รับสมัครทีมงาน ตัวแทนประกันชีวิต ที่ปรึกษาการเงิน


รับสมัครทีมงาน ตัวแทนประกันชีวิต ที่ปรึกษาการเงิน รับสมัครตัวแทน วางแผนการเงิน ขายประกันชีวิต ขายประกัน ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี ประกันชีวิตออนไลน์

5 ภัยใกล้ตัวเด็ก “เด็ก” วัยแห่งการเรียนรู้…ที่มาคู่กับความซุกซน

เพราะรักคือการปกป้อง แม้ว่าเธอจะชอบปีนป่าย วิ่งเล่น หรือเป็นนักทดลอง
ก็ต้องคอยเฝ้าระมัดระวังดูแลให้เธอปลอดภัยจากสิ่งต่างๆ ที่อยู่ใกล้ตัวลูกรักของเรานะครับ

ระวังไฟฟ้าช็อต
ในแต่ละปีเรามักได้เห็นข่าวเด็กๆ หลายคนเสียชีวิตจากการถูกไฟฟ้าช็อต จากความซุกซน และความประมาทของผู้ปกครอง เราควรป้องกันไว้ก่อน เช่น ยกปลั๊กไฟให้พ้นมือเด็ก ซื้ออุปกรณ์ปิดช่องปลั๊กที่ว่างอยู่ และสอนลูกเสมอว่าห้ามแหย่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

ระวังเด็กจมน้ำ
ประเทศไทยตั้งแต่ 1 ม.ค.–16 ต.ค. 2561 เด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำถึง 97 ราย กลุ่มอายุที่เสียชีวิตมากที่สุดคือ 5-9 ปี รองลงมาคือ 10-14 ปี ซึ่งหากลูกอยู่ใกล้แหล่งน้ำควรระมัดระวังลูกเป็นพิเศษ และควรให้ลูกหัดว่ายน้ำ สอนทักษะการช่วยเหลือตัวเองควบคู่ไปด้วย

ระวังลูกพลัดตกจากที่สูง
การปล่อยเด็กไว้ที่สูงเพียงลำพัง ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ ตู้ บันได หรือขึ้นต้นไม้เล่นกับเพื่อน แม้เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก็อาจเป็นเหตุให้ลูกพลัดตกได้ ผู้ปกครองอย่าละเลยนะครับ

ระวังเฟอร์นิเจอร์อันตราย
นักสำรวจตัวน้อยชอบการปีนป่ายซุกซนตามจุดต่างๆ รับสมัครทีมงาน
ภายในบ้าน ซึ่งอาจเจอกับเฟอร์นิเจอร์ที่มีขอบ เหลี่ยม หรือกระจก ดังนั้นควรซื้ออุปกรณ์กันกระแทกติดขอบและมุม หรือเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ขอบมน และไม่มีกระจก และห้ามลืมความแข็งแรงของการยึด ตั้ง หรือติดเฟอร์นิเจอร์ ป้องกันการล้มทับลูกรักของเราด้วยนะครับ

ระวังอุบัติเหตุบนถนน
ที่เกิดได้ทุกที่ทุกเวลา ถ้าเรามีเด็กอยู่ด้วยตอนขับขี่ก็ต้องระมัดระวังเพิ่มเป็นพิเศษ หากเป็นบริเวณที่พักอาศัยหรือโรงเรียน ก็ต้องบอกถึงอันตรายบนท้องถนนให้ลูกรู้จักระมัดระวังตัวด้วยนะครับ

เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน

เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ

เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นประมวลหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน 2556 | ฉบับที่ 91 / 2556

ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะประมวลหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนทุกประเภทรวมถึงแนวปฏิบัติเกี่ยวกับบุคลากรดังกล่าวไว้ในประกาศฉบับเดียวกัน และปรับปรุงให้มาตรฐานสอดคล้องกัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถศึกษาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนทุกประเภท โดย ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นจนถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2556

ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2263-6311 หรือทาง e-mailที่ rangrong@sec.or.th จนถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2556

ก.ล.ต. ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ บรรลุข้อตกลงเดินหน้าการเสนอขายกองทุนรวมข้ามประเทศในอาเซียน

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม 2556 | ฉบับที่ 92 / 2556

ก.ล.ต. ร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนมาเลเซีย และสิงคโปร์ ลงนามในบันทึกความเข้าใจในการกำหนดแนวทางการยอมรับมาตรฐานหน่วยลงทุนซึ่งกันและกัน เพื่อเปิดให้มีการเสนอขายกองทุนรวมข้ามประเทศในอาเซียน (ASEAN Collective Investment Scheme Framework: ASEAN CIS Framework) หลังจากได้เปิดให้มีการเสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยไปก่อนหน้านี้

การดำเนินการข้างต้นจะเปิดให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ในประเทศภาคีสามารถนำหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ได้รับการอนุญาตแล้วในประเทศของตนไปเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไปในประเทศภาคีได้ภายใต้กระบวนการอนุญาตที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น คาดว่าจะเริ่มได้ภายในครึ่งแรกของปี 2557

ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว ก.ล.ต. ของทั้งสามประเทศประกาศจะใช้มาตรฐานกลางในการกำกับดูแลธุรกรรมข้างต้นเกี่ยวกับคุณสมบัติของกองทุนรวมที่จะอนุญาตให้มีการเสนอขายข้ามกัน และ บลจ. ที่จะจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าวได้ ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนในกระบวนการขออนุญาตเสนอขายกองทุนรวมแบบข้ามประเทศ อันจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ บลจ. มีช่องทางตรงที่มีประสิทธิภาพในการเสนอขายหน่วยลงทุนในประเทศสมาชิกอื่น

ในการนี้ จะมีการจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางให้แก่ บลจ. เกี่ยวกับการบริหารจัดการในด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึง ขั้นตอนในการขออนุญาต การแต่งตั้งผู้จัดจำหน่ายหน่วยลงทุนในประเทศที่ไปเสนอขาย และเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลของประเทศที่ไปเสนอขาย

นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ?ก.ล.ต. ไทยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เป็นหนึ่งในสามประเทศภาคีที่ลงนามใน MOU วันนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพตลาดทุนของทั้งสามประเทศ อันก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านการช่วยเพิ่มโอกาสและทางเลือกสำหรับผู้ลงทุนมากขึ้น ขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการด้านกองทุนรวมด้วยเช่นกัน นับเป็นก้าวสำคัญของตลาดทุนไทย?

ดาตุ๊ก รานจิต อาจิต ซิงห์ ประธาน ก.ล.ต. มาเลเซีย กล่าวว่า ?การลงนาม MOU ในวันนี้ ถือเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญของ ACMF ซึ่งมีเป้าหมายที่ต้องการส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประเทศให้เกิดขึ้นในภูมิภาคมากยิ่งขึ้น และสร้างแบรนด์อาเซียนให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับสากล กรอบความร่วมมือนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเสนอขายหลักทรัพย์เพื่อการระดมทุนและลงทุนข้ามชาติ และจะนำพาให้ประเทศสมาชิกก้าวไปสู่เป้าหมายในการเสนอขายกองทุนได้ในทุกประเทศอาเซียนที่เข้าร่วมโดยยื่นขออนุญาตเพียงครั้งเดียว?

นายลี ชวน เต็ค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หน่วยงานกำกับดูแลตลาดเงินและตลาดทุน สิงคโปร์ กล่าวว่า ?ความร่วมมือในการผลักดัน ASEAN CIS ในวันนี้ นับเป็นอีกหนึ่งบททดสอบสำหรับกลุ่มหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในอาเซียน (ASEAN Capital Markets Forum: ACMF) ในการบรรลุเป้าหมายการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 สิงคโปร์มีความยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในโครงการสำคัญครั้งนี้ ซึ่งจะส่งผลให้การรวมตัวของตลาดทุนในภูมิภาคมีความแข็งแกร่งขึ้น และช่วยให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนในกลุ่มประเทศภาคีดีขึ้นด้วย?

ASEAN CIS เป็นการดำเนินการเพื่อปูทางไปสู่การสร้างระบบการยอมรับซึ่งกันและกันในโครงการริเริ่มภายใต้กลุ่ม ACMF และเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรวมตัวของตลาดทุนในภูมิภาค ที่ได้รับการรับรองโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอาเซียนเมื่อปี 2552

ก.ล.ต. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ ก.ส.ล.

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2556 | ฉบับที่ 93 / 2556

ก.ล.ต. ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MoU) กับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ก.ส.ล.) เพื่อร่วมกันพัฒนาและแลกเปลี่ยนข้อมูลในการกำกับดูแลธุรกรรมการซื้อขายล่วงหน้า

การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันส่งเสริม พัฒนาและกำกับดูแลธุรกรรมการซื้อขายล่วงหน้า ด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูล และความเชี่ยวชาญในภารกิจของหน่วยงาน รวมถึงการประสานความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมาย อาทิเช่น การจัดอบรมให้ความรู้ การแลกเปลี่ยนและสนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจและระบบการซื้อขายของศูนย์ซื้อขาย ข้อมูลวิจัยด้านเศรษฐกิจการลงทุน การประสานงานด้านการตรวจสอบ การบังคับใช้กฎหมาย เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการนี้จะสอดคล้องกับกฎหมาย และกฎเกณฑ์ของทั้งสองหน่วยงาน โดยไม่ขัดหรือแย้งกับประโยชน์สาธารณะซึ่งทั้งสองหน่วยงานมีหน้าที่กำกับดูแล

นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ?ก.ล.ต. มีความยินดีที่ได้ร่วมลงนามใน MOU กับ ก.ส.ล. และเชื่อมั่นว่าการลงนามจะนำไปสู่การพัฒนาและความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะธุรกรรมและภาคธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกันในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งจะ เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อไป?

นายวันชัย ผโลทัยถเกิง เลขาธิการ ก.ส.ล. กล่าวว่า ?ในความเป็นจริงแล้ว ทั้ง ก.ส.ล. และ ก.ล.ต. ต่างมีการร่วมมือและประสานงานกันมาโดยตลอด การลงนามความร่วมมืออย่างเป็นทางการในวันนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่า ทั้งสององค์กรเป็นหนึ่งเดียวกันในการกำกับและส่งเสริมการซื้อขายล่วงหน้าของประเทศไทย และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อบรรยากาศการซื้อขายล่วงหน้าในประเทศไทยต่อไป เป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก?

ก.ล.ต. ลงโทษผู้บริหารและผู้แนะนำการลงทุนรวม 8 ราย

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2556 | ฉบับที่ 94 / 2556

ก.ล.ต. ลงโทษผู้บริหารและผู้แนะนำการลงทุนสังกัดบริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (“บล. คันทรี่”) รวม 8 ราย โดยห้ามการปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ราย {ก} และ {ข} เพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนราย {ค} {ฆ} {ง} {จ} {ฉ} และพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นนักวิเคราะห์การลงทุนราย {ก} และพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุนราย {ช} โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2556

จากเรื่องร้องเรียนของผู้ลงทุนและรายงานการตรวจสอบของ บล. คันทรี่ ก.ล.ต. ตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า {ค} และ {ฆ} ได้ร่วมกันซื้อหุ้นบริษัท อั่งเปา แอสเสท (มหาชน) จำกัด (PAO) นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์ฯ”) ก่อนหน้าที่หุ้น PAO จะกลับเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อเก็งกำไร และใช้บัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้าในการรับโอนและฝากหุ้น โดย {ค} ได้ประโยชน์เป็นเงินส่วนลดจากการซื้อและกำไรส่วนต่างจากการขายหุ้น PAO ให้กับลูกค้าของตน 2 ราย และผู้แนะนำการลงทุนราย {ง}

ด้าน {ฆ} ได้ให้ {จ} และ {ฉ} ไปหาลูกค้ามาซื้อหุ้น PAO ต่อ โดยผู้แนะนำการลงทุนทั้งสองบอกต่อไปยังผู้แนะนำการลงทุนราย {ช} ซึ่ง {ช} แนะนำหุ้น PAO แก่ลูกค้าโดยไม่เป็นกลางและตามหลักวิชาชีพ รวมทั้งไม่มีเอกสารสนับสนุน ทำให้ลูกค้าซื้อหุ้น PAO จาก {ฆ} และ {ฆ} ได้นำกำไรที่ได้รับจากการขายหุ้น PAO มาแบ่งให้ {จ} {ฉ} และ {ช}

เมื่อหุ้น PAO กลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว {ช} ได้ให้คำแนะนำในลักษณะดังกล่าวกับลูกค้าอีก นอกจากนี้ {จ} และ {ฉ} ได้ซื้อหุ้น PAO ต่อจาก {ฆ} และฝากหุ้นไว้ในบัญชีหลักทรัพย์ลูกค้าของ {ค} ทั้งนี้ เมื่อหุ้น PAO กลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ {ค} ได้สั่งขายหุ้น PAO ของผู้แนะนำการลงทุนทุกรายข้างต้น

การกระทำของ {ค} {ฆ} {จ} และ {ฉ} เข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่นอกขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย แสวงหาประโยชน์จากลูกค้าโดยอาศัยโอกาสในการปฏิบัติงาน และใช้บัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้าซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเองและบุคคลอื่น ในขณะที่การกระทำของ {ช} เข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่นอกขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย แสวงหาประโยชน์จากลูกค้าโดยอาศัยโอกาสในการปฏิบัติงาน ให้คำแนะนำโดยไม่เป็นกลางและตามหลักวิชาชีพ ไม่มีเอกสารสนับสนุน หรือเผยแพร่หรือบอกต่อข่าวลือ และสำหรับการกระทำของ {ง} เข้าข่ายใช้บัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้าซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเอง อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ 20(1) และ (2) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม 2555 (“ประกาศ ที่ ทลธ. 3/2555”) ก.ล.ต. จึงเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนราย {ค} และราย {ฆ} โดยกำหนดระยะเวลาในการรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเป็นเวลา 3 ปี เพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย {จ} และราย {ฉ} โดยกำหนดระยะเวลาในการรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน เพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนราย {ง} โดยกำหนดระยะเวลาในการรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเป็นเวลา 1 ปี สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย {ช} เป็นเวลา 7 เดือน

กรณี {ก} และ {ข} ก.ล.ต. พบข้อเท็จจริงว่า {ก} ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการสายตราสารทุนและเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนด้านหลักทรัพย์ ได้มอบหมายให้ {ข} ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายตราสารทุน ดูแล วิเคราะห์การลงทุน และแนะนำการลงทุนต่อลูกค้า โดยที่ {ก} ทราบอยู่แล้วว่า {ข} ไม่ได้รับความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนหรือผู้แนะนำการลงทุน ซึ่ง {ข} ได้มีการวิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุนต่อลูกค้าภายใต้การดูแล นอกจากนี้ {ก} และ {ข} ได้ปฏิบัติหน้าที่นักวิเคราะห์การลงทุนโดยที่ บล. คันทรี่ ไม่ได้มอบหมาย อีกทั้ง {ก} ได้แนะนำการลงทุนกับลูกค้า 2 รายทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นการไม่บันทึกการให้คำแนะนำการลงทุนที่ให้แก่ลูกค้า

การกระทำของ {ก} เป็นการประพฤติผิดต่อหน้าที่และขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ส่วนการกระทำของ {ข} เป็นการวิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุนโดยไม่ได้รับความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนหรือผู้แนะนำการลงทุนจาก ก.ล.ต. ซึ่งเป็นการประพฤติผิดต่อหน้าที่ อันเข้าข่ายลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 6(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 และเป็นลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 3 แห่งประกาศ ที่ ทธ/น/ข 58/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2552 และสำหรับการที่ {ก} ที่ไม่บันทึกการให้คำแนะนำเป็นการปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ 20(3) แห่งประกาศ ที่ ทลธ. 3/2555 ก.ล.ต. จึงห้าม {ก} ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์เป็นเวลา 2 ปี 2 เดือน รวมทั้งสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นนักวิเคราะห์การลงทุนด้านหลักทรัพย์ตามอายุการให้ความเห็นชอบที่เหลือถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และกำหนดระยะเวลาในการรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนจากวันที่ 31 ธันวาคม 2557 จนครบกำหนด 2 ปี 2 เดือน นับแต่วันที่คำสั่งพักมีผล สำหรับการประพฤติผิดต่อหน้าที่ และเปิดเผยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้สาธารณชนทราบ สำหรับการไม่บันทึกการให้คำแนะนำห้าม {ข} ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์เป็นเวลา 1 ปี และกำหนดระยะเวลาในการรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเป็นเวลา 1 ปี

ก.ล.ต. สั่งพักผู้แนะนำการลงทุน 2 ราย

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2556 | ฉบับที่ 95 / 2556

ก.ล.ต. สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุนราย {ก} สังกัด บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระพัฒนสิน จำกัด (มหาชน) (บล.โนมูระ) เป็นเวลา 2 เดือน และผู้แนะนำการลงทุนราย {ข} สังกัด บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) (บล.เอเซีย พลัส) เป็นเวลา 1 เดือน

กรณี {ก} ก.ล.ต. ได้รับรายงานการลงโทษจาก บล.โนมูระ และตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า {ก} ไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า เกือบทุกรายการจากรายการที่ส่งคำสั่งผ่านผู้แนะนำการลงทุนทั้งหมด เป็นระยะเวลาหลายวัน ซึ่ง {ก} ยอมรับว่า รับคำสั่งทางโทรศัพท์มือถือ อีกทั้ง {ก} เคยกระทำความผิดในลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน

ขณะที่กรณี {ข} ก.ล.ต. ตรวจสอบการดำเนินงานตามปกติของ บล. เอเซีย พลัส พบว่า {ข} รับมอบหมายจากลูกค้าในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทน โดยตรวจพบการสนทนาในลักษณะที่ {ข} ไม่ได้ยืนยันปริมาณและราคาที่จะซื้อขายหุ้นที่แน่นอนให้ลูกค้า และพบลักษณะที่ {ข} ส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นไปแล้ว จึงโทรศัพท์หาลูกค้าเพื่อรายงานผลการซื้อขายให้ลูกค้าทราบ ซึ่งลูกค้าก็มิได้โต้แย้งหรือปฏิเสธแต่อย่างใด

การไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าให้ครบถ้วน เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 20(3) และการรับมอบหมายจากลูกค้าในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนลูกค้า เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 20(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่องการให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ก.ล.ต. จึงสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนของ {ก} เป็นเวลา 2 เดือน และ {ข} เป็นเวลา 1 เดือน

ก.ล.ต. ปรับโฉมเว็บไซต์ใหม่ เข้าใจง่าย ใช้สะดวก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *