ลดหย่อนภาษี เมืองไทยประกันชีวิต ประกันบำนาญ


ลดหย่อนภาษี เมืองไทยประกันชีวิต ประกันบำนาญ ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี ประกันชีวิตออนไลน์ ที่ปรึกษาประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ

21 วันเปลี่ยนฉันเป็นคนใหม่ที่สดใสกว่าเดิม

คุณเคยได้ยินประโยคที่ว่าความสำเร็จอยู่ที่ใจไหม? บวกกับเรื่องจริงของชีวิตที่เคยคิดอยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิม แต่ทำไปได้ไม่เท่าไหร่ก็เกิดอาการถอดใจ หยุดเอากลางคัน ไม่ไปต่อเอาซะง่ายๆ ทั้งที่บางเรื่องแต่อดทนอีกฮึบเดียวก็จะไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว วันนี้เรามีทริคเล็กๆ เพื่อให้ชีวิตไปถึงเป้าหมายที่คิดเอาไว้ด้วยการใช้ทฤษฎี 21 วันในการทำสิ่งนั้นซ้ำๆ จนรู้ตัวอีกที คุณก็จะมีเรื่องราวใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ในชีวิต

สำหรับทฤษฎี 21 วัน นั้นเป็นทฤษฎีที่อธิบาย ถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกกรรมของมนุษย์ มาจาก ดร. แมคเวล มอลท์ (Dr.MaxwellMaltz) ได้เขียนไว้ในหนังสือ Psycho-Cybernetics ว่า ‘การกระทำ’ จะกลายเป็น ‘นิสัย’ โดยกระทำต่อเนื่องอย่างน้อย 21 วัน บนพื้นฐานของความเชื่อว่าเราจะเป็นไปได้ และมีสติในการลงมือทำกระทำ หากใครได้มาเห็นบทความนี้ เรามาลองพิสูจน์เรื่องนี้ไปด้วยกันดูก็ได้ กับ 5 สิ่งที่หากปรับแล้วชีวิตจะดีขึ้นกว่าเดิม

เพิ่มเปอร์เซนต์การคิดบวกให้มากขึ้น ลดเปอร์เซ็นต์การคิดลบ ปรับมุมมองที่มีต่อสิ่งที่เกิดขึ้นให้มีสีสัน มากกว่าจะมองว่ามีแต่สีเทา ในช่วงวันแรกเราอาจจะยังคิดบวกในเรื่องที่เล็กๆ น้อยๆ ไปก่อน เช่น ตื่นมาเช้านี้ อากาศก็เย็นดีเหมือนกันนะ แทนที่จะคิดว่าวันนี้ต้องเหนื่อยกับการทำงานอีกแล้ว ลองปรับความคิดแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบ 21 วัน ชีวิตในทุกเช้าก็จะมีชีวิตชีวามากขึ้น

ให้ร่ายกายตัวเองได้พักอย่างที่ควรจะเป็น เหนื่อยจนตาจะปิดแต่ก็อดทนไว้ ฝืนทำงานต่อไปจนเผลอหลับ ทั้งที่จริงๆแล้ว ถึงเวลานอนก็ควรจะนอน มาปรับพฤติกรรมนี้ด้วยทฤษฎี 21 วัน จัดตารางชีวิตกันใหม่ แยกให้ชัดเจน เวลาไหนเป็นเวลาทำงาน เวลาพักผ่อน และ เวลานอน เพื่อที่เราจะได้เริ่มปรับตัวให้ร่ายกายได้พักเต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว

กินของที่ร่างกายได้ประโยชน์ เข้าใจนะว่าเวลาที่เครียดๆ ร่างกายก็ต้องการชานมไข่มุกหวานๆ สักแก้วมาเยียวยา แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเราลดปริมาณ ทานในปริมาณที่น้อยลง แล้วทดแทนด้วยความหวานจากการทานผักผลไม้ให้มากขึ้นแบบนี้ก็จะช่วยให้สุขภาพยังคงไม่พักไปมากกว่าเดิม ไม่แน่หากผ่านพ้น 21วันไปคุณอาจจะได้ของขวัญเป็นหุ่นใหม่ที่ดูมีสัดส่วนมากกว่าเดิมก็ได้

ให้โอกาสตัวเองทำกิจกรรมที่ชอบนอกเหนือจากงาน อย่างน้อย สัปดาห์ละครั้ง ทำงานติดกันมาตั้ง 5 วันแล้ว วันที่ได้หยุดก็ควรจะได้ทำกิจกรรมอื่นที่ช่วยผ่อนคลายจากความเครียดบ้าง ออกไปหากิจกรรมที่ตัวเองชอบ แล้วทำมันในวันหยุด เป็นการเยียวยาจิตใจได้อีกหนึ่งทาง ผ่าน 21 วันไปก็จะได้พบกับจิตใจที่สดใสมากกว่าเดิม

ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน ลดหย่อนภาษี เพราะเมื่อร่างกายแข็งแรง หัวใจคุณก็จะแข็งแรง ช่วงแรกอาจจะใช้เวลาไม่ต้องนานนัก แต่พอให้ร่ายกายได้ขยับและจดจำไปว่าในทุกๆวันจะมีการออกกำลังกาย เมื่อเราทำไปเรื่องๆ จนเกิดความเคยชิน ร่ายกายก็จะสามารถปรับตัวได้ และเริ่มรู้สึกอยากกออกกำลังให้ได้นานขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์กับเราอย่างแน่นอน

เสริมทริคอีกเล็กน้อยด้วยสูตรสำเร็จ 5 ขั้นตอน กับทฤษฎี 21 วัน ที่จะเปลี่ยนคุณให้เป็นคนใหม่ใน 21 วัน ให้คุณได้มั่นใจมากขึ้น

รู้จักตัวเอง ยอมรับและฟังเสียงของหัวใจ ต้องรู้ใจตัวเองให้ดีก่อนว่าพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองหรือไม่ ถ้าใจบอกว่าใช่ก็ลุยเลย
ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อที่เราจะได้ไม่หลุดโฟกัส หรือล้มเลิกไปกลางทางเหมือนที่ผ่านมา
ค่อยๆ ปรับพฤติกรรม

เรามีระยะเวลาในการเปลี่ยนตั้ง 21 วัน ค่อยๆทำ ค่อยๆ เปลี่ยนไปให้ตัวเองเริ่มคุ้นชินกับการเปลี่ยนแปลงนั้น
ทำตามเป้าหมายซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง เมื่อไปถึงเป้าหมายแล้ว อย่าเพิ่งหยุด ลองท้าทายตัวเองให้มากขึ้นด้วยการไปต่อกับเป้าหมายใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม
ค้นหา Passion เสริมพลังบวกให้ตัวเอง เพราะเมื่อมี Passion เราก็จะมีพลังอย่างเหลือเฟือในการท้าทายตัวเองให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้

เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน

เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้เกียรติเป็นประธานมอบเกียรติบัตรแก่ผู้สำเร็จหลักสูตรที่ปรึกษาด้านการประกันภัย (CIA) รุ่นที่ 3 จัดโดยสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง

ทั้งนี้ หลักสูตรที่ปรึกษาด้านการประกันภัย (Chartered Insurance Advisor : CIA) เป็นหลักสูตรพิเศษที่ครอบคลุมทักษะความรู้ด้านกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยและสถาบันการเงิน การบริหารความเสี่ยงกับธุรกิจประกันภัย การบัญชีสำหรับที่ปรึกษาด้านการประกันภัย การบริหารจัดการแผนการประกันภัยอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพ และความน่าเชื่อถือให้กับคนกลางประกันภัย

โดยผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรที่ปรึกษาด้านการประกันภัย (CIA) ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด จะต้องเป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยที่มีใบอนุญาตทั้งการประกันชีวิตและการประกันวินาศภัย ที่ใบอนุญาต ใบหนึ่งผ่านการต่ออายุครั้งที่ 4 และใบอนุญาตอีกใบหนึ่งต้องผ่านการต่ออายุครั้งที่ 2 ไปแล้ว และไม่เคยมีประวัติถูกร้องเรียนใดๆ จะได้รับเกียรติบัตรที่ปรึกษาด้านการประกันภัยพร้อมบัตรทองตัวแทนและนายหน้าประกันภัย รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่น อาทิ สามารถนำหนังสือรับรองการผ่านการอบรมไปใช้สำหรับทดแทนการอบรมหลักสูตรการขอต่ออายุใบอนุญาต ครั้งที่ 3 เป็นต้นไป ได้หนึ่งครั้ง และยังสามารถใช้ทดแทนการอบรมเป็นผู้ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) และการอบรมเป็นผู้ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ รวมถึงได้รับสิทธิพิเศษในการขึ้นทะเบียนเป็นผู้บรรยายของสถาบัน สมาคม และองค์กร ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน คปภ. ให้เป็นวิทยากรจัดอบรมเป็นระยะเวลา 3 ปี สำหรับผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรแต่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามที่กำหนดจะได้รับเกียรติบัตรนักวางแผนการประกันภัย (Certified Insurance Planner : CIP)

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า การพัฒนาบุคลากรของธุรกิจประกันภัยเป็นสิ่งหนึ่งที่ สำนักงาน คปภ. ให้ความสำคัญอย่างยิ่งจึงได้จัดตั้งสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูงขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาความรู้ เพิ่มทักษะด้านการประกันภัยระดับสูงให้แก่บุคลากรประกันภัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้บุคลากรประกันภัยมีศักยภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. ยังได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการประกันภัยโดยให้ความรู้ ความเข้าใจด้านการพัฒนาธุรกิจประกันภัย ซึ่งปัจจุบันบุคลากรประกันภัยยังขาดแคลน ตลาดแรงงานสำหรับผู้ที่จบหลักสูตรนี้จึงมีความต้องการอีกมาก สถาบันการศึกษาหลายแห่งได้เริ่มให้ความสำคัญกับวิชาชีพสาขาประกันภัยมากขึ้น เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่างต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดเสรีประกันภัยในปี 2558 ดังนั้น หากสถาบันใดที่สนใจเข้าร่วมเสริมสร้างบุคลากรประกันภัย ไม่ว่าจะจัดเป็นหลักสูตรสาขาวิชาชีพหรือมีความสนใจเข้าร่วมเป็นสถานสอบใบอนุญาต หรือแม้แต่สถานฝึกอบรม สำนักงาน คปภ. ใคร่ขอเชิญชวน และหากขาดแคลนวิทยากร สำนักงาน คปภ. รวมทั้งภาคธุรกิจประกันภัยก็ยินดีให้ความช่วยเหลือเพื่อสร้างบุคลากรประกันภัยให้มีความพร้อมสามารถแข่งขันกับกลุ่มประเทศอาเซียนได้ในอนาคต

สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง มีกำหนดเปิดรับสมัครอบรมหลักสูตรที่ปรึกษาด้านการประกันภัย รุ่นที่ 4 ในเดือนเมษายน 2556 ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.oic.or.th หรือ ติดต่อสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง หมายเลขโทรศัพท์ 02-515-3995-9 ต่อ 3628 หรือ E-mail: Address:OICAII2555@gmail.com หรือ สายด่วนประกันภัย 1186

นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบขยายเวลามาตรการผ่อนผันจากกรณีอุทกภัยสำหรับบริษัทประกันวินาศภัยไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2557 เพื่อช่วยให้บริษัทประกันภัยมีระยะเวลาในการฟื้นฟูฐานะการเงิน และดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้ตามแผนการที่กำหนด

สืบเนื่องจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 บอร์ด คปภ. ได้พิจารณามาตรการผ่อนผันกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการกำกับเงินกองทุน และการจัดสรรเงินสำรองที่ใช้บังคับ กับบริษัทประกันวินาศภัยจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2556 เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้บริษัทมีความคล่องตัวในการจัดการค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัย ปัจจุบัน การจ่ายค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ ส่วนใหญ่เป็นภาคอุตสาหกรรมที่มียอดค่าสินไหมทดแทนที่สูงมาก บางรายยังอยู่ระหว่างเจรจาตกลงยอดค่าสินไหมทดแทน รวมถึงการเรียกชำระเงินคืนค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยต่อ บอร์ด คปภ. จึงพิจารณาให้ขยายเวลามาตรการผ่อนผันบางมาตรการสำหรับความเสียหายจากกรณีอุทกภัยให้บริษัทประกันวินาศภัยออกไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2557 ดังนี้
1. ขยายเวลายกเว้นการคำนวณเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านการประกันภัย และยกเว้นการนำค่า PAD มารวมในการคำนวณเงินสำรองประกันภัยสำหรับค่าสินไหมทดแทนน้ำท่วม

2. ขยายเวลายกเว้นการคำนวณเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านการกระจุกตัวจากการประกันภัยต่อ

3. ขยายเวลาการให้ส่วนลดเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านเครดิตจากการประกันภัยต่อออกไป แต่กำหนดให้บริษัททยอยดำรงเงินกองทุนในส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันได ดังนี้

1 เม.ย. 56 –30 ก.ย. 56 ดำรง ร้อยละ 25

1 ต.ค. 56 –31 ธ.ค. 56 ดำรง ร้อยละ 50

1 ม.ค. 57 –31 มี.ค.57 ดำรง ร้อยละ 75

1 เม.ษ. 57 เป็นต้นไป ดำรง ร้อยละ 100

4. ขยายเวลายกเว้นให้สามารถนับเบี้ยประกันภัยค้างรับจากการรับประกันภัยโดยตรงและเงินค้างรับเฉพาะส่วนค่าสินไหมทดแทนน้ำท่วมที่เรียกคืนจากผู้รับประกันภัยต่อ เป็นสินทรัพย์หนุนหลัง

5. ขยายเวลายกเว้นให้บริษัทไม่ต้องนำเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์และประเภทกระแสรายวัน ที่บริษัทมีไว้เพื่อการจ่ายสินไหมทดแทนและบริหารสภาพคล่องไปฝากไว้ที่ Custodian

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า สำนักงาน คปภ.ได้ติดตามความคืบหน้ามาตรการในการสร้างความเชื่อมั่นต่อธุรกิจประกันภัย การเร่งรัดและติดตามการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากเหตุการณ์มหาอุทกภัย รวมถึงปัญหา และอุปสรรคในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ได้รายงานให้บอร์ด คปภ. ทราบมาตลอด ดังนั้น การขยายเวลามาตรการดังกล่าวนั้น จึงพิจารณาบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง และกระบวนการเร่งรัดการชำระค่าสินไหมทดแทนยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง

บอร์ด คปภ. เห็นชอบหลักเกณฑ์การทดสอบภาวะวิกฤต
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ประจำเดือนเมษายน 2556 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการ สถานการณ์ รวมถึงปัจจัยที่ใช้ในการทดสอบภาวะวิกฤต รวมถึงมอบหมายให้นายทะเบียนกำหนดให้บริษัทประกันชีวิตทุกแห่งจัดทำการศึกษาผลกระทบเชิงปริมาณ (Quantitative Impact Study: QIS) ตามกรอบการทดสอบและรูปแบบรายงานตามที่สำนักงาน คปภ. เสนอ

สำนักงาน คปภ. ได้ทำการศึกษากรอบการทดสอบภาวะวิกฤตของสมาคมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ หรือ IAIS หน่วยงานกำกับธุรกิจประกันภัยของประเทศต่างๆ เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าแนวทางการทดสอบที่เหมาะสมจะนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยควรเป็นกรอบการทดสอบที่มีการผสมผสานกันระหว่างกรอบการทดสอบของสิงคโปร์และมาเลเซีย เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศอยู่ในภูมิภาคเดียวกันกับประเทศไทย มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและแนวทางการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยใกล้เคียงกัน โดยกำหนดให้การทดสอบร่วมกันระหว่างแบบ prescribed scenarios หรือการทดสอบที่สำนักงาน คปภ. เป็นผู้กำหนดสถานการณ์ให้บริษัท และแบบ self-select scenarios หรือการทดสอบที่บริษัทเป็นผู้กำหนดสถานการณ์เอง และให้ผู้บริหารของบริษัททำหน้าที่รับผิดชอบการทดสอบภาวะวิกฤต

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า ในปัจจุบัน บริษัทประกันชีวิตมีความมั่นคงแข็งแกร่งทางการเงิน สามารถสร้างความมั่นใจให้กับภาคประชาชนได้เป็นอย่างดี โดยดูได้จากธุรกิจประกันชีวิตมีสินทรัพย์ลงทุน1,628,663 ล้านบาท ซึ่งสำนักงาน คปภ. มีระบบการกำกับเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง RBC เป็นตัวผลักดันในเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ โครงการทดสอบภาวะวิกฤตสำหรับธุรกิจประกันชีวิตถือเป็นเครื่องมือจัดการความเสี่ยงที่มีความจำเป็นทั้งต่อบริษัทประกันภัยและหน่วยงานกำกับดูแล เพราะช่วยให้ทราบได้ว่าบริษัทประกันชีวิตมีฐานะทางการเงินที่ยืดหยุ่นเพียงพอที่จะรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงเป็นการยกระดับและเสริมสร้างความเข้มแข็งของการกำกับความมั่นคงทางการเงินของธุรกิจประกันชีวิตไทยให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากลของการกำกับบริษัทประกันภัยให้มีการบริหารความเสี่ยงที่ดี มีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่คล่องตัว สามารถบริหารสมดุลระหว่างผลตอบแทนที่คาดหวังและระดับความเสี่ยงที่บริษัทสามารถยอมรับได้อย่างเป็นระบบ

นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เผยสถิติการอบรมตัวแทน/นายหน้า ในปี 2555 มีจำนวนผู้ผ่านการอบรมเพื่อขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาต ทั้งสิ้น 339,436 ราย ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2554 ร้อยละ 0.09 แบ่งเป็นตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต และตัวแทน/นายหน้าประกันวินาศภัย จำนวน 271,202 ราย และ68,234 ราย ตามลำดับ

พระราชบัญญัติประกันชีวิต/วินาศภัย พ.ศ.2535 และ พระราชบัญญัติประกันชีวิต/วินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 (แก้ไขเพิ่มเติม) กำหนดให้ผู้ประสงค์จะขอรับ/ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต/ประกันวินาศภัยหรือผู้ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย ต้องผ่านการอบรมจากสำนักงาน คปภ. หรือผ่านการอบรมจากสถาบัน หน่วยงานที่สำนักงาน คปภ.ให้ความเห็นชอบ เพื่อให้ตัวแทน/นายหน้าประกันภัย ได้มีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปให้คำแนะนำและบริการแก่ประชาชนรวมทั้งผู้เอาประกันภัยอย่างถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปตามเศรษฐกิจและสังคม จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ผ่านการอบรมแยกตามประเภทใบอนุญาตฯ ปี 2555 สรุปได้ดังนี้ หน่วยงานจัดอบรมประเภท ธุรกิจประกันชีวิตที่มีผู้ผ่านการอบรมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สถาบันประกันภัยไทย บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด บริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และสำนักงาน คปภ. ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 74 ของผู้ผ่านการอบรมทั้งหมด และหน่วยงานจัดอบรมประเภทธุรกิจประกันวินาศภัยที่มีผู้ผ่านการอบรมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สถาบันประกันภัยไทย บริษัท ทีอาร์เทรนนิ่งแอนด์คอนซัลติ้ง จำกัด สำนักงาน คปภ. บริษัทเมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัทมิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 60 ของผู้ผ่านการอบรมทั้งหมด

ทั้งนี้ หากผู้ใดมีความสนใจต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ www.oic.or.th หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ฝ่ายบริหารกลยุทธ์ช่องทางการจำหน่าย 02-5153995-9 ต่อ 4300-3

นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. พร้อมคณะผู้บริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ และสื่อมวลชน ศึกษาดูงานประกันภัยพิบัติของประเทศญี่ปุ่น พร้อมเยี่ยมชมศูนย์เตือนภัยพิบัติ (Tokyo Rinkai Disaster Prevention Park) นอกจากนั้นยังได้เข้าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหารือกับสมาคมประกันภัยแห่งประเทศญี่ปุ่น The General Insurance Association of Japan (GIAJ) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 1-5 เมษายน 2556

>> เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน

เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

>> เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You

พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ

>> เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)

ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว

คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%

(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง

(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี

โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์

เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *