วางแผนเกษียณ ที่ปรึกษาวางแผนสุขภาพและการเงิน ออมเงินระยะสั้นดอกเบี้ยสูง ออมเงินระยะยาว วางแผนเกษียณ ตะกาฟุล ตะกาฟุลเมืองไทย ประกันสุขภาพเหมาจ่าย
ก.ล.ต. ประกาศเกณฑ์การให้เงินสินบนและเงินรางวัลมีผลใช้บังคับ 16 เม.ย. 2558
วันพุธที่ 8 เมษายน 2558 | ฉบับที่ 43 / 2558
คณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสินบนให้แก่ผู้แจ้งข้อมูลการกระทำผิดและผู้นำจับ และการจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้จับ กรณีที่มีการลงโทษปรับผู้กระทำความผิดฐานซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายในและฐานสร้างราคาหลักทรัพย์ตามมาตรา 241 และมาตรา 243 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ไม่เกิน 30% ของจำนวนเงินค่าปรับที่ผู้กระทำผิดชำระต่อศาลหรือชำระตามคำสั่งคณะกรรมการเปรียบเทียบ
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า หลักเกณฑ์การจ่ายเงินสินบนให้แก่ผู้แจ้งข้อมูลการกระทำผิดและผู้นำจับ และการจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้จับจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย และกระตุ้นให้ผู้ลงทุนช่วยกันดูแลและสนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่กระทำเอาเปรียบผู้อื่นในตลาดทุน โดยสาระสำคัญของหลักเกณฑ์ดังกล่าว อาทิ วิธีการแจ้งข้อมูลและการขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัล หลักเกณฑ์ในการพิจารณาผู้มีสิทธิขอรับเงินสินบน ขั้นตอนและวิธีการในการดำเนินการเพื่อให้มีการสั่งจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล สัดส่วนของเงินสินบนและเงินรางวัล และหลักเกณฑ์ในการรับเงินสินบนและเงินรางวัล โดยให้แจ้งข้อมูลการกระทำผิดและข้อมูลนำจับและความประสงค์ขอรับเงินสินบนต่อ ก.ล.ต. หรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ และแจ้งความประสงค์ขอรับเงินรางวัลที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ
ก.ล.ต. คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้แจ้งข้อมูลการกระทำผิดและผู้นำจับ จึงมีข้อกำหนดการปกปิดตัวตนของผู้แจ้งข้อมูลการกระทำผิดและผู้นำจับที่ไม่ต้องการเปิดเผยตัว อย่างไรก็ตาม การให้ข้อมูลต้องตรงตามความจริง หากแจ้งข้อมูลเท็จต่อ ก.ล.ต. หรือกรมสอบสวนคดีพิเศษถือเป็นความผิดและมีโทษทางอาญา
ก.ล.ต. แจ้ง TIES แก้ไขงบการเงินงวด ปี 2557
วันพุธที่ 8 เมษายน 2558 | ฉบับที่ 44 / 2558
ก.ล.ต. แจ้งให้บริษัท ไทยบริการอุตสาหกรรมและวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) (“TIES”) แก้ไขงบการเงินงวดปี 2557 และให้นำส่งงบการเงินฉบับแก้ไขที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีแล้วต่อ ก.ล.ต. พร้อมทั้งเปิดเผยงบการเงินดังกล่าวต่อสาธารณชนภายในวันที่ 8 พฤษภาคม 2558
ก.ล.ต. พบว่าผู้สอบบัญชีของ TIES เสนอรายงานการตรวจสอบงบการเงินงวดปี 2557 โดยแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข เกี่ยวกับการจัดทำรายงานต้นทุนการก่อสร้างตามสัญญาก่อสร้างไม่สอดคล้องกับนโยบายบัญชี และการไม่ปฏิบัติตามระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับรายงานต้นทุนการก่อสร้างให้ครบถ้วน ซึ่งอาจกระทบต่อความถูกต้องของงบการเงิน นอกจากนี้ TIES ไม่ได้เปรียบเทียบราคาซื้อและขายสินค้ากับราคาตลาดสำหรับรายการที่ทำกับบริษัทที่เกี่ยวโยงกัน รวมทั้งไม่ได้อธิบายความเหมาะสมของผลต่างของราคาดังกล่าว
ก.ล.ต. จึงแจ้งให้ TIES แก้ไขงบการเงินตามประเด็นข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี และให้ถูกต้องตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนด รวมทั้งนำส่งงบการเงินฉบับแก้ไขที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีแล้วต่อ ก.ล.ต. พร้อมทั้งเปิดเผยต่อสาธารณชนภายในวันที่ 8 พฤษภาคม 2558
ก.ล.ต. ประกาศใช้เกณฑ์อนุญาตให้บริษัทต่างประเทศเสนอขายหุ้นต่อประชาชน
วันพุธที่ 8 เมษายน 2558 | ฉบับที่ 45 / 2558
ก.ล.ต. ประกาศหลักเกณฑ์อนุญาตให้บริษัทต่างประเทศออกและเสนอขายหุ้นต่อประชาชนในประเทศไทย (primary listing)
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ขณะนี้ ก.ล.ต. ประกาศหลักเกณฑ์ primary listing โดยการกำกับดูแลบริษัทต่างประเทศ จะใช้มาตรฐานเดียวกับกรณีบริษัทไทยที่ระดมทุนในประเทศ แต่จะมีข้อกำหนดเพิ่มเติมในประเด็นสำคัญ อาทิ
– การเสนอขายหุ้นต่อประชาชนในวงกว้างต้องนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย
– การเปรียบเทียบกฎหมายพื้นฐานในส่วนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ถือหุ้น (regulatory mapping) ทั้งนี้ ในกรณีที่กฎหมายต่างประเทศข้างต้นไม่เข้มงวดเท่ากฎหมายไทยในเรื่องใด ๆ จะต้องจัดให้มีกลไกคุ้มครองผู้ถือหุ้นในเรื่องนั้น ๆ ให้เทียบเคียงได้กับกฎหมายไทยด้วย
– การให้ความช่วยเหลือด้านการตรวจสอบและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายหลักทรัพย์ (enforcement) จากหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนต่างประเทศ
– การมีกรรมการสัญชาติไทยและมีถิ่นที่อยู่ในไทยอย่างน้อย 2 คน โดยอย่างน้อย 1 คน ต้องทำหน้าที่เป็นกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ
– การจัดทำงบการเงินซึ่งอนุญาตให้ทำตามมาตรฐานการบัญชีไทยหรือสากลตามที่กำหนดได้
– การมีที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. ดูแลและให้คำแนะนำเป็นเวลา 3 ปี
– การเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้น (แบบ filing) เช่น สิทธิและความคุ้มครองผู้ลงทุน ข้อจำกัดและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เช่น การฟ้องร้องดำเนินคดีทางกฎหมาย ข้อจำกัดเกี่ยวกับการส่งเงินออกนอกประเทศ
สำหรับกรณีบริษัทต่างประเทศที่มาเสนอขายหุ้นต่อประชาชนผ่านการจัดตั้ง holding company ในประเทศไทยโดยลักษณะเสมือนบริษัทต่างประเทศจะมาเสนอขายหุ้นต่อประชาชนในไทยทางอ้อมผ่าน holding company ก็จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ primary listing นี้เช่นกัน อย่างไรก็ดี หากเป็นกรณี holding company ที่จัดตั้งในไทยและเป็นบริษัทของคนไทย แต่ไปลงทุนในบริษัทย่อยที่เป็นธุรกิจหลักซึ่งจัดตั้งในต่างประเทศ จะนำหลักเกณฑ์ข้างต้นมาใช้บางส่วน เช่น การทำ regulatory mapping เป็นต้น
?การเปิดให้มีหุ้นของบริษัทต่างประเทศจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นการสนับสนุนการเชื่อมโยงตลาดทุนไทยกับภูมิภาคและตลาดโลก ส่งผลให้ทั้งผู้ระดมทุนและผู้ลงทุนมีทางเลือกมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะทำให้ตลาดทุนไทยเติบโต มีขนาดใหญ่และน่าสนใจยิ่งขึ้นแล้ว ยังส่งเสริมการระดมทุนของคนไทยที่ทำธุรกิจอยู่ในต่างประเทศ และกิจการจากประเทศที่ต้องการเงินทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้สามารถเติบโตไปด้วยกันได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย? นายวรพล กล่าว
ผลงาน ก.ล.ต. 4 ปี บรรลุเป้าหมายการยกระดับตลาดทุนสู่สากล ทุกภาคส่วนเศรษฐกิจไทยได้ใช้ประโยชน์
วันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2558 | ฉบับที่ 46 / 2558
ก.ล.ต. เผยผลงานการพัฒนาและกำกับดูแลตลาดทุนตลอดระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 – 2558 บรรลุเป้าหมาย การยกระดับตลาดทุนไทยสู่สากลในทุกด้าน เพิ่มความน่าเชื่อถือด้วยมาตรการกำกับดูแลและป้องปรามที่ทันสมัย ส่งเสริมให้ทุกภาคเศรษฐกิจใช้ประโยชน์จากตลาดทุน โดยเป็นแหล่งระดมทุนสำหรับกิจการทุกขนาด และเป็นทางเลือกสำคัญในการลงทุนของภูมิภาค
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานของ ก.ล.ต. ร่วม 4 ปี นับตั้งแต่ ตุลาคม 2554 ? เมษายน 2558 ก.ล.ต. ขับเคลื่อนตลาดทุนไทยโดยมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อรองรับแนวโน้มและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สร้างความเชื่อมั่นและความยั่งยืน สร้างโอกาสให้กิจการและประชาชนเข้าถึงตลอดจนใช้ประโยชน์จากตลาดทุน รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ ดึงดูดเงินลงทุนจากผู้ลงทุนทั่วโลก
นายวรพลกล่าวว่า การดำเนินงานของ ก.ล.ต. ที่ผ่านมา มุ่งสร้างโอกาสในการเข้าถึงการระดมทุนสำหรับกิจการทุกระดับทั้งขนาดใหญ่ขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือ SMEs ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั่วประเทศผ่านโครงการ ?หุ้นใหม่ความภูมิใจของจังหวัด? เกิดหุ้นใหม่เข้าจดทะเบียนในตลาดทุนไปแล้วกว่า 30 บริษัท และโครงการส่งเสริมการระดมทุนผ่านโครงการ ?หุ้นนวัตกรรมและสร้างสรรค์ ความภูมิใจของไทย? เพิ่มโอกาสต่อยอดขยายกิจการสำหรับธุรกิจที่มีเทคโนโลยีนวัตกรรม รวมทั้งได้เพิ่มช่องทางใหม่ในการระดมทุนด้วยรูปแบบการเสนอขายหุ้นด้วยวิธี crowdfunding ที่เป็นกระแสการระดมทุนใหม่ของทั่วโลก ตลอดจนเพิ่มช่องทางการระดมทุนของกิจการขนาดกลางและเล็กผ่าน Private Equity Trust อีกด้วย นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังส่งเสริมให้กิจการมีทางเลือกการระดมทุนด้วยเครื่องมืออื่น ๆ เช่น การระดมทุนโดยการออกตราสารหนี้ ผ่านโครงการ ?หุ้นกู้น้องใหม่ ก้าวแรกที่ก้าวไกล? มุ่งให้บริษัทใช้ตราสารหนี้บริหารต้นทุนการเงินของกิจการ
ที่สำคัญ ก.ล.ต. ได้สร้างกลไกสนับสนุนการระดมทุนของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อประโยชน์ของประเทศ ลดภาระงบประมาณและการเป็นหนี้สาธารณะ เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน ท่าอากาศยาน สนามบิน และล่าสุดได้เพิ่มเติมให้รวมถึง ระบบขนส่งทางท่อ ระบบจัดการของเสีย โครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT และโครงการที่มีกิจการโครงสร้างพื้นฐานหลายประเภทมารวมกันด้วย
จากแผนกลยุทธ์ที่ ก.ล.ต. ต้องการให้ตลาดทุนไทยเป็นจุดเชื่อมที่สำคัญของประเทศกลุ่ม GMS (GMS Connector) ได้สร้างความสัมพันธ์และช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านให้เติบโตไปด้วยกัน มีการลงนามเพื่อพัฒนาตลาดทุนระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของ ลาว กัมพูชา เวียดนาม การเป็นเจ้าภาพการประชุม Mekong Capital Market Cooperation (MCMC) ขณะที่ในระดับอาเซียนมีความร่วมมือที่ชัดเจน จนนำไปสู่การมีมาตรฐานกลางของอาเซียนในการเปิดเผยข้อมูล ASEAN Disclosure Standards) และการเสนอขายกองทุนรวมข้ามกัน (ASEAN Collective Investment Scheme Framework) การเข้าร่วมประเมินมาตรฐานธรรมาภิบาล (CG) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพบริษัทข้ามตลาด และในระดับตลาดทุนของโลก ก.ล.ต. ได้สร้างช่องทางให้ตัวกลางไทยนำสินค้าไปขายในตลาดสำคัญ ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี รวมถึงการลงนามความร่วมมือเพื่อให้กองทุนรวมไทยไปขายในยุโรปได้
นายวรพลกล่าวว่า ในส่วนของการออกหลักเกณฑ์สนับสนุนการขับเคลื่อนตลาดทุนไทยสู่การเป็นศูนย์เชื่อมโยงการระดมทุนในภูมิภาค ก.ล.ต. ได้ดำเนินการดังนี้
(1) สนับสนุนการระดมทุนของกิจการต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกลุ่ม GMS ได้แก่ เกณฑ์รองรับบริษัทต่างประเทศที่มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นแห่งแรก (primary listing) และเกณฑ์รองรับบริษัทต่างประเทศที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อื่นอยู่แล้ว และมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเพิ่มเติม (secondary listing)
(2) สร้างกลไกการระดมทุนในไทย เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศ รวมทั้งประเทศกลุ่ม GMS ผ่านทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure trust)
(3) วางกติกาสนับสนุนการสร้างสินทรัพย์ลงทุนในประเทศกลุ่ม วางแผนเกษียณ GMS (GMS asset class) ผ่านกองทุนรวมไทยที่ลงทุนในประเทศกลุ่ม (GMS) ได้ถึง 100% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน แต่จะต้องกระจายการลงทุน ซึ่งยังเป็นการสร้างโอกาสการแข่งขันของอุตสาหกรรมกองทุนรวมไทยด้วย
(4) สร้างกลไกอำนวยความสะดวกเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ผ่าน DR หรือ Depositary Receipt ซึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ การลงทุนผ่าน DR เปิดให้ไปลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ในประเทศกลุ่ม GMS ด้วย
สำหรับความพยายามในการพัฒนากฎเกณฑ์และยกระดับการดำเนินธุรกิจ ผ่านเวทีแลกเปลี่ยนระหว่าง ก.ล.ต. และผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนในโครงการ CEO Forum ส่งเสริมให้มีความสนใจเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผลักดันให้เข้าร่วมแสดงเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตในโครงการแนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action Coalition) ของภาคเอกชนไทย นำไปสู่ความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมในด้านธรรมาภิบาล (CG) โดยได้รับการประเมิน CG ROSC สูงถึง 82.83 จาก 100 คะแนน ขณะที่การประเมิน CG Watch ได้รับคะแนนสูงเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย รวมทั้งได้รับการประเมิน ASEAN CG Scorecard 2556/2557 สูงที่สุดจากทั้งหมด 6 ประเทศใน ASEAN ที่เข้ารับการประเมิน
เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ
เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)
ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว
คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
วันอังคารที่ 26 สิงหาคม 2557 | ฉบับที่ 121 / 2557
ก.ล.ต. ส่งเสริมธนาคารพาณิชย์และบริษัทลูกมีส่วนร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดทุน ด้วยการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้ออกหลักทรัพย์ ตัวแทนขาย และผู้ลงทุน เพื่อมีบทบาทในการเชื่อมโยงตลาดทุนไทยกับตลาดทุนโลกและยกระดับการพัฒนาตลาดทุนไทยยิ่งขึ้น
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์ไทยและธนาคารต่างประเทศ ประจำครึ่งหลังของปี 2557 ว่า ก.ล.ต. ได้ชี้แจงให้สมาคมทราบถึงความคืบหน้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ได้แก่ การเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศเพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นแห่งแรก (primary listing) การเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ เพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (secondary listing) การเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (DR) และการจัดตั้งทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน (PE trust) เพื่อลงทุนในกิจการเป้าหมาย รวมถึงการเสนอขายหน่วยลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN CIS) เพื่อเป็นข้อมูลให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทลูกแสวงหาโอกาสทางธุรกิจและขยายฐานลูกค้าให้กว้างและหลากหลายยิ่งขึ้น เช่น ธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินรองรับการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งรูปแบบ primary listing และ secondary listing หรือธุรกิจการเป็นผู้ออก DR
นอกจากนี้ เนื่องจากธนาคารและบริษัทลูกมีศักยภาพที่จะเป็นตัวแทนขาย ASEAN CIS ซึ่งจะเริ่มขายได้ตั้งแต่ 15 สิงหาคม 2557 ก.ล.ต. ประสานไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้ธนาคารที่มีใบอนุญาตขายหน่วยลงทุน เป็นตัวแทนขาย ASEAN CIS ของต่างประเทศได้ เพื่อให้ผู้ลงทุนมีโอกาสเข้าถึงหน่วยลงทุนต่างประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้น
?การเชื่อมโยงตลาดการเงินทั่วโลกได้ก่อให้เกิดความท้าทายสำคัญสำหรับภาคธุรกิจที่จะแสวงหาพันธมิตรและแหล่งรายได้ใหม่ ๆ โดย ก.ล.ต. ได้อนุญาตให้ออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงตลาดทุนไทยกับตลาดโลก จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธนาคารที่จะแสวงหาโอกาสจากตลาดทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะสนับสนุนให้ตลาดการเงินของประเทศแข็งแกร่งยิ่งขึ้น? นายวรพล กล่าว
ก.ล.ต. ชวนธนาคารพาณิชย์ทำ CSR in process และร่วมต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันอย่างจริงจัง
วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2557 | ฉบับที่ 122 / 2557
ก.ล.ต. สนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงร่วมต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน โดยขอให้เข้าร่วมโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) และได้รับการรับรองครบทุกแห่งภายในปี 2558
นายชาลี จันทนยิ่งยง รองเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยประสบกับปัญหาสำคัญหลายประการ เช่น หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ประชาชนออมเงินในระดับต่ำและไม่วางแผนการเงินเพื่อการเกษียณอายุ ในขณะที่ประเทศกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ หากธนาคารซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญร่วมกันชูประเด็นปัญหาสำคัญของประเทศข้างต้น โดยไม่มุ่งเน้นการแข่งขันไปในทางกระตุ้นการใช้จ่าย ก็จะสร้างนิสัยการออมผูกพันในระยะยาว ทั้งนี้ เพื่อทำ CSR in process ร่วมกันทั้งอุตสาหกรรมก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยอาจต่อยอดจากโครงการของ ก.ล.ต. ในการเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านการบริหารจัดการเงินแก่ประชาชน เช่น โครงการความรู้การเงินในที่ทำงาน และโครงการสานฝันเริ่มด้วยพันบาท เป็นต้น
พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ขอให้ธนาคารร่วมกันอย่างจริงจังที่จะเป็นผู้นำในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เริ่มจากการสร้างระบบคุ้มกันให้ตนเอง จนได้ใบรับรองจากโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition: CAC) ครบทุกแห่งภายในปี 2558 ทั้งนี้ หากธนาคาร รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนได้ใบรับรองทั้งระบบ ก็จะเป็นการส่งสัญญาณที่หนักแน่นไปยังทุกภาคส่วนว่าการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญ ส่งผลให้กิจการที่ไม่สนใจดำเนินการเรื่องนี้จริงจัง จะทำธุรกิจได้ลำบากในอนาคต
ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นการแก้ไขกฎหมายหลักทรัพย์เพื่อรองรับการจัดตั้งองค์กร SRO และองค์กรผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน