เท่ากันทุกพื้นที่ ซึ่งรัฐบาลจะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยในอัตรา 61.37 บาทต่อไร่ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) และธ.ก.ส.จะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยในส่วนที่เหลือ 36 บาทต่อไร่ ให้กับเกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อของ ธ.ก.ส. เพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2560

สำหรับความคุ้มครองตามตารางกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 ได้เพิ่มวงเงินความคุ้มครองทั้ง 7 ภัย ได้แก่ ภัยน้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ภัยลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ภัยลูกเห็บ ภัยจากไฟไหม้ ซึ่งจะได้รับวงเงินคุ้มครอง 1,260 บาทต่อไร่ จากเดิมคุ้มครอง 1,111 บาทต่อไร่ และภัยจากศัตรูพืชหรือโรคระบาด เพิ่มความคุ้มครอง 630 บาทต่อไร่ จากเดิมคุ้มครอง 555 บาทต่อไร่ โดยเกษตรกรสามารถซื้อได้ตั้งแต่ก่อนเพาะปลูกจนถึงวันสุดท้ายของการขาย แต่ไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม 2560 ของทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคม 2560 นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. จะได้มีการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลตามโครงการดังกล่าวอย่างเป็นระบบ โดยดำเนินการร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีมีการประกาศภัยเพื่อให้สำนักงาน คปภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น ธ.ก.ส. และสมาคมประกันวินาศภัยไทยรับทราบข้อมูลอย่างรวดเร็วและทันท่วงที ซึ่งจะเกิดประโยชน์สูงสุดในการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่เกษตรกรต่อไป

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่าปีการผลิต 2560 ได้ปรับเขตการรับประกันภัยให้ครอบคุลมพื้นที่ภาคใต้อีก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้สอดคล้องกับการกำหนดเขตภาคใต้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี 2560 นอกจากนี้ สิ่งสำคัญยังได้ปรับแก้ไขคำจำกัดความวันที่เกิดความเสียหาย เพื่อให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวนาปีได้รับประโยชน์สูงสุดจากการทำประกันภัยข้าวนาปี ที่สามารถรองรับกรณีมีการประกาศภัยหลายครั้ง เช่น วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 ได้เกิดภัยพิบัติและมีการประกาศภัยในภาพรวม (ในขณะนั้นหมู่บ้านของเกษตรกรรายนี้ยังไม่ได้รับความเสียหายจากเหตุภัยพิบัตินี้) ซึ่งเกษตรกรได้ขอทำประกันภัยในวันที่ 15 กรกฎาคม 2560 แต่ต่อมาปรากฏว่าในหมู่บ้านของเกษตรกรรายนั้นได้เกิดภัยพิบัติจริงในวันที่ 30 กรกฎาคม 2560 ซึ่งเดิมจะไม่ได้รับความคุ้มครอง เนื่องจากระบบได้บันทึกรายงานข้อมูลความเสียหายเพื่อรับค่าสินไหมทดแทน (กษ.02) ไว้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 แล้ว ซึ่งจะได้รับคืนเบี้ยประกันภัยเท่านั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการปรับแก้ไขคำจำกัดความดังกล่าวและบูรณาการความร่วมมือกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย บริษัทผู้รับประกันภัย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และกรมส่งเสริมการเกษตร โดยจะได้ให้ความคุ้มครองในกรณีที่มีการประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินหลายครั้งดังกล่าวนี้ ซึ่งจะพิจารณาจากข้อมูลการประกาศภัยพิบัติที่แท้จริงประกอบการประเมินความเสียหายของพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติ เพื่อพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวนาปีอย่างเป็นธรรมต่อไป

“สำนักงาน คปภ. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิรูปการประกันภัยเพื่อเข้าไปมีส่วนช่วยลดความเลื่อมล้ำของประชาชน โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมของประเทศ ซึ่งอาชีพทำนาในปัจจุบันมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากต้องพึ่งพิงปัจจัยทางธรรมชาติเป็นอย่างมาก เกษตรกรจึงมีความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง ลมพายุ และแมลงศัตรูพืช ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงมีรายได้ค่อนข้างต่ำ ไม่คงที่แน่นอน และบางรายต้องสูญเสียที่ดินทำกิน จึงจำเป็นต้องมีระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและยกระดับรายได้ ตลอดจนสร้างความมั่นคง ในอาชีพให้กับเกษตรกรไทยได้อย่างยั่งยืน” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่เกิดอุบัติเหตุรถทัวร์โดยสารสายกรุงเทพ-มุกดาหาร ของบริษัทอาม่าทัวร์ หมายเลขทะเบียน 10-1829 มหาสารคาม หมายเลขข้างรถ 927-9 พลิกตะแคงตกข้างทาง ที่บริเวณปากทางบ้านโคกลี่ ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 32-33 ต.กุดรัง อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับรับบาดเจ็บทั้งสิ้น 48 ราย ในจำนวนนี้มีอาการสาหัส 4 ราย นั้น

ความคืบหน้าล่าสุด ได้รับรายงานจาก สำนักงาน คปภ. จังหวัดขอนแก่น ว่ารถทัวร์โดยสารคันดังกล่าว ได้ทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ไว้กับบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 31 ธันวาคม 2559 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 31 ธันวาคม 2560 ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองเป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีได้รับบาดเจ็บ รายละไม่เกิน 80,000 บาท ในกรณีพักรักษาตัวในสถานพยาบาล จะได้รับค่าชดเชยรายวันๆ ละ 200 บาท แต่ไม่เกิน 20 วัน และมีการทำประกันภัยรถภาคสมัครใจ ประเภท 1 กับ บมจ.วิริยะประกันภัย เริ่มความคุ้มครองวันที่ 13 มิถุนายน 2560 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 13 มิถุนายน 2561 ซึ่งจะให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก กรณีความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัย ความคุ้มครอง 300,000 บาทต่อคน แต่ไม่เกิน 10,000,000 บาทต่อครั้ง ความเสียหายต่อทรัพย์สิน ความคุ้มครอง 600,000 บาทต่อครั้ง นอกจากนี้ พบว่ามีการซื้อความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้ายเป็นกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร 500,000 บาทต่อคน ค่ารักษาพยาบาลรายละไม่เกิน 500,000 บาทต่อคน และการประกันตัวผู้ขับขี่ ความคุ้มครอง 500,000 บาท

ดร.สุทธิพลกล่าวว่า ตนได้สั่งการให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของสำนักงาน คปภ. ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่าผู้บาดเจ็บได้มีการทำประกันชีวิต และประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้ด้วยหรือไม่ ทั้งนี้หากพบว่ามีการทำประกันภัยไว้ สำนักงาน คปภ. จะประสานงานให้บริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้องเร่งให้ความช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับบาดเจ็บต่อไป

อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูฝนนี้อาจมีฝนตกหนักทำให้ถนนลื่น จึงมักเกิดอุบัติเหตุจากรถขึ้นบ่อยครั้ง ดังนั้น จึงขอฝากเตือนประชาชนผู้ใช้รถทุกคน โดยเฉพาะเจ้าของกิจการรถโดยสารสาธารณะ ซึ่งต้องรับผิดชอบผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก ควรกำชับให้ผู้ขับขี่ระมัดระวังเป็นพิเศษ ที่สำคัญควรตรวจสอบวันหมดอายุของการทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตลอดเวลา ซึ่งหากประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) หมดอายุนอกจากจะมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ยังต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดแก่ผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้เสียชีวิต ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะต้องการความคุ้มครองเพิ่มมากขึ้น ก็สามารถทำประกันภัยรถภาคสมัครใจเพิ่มเติมได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186 หรือเว็บไซต์ www.oic.or.th

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของมัลแวร์สายพันธุ์ใหม่ ชื่อ PETYA หรือ Petrwrap ซึ่งเป็นไวรัสประเภทมัลแวร์ เรียกค่าไถ่ (RANSOMWARE) กำลังระบาดทั่วโลก (อเมริกาและยุโรป) อยู่ในขณะนี้ เป็นผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ขององค์กรที่ใช้ระบบปฏิบัติการ MS Windows ติดไวรัสดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากถูกเข้ารหัสลับ Master File Table (MFT) ของพาร์ทิชัน ซึ่งเป็นตารางที่ใช้ระบุตำแหน่งชื่อไฟล์ และเนื้อหาของไฟล์ในฮาร์ดดิสก์ ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ได้ หากต้องการถอดรหัสต้องจ่ายค่าไถ่เป็นเงิน 300 USD ผ่านอีเมล์ แต่เนื่องจากอีเมล์ดังกล่าวถูกผู้ให้บริการปิดแล้ว จึงทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าไถ่ได้ ซึ่งปัจจุบันเกิดผลกระทบกับประเทศต่างๆ ในวงกว้าง

สำนักงาน คปภ. ได้ตระหนักถึงผลกระทบจากภัยคุกคามดังกล่าวต่อระบบประกันภัย จึงได้กำหนดมาตรการรับมือภัยคุกคามไว้ 2 มาตรการ คือ ในส่วนขององค์กร ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติในการป้องกันไวรัส ภายในองค์กร และสั่งการให้ สำนักงาน คปภ. ทั่วประเทศ ดำเนินการตามแนวปฏิบัติดังกล่าวอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันภัยคุกคามที่อาจเจาะเข้ามาในระบบของสำนักงาน คปภ. สำหรับในส่วนของภาคอุตสาหกรรมประกันภัย สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับ ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แม้ในขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวในธุรกิจประกันภัย แต่เพื่อเป็นการป้องกันภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ของภาคธุรกิจประกันภัย จึงได้ประสานไปยังสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย แจ้งเวียนบริษัทสมาชิกให้เฝ้าระวัง และเตรียมการอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การป้องกัน การรับมือกับภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งสื่อสารให้พนักงานและประชาชนทราบแนวทางป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเหมาะสม และขอให้รายงานสถานการณ์เฝ้าระวังภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ต่อ สำนักงาน คปภ. เป็นระยะๆ หากได้รับผลกระทบจากภัยดังกล่าว ขอให้แจ้งมายัง สำนักงาน คปภ. ทาง E-mail : it@oic.or.th หรือ สายด่วน คปภ. 1186 โดยเร็ว เพื่อประสานให้ความช่วยเหลือ และจะมีการบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อเตรียมการรับมือในเรื่องนี้

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเฝ้าระวังจากการถูกจู่โจมหรือคุกคามทางไซเบอร์ สำนักงาน คปภ. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ประกันภัยเข้ามารองรับความเสี่ยงดังกล่าว ซึ่งกรมธรรม์ประกันภัยไซเบอร์ในประเทศไทยจะตอบโจทย์ความคุ้มครองที่ครอบคลุม ทั้งค่าเสียหายจากการโจรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ค่าเสียหายจากการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ค่าเสียหายจากการถูกคุกคามทางอิเล็กทรอนิกส์ ค่าเสียหายจากการทำลายทรัพย์สินทางอิเล็กทรอนิกส์ ค่าเสียหายจากการหยุดชะงักของธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ และค่าใช้จ่ายพิเศษและความรับผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งขณะนี้มีภาคธุรกิจประกันภัยที่ได้รับความเห็นชอบแบบกรมธรรม์ประกันภัยไซเบอร์แล้ว 7 บริษัท ประกอบด้วย บจ. เอฟพีจี ประกันภัย (ประเทศไทย) บมจ. ทิพยประกันภัย บมจ. ไทยประกันภัย บมจ. อลิอันซ์ ประกันภัย บจ. นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ สาขาประเทศไทย บจ. เอไอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) และ บมจ. โตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีเกิดเหตุผู้พลัดตกบ่อบำบัดน้ำเสียของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ย่านบางนา กรุงเทพฯ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต จำนวน 5 ราย โดยเป็นนิสิตคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1 ราย และเป็นพนักงานบริษัทอีก 4 ราย นั้น

สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตทุกราย สำหรับความคืบหน้าจากการตรวจสอบข้อมูลด้านการทำประกันภัย พบว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ได้ทำประกันภัยไว้กับบริษัท อลิอันซ์ อยุธยาประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) โดยเป็นการประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มให้กับผู้ที่มาเยี่ยม ชมงาน จำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาทต่อคน ในส่วนของพนักงานได้มีการทำประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มแบบระบุตำแหน่งงาน (ไม่ระบุชื่อ) จำนวนเงินเอาประกันภัยขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ไม่เกิน 3,000,000 บาทต่อคน อย่างไรก็ตาม บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ได้ตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือผู้เสียชีวิตทั้ง 5 ราย รายละ 3,000,000 บาท แล้ว เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยาให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิต โดยในวงเงินดังกล่าว ได้รวมค่าสินไหมทดแทนในส่วนของการประกันภัยไว้ด้วยแล้ว ดังนั้น ขอให้ญาติหรือทายาทของผู้เสียชีวิตตรวจสอบว่ามีการทำประกันภัยประเภทอื่นเพิ่มเติมหรือไม่ หรือสามารถสอบถามได้ที่สำนักงาน คปภ. สายด่วน ประกันภัย 1186 หากมีการทำประกันภัยเพิ่มเติมขอให้แสดงเอกสารและหลักฐานการทำประกันภัยต่อบริษัทประกันภัย เพื่อจะได้รับความคุ้มครองจากการทำประกันภัยอย่างครบถ้วน สำนักงาน คปภ. พร้อมที่จะช่วยเร่งรัดและช่วยประสานงานความช่วยเหลือในเรื่องนี้อย่างเต็มที่

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยและคุ้มครองประชาชนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ครบถ้วนจากการทำประกันภัย ที่มุ่งเน้นการดำเนินงานเชิงรุกตามแผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 3 ในการเพิ่มบทบาทให้ระบบประกันภัยเข้าไปมีส่วนร่วมในการวางรากฐานความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งให้ทุกภาคส่วนสามารถนำเอาระบบประกันภัยเข้ามาบริหารความเสี่ยงได้อย่างเป็นระบบ

“อยากให้เจ้าของผู้ประกอบการทั้งขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่ รวมถึงประชาชนทั่วไปเห็นความสำคัญของระบบประกันภัย ที่เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง รวมถึงสร้างหลักประกันความมั่นคงให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนทุกระดับ อาทิ การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก การประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน การประกันอัคคีภัย การประกันชีวิต หรือการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล เป็นต้น ซึ่งการประกันภัยเหล่านี้จะสามารถบรรเทาความเดือนร้อนทางการเงินให้กับเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการ หรือประชาชนได้ หากเกิดภัยที่ไม่คาดคิดขึ้น” เลขาธิการ คปภ. กล่าวทิ้งท้าย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *