วางแผนการเงิน เมืองไทยประกันชีวิต ตัวแทนประกันชีวิต ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี ที่ปรึกษาประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า รายละเอียดดังกล่าวสามารถดูได้ที่ www.oic.or.th ภายใต้หัวข้อกฎหมายประกันภัย ประกาศสำนักงานฯ เรื่อง กำหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิต/วินาศภัย สำหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต/วินาศภัย และนายหน้าประกันชีวิต/วินาศภัย พ.ศ. 2556 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายบริหารกลยุทธ์ช่องทางการจำหน่าย โทร. 0-2515-3999 ต่อ 4300-3 หรือ สายด่วนประกันภัย 1186
นางสาววราวรรณ เวชชสัสถ์ รองเลขาธิการด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ประจำเดือนมิถุนายน 2556 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบหลักการให้แก้ไข ประกาศ คปภ. เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต และธนาคาร พ.ศ. 2551 เพื่อกำหนดคุณสมบัติของบุคคลซึ่งหน้าทำหน้าที่เสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน ให้สอดคล้องกับโครงสร้างใบอนุญาตผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนของ กลต.
ประกาศ คปภ. เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต และธนาคาร พ.ศ. 2551 กำหนดหลักเกณฑ์การขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (unit linked) ให้บริษัทจะต้องดำเนินการให้ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตผู้เสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนได้รับใบอนุญาตซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และโครงสร้างการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) กล่าวคือเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก หรือ ข ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และเป็นผู้ผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนตามหลักสูตรที่สำนักงาน คปภ. กำหนด และได้รับการขึ้นทะเบียนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกำหนด ปัจจุบัน กลต. ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และปรับปรุงโครงสร้างใบอนุญาตผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนฯ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใบอนุญาตผู้ติดต่อฯ ของ กลต. สำนักงาน คปภ. จึงเสนอขอปรับแก้จากเดิมที่กำหนดว่าต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก หรือ ข ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้องได้รับใบอนุญาตเป็น นักวิเคราะห์การลงทุนด้านตลาดทุน นักวิเคราะห์การลงทุนด้านหลักทรัพย์ ผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุน ผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ และผู้แนะนำการลงทุนด้านกองทุน
รองเลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า การปรับแก้ไขคุณสมบัติดังกล่าว จะเป็นการส่งเสริมตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตที่จะเสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (unit linked) สามารถเลือกขึ้นทะเบียนได้ตรงตามประเภทธุรกรรมตามหลักเกณฑ์ของกลต. ซึ่งจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยจะช่วยขยายปริมาณผู้เสนอขายให้มากขึ้น และจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลให้มีการเติบโตของกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนได้ในอนาคต
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. มอบรางวัลสุดยอดตัวแทนประกันชีวิตคุณภาพดีเด่นแห่งชาติ ครั้งที่ 30 หรือ Thailand National Quality Awards 30th (TNQA 30th) ซึ่งจัดขึ้นโดย สมาคมประกันชีวิตไทย เพื่อเชิดชูเกียรติตัวแทนประกันชีวิตที่มีผลงานขายและการให้บริการที่ยอดเยี่ยม โดยได้รับเกียรติจากนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ให้เกียรติเป็นประธาน ณ ห้องรอยัลจูบิลี่บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2556
นายสรศักดิ์ ทัณตสุวรรณ รองเลขาธิการ ด้านตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. กำหนดจัดพิธีมอบรางวัลตัวแทนประกันภัยและนายหน้าประกันภัยนิติบุคคลคุณภาพดีเด่น ประจำปี 2555 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวิชาชีพคนกลางประกันภัยและพัฒนาบทบาทของนายหน้าประกันภัยนิติบุคคลที่มี ผลประกอบการ การพัฒนาความรู้ และความรับผิดชอบต่อสังคมที่ดี รวมทั้งเป็นการสร้างความภูมิใจในอาชีพและค่านิยมเกี่ยวกับการประกันภัยที่เป็นเลิศ โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมประกวดตั้งแต่วันนี้ – 28 มิถุนายน 2556
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง จัดประกวดผลงานทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัย ในสาขาการประกันภัย การบริหารความเสี่ยง และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ตามโครงการประชุมสัมมนาวิชาการด้านการประกันภัย ประจำปี 2556 (Thailand Insurance Symposium 2013) โดยผู้รับคัดเลือกให้มีผลงานดีเด่นจะได้รับรางวัลเป็นเงินสด พร้อมใบประกาศเกียรติบัตร และโล่เกียรติคุณสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา เปิดรับสมัครและส่งผลงานได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2556
การจัดประกวดผลงานดังกล่าว วางแผนการเงิน ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่สำนักงาน ก.พ. รับรอง ในสาขาการประกันภัย การบริหารความเสี่ยง หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ซึ่งผลงานวิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัยแบ่งตามสาขาวิชาหรือกลุ่มสาขาวิชาประกันภัย ดังนี้
1. การประกันภัย/การประกันภัยต่อ
2. การบริหารความเสี่ยง
3. ตลาดประกันภัย
4. การเงินและการลงทุนของบริษัทประกันภัย
5. บทบาทและประสิทธิภาพของสถาบันตัวกลางในตลาดประกันภัย
6. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย และวิธีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดประกันภัย
7. กฎเกณฑ์การกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย
โดยคณะกรรมการตัดสินผลงานวิชาการด้านการประกันภัย ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัย และอาจารย์จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ผลงานที่ได้รับรางวัล สำนักงาน คปภ. จะนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประกันภัยให้กับบุคคลากรประกันภัย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชน ซึ่งเป็นการพัฒนาบุคลากรประกันภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อรองรับการขยายตัว และการเจริญเติบโตของธุรกิจประกันภัย รวมทั้งรองรับการเปิดเสรีธุรกิจประกันภัยในอนาคต
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนมิถุนายนของปี 2556 มีสัญญาณชะลอตัวลงจากช่วงก่อนหน้า จาก การปรับตัวลดลงของการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน สะท้อนได้จากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในเดือนมิถุนายน 2556 หดตัวร้อยละ 17.7 และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่หดตัวร้อยละ 10.7 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาคบริการขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยขยายตัวร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ครึ่งปีแรกธุรกิจประกันภัยมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทั้งสิ้น 313,256 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.36
โดยแบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยจากธุรกิจประกันชีวิต จำนวน 212,689 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากประชาชนในวงกว้างมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการประกันชีวิตมากขึ้น ประกอบกับแนวโน้มอายุขัยของประชากรที่มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นจากวิทยาการทางการแพทย์ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนหันมาสนใจการประกันชีวิตแบบบำนาญ และการประกันสุขภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด คือ การประกันชีวิตประเภทสามัญ จำนวน 176,256 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.23 รองลงมาการประกันชีวิตประเภทกลุ่ม จำนวน 29,739 ล้านบาท ขยายตัวอย่างโดดเด่นถึงร้อยละ 31.75 และการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล จำนวน 2,781 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.94 และจากธุรกิจประกันวินาศภัย จำนวนรวมทั้งสิ้น 100,567 ล้านบาท ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 18.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการประกันภัยรถมีเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด จำนวน 59,613 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 21.09 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาการประกันภัยเบ็ดเตล็ด จำนวน 32,299 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.94 และการประกันอัคคีภัย จำนวน 5,967 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.08
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2556 อุตสาหกรรมประกันภัยขยายตัวได้ในอัตราที่น่าพอใจ แม้ว่าจะมีฐานการเปรียบเทียบที่ค่อนข้างสูงจากปี 2555 แต่ทั้งธุรกิจประกันชีวิต และธุรกิจประกันวินาศภัยก็สามารถเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ ร้อยละ 5.21 ซึ่งพัฒนาการอันดีของธุรกิจประกันภัยในหลายๆ ปีที่ผ่านมาก็ล้วนแต่เกิดขึ้นจากการร่วมแรงร่วมใจของหลายๆ ภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบธุรกิจประกันภัยรวมถึงบุคลากรประกันภัยด้านต่างๆ ที่มุ่งมั่นพัฒนาและให้ความร่วมมืออันดีกับสำนักงาน คปภ. เสมอมา ซึ่ง สำนักงาน คปภ. มีกำหนดจัดงานวันประกันภัยขึ้นในวันที่ 2 กันยายน 2556 ณ ห้องเพลนารี 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยภายในงานจะมีพิธีมอบรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร ประจำปี 2555 เพื่อเป็นแบบอย่างอันดีให้ภาคธุรกิจประกันภัยช่วยกันรักษามาตรฐานการเติบโตอันดีนี้ของอุตสาหกรรมประกันภัย สืบไป
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยนายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร โดย นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาคมประชีวิตไทย โดย นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการเพื่อการออม คุ้มครองชีวิตพอเพียง” เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในกรุงเทพมหานครได้เห็นถึงความสำคัญของการออม สร้างวินัยในการออมอย่างสม่ำเสมอ พร้อมรับความคุ้มครองในรูปแบบประกันชีวิต ซึ่งเป็นรากฐานในการดำเนินชีวิต และเป็นการน้อมนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ของประชาชนกรุงเทพมหานคร
คปภ. เป็นเจ้าภาพจัดการอบรม/สัมมนา AITRI – Toronto Centre Workshop
เรื่อง การประเมินการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยตามมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.)ร่วมกับสถาบันฝึกอบรมและวิจัยประกันภัยแห่งอาเซียน (ASEAN Insurance Training and Research Institute: AITRI) จัดการอบรม/สัมมนา AITRI – Toronto Centre Workshop ในหัวข้อเรื่องการประเมินการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยตามมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (AITRI-Toronto Centre Workshop on IAIS – Insurance Core Principles (ICP) Assessment) ระหว่างวันที่ 25 – 29 สิงหาคม 2556 ณ กรุงเทพฯ
นายอรรถพล พิบูลธนพัฒนา ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงาน คปภ. เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรม/สัมมนาฯ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 34 ท่าน ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยทั้งสิ้น 13 ประเทศ จากประเทศสมาชิกอาเซียน และภูมิภาคอื่นๆ อาทิ ประเทศอาเซอร์ไบจาน เนปาล อุซเบกิสถาน ปาปัวนิวกินี และศรีลังกา รวมทั้งเจ้าหน้าที่สำนักงาน คปภ. โดยมีวิทยากรจากสถาบัน Toronto Centre สถาบันเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability Institute: FSI) และสำนักงานคณะกรรมการบริการทางการเงิน แห่งมลรัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา (Financial Services Commission of Ontario: FSCO)
การจัดอบรม/สัมมนาฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรม/สัมมนาฯ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ฉบับปรับปรุงปี 2011 (Insurance Core Principles: ICPs) และการประเมินการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยตามมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยไทย และอาเซียน โดยมีหัวข้อในการบรรยายที่สำคัญ อาทิ ภาพรวมมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ ฉบับปรับปรุง ปี 2011 และวิธีการประเมินการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย เป็นต้น
ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงาน คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียมกันในระดับสากลโดยหากแต่ละประเทศมีมาตรฐานการกำกับดูแลที่มีความเท่าเทียมกันแล้ว จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาความมั่นคงของระบบการประกันภัย รวมทั้งระบบการการเงินของไทยและภูมิภาคอาเซียนต่อไป
นางสาววราวรรณ เวชชสัสถ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2556 เวลาประมาณ 04.50 น. เกิดอุบัติเหตุรถตู้โดยสารสายปราจีนบุรี-กรุงเทพมหานคร หมายเลขทะเบียน ฮบ 8901 กรุงเทพมหานคร พุ่งชนท้ายรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ หมายเลขทะเบียน 70-6551 นครปฐม และตัวพ่วงหมายเลขทะเบียน 70-6525 นครปฐม บนถนนสายบ้านสร้าง-บางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 7 ราย นั้น
สำนักงาน คปภ. ได้ประสานสำนักงาน คปภ. จังหวัดฉะเชิงเทรา เบื้องต้นทราบว่ารถตู้โดยสาร ได้จัดทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และทำประกันภัยรถภาคสมัครใจ (ประเภท 3) กับ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) รถบรรทุกพ่วง ส่วนหัว ทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และประกันภัยภาคสมัครใจ (ประเภท 1) และส่วนท้ายทำประกันรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) กับ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันภัย ดังนี้
1. ผู้ประสบภัยเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร ทายาทสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ดังนี้
1.1 ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) 200,000 บาทต่อคน และ
1.2 ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถภาคสมัครใจ (ประเภท 3) กรณีไม่มีผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100,000 บาทต่อคน หรือกรณีมีผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 300,000 บาทต่อคน และ
1.3 ความคุ้มครองการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 50,000 บาทต่อคน
2. ผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ได้ดังนี้
2.1 ความคุ้มครองจากการประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน และค่าชดเชยรายวัน สำหรับผู้ประสบภัยที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล วันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน และ
2.2 ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถภาคสมัครใจ (ประเภท 3) ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินความคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย และ
2.3 ความคุ้มครองการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 50,000 บาทต่อคน
สำหรับคนขับรถตู้โดยสาร ได้รับความคุ้มครองจากการประกันภัยรถภาคบังคับ เป็นค่ารักษาพยาบาล 15,000 บาท และความคุ้มครองการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 50,000 บาท
รองเลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต และในเบี้องต้นทราบว่าเจ้าหน้าที่บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการประสานโรงพยาบาลที่รับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยเพื่ออำนวยความสะดวกด้านค่ารักษาพยาบาล และติดต่อทายาทผู้เสียชีวิตเพื่อดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทน จึงขอให้ประชาชนท่านเจ้าของรถได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการทำประกันภัยรถยนต์ ทั้งประกันภัยรถภาคบังคับ และการประกันภัยภาคสมัครใจ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของรถและผู้ประสบภัยได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันภัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186 และเว็ปไซต์ www.oic.or.th
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ได้จัดงาน Insurance Forum ครั้งนี้ ได้เชิญ Professor Dipak C. Jain อดีตอธิการบดีของ Kellogg School of Management มหาวิทยาลัย Northwestern ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด และการวิเคราะห์โมเดลโครงสร้างการแข่งขันในตลาด ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ มาเป็นผู้บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “นวัตกรรมด้านการตลาดในภาคการเงิน” โดย Professor Dipak C. Jain ได้ชี้ให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมของธุรกิจในปัจจุบันมีลักษณะ 5 ประการที่สำคัญ ประกอบด้วย
1. ลูกค้าได้รับข้อมูลข่าวสารมากขึ้นทำให้มีความคาดหวังในประเภทและคุณภาพของบริการเพิ่มมากขึ้น
2. ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่มีอยู่ในท้องตลาดมีความแตกต่างกันน้อยลงทั้งคุณภาพ และราคา
3. ลูกค้าขาดความเชื่อมั่นต่อตัวสินค้าหรือบริษัท
4. มีจำนวนคู่แข่งเพิ่มมากขึ้น
5. เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างมาก
ดังนั้น นักธุรกิจหรือผู้บริหารควรเปลี่ยนแปลงแนวความคิดในการนำเสนอต่อลูกค้า ให้มีลักษณะเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบของการสร้างความเชื่อมั่น เพื่อให้ลูกค้ามีความไว้วางใจต่อตัวสินค้าและตัวบริษัท ตลอดจนการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้า
นอกจากนี้ Professor Dipak C. Jain มองว่าธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจการเงิน และการบริการประเภทหนึ่ง คุณภาพของสินค้าและผลิตภัณฑ์ประกันภัยจึงกำหนดโดยลูกค้า ดังนั้นธุรกิจประกันภัยจะต้องพัฒนาการให้บริการโดยการสร้างมูลค่าให้มีระดับสูงกว่าความคาดหวังของลูกค้า ซึ่งสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า คือการพัฒนาบุคคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และความเชี่ยวชาญในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรอีกด้วย
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า การจัดบรรยายในเรื่องดังกล่าว เป็นแนวความคิดใหม่ที่ธุรกิจประกันภัย ควรเห็นความสำคัญของลูกค้าว่าต้องการอะไร ธุรกิจมีการตอบสนองความต้องการ สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าได้อย่างไร ซึ่งนอกจากผู้บริหารภาคธุรกิจประกันภัยจะได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวความคิดใหม่ในด้านการให้บริการแล้ว ยังได้รับมุมมองและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถนำไปปรับปรุงและประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจประกันภัยเพื่อเพิ่มศักยภาพ การให้บริการ สร้างความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชนต่ออุตสาหกรรมประกันภัยในอนาคตอีกด้วย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยนายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดย นายขวัญชัย วงศ์นิติกร อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมความรู้และสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยสำหรับประชาชน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ชนบทได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัย ตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าและคุณประโยชน์ของการสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน โดยใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง
เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า ความร่วมมือดังกล่าวเป็นการบูรณาการ การส่งเสริมความรู้ และสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย ผ่านกรมการพัฒนาชุมชน สู่ผู้นำชุมชน องค์การชุมชน และเครือข่ายองค์การชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็น ตระหนัก และเห็นความสำคัญของระบบประกันภัย ในการสร้างหลักประกันความมั่นคงให้กับชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและครอบครัว รวมถึงเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับภัยด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในการดำเนินชีวิตประจำวันอีกด้วย นอกจากนี้ ภายในงานได้จัดให้มีการแสดงสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จากร้านค้า 40 ร้าน จากทั่วประเทศ ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้เชิญผู้แทนจากภาคธุรกิจประกันภัย เข้าร่วมชมผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน OTOP เพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดทำของที่ระลึกของบริษัทประกันภัย ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของอุตสาหกรรมประกันภัย และเป็นการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป