รับสมัครทีมงาน เมืองไทยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ สมัครประกันชีวิตออนไลน์ ประกันชีวิตออนไลน์ สมัครประกันออนไลน์ ประกันชีวิต สมัครประกันชีวิต
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า กรณีท่อรับน้ำมันดิบของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด (มหาชน) รั่วไหลกลางทะเล จังหวัดระยอง ห่างจากชายฝั่งประมาณ 20 กิโลเมตร นั้น บริษัท พีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด (มหาชน) ได้ทำประกันภัยความรับผิดไว้กับบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยกรมธรรม์ให้ความคุ้มครองความเสียหายสิ่งแวดล้อม ต่อผลกระทบจากการเกิดเหตุ รวมไปถึงของบุคคลภายนอกที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ จำนวนเงินความคุ้มครอง 50 ล้านเหรียญ (ประมาณ 1,500 ล้านบาท) โดยการประเมินความเสียหาย จะมีการจัดตั้งผู้สำรวจภัย ซึ่งจะประเมินความเสียหายได้เมื่อได้มีการขจัดคราบน้ำมันให้แล้วเสร็จก่อน
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า เหตุการณ์ดังกล่าวมีประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง อาจต้องใช้ระยะเวลาในการประเมินความเสียหาย และการจ่ายค่าสินไหมทดแทนพอสมควร สำนักงาน คปภ. จะได้ประสานกับบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เพื่อดำเนินการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขของสัญญาประกันภัย อย่างรวดเร็วและเป็นธรรม ต่อไป จึงขอย้ำเตือนผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมทั้งขนาดใหญ่ และขนาดย่อม ขอให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการทำประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณะ เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือบุคคลภายนอก การทำประกันภัยสามารถบรรเทาความเสียหายของท่านได้
สำนักงาน คปภ. จัดสัมมนา “แนวทางการดูแลสิทธิประโยชน์ของประชาชนตามกฎหมายและกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ” เพื่อให้ประชาชนได้รู้ถึงสิทธิประโยชน์จากการประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันภัย รวมทั้งมาตรการต่างๆ ของสำนักงาน คปภ. ในการดูแลสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัยกรณีที่มีข้อพิพาทจากสัญญาประกันภัย ซึ่งมีประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมฟังการสัมมนากว่า 250 คน โดยมีนายบันเทิง เพ็ชรไชย ผู้ช่วยเลขาธิการสายคดี สำนักงาน คปภ. ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาฯ ณ โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ) ร่วมกับ สมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน จัดงาน “วันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 14 (พ.ศ.2556)” โดยนายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน ภายในงานมีการนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ด้านการประกันภัย และกิจกรรมมากมาย นอกจากนี้ยังมีบริการตรวจสุขภาพ รวมทั้งชมความบันเทิงและมินิคอนเสิร์ตของศิลปิน ณ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต เมื่อวันที่ 27-28 กรกฎาคม 2556
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่สมาคมประกันวินาศภัยไทยและบริษัทประกันวินาศภัย ประสานความร่วมมือรณรงค์โครงการชนแล้วแยก หรือ Knock for Knock โดยเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2556 นั้น
โครงการชนแล้วแยก นับเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาลในการช่วยลดปัญหาการจราจร ลดภาระของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ประหยัดเวลาของผู้เอาประกันภัย สร้างความเชื่อมั่น และภาพลักษณ์ที่ดีต่อธุรกิจประกันภัย โดยรถยนต์ที่เข้าร่วมโครงการต้องทำประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เป็นรถยนต์ 4 ล้อ ยาง 4 เส้น น้ำหนักไม่เกิน 4 ตัน ไม่เกิน 20 ที่นั่ง และได้รับสติกเกอร์สีฟ้าอักษรตัว K พร้อมเอกสารชนแล้วแยก โครงการดังกล่าวนับว่าสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันด้วยปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นมาก ทำให้การจราจรบนท้องถนนหนาแน่นมากขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ส่งผลให้จำนวนการเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกันมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งในอดีตเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถยนต์เฉี่ยวชนกันผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งบริษัทประกันภัยแล้วรอพนักงานเคลมทำให้เสียเวลามาก แต่ในปัจจุบันเมื่อผู้ขับขี่ทั้งสองฝ่ายตรวจสอบว่ารถคู่กรณีมีสติกเกอร์ตัว K หรือเอกสารชนแล้วแยก และสามารถตกลงกันได้ก็กรอกรายละเอียดและลงชื่อในเอกสารชนแล้วแยก ส่งมอบเอกสารให้แก่กัน แล้วแยกย้ายได้ทันที เป็นการลดปัญหาด้านการจราจร ลดความสูญเสียด้านเวลาของผู้เอาประกันภัย
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันมีเจ้าของรถที่เป็นผู้ขับขี่มือใหม่ประสบการณ์ยังไม่มาก โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุจึงสูง การทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ประเภท 1 เน้นการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด และขอเชิญชวนผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะที่ทำประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1 เข้าร่วมโครงการชนแล้วแยก อันเป็นแนวทางลดปัญหาจราจรได้วิธีหนึ่ง
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยนายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. ร่วมเป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงเข้าร่วมโครงการ “แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต” ระหว่างสมาคมประกันวินาศภัย โดยนายอานนท์ วังวสุ และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย โดย ดร. บัณฑิต นิจถาวร ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่าโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตมีวัตถุประสงค์ให้ภาคเอกชนร่วมมือกันป้องกัน และต่อต้านการทุจริต เพื่อสร้างมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่ใสสะอาด โดยแนวร่วมนี้ถือเป็นความร่วมมือของทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทจำนวนมากซึ่งรวมถึงประกันชีวิตไทย ทั้ง 25 บริษัท ทั้งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เข้าร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือ แสดงเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตแล้ว ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีแก่ธุรกิจประกันภัยไทยทั้งอุตสาหกรรม รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ความโปร่งใส
เลขาธิการ คปภ. รับสมัครทีมงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันการทุจริต คอร์รัปชั่นถือเป็นปัญหาใหญ่ ที่ยากจะแก้ไข จึงนับเป็นเรื่องหน้ายินดีที่สมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสเป็นธรรม และได้ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ ซึ่งเท่ากับว่าขณะนี้ธุรกิจประกันภัยไทยทั้งระบบมีความตื่นตัว และพร้อมที่จะร่วมกันต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่น ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์อันดีของธุรกิจประกันภัยไทยแล้ว ยังจะช่วยให้ประเทศเติบโตได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ประจำเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบโครงการ “การประกันภัยสำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ” โดยให้ใช้ชื่อ “กรมธรรม์ประกันภัย 200 สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์)” หรือเรียกสั้นๆว่า “ประกันภัย 200”
ตามแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 2 ปี 2553-2557 สำนักงาน คปภ.ได้กำหนดนโยบายในการส่งเสริมโครงการ การประกันภัยสำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) โดยได้มีการประชุมหารือร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย เพื่อร่วมกันกำหนดรูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับรายย่อยให้เป็นผลิตภัณฑ์กลาง และได้ข้อสรุปแล้วว่าลักษณะกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว ต้องมีเบี้ยประกันภัยไม่สูง คือ เบี้ยประกันภัย 200 บาทต่อปี และมีเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน โดยจะรับประกันภัยให้กับประชาชนตั้งแต่อายุ 20 – 60 ปี และสามารถซื้อความคุ้มครองได้ไม่เกินคนละ 2 กรมธรรม์ ซึ่งมีรายละเอียดความคุ้มครอง ดังนี้
1. กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตาหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงเนื่องจากอุบัติเหตุจะ ได้รับความคุ้มครอง เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท
2. กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตาหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จากถูกฆาตกรรม ลอบทำร้ายร่างกาย และ/หรือจากขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ จะได้รับความคุ้มครอง เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท
3. ค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย (ยกเว้นกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยภายใน 120 วันแรก) จะได้รับค่าปลงศพเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการ “การประกันภัยสำหรับรายย่อย” (ไมโครอินชัว-รันส์) หรือการออกกรมธรรม์ “ประกันภัย 200” นั้น เป็นการกระตุ้นและจูงใจให้ประชาชนทั่วประเทศ เห็นความสำคัญของการทำประกันภัย ที่สามารถสร้างหลักประกันขั้นพื้นฐานให้กับตนเองและครอบครัว รวมถึงยังเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และพัฒนาช่องทางการจำหน่ายเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มประชาชนทุกระดับ โดยสำนักงาน คปภ. ได้มีการกำหนดช่องทางการจำหน่ายกรมธรรม์กรมธรรม์ “ประกันภัย 200” ผ่านบริษัทประกันภัยและสาขาบริษัทประกันภัยทั่วประเทศ ธนาคาร ตัวแทน-นายหน้าประกันชีวิต/วินาศภัย และตัวแทนประกันชีวิต/วินาศภัย สำหรับการประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) รวมถึงเคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ อาทิ เทสโก้ โลตัส เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ จะเร่งดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลกลางสำหรับการประกันภัย 200 สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และส่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยผ่านเครือข่าย เช่น สำนักงาน คปภ. จังหวัด ผู้นำชุมชน อาสาสมัครประกันภัย รวมถึง ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ในลำดับต่อไป ก่อนที่จะเปิดขายในเดือนกันยายน 2556 นี้
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และอีก 12 องค์กรภาคี ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการเปลี่ยนประเทศไทยให้รุ่งเรืองด้วยความรู้ทางการเงิน ณ ห้องประชุม ชั้น 15 สำนักงาน ก.ล.ต. ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่าการให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชนเป็นภารกิจของหลายๆ องค์กร สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานของรัฐก็มีภารกิจในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัยแก่ประชาชนทุกภาคส่วน ซึ่งได้มีการดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน จึงถือเป็นเรื่องที่ดีที่สำนักงาน กลต. ได้ริเริ่มโครงการเปลี่ยนประเทศไทยให้รุ่งเรืองด้วยความรู้ทางการเงิน เพื่อเชิญชวนให้องค์กรภาคการเงินต่างๆ ได้เข้าร่วมเป็นภาคีในการให้ความรู้ด้านการเงินแก่ประชาชน เสริมสร้างความเข้าใจระหว่างหน่วยงานภาคีถึงขอบเขต แผนการดำเนินงานการให้ความรู้ด้านการเงินของแต่ละองค์กร ว่ามีกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาหลัก รูปแบบการจัดของแต่ละแผนงาน/โครงการ เพื่อให้องค์กรอื่นได้ทราบ และสามารถวิเคราะห์หาโอกาสในการบูรณาการ การปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเพื่อลดความช้ำซ้อนในการดำเนินงานระหว่างกัน รวมถึงเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และสื่อความรู้ด้านการเงิน การลงทุน และการบริหารความเสี่ยงต่างๆ อีกด้วย
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ และทักษะด้านการเงิน อาทิ การขาดวินัยการออม การใช้จ่ายเกินตัว การก่อภาระหนี้ที่ไม่จำเป็น ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจระดับชาติได้ การลงนามในบันทึกความเข้าใจในฉบับนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่องค์กรภาคีซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นองค์กรที่มีภารกิจที่หลากหลาย ทั้งการกำกับดูแล การให้บริการ การพัฒนาการให้บริการด้านการเงินแก่ประชาชนจะจัดร่วมกันทำกิจกรรมให้ความรู้ทางการเงินเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเงินของประชาชน และสามารถมีผลสำเร็จของภาพรวม และสถิติร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน รวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับตลาดเงินของไทยมากยิ่งขึ้นต่อไป
นางสาววราวรรณ เวชชสัสถ์ รองเลขาธิการ ด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ประจำเดือนกันยายน 2556 ว่าที่ประชุมได้รับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้ปรับจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถเพิ่มจากจำนวนเงินไม่เกิน 15,000 บาทต่อคน เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน โดยไม่มีการปรับเพิ่มเบี้ยประกันภัย ซึ่งขั้นตอนต่อไปสำนักงาน คปภ. จะยกร่างเสนอกระทรวงการคลัง เพื่อออกเป็นกฎกระทรวงก่อนมีผลบังคับใช้ โดยจำนวนเงินความคุ้มครอง ที่ปรับเพิ่มจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้ประสบภัยจากรถโดยเฉพาะผู้ประสบภัยที่เกิดจากรถที่ไม่ทำประกันภัย หรือถูกชนแล้วหนี ที่ขอรับเงินค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประจำเดือนกันยายน 2556 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้บริษัท ยูเนี่ยนอินเตอร์ ประกันภัย จำกัด (มหาชน) หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2556 เป็นต้นไป
ด้วยบริษัท ยูเนี่ยนอินเตอร์ ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ดำรงเงินกองทุนไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งบริษัทไม่สามารถดำเนินการเพื่อแก้ไขฐานะเงินกองทุนตามโครงการที่บริษัทเสนอต่อ นายทะเบียนตามมาตรา 27/5 ได้ ประกอบกับบริษัทไม่ยื่นรายงานการดำรงเงินกองทุนรายไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2556 ไม่ยื่นงบการเงินรายไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2556 ที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว รวมทั้งไม่บันทึกรายการรับประกันภัยภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด มีระบบควบคุมกรมธรรม์ประกันภัยและการจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยที่ไม่รัดกุม รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขายที่มีจำนวนสูงผิดปกติ นอกจากนั้นบริษัทดำรงสินทรัพย์ เงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่เป็นรายได้ของบริษัท เงินสำรองค่าสินไหมทดแทน และเงินสำรองอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย และจัดสรรทรัพย์สินหนุนหลังหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด บริษัทจึงมีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
คณะกรรมการ คปภ. จึงพิจารณาเห็นชอบให้นายทะเบียนใช้อำนาจตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2551 สั่งให้ บมจ ยูเนี่ยนอินเตอร์ ประกันภัย จำกัด (มหาชน) หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว และให้บริษัทเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาฐานะการเงินจนสามารถดำรงเงินกองทุนครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และแก้ไขการดำเนินงานที่บกพร่องของบริษัทให้แล้วเสร็จ ทั้งต้องจัดให้มีการดำเนินการในกรณีดังต่อไปนี้
1. จัดให้มีระบบการบริหารงานบุคคล ระบบบัญชี ระบบการเงิน ระบบการเสนอขาย ระบบการพิจารณารับประกันภัย ระบบการจัดการค่าสินไหมทดแทน ระบบการบริหารความเสี่ยง ระบบการตรวจสอบและระบบควบคุมภายใน รวมถึงต้องจัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานเป็นลายลักษณ์อักษร
2. จัดให้มีระบบการควบคุมการจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัย ระบบการโอนข้อมูลการรับประกันภัย ระบบการบันทึกบัญชีและสมุดทะเบียน ระบบการเรียกเก็บเงินค่าเบี้ยประกันภัยรถโดยข้อบังคับแห่งกฎหมายที่มีความรัดกุมชัดเจน โปร่งใส สามารถติดตามตรวจสอบได้ โดยเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3. บริษัทจะต้องดำเนินการสำรวจตรวจสอบและจัดทำรายงานจำนวนกรมธรรม์ประกันภัย ที่บริษัทได้จำหน่ายไป และเรียกเก็บค่าเบี้ยประกันภัยให้ครบถ้วน ทั้งบริษัทจะต้องเรียกคืนกรมธรรม์ประกันภัย ที่เป็นยอดค้างจำหน่ายจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกลับคืนครบตามจำนวนที่จัดพิมพ์
4. บริษัทจะต้องยื่นงบการเงินและรายงานการดำรงเงินกองทุนที่มีผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่าง ไม่มีเงื่อนไขให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด ทั้งจะต้องดำเนินการและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์แห่งพระราช
บัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
5. บริษัทต้องจัดสรรทรัพย์สินไว้ให้เพียงพอกับเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท เงินสำรองค่าสินไหมทดแทนและเงินสำรองอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ตามมาตรา 23
6. บริษัทต้องจัดสรรสินทรัพย์หนุนหลังไว้ให้เพียงพอสำหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย ตามมาตรา 27/4
7. บริษัทต้องดำเนินการตามเงื่อนไขให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2556 หรือจนกว่า นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
ในระหว่างการหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว บมจ ยูเนี่ยนอินเตอร์ ประกันภัย จำกัด (มหาชน) สามารถให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัยรายเดิมได้ตามปกติ เช่น การจ่ายค่าสินไหมทดแทน แต่ไม่สามารถขายกรมธรรม์ประกันภัยรายใหม่ได้ โดยสำนักงาน คปภ. ได้ส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำที่บริษัททุกวันเพื่อประสานให้บริการ และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้เอาประกันภัย หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่สายด่วนประกันภัย 1186 หรือ www.oic.or.th
สำนักงาน คปภ. ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร และสมาคมประกันชีวิตไทย จัดงานเปิดตัวโครงการ “ประกันภัยเพื่อการออม คุ้มครองชีวิตพอเพียง” และรับมอบโลห์ประกาศเกียรติคุณ ในฐานะหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือ ในการส่งเสริมให้ประชาชน ทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ ในกรุงเทพมหานคร ได้มีโอกาสการออมเงินผ่านการ ประกันชีวิต อีกทั้งภายในงานยังมีการกิจกรรมนิทรรศการให้ความรู้ด้านการประกันภัย และให้คำปรึกษาด้านการประกันภัย ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2556
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จัดพิธีมอบรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร (Prime Minister’s Insurance Awards) ประจำปี 2555 เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นแรงจูงใจให้เกิดการพัฒนาการบริหารงานและการให้บริการแก่ประชาชน โดยได้รับเกียรติจาก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย) เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล ณ ห้อง เพลนารี 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าการมอบรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร (Prime Minister’s Insurance Awards) ประจำปี 2555 เป็นการยกย่องชมเชยองค์กร หน่วยงาน สถาบันการศึกษา ยุวชนประกันภัย และบุคคลดีเด่นด้านการประกันภัย ที่ได้มีส่วนร่วมสร้างสรรคุณประโยชน์ต่อสังคม และร่วมกันรณรงค์สร้างความตระหนักให้เห็นคุณค่าของการประกันภัย รวมถึงการมีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการสร้างหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมให้กับประเทศชาติและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน
ทั้งนี้ คาดหวังว่าผู้ได้รับรางวัลดังกล่าว จะรักษาคุณภาพการดำเนินการ และการให้บริการที่ดี เพื่อเป็นแบบอย่าง และเป็นกำลังที่เข้มแข็งร่วมกับรัฐบาลต่อไปด้วยการพัฒนาและยกระดับให้อุตสาหกรรมประกันภัยมีมาตรฐานการดำเนินการเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล ทั้งทางด้านความมั่นคงทางการเงิน การบริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพในการให้บริการซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของอุตสาหกรรมประกันภัย รวมถึงร่วมกันการสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจประกันภัยไทยเพื่อพร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า พิธีมอบรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเพื่อยกย่องผู้ประกอบธุรกิจประกันภัย สร้างขวัญกำลังใจ และเสริมสร้างแบบอย่างที่ดีให้กับบุคลากรด้านการประกันภัยให้มีการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการและการให้บริการที่ดีเป็นที่เชื่อมั่นและได้รับความไว้วางใจจากประชาชนซึ่งในปีนี้เป็นการมอบรางวัลที่มีผลงานดีเด่นประจำปี 2555 รวมทั้งสิ้น 10 ประเภท จำนวน 51 รางวัลประกอบด้วย 1. รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น 2. รางวัลบริษัทประกันวินาศภัยที่มีการบริหารงานดีเด่น 3. รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการพัฒนาการบริหารงานดีเด่น 4. รางวัลบริษัทประกันวินาศภัยที่มีการพัฒนาการบริหารงานดีเด่น 5.รางวัลตัวแทนประกันชีวิตคุณภาพดีเด่น 6. รางวัลตัวแทนประกันวินาศภัยคุณภาพดีเด่น 7. รางวัลนายหน้าประกันชีวิตนิติบุคคลคุณภาพดีเด่น 8. รางวัลนายหน้าประกันวินาศภัยนิติบุคคลคุณภาพดีเด่น 9. รางวัลอาสาสมัครประกันภัยดีเด่น และ 10. รางวัลยุวชนประกันภัยดีเด่นทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. จะประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลดังกล่าว ผ่านทาง www.oic.or.th เป็นลำดับต่อไป หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันภัย1186
สำนักงาน คปภ. ร่วมกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จัดอบรมความรู้ด้านการประกันภัยตามโครงการ “ความรู้ประกันภัย สู่ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” ให้แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 285 นาย เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประกันภัย และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติงานให้บริการประชาชนรวมทั้งสามารถให้แนะนำเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยในได้อย่างถูกต้อง ณ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อำเภอสามพราน จ.นครปฐม
>> เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
>> เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ
>> เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)