รับสมัครตัวแทน วางแผนการเงิน ที่ปรึกษาการเงิน Unite Linked UDesign Elite Health Plus DHealth Plus เมืองไทยยูแอลพลัส UL Plus
คปภ. เจาะกลุ่มอุดมศึกษา จัดประกวดโฆษณาสั้นประจำปี 2556 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จัดโครงการประกวดโฆษณาสั้น ความยาวไม่น้อยกว่า 30 วินาที ในระดับอุดมศึกษา ภายใต้หัวข้อ “การประกันภัยรถภาคบังคับ” ชิงโล่รางวัลจาก ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี ทุนการศึกษา และกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึง 31 กรกฎาคม 2556
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. จัดโครงการประกวดโฆษณาสั้น ความยาวไม่น้อยกว่า 30 วินาที ในระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2556 เพื่อส่งเสริมและปลูกจิตสำนึกให้นิสิตนักศึกษาได้ตระหนัก และเล็งเห็นความสำคัญของการทำประกันภัยรถภาคบังคับ รวมทั้งเข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ของการทำประกันภัย โดยเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาจากสถาบันการอุดมศึกษาทั่วประเทศส่งผลงานการประกวดโฆษณาสั้น ความยาวไม่น้อยกว่า 30 วินาที ภายใต้หัวข้อ “การประกันภัยรถภาคบังคับ” ทั้งนี้ สามารถส่งผลงานเป็นทีมๆ ละไม่เกิน 4 คน ซึ่งจะเริ่มเปิดรับสมัครและรับผลงาน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2556 โดยทีมที่ชนะการประกวด จะได้รับโล่รางวัลจาก ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี มอบแก่สถาบันการศึกษา ในงานวันประกันภัย และจะได้รับรางวัลทุนการศึกษา ใบประกาศนียบัตร และกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล
1. รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา จำนวนเงิน 70,000 บาท ประกาศนียบัตร และกรมธรรม์
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล มูลค่าความคุ้มครอง 1,000,000 บาท
2. รองชนะเลิศอันดับอันดับที่ 1 ทุนการศึกษา 50,000 บาท ประกาศนียบัตร และกรมธรรม์
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล มูลค่าความคุ้มครอง 500,000 บาท
3. รองชนะเลิศอันดับอันดับที่ 2 ทุนการศึกษา 30,000 บาท ประกาศนียบัตร และกรมธรรม์
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล มูลค่าความคุ้มครอง 200,000 บาท
4. รางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ทุนการศึกษา 20,000 บาท ประกาศนียบัตร และกรมธรรม์
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล มูลค่าความคุ้มครอง 200,000 บาท
5. รางวัลภาพและเทคนิคยอดเยี่ยม ทุนการศึกษา 20,000 บาท ประกาศนียบัตร และกรมธรรม์
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล มูลค่าความคุ้มครอง 200,000 บาท
6. รางวัลชมเชย 5 รางวัล ทุนการศึกษารางวัลละ 10,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายสื่อสารองค์กร โทร. 02-513-1680 หรือ info@oic.or.th และดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.oic.or.th ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
คปภ. ให้บริการสายด่วนประกันภัย 1186 ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ห่วงใยประชาชนที่เดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ฝากเตือนให้ตรวจสอบการทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ตลอดจนวันหมดอายุกรมธรรม์ประกันภัยรถก่อนออกเดินทาง พร้อมเปิดบริการสายด่วนประกันภัย 1186 ตลอด 24 ชั่วโมง และตั้งศูนย์บริการร่วมประกันภัยครบวงจรในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการข้อมูลและคำปรึกษาปัญหาด้านการประกันภัย
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า ช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ คาดว่าประชาชนจะมีการเดินทางกลับภูมิลำเนาในต่างจังหวัด และเดินทางท่องเที่ยวโดยรถยนต์ และรถจักรยานยนต์เป็นจำนวนมาก สำนักงาน คปภ. มีความห่วงใยผู้ใช้รถใช้ถนนที่จะออกเดินทางในช่วงเวลาดังกล่าว จึงมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เตรียมพร้อมให้บริการประชาชนและผู้เอาประกันภัยที่ประสบปัญหาด้านการประกันภัย ให้เข้าถึงความช่วยเหลือและความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม จึงเปิดบริการสายด่วนประกันภัย 1186 ตลอด 24 ชั่วโมง และตั้งศูนย์บริการร่วมประกันภัยช่วงเวลา 7 วันอันตราย ระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2556 และฝากเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ยานพาหนะมากยิ่งขึ้น รวมทั้งตรวจสอบการทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ตลอดจนวันหมดอายุของการทำประกันภัยรถก่อนเดินทาง เนื่องจากการทำประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. นอกจากเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดแล้วยังได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์จากบริษัทประกันภัยหากเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง สูงสุดรายละไม่เกิน 50,000 บาท กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ จะได้รับค่าสินไหมทดแทนสูงสุดรายละ 200,000 บาท และกรณีที่รักษาตัวในโรงพยาบาลจะได้รับค่าชดเชยอีกวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า รับสมัครตัวแทน
การเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ขอแนะนำให้ประชาชนทำประกันภัย “อุบัติเหตุเดินทางอุ่นใจ” ระยะเวลาความคุ้มครองตั้งแต่ 1 – 14 วัน ด้วยเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ 15 – 60 บาท ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 100,000 บาท และการรักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง 10,000 บาท ซึ่งประชาชนสามารถเพิ่มความคุ้มครองได้ถึง 300,000 บาทและค่ารักษาพยาบาล 30,000 บาท โดยเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นตามส่วน และขอฝากเตือนเจ้าของอาคารที่อยู่อาศัย เนื่องจากช่วงนี้อากาศร้อนมาก เพื่อความไม่ประมาทขอแนะนำให้ประชาชนทำประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย แบบประหยัดสำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) เบี้ยประกันภัย 500 บาท ให้ความคุ้มครองภัยจาก ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด จำนวนเงินเอาประกันภัยตามลักษณะสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ 50,000 – 500,000 บาท ท้ายสุดขอให้ท่านมีความสุขกับเทศกาลสงกรานต์ เดินทางไปและกลับถึงที่หมายด้วยความปลอดภัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนประกันภัย 1186
คปภ. เจาะกลุ่มอุดมศึกษา จัดประกวดโฆษณาสั้นประจำปี 2556สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จัดโครงการประกวดโฆษณาสั้น ความยาวไม่น้อยกว่า 30 วินาที ในระดับอุดมศึกษา ภายใต้หัวข้อ “การประกันภัยรถภาคบังคับ” ชิงโล่รางวัลจาก ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี ทุนการศึกษา และกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึง 31 กรกฎาคม 2556
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. จัดโครงการประกวดโฆษณาสั้น ความยาวไม่น้อยกว่า 30 วินาที ในระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2556 เพื่อส่งเสริมและปลูกจิตสำนึกให้นิสิตนักศึกษาได้ตระหนัก และเล็งเห็นความสำคัญของการทำประกันภัยรถภาคบังคับ รวมทั้งเข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ของการทำประกันภัย โดยเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาจากสถาบันการอุดมศึกษาทั่วประเทศส่งผลงานการประกวดโฆษณาสั้น ความยาวไม่น้อยกว่า 30 วินาที ภายใต้หัวข้อ “การประกันภัยรถภาคบังคับ” ทั้งนี้ สามารถส่งผลงานเป็นทีมๆ ละไม่เกิน 4 คน ซึ่งจะเริ่มเปิดรับสมัครและรับผลงาน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2556 โดยทีมที่ชนะการประกวด จะได้รับโล่รางวัลจาก ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี มอบแก่สถาบันการศึกษา ในงานวันประกันภัย และจะได้รับรางวัลทุนการศึกษา ใบประกาศนียบัตร และกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล
1. รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา จำนวนเงิน 70,000 บาท ประกาศนียบัตร และกรมธรรม์
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล มูลค่าความคุ้มครอง 1,000,000 บาท
2. รองชนะเลิศอันดับอันดับที่ 1 ทุนการศึกษา 50,000 บาท ประกาศนียบัตร และกรมธรรม์
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล มูลค่าความคุ้มครอง 500,000 บาท
3. รองชนะเลิศอันดับอันดับที่ 2 ทุนการศึกษา 30,000 บาท ประกาศนียบัตร และกรมธรรม์
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล มูลค่าความคุ้มครอง 200,000 บาท
4. รางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ทุนการศึกษา 20,000 บาท ประกาศนียบัตร และกรมธรรม์
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล มูลค่าความคุ้มครอง 200,000 บาท
5. รางวัลภาพและเทคนิคยอดเยี่ยม ทุนการศึกษา 20,000 บาท ประกาศนียบัตร และกรมธรรม์
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล มูลค่าความคุ้มครอง 200,000 บาท
6. รางวัลชมเชย 5 รางวัล ทุนการศึกษารางวัลละ 10,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายสื่อสารองค์กร โทร. 02-513-1680 หรือ info@oic.or.th และดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.oic.or.th ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2556 เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ หมายเลขทะเบียน 71-1807 นครปฐม เสียหลักวิ่งข้ามเกาะเฉี่ยวชนกับรถทัวร์ปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ – ร้อยเอ็ด หมายเลขทะเบียน 14-5994 กรุงเทพมหานคร และรถยนต์กระบะ หมายเลขทะเบียน ณง 3925 กรุงเทพมหานคร บริเวณถนนมิตรภาพขาเข้า กม. 19 ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 21 ราย และบาดเจ็บ 20 ราย นั้น
สำนักงาน คปภ. จังหวัดสระบุรี ทราบเบื้องต้นว่ารถทัวร์ปรับอากาศ ได้จัดทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) กับบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และทำประกันภัยรถภาคสมัครใจ (ประเภท 3) กับบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) รถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ ทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และทำประกันภัยภาคสมัครใจ (ประเภท 1) กับบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ส่วนรถยนต์กระบะ ทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) กับบริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันภัย ดังนี้
1. ผู้ประสบภัยที่โดยสารรถทัวร์เสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร ทายาทสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ดังนี้
1.1 ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) 200,000 บาทต่อคน และ
1.2 ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถภาคสมัครใจ (ประเภท 3) กรณีไม่มีผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100,000 บาทต่อคน หรือกรณีมีผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 300,000 บาทต่อคน และ
1.3 ความคุ้มครองจากการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 200,000 บาทต่อคน
2. ผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ได้ดังนี้
2.1 ความคุ้มครองจากการประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน และค่าชดเชยรายวัน สำหรับผู้ประสบภัยที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล วันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน และ
2.2 ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถภาคสมัครใจ (ประเภท 3) ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินความคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า ขอแสดงความเสียใจกับญาติผู้เสียชีวิต และได้ประสานบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เพื่อเร่งดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ทายาทผู้เสียชีวิต และได้รับแจ้งจากบริษัทประกันภัยทั้งสองว่าได้ส่งพนักงานไปประสานโรงพยาบาลที่รับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยเพื่ออำนวยความสะดวกด้านค่ารักษาพยาบาล และการจ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีดังกล่าวแล้ว ซึ่งอุบัติเหตุครั้งนี้มีความสูญเสียจำนวนมาก แต่ยังมีการทำประกันภัยรองรับบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงขอให้ท่านเจ้าของรถ ให้ความสำคัญในการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และถ้าต้องการความคุ้มครอง
นายสรศักดิ์ ทันตสุวรรณ รองเลขาธิการ สำนักงาน คปภ. ให้เกียรติเป็นประธาน กล่าวเปิด การอบรมความรู้ด้านการประกันภัยตามโครงการ “ความรู้ประกันภัย สู่ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” รุ่นที่ 2 ให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับชั้นสัญญาบัตร ที่ปฏิบัติหน้าที่สายงานจราจรและสายงานสอบสวน ในเขตกรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 250 นาย เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประกันภัย และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติงานให้บริการประชาชน ณ โรงแรมรามา การเด้นส์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2556
นายสรศักดิ์ ทันตสุวรรณ รองเลขาธิการ ด้านตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า สถิติการสอบตัวแทน/นายหน้าประกันภัย ไตรมาส 2 ปี 2556 มีจำนวนผู้สมัครสอบทั้งสิ้น 64,891 ราย ขยายตัวจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 8.06
จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้สมัครสอบแยกตามประเภท พบว่าการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตมีจำนวนผู้สมัครสอบสูงสุดถึง 46,757 ราย คิดเป็นร้อยละ 72.06 ของผู้สมัครสอบทั้งหมด สอบผ่านทั้งสิ้น ร้อยละ 52.05 ในจำนวนนี้เป็นผู้สมัครสอบผ่านสำนักงาน คปภ. ส่วนภูมิภาคจำนวน 27,040 ราย หรือ คิด เป็น ร้อยละ 57.83 ของผู้สมัครสอบทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นแนวโน้มประชาชนในส่วนภูมิภาคมีความตระหนักและเห็นความสำคัญ ของการทำประกันภัยเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ บริษัทประกันชีวิตที่ส่งผู้สมัครสอบมากที่สุด 3 อันดับแรกประกอบด้วย บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด สาขาประเทศไทย จำนวน 16,123 ราย บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 7,810 ราย และบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด จำนวน 6,539 ราย และจังหวัดที่มีสถิติการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตสูงสุด 3 อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร จำนวน 19,717 ราย เชียงใหม่ จำนวน 2,794 ราย สงขลา จำนวน 2,464 ราย
รองลงมาคือการสอบประเภทนายหน้าประกันวินาศภัย (บุคคลธรรมดา) มีผู้สมัครสอบจำนวน 10,300 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.87 ของผู้สมัครสอบทั้งหมด สอบผ่านทั้งสิ้นร้อยละ 35.59 ตามมาด้วยการสอบประเภทนายหน้าประกันชีวิต (บุคคลธรรมดา) มีผู้สมัครสอบทั้งสิ้น 5,452 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.40 ของผู้สมัครสอบทั้งหมด มีผู้สอบผ่านทั้งสิ้น ร้อยละ 53.47
เมื่อสรุปรวมจำนวนผู้สมัครสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตนายหน้าประกันชีวิต และนายหน้าประกันวินาศภัย(บุคคลธรรมดา) ทั้งสิ้น 15,752 ราย พบว่าเป็นพนักงานของธนาคารจำนวน 4,250 ราย หรือ คิดเป็นร้อยละ 26.98 ของผู้สมัครสอบทั้งหมด ขยายตัวจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 0.45 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันภัยผ่านธนาคาร (Bancassurance) ได้รับความนิยมจากประชาชนในวงกว้าง ซึ่งธนาคารยังคงมีการเร่งพัฒนาบุคลากร ให้เพียงพอต่อความต้องการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง โดยธนาคารที่ส่งพนักงานเข้าสอบมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,768 ราย ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 904 ราย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จำนวน 642 ราย สำหรับการสอบประเภทตัวแทนประกันวินาศภัย มีผู้สมัครสอบทั้งสิ้น 2,382 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.67 ของผู้สมัครสอบทั้งหมด สอบผ่าน ร้อยละ 34.51 ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้สมัครสอบผ่านสำนักงาน คปภ. ส่วนภูมิภาคทั้งหมด
รองเลขาธิการ สำนักงาน คปภ. กล่าวเสริมว่า ในการทำประกันภัยนั้น ประชาชน ควรเลือกบริษัทประกันภัยที่มีความน่าเชื่อถือ น่าไว้วางใจ มีผลประกอบการที่ดีและเลือกซื้อประกันภัยผ่านตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนเท่านั้น และการจ่ายเบี้ยประกันภัยต้องขอเอกสารแสดงการรับเงินทุกครั้งเพื่อเป็นหลัก ฐาน ทั้งนี้ จะช่วยให้ผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยอย่างครบถ้วน หากมีข้อสงสัยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.oic.or.th หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนประกันภัย 1186
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ร่วมกับสมาคมนายทะเบียนประกันภัย (National Association of Insurance Commissioners: NAIC) ประเทศสหรัฐอเมริการจัดการอบรม/สัมมนา เรื่อง แนวทางการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยของประเทศสหรัฐอเมริกา ในหัวข้อการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยแบบรวมกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ (The U.S. Insurance Regulation and Supervision Seminar on Effective Group Supervision) ระหว่างวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2556 ณ ห้องพินนาเคิล โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ โดยมีนายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน
การอบรม/สัมมนาฯ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมฯได้เรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์จากการศึกษาแนวทางการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยของประเทศสหรัฐอเมริกาโดยมีหัวข้อในการบรรยายที่สำคัญ อาทิ การพัฒนาตลาดประกันภัยในสหรัฐอเมริกา องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยแบบรวมกลุ่มการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่มุ่งรักษาเสถียรภาพของภาคการเงินโดยรวมและการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยการวิเคราะห์บริษัทประกันภัยและการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร การจัดการภาวะวิกฤต รวมทั้งการแทรกแซง แผนการปิดกิจการ การฟื้นฟูกิจการและการแก้ปัญหาสำหรับการดำเนินการข้ามพรมแดนมาตรฐานการกำกับดูแลทางการเงินและการรับรองคุณภาพของระบบงานของ NAICตามมาตรฐานสากล เป็นต้น ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการอบรม/สัมมนาฯ กว่า 70 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากสมาคมนายทะเบียนประกันภัยประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้แทนหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในเอเชีย รวมทั้งเจ้าหน้าที่จาก สำนักงาน คปภ.
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันธุรกิจประกันภัยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเปิดรับวิทยาการด้านการประกันภัยใหม่ๆ อยู่เสมอ สร้างความเชี่ยวชาญในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยเพื่อให้เกิดความยุติธรรมโปร่งใสเน้นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ถือกรมธรรม์ รวมถึงมีแนวทางการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยแบบรวมกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานสากลเพื่อความมั่นคงในการก้าวสู่การเปิดเสรีธุรกิจประกันภัยในอนาคตอันใกล้ ต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จัดประชุมชี้แจง สาระสำคัญของประกาศ คปภ. เรื่องการลงทุนประกอบธุรกิจอื่น เพื่อให้บริษัทประกันภัยได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน และสามารถดำเนินการได้ทันทีเมื่อประกาศมีผลบังคับใช้
นางสาววราวรรณ เวชชสัสถ์ รองเลขาธิการด้านกำกับ สำนักงาน คปภ. เปิดเผยว่า ประกาศเรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ฉบับปัจจุบัน ใช้มาตั้งแต่ปี 2547 มีลักษณะค่อนข้างซับซ้อนเข้าใจยาก และไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันที่มีนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนของบริษัทประกันภัย ประกอบกับสำนักงาน คปภ. ได้ใช้หลักเกณฑ์การกำกับเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risk Based Capital : RBC) จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขประกาศว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันภัยเพื่อให้มีความทันสมัย ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ประกาศลงทุนฉบับใหม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยแล้ว ซึ่งได้มีการพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการลงทุน โดยคำนึงถึงความมั่นคงของบริษัท ความสอดคล้องกับลักษณะธุรกิจและภาระหนี้สิน และเป็นไปตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ยังมีการจัดหมวดหมู่ประเภทของการลงทุนให้มีความชัดเจน เข้าใจง่าย และทันต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินและตลาดทุนที่มีตราสารใหม่ ๆ เกิดขึ้น รวมถึงเน้นหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่น หลักธรรมาภิบาล และข้อกำหนดเกี่ยวกับความสามารถและความเหมาะสมของบุคลากร เช่น บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการของบริษัท การแต่งตั้งคณะกรรมการลงทุน คุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดูแลการลงทุนของบริษัท เพื่อให้การลงทุนของบริษัทประกันภัยเหมาะสมกับความพร้อม และความสามารถในการลงทุนของบริษัทประกันภัย
รองเลขาธิการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดประชุมชี้แจงครั้งนี้ เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของประกาศที่ถูกต้องตรงกัน รวมถึงทำให้มีการปฏิบัติตามประกาศอย่างถูกต้องซึ่งกำลังจะมีผลบังคับใช้ภายในอีก 2 เดือนข้างหน้า
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงาน คปภ. ได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิต/วินาศภัย สำหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต/วินาศภัย และนายหน้าประกันชีวิต/วินาศภัย พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2556 เพื่อเปิดโอกาสให้ตัวแทน/นายหน้า ที่ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ครั้งที่ 4 เป็นต้นไป ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดสามารถใช้สิทธิลดจำนวนชั่วโมงการอบรม ดังนี้
สอบผ่านคุณวุฒิที่ใช้ในการประกอบอาชีพประกันชีวิต/วินาศภัย ที่สำนักงานให้ความเห็นชอบ เช่น หลักสูตร CFP หลักสูตร AFPT หลักสูตร FChFP (Conversion course) หลักสูตร Cert Cll และหลักสูตร Diploma in Non-Life เป็นต้น
2. สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาโทขึ้นไปทุกสาขา จากสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันการศึกษาในต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง
3. เป็นหรือเคยเป็นวิทยากร ผู้บรรยายความรู้ หรือเป็นอาจารย์ประจำ หรืออาจารย์พิเศษในสถาบัน สมาคม หรือองค์กร และในหลักสูตรการอบรมสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต/วินาศภัย ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต/วินาศภัย นายหน้าประกันชีวิต/วินาศภัย ภายในระยะเวลา 5 ปี ก่อนต่ออายุใบอนุญาตฯ
โดยสามารถใช้สิทธิของการอบรมลดลงเหลือกึ่งหนึ่งคือ ปกติตัวแทนประกันภัยต้องผ่านการอบรมจำนวน 30 ชั่วโมง ให้ลดลงเหลือ 15 ชั่วโมง และนายหน้าประกันภัยต้องผ่านการอบรม 50 ชั่วโมง ลดลงเหลือ 25 ชั่วโมง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาวิชาชีพประกันภัย สำนักงาน คปภ. จึงอนุญาตให้นำมาใช้ในการต่ออายุได้อย่างต่อเนื่องในวิชาชีพ โดยการใช้สิทธิลดจำนวนชั่วโมงการอบรมไม่สามารถนำมารวมกันหรือขอลดจำนวนชั่วโมงการอบรมในคราวเดียวกันได้
นอกจากนี้แล้ว การเข้ารับการสัมมนาในวิชาที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยที่สำนักงาน คปภ. ให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลา 5 ปี ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ ก็สามารถให้นับชั่วโมงการสัมมนาได้ตามจริง แต่กรณีตัวแทนประกันภัย ไม่เกิน 15 ชั่วโมง และกรณีนายหน้าประกันภัย ไม่เกิน 25 ชั่วโมง