ลดหย่อนภาษี สมัครประกันออนไลน์ สมัครประกันชีวิตออนไลน์


ลดหย่อนภาษี สมัครประกันออนไลน์ สมัครประกันชีวิตออนไลน์ ประกันออนไลน์ ประกันชีวิต สมัครประกันชีวิต ประกันชีวิตออนไลน์

ก.ล.ต. สั่งพักที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ปรึกษาทางการเงิน
วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2558 | ฉบับที่ 23 / 2558
ก.ล.ต. สั่งพักการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินรายบริษัท {หนึ่ง} จำกัด และผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ปรึกษาทางการเงินสังกัดบริษัทดังกล่าว ราย {ก} เนื่องจากบกพร่องในการปฏิบัติงานที่ปรึกษาทางการเงินให้แก่บริษัทแห่งหนึ่งในการยื่นคำขออนุญาต แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ filing) และร่างหนังสือชี้ชวน เพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก

ก.ล.ต. ตรวจสอบพบว่าบริษัท {หนึ่ง} และ {ก} ขาดความระมัดระวังในการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทผู้ขออนุญาตกับบริษัทแห่งหนึ่ง ในกรณีที่บริษัทผู้ขออนุญาตได้โอนหุ้นทั้งหมดของบริษัทแห่งนั้นให้กับบุคคลภายนอก ทั้งที่มีข้อบ่งชี้หลายประการว่าการทำรายการดังกล่าวอาจไม่ได้เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะส่งผลให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในแบบ filing ไม่ถูกต้องครบถ้วน ทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาระสำคัญดังกล่าว รวมทั้งไม่ได้ให้ความรู้และคำแนะนำแก่บริษัทผู้ขออนุญาตเพื่อให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน การแบ่งแยกธุรกิจระหว่างกลุ่มบริษัทผู้ขออนุญาตกับกลุ่มบริษัทแม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบสิทธิของผู้ถือหุ้น

นอกจากนี้ บริษัท {หนึ่ง} เคยร่วมจัดทำแบบ filing ในการยื่นคำขอนุญาตของบริษัทผู้ขออนุญาตรายนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลของ ก.ล.ต. ทั้งสองครั้งยังพบประเด็นความข้อบกพร่องเดิม อาทิ การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน และการแบ่งแยกธุรกิจที่ไม่ชัดเจนกับกลุ่มบริษัทแม่

การกระทำของ {ก} เข้าข่ายเป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศสำนักงาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน ในขณะที่บริษัท {หนึ่ง} ไม่มีระบบการทำงานที่เหมาะสมตามมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ ก.ล.ต. จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินรายบริษัท {หนึ่ง} และผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ปรึกษาทางการเงิน ราย {ก} เป็นเวลา 1 ปี มีผลตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558หมายเหตุ: กรณีนี้ บริษัทผู้ขออนุญาตไม่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนแต่อย่างใด

ก.ล.ต. เผยผลงานวิจัยจุฬาฯ ระบุผู้ลงทุนให้ความสำคัญกับคุณภาพและการเปิดเผยข้อมูลบริษัทจดทะเบียน
วันอังคารที่ 3 มีนาคม 2558 | ฉบับที่ 24 / 2558
ก.ล.ต. สานต่องานเผยแพร่ผลงานวิจัยจัด SEC Working Papers Forum ครั้งที่ 1/2558 เผยผลงานวิจัยของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อ “การเปิดเผยข้อมูล M&A เร็วช้า มีผล อย่างไร และ คุณภาพของข้อมูลทางบัญชีดีขึ้นหรือไม่ภายหลังจากการใช้ IFRS ในจีนและอินเดีย” ระบุว่าคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนทั้งที่เป็นตัวเลขและที่ไม่ใช่ตัวเลขทางการเงินมีผลต่อการตัดสินใจและค่าเสียโอกาสในการเลือกลงทุนของผู้ลงทุน

ดร. วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า งานสัมมนา SEC Working Papers Forum ครั้งที่1/2558 เป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ตามบันทึกความร่วมมือระหว่าง ก.ล.ต. กับสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ 4 แห่ง ร่วมกันเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตลาดทุน โดยครั้งที่ 1 ของปีนี้ ทีมผู้วิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอผลงานวิจัย แสดงให้เห็นว่า ผู้ลงทุนให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูล และคาดหวังการรายงานข้อมูลที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับที่ ก.ล.ต. ให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูล โดยให้บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยข้อมูลในแบบ 56-1 โดยการรายงานข้อมูลที่ดีไม่จำเป็นต้องยาวหรือมีรายละเอียดมากเสมอไป แต่ต้องมีข้อมูลสำคัญครบถ้วนและถูกต้อง และเปิดเผยตามเวลาที่กำหนดเพื่อให้ผู้ลงทุนรับทราบความเสี่ยงในการลงทุน

ผศ.ดร. มนพล เอกโยคยะ ผู้วิจัยจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงผลงานวิจัยเรื่อง “คุณภาพของโครงการลงทุนและจังหวะเวลาของการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะชน” ว่าปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนใช้การควบรวมกิจการเป็นช่องทางในการขยายกิจการอย่างแพร่หลาย ดังนั้น การเปิดเผยข้อมูลและคุณภาพข้อมูล จึงมีความสำคัญต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท จากการศึกษาพฤติกรรมการเปิดเผยข้อมูลการตัดสินใจควบรวมกิจการสู่สาธารณชนซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน (non-financial information) ของบริษัทจดทะเบียนในประเทศอังกฤษพบว่า บริษัทมีความระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน ให้เผยแพร่ออกไปให้ช้าที่สุด แตกต่างจากการเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (financial statements) ที่พบในงานวิจัยที่ผ่านมา ว่าจะต้องเปิดข้อมูลทางการเงินที่มีกำไรให้เร็วที่สุด และเปิดเผยข่าวร้ายให้ช้าที่สุด นอกจากนี้ ยังพบว่าหากบริษัทเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงินหรือแผนการตัดสินใจควบรวมกิจการเร็วเกินไป ราคาหุ้นของบริษัทจะไม่ได้ปรับขึ้นมากตามที่คาดการณ์ สะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนที่มากับการรั่วไหลของข้อมูล เช่น เกิดข่าวลือ เกิดการแข่งขันสูง สูญเสียความได้เปรียบที่จะเป็นผู้ซื้อรายแรก หรือแม้กระทั่งการทำลายแผนการควบรวมในที่สุด

ผศ. ดร. ธัญลักษณ์ วิจิตรสาระวงศ์ ลดหย่อนภาษี ผู้วิจัยจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยงานวิจัยเรื่อง “ประโยชน์ของตัวเลขทางบัญชี: เรื่องราวของสองประเทศ (จีนและอินเดีย)” ศึกษาคุณภาพหรือประโยชน์ของตัวเลขทางบัญชีของบริษัทในประเทศจีนและอินเดียในช่วงก่อนและหลังการใช้มาตรฐานการรายงานการเงินระหว่างประเทศ (International Financial Reporting Standards หรือ IFRS) พบว่า ในอินเดีย ตัวเลขทางบัญชีหลังจากการใช้ IFRS สามารถพยากรณ์กำไรและกระแสเงินสดในอนาคตได้ดีขึ้น รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์เพื่อคาดการณ์ผลตอบแทนหุ้นในอนาคตในเชิงบวกได้ดีกว่า ขณะที่ยังไม่มีมาตรฐานทางบัญชีดังกล่าว ตรงกันข้ามกับผลการวิจัยในจีน ที่ระบบบัญชีไม่มีความสัมพันธ์ต่อการคาดการณ์ผลตอบแทนใด ๆ ทั้งนี้ อาจเป็นผลมาจากการที่อินเดียมีระบบการบัญชี และการบังคับใช้ รวมทั้งการปกป้องผู้ลงทุนที่เข้มแข็งกว่า

หมายเหตุ: การเผยแพร่งานวิจัยเป็นการดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือระหว่าง ก.ล.ต. กับสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ 4 แห่ง ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย แลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างภาควิชาการกับผู้บริหารในตลาดทุน และนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตลาดทุน

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดด้านกฎหมายและสิทธิบางประการที่อาจมีความแตกต่าง ความเสี่ยงของต่างประเทศและความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

ก.ล.ต. ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ เตรียมอนุญาตการเสนอขายหลักทรัพย์หรือขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ระหว่างกันในอาเซียน
วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2558 | ฉบับที่ 25 / 2558
ก.ล.ต. ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อให้กระบวนการพิจารณาคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่เปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลอาเซียน สามารถกระทำได้รวดเร็วขึ้น (Streamlined Review Framework for ASEAN Common Prospectus) ในระหว่างการประชุมกลุ่มหน่วยงานกำกับตลาดทุนอาเซียน (ASEAN Capital Markets Forum: ?ACMF”) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

การลงนามในบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการออกและเสนอขายตราสารทุนและตราสารหนี้แบบไม่ซับซ้อนพร้อมกันในกลุ่มประเทศที่เป็นภาคี ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามแผนปฏิบัติการเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียนขอกลุ่มหน่วยงานกำกับตลาดทุนอาเซียน (ASEAN Capital Markets Forum?s Implementation Plan) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนเมื่อปี 2552

นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ?การลงนามใน MOU ครั้งนี้ นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของความสำเร็จของกลุ่มหน่วยงานกำกับตลาดทุนอาเซียนในการส่งเสริมการระดมทุนและยกระดับตราสารทางการเงินในภูมิภาคให้เป็นที่ยอมรับของนักลงทุนทั่วโลก (ASEAN asset class) ซึ่งข้อตกลงนี้จะปูทางสู่การเชื่อมโยงตลาดทุนในอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ เป็นสามประเทศแรกในอาเซียนที่ลงนามใน MOU และคาดหมายว่าในอนาคตก็จะมีประเทศสมาชิก ACMF มาเข้าร่วมลงนามได้อีกเพิ่มเติม?

ภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว ผู้ออกหลักทรัพย์จะต้องเปิดเผยข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามมาตรฐานกลางอาเซียนที่ได้ประกาศใช้ร่วมกัน (ASEAN disclosure standards) โดยประเทศที่ทำหน้าที่หลักในการกำกับดูแล (Home Authority) จะพิจารณาคุณสมบัติและความครบถ้วนของข้อมูลที่เปิดเผย ประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแลในอีกประเทศหนึ่งที่จะมีการเสนอขายหลักทรัพย์พร้อมกัน (Host Authority) และแจ้งผลการพิจารณาภายใน 3-4 เดือนนับจากวันที่ยื่นคำขอและเอกสารครบถ้วน ซึ่งกระบวนการพิจารณาอนุญาตที่รวดเร็วขึ้นและลดความซ้ำซ้อนนี้จะช่วยให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์สามารถวางแผนงานการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทั้งนี้ การอนุญาตการเสนอขายหลักทรัพย์หรือขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ระหว่างกันในอาเซียนนี้จะเริ่มได้ภายในไตรมาส 3 ปีนี้ โดยระหว่างนี้ ACMF จะร่วมกันจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางให้แก่ภาคเอกชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการในด้านต่างๆ กระบวนการพิจารณา กรอบระยะเวลา และคุณสมบัติของผู้เสนอขายหลักทรัพย์?

ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์โดยไม่ได้รับอนุญาต
วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2558 | ฉบับที่ 26 / 2558
ก.ล.ต. กล่าวโทษบุคคลรวม 5 ราย ได้แก่ (1) บริษัทควอนตัม เบนชมาร์ค คอร์ปอเรชั่น (2) บริษัทโกลบัลวิว คอนซัลติ้ง จำกัด (3) นายอารยะ พยุงวิวัฒนกูล ในฐานะกรรมการบริษัท โกลบัลวิว คอนซัลติ้ง จำกัด (4) นายเรืองฤทธิ์ พันศิริ และ (5) นางสาวอรุณวดี กิตติเกษมศักดิ์ กรณีร่วมกันประกอบธุรกิจหลักทรัพย์โดยไม่ได้รับอนุญาต ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.)

ก.ล.ต. ได้รับแจ้งเบาะแส และตรวจสอบพบว่าบุคคลทั้ง 5 ราย ร่วมกันประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ที่ปรึกษาการลงทุน และจัดการกองทุนส่วนบุคคล มีการติดต่อชักชวน โฆษณา และใช้เว็บไซต์ http://www.qb-corp.com โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีความผิดตามมาตรา 90 ซึ่งมีระวางโทษตามมาตรา 289 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน คือ จำคุกตั้งแต่ 2-5 ปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

ก.ล.ต. จึงได้กล่าวโทษบุคคลทั้ง 5 รายข้างต้นต่อ ปอศ. เพื่อดำเนินคดีต่อไป สำหรับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการลงทุนกับบุคคลกลุ่มนี้ ขอให้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมต่อ ปอศ. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2237-1199 เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

นายวสันต์ เทียนหอม รองเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ?ปัจจุบันมีการหลอกลวงประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ชักชวนให้ลงทุนในหุ้น ทองคำ น้ำมันดิบ ด้วยอัตราผลตอบแทนที่สูงเกินจริง มีการรับประกันเงินลงทุน อ้างอิงสกุลเงินต่างประเทศด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ โดยแอบอ้างว่าเป็นเครือข่ายของบริษัทต่างประเทศไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจาก ก.ล.ต. เป็นต้น หากประชาชนท่านใดได้รับการติดต่อชักชวนโดยบุคคลที่มีพฤติกรรมน่าสงสัยเช่นนี้ ขออย่าได้หลงเชื่อ เข้าไปเช็คข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของ ก.ล.ต. www.sec.or.th ภายใต้หัวข้อ License Check และแจ้งเบาะแสกับ ก.ล.ต. ที่โทร. 1207 เพื่อดำเนินการตรวจสอบต่อไป?

ก.ล.ต. ร่วมกับ ThaiBMA เชิญชวนกิจการระดมทุนผ่านตราสารหนี้
วันอังคารที่ 10 มีนาคม 2558 | ฉบับที่ 27 / 2558
ก.ล.ต. ร่วมกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดโครงการ ?หุ้นกู้น้องใหม่ ก้าวแรกที่ก้าวไกล? สนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจที่ยังไม่เคยระดมทุนผ่านตราสารหนี้ ใช้ตลาดทุนระดมทุน ผู้ประกอบการออกตราสารหนี้ได้ภายในปีนี้ รับส่วนลดค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนหุ้นกู้บางส่วนจาก ThaiBMA

นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า ก.ล.ต. ร่วมกับ ThaiBMA จัดทำโครงการ ?หุ้นกู้น้องใหม่ ก้าวแรกที่ก้าวไกล? สนับสนุนภาคเอกชนระดมทุนผ่านการออกตราสารหนี้ โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยออกตราสารหนี้มาก่อน ปัจจุบันภาคเอกชนนิยมระดมทุนผ่านตราสารหนี้มากขึ้น ทำให้มูลค่าตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากการสำรวจบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) พบว่า บลจ. มีการออกและเสนอขายกองทุนสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่ใช่รายย่อย (กองทุน AI) ที่มีการลงทุนในตราสารหนี้ที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น จึงต้องการหุ้นกู้ของผู้ประกอบการรายใหม่และจำนวนมากขึ้นเพื่อการลงทุน

เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน

เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You

พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ

เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)

ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว

คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%

(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง

(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี

โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์

เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

ก.ล.ต. อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ออกและเสนอขายตราสารทางการเงินที่สามารถนำมาคำนวณเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามแนวทางของ Basel III ซึ่งมีเงื่อนไขบังคับแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญและมีการกำหนดราคาแปลงสภาพขั้นต่ำ (ตราสาร Basel III) ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป และการอนุญาตให้กองทุนรวมทุกประเภท ยกเว้นกองทุนรวมตลาดเงิน สามารถลงทุนในตราสาร Basel III ได้ ในสัดส่วนที่กำหนด เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุนและช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการเงิน มีผลใช้บังคับภายในไตรมาสสี่ของปีนี้

นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่าคณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์เพื่ออนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ออกและเสนอขายตราสาร Basel III ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไปได้ รวมถึงอนุญาตให้กองทุนรวมทุกประเภท ยกเว้นกองทุนรวมตลาดเงิน ลงทุนในตราสาร Basel III ทั้งในและต่างประเทศได้ไม่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กำหนด เพื่อเปิดโอกาสให้ธนาคารมีช่องทางสร้างความเข้มแข็งของเงินกองทุนเพิ่มขึ้น และผู้ลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น

นอกจากนี้ ก.ล.ต. กำหนดราคาแปลงสภาพขั้นต่ำเป็นมาตรฐานเดียวกันที่อัตราร้อยละ 50 ของราคาหุ้นสามัญของธนาคารในช่วงที่ออกและเสนอขายตราสาร Basel III โดยรวมถึงตราสาร Basel III ที่นำมาคำนวณเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่มีเงื่อนไขการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญด้วย โดยธนาคารผู้ออกตราสารต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย และเปิดเผยลักษณะและรายละเอียดของตราสารอย่างชัดเจน ในส่วนตัวกลางผู้ขายตราสารจะมีกระบวนการที่ทำให้ลูกค้าเข้าใจลักษณะความเสี่ยงและผลตอบแทนของตราสารเป็นอย่างดีก่อนตัดสินใจลงทุน

?ตราสารประเภทนี้ซับซ้อนและมีความเสี่ยงแตกต่างจากตราสารหนี้ทั่วไป เนื่องจากผู้ถือตราสารจะถูกบังคับให้แปลงสภาพตราสารเป็นหุ้นสามัญของธนาคารในภาวะที่ธนาคารมีปัญหาทางการเงิน ดังนั้น ก.ล.ต. จึงกำหนดราคาแปลงสภาพขั้นต่ำที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อลดความซับซ้อนของตราสาร และให้ผู้ลงทุนรับทราบความเสี่ยงสูงสุดที่จะได้รับอย่างชัดเจน ขณะที่ธนาคารสามารถคำนวณจำนวนหุ้นรองรับที่แน่นอนก่อนออกเสนอขายตราสารได้ นอกจากนี้ ธนาคารต้องเปิดเผยราคาแปลงสภาพขั้นต่ำให้ผู้ลงทุนทราบอย่างชัดเจน อีกทั้งตัวกลางผู้ขายตราสารต้องปฏิบัติตามกระบวนการเดียวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ทดสอบความรู้ของผู้ลงทุน เปิดเผยข้อมูลที่จำเป็น แจ้งเตือนว่าหลักทรัพย์อาจมีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน เป็นต้น เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนอย่างเพียงพอ? นายวรพล กล่าว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *