วางแผนเกษียณ เมืองไทยประกันชีวิต ประกันบำนาญ ประกันออนไลน์ สมัครประกันออนไลน์ ประกันชีวิต สมัครประกันชีวิต สมัครประกันชีวิตออนไลน์ ประกันชีวิตออนไลน์
ไขข้อสงสัย ว่าด้วยเรื่องของหัวใจ
เพราะหัวใจน่ะสำคัญ ไม่ว่าอาการเล็กแค่ไหนก็ขอแน่อุ่นใจไว้ก่อน มาไขข้อสงสัย กับหลากหลายอาการ ที่ทำให้ไม่แน่ใจว่าเป็นโรคหัวใจหรือยังนะ พร้อมวิธีดูแลแต่ละอาการแบบง๊าย…ง่าย
ใครเหนื่อยง่ายบ่อย ก็ไม่ได้แปลว่าต้องเป็นโรคหัวใจอย่างเดียวนะ ลองเช็กอาการตัวเองง่ายๆ กันก่อน
ช่วงนี้เครียดบ่อยๆหรือเปล่า
พักผ่อนเพียงพอหรือเปล่า
ไดเอทหนักมากไปหรือเปล่าวิธีดูแลง่ายๆ
ทำสมาธิ หรือทำกิจกรรมที่ชอบให้หายเครียด
เข้านอนเร็วขึ้น และเป็นเวลาเดิมทุกวัน จะได้หลับได้เพียงพอ
กินในปริมาณที่เหมาะ หรือทำ IF แบบค่อยเป็นค่อยไป
แต่ถ้าอยากอุ่นใจแนะนำให้เพิ่มความอุ่นใจทำประกันโรคร้ายแรงไว้ก่อน เพราะคุ้มครองตั้งแต่ระยะเริ่มต้น กับ 3 กลุ่มโรคร้ายแรงที่พบบ่อยอย่าง โรคมะเร็ง กลุ่มโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาทสมอง
เจ็บอกข้างซ้ายเป็นเรื่องชิลๆ ก่อนจะสงสัยเป็นโรคหัวใจหรือยังนะ ลองเช็กนี่ก่อน
– ออกกำลังกายหนักมั้ยช่วงนี้
– เผลออกกระแทกกับอะไรมาบ้างหรือเปล่า
– หัวใจเต้นผิดปกติร่วมด้วยหรือเปล่า
วิธีดูแลง่ายๆ
– พักออกกำลังหรือยกของหนักสักพัก
– ระมัดระวังการชน หรือใช้กล้ามเนื้ออกในช่วงนี้
– พบหมอ เช็กให้มั่นใจหน่อยดีกว่า
แต่ถ้าอยากอุ่นใจแนะนำให้เพิ่มความอุ่นใจทำประกันโรคร้ายแรง ไว้ก่อน เพราะคุ้มครองตั้งแต่ระยะเริ่มต้น กับ 3 กลุ่มโรคร้ายแรงที่พบบ่อยอย่าง โรคมะเร็ง กลุ่มโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาทสมอง
เป็นคนอิสระจะนอนท่าไหนก็ย่อมได้ แต่เอ๊ะทำไมเดี๋ยวนี้นอนหงายแล้วอึดอัดเฉยเลย มาลองเช็กตัวเองง่ายๆกันก่อน- มีครรภ์ หรือน้ำหนักเกินอยู่หรือเปล่า
– เป็นหวัด หายใจไม่สะดวกอยู่มั้ย
– หายใจลำบากและเป็นเฉพาะท่านอนหงายอย่างเดียวหรือเปล่า
วิธีดูแลง่ายๆ
– เปลี่ยนมานอนตะแคง แล้วเอาหมอนหนุนใต้เข่าและขา
– ทานยา ดื่มน้ำเยอะๆ พักผ่อนให้มากๆ
– พบหมอเช็กให้มั่นใจหน่อยดีกว่า
เพราะหัวใจเป็นเรื่องสำคัญ มาเพิ่มความอุ่นใจทำประกันโรคร้ายแรงไว้ก่อน เพราะคุ้มครองตั้งแต่ระยะเริ่มต้น กับ 3 กลุ่มโรคร้ายแรงที่พบบ่อยอย่าง โรคมะเร็ง กลุ่มโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาทสมอง
ไม่ได้นึกถึงใครจริงๆ วางแผนเกษียณ แค่นอนหลับไม่สนิทเฉยๆ แต่อาการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับยาก เช็กตัวเองง่ายๆกันก่อน
– มีเรื่องดีใจ หรือกังวลใจ อยู่หรือเปล่า
– งานไม่เสร็จ หรือติดหนึบซีรีย์จนเลยเวลานอนหรือเปล่า
– เข้านอนไม่เป็นเวลา เดี๋ยวเร็ว เดี๋ยวช้า
วิธีดูแลง่ายๆ
– ทำสมาธิก่อนนอน และปล่อยวาง
– จัดลำดับความสำคัญ อะไรที่รอได้ จดบันทึกแล้วค่อยจัดการพรุ่งนี้
– นอนให้เป็นเวลา ใครนอนยากควรเข้านอนให้เร็วกกว่าเวลานอนปกติ
ดูแลตัวเองด้วยนะ เมื่อมีอาการรู้สึกวูบๆ หน้ามืดไม่รู้ตัว เช็กตัวเองง่ายๆกันก่อน
– อดนอน หรือนอนไม่พอมาหลายวันหรือเปล่า
– อดอาหาร ไดเอทมากเกินพิกัดหรือเปล่า
– ออกกำลังกายหนักเกินไปหรือเปล่า
วิธีดูแลง่ายๆ
– นอนให้เพียงพอ ร่างกายก็ต้องการชาร์ตพลัง
– เปลี่ยนเป็นการกินให้พอเหมาะ และเลือกกินให้ถูกตามโภชนาการได้ผลดีกว่าอดอาหารแน่นอน
– ออกกำลังน่ะดี แต่วันพักก็สำคัญนะ
*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
คปภ. แนะประชาชนซื้อประกันชีวิตเพื่อการออมและคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยเกษียณพร้อมรับสิทธิลดหย่อนภาษี
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิตมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้เอาประกันภัย ทั้งผลิตภัณฑ์ออมทรัพย์ระยะสั้น 3-5 ปี ที่ให้ผลตอบแทนดีเมื่อเทียบกับเงินฝากระยะกลาง และผลิตภัณฑ์ระยะยาวทั้งแบบตลอดชีพ ที่ปรับให้มีความหลากหลายขึ้น และแบบบำนาญ ที่มาพร้อมกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการประกันภัยได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ในส่วนของความคุ้มครองที่ขายควบคู่กับกรมธรรม์ประกันชีวิตก็ให้ความคุ้มครองที่หลากหลาย และเป็นประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัยยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ที่มีการขยายความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยถึงอายุ 80 ปี และความคุ้มครองโรคร้ายแรง ซึ่งมีการขยายความคุ้มครองเป็นตลอดชีพ
สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย มีความห่วงใย จึงอยากแนะให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการประกันชีวิต ที่นอกจากจะเป็นเครื่องมือในการออมเงินอย่างมีวินัยแล้ว ยังถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนระยะยาว ซึ่งการประกันชีวิตถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและน่าสนใจที่มาพร้อมกับสิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษี โดยเบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถนำหลักฐานการชำระเบี้ยประกันภัยไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าเบี้ยประกันชีวิต 300,000 บาทตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร ได้ดังนี้
1. เบี้ยประกันชีวิตสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิต สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุดถึง 100,000 บาท
2. เบี้ยประกันชีวิตสำหรับกรมธรรม์แบบบำนาญสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่าเพื่อประโยชน์สูงสุดจากการทำประกันภัย ก่อนตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต ประชาชนควรศึกษาเงื่อนไขความคุ้มครอง ความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย และรายละเอียดของข้อยกเว้นให้เข้าใจเสียก่อน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและตรงกับความต้องการได้มากที่สุด ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186
คปภ. เพิ่มศักยภาพกระบวนการระงับข้อพิพาท
ด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ เพื่อลดข้อพิพาทด้านการประกันภัย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จัดสัมมนาเรื่อง “การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับกระบวนการระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัยด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ สำนักงาน คปภ. สำหรับผู้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนคู่พิพาท” เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ กฎ ระเบียบ เกี่ยวกับกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีประนอมข้อพิพาทและวิธีอนุญาโตตุลาการ โดยมีนายวิวัฒน์ เกิดไพบูลย์ รองเลขาธิการ ด้านกฎหมาย คดี และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงาน คปภ. เป็นประธานเปิดการสัมมนา และมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการระงับข้อพิพาททางเลือก ให้เกียรติเป็นผู้บรรยาย
นายวิวัฒน์ เกิดไพบูลย์ รองเลขาธิการ ด้านกฎหมาย คดี และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงาน คปภ. เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย รวมถึงคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัย ได้จัดให้มีกระบวนการระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัยด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ ตั้งแต่ปี 2541 และได้ปรับปรุงพัฒนาระบบการระงับข้อพิพาทมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนผู้เอาประกันภัยที่มีปัญหาข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของการเกิดภัย จำนวนความเสียหาย หรือเงื่อนไขความคุ้มครองต่างๆ ของกรมธรรม์ประกันภัย และไม่อาจตกลงกับบริษัทประกันภัยได้ ได้ใช้สิทธิตามกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ ของสำนักงาน คปภ. ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนี้ ประชาชนผู้มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัย กับบริษัทประกันภัยที่เป็นคู่พิพาท ต่างมีสิทธิแต่งตั้งผู้แทนเพื่อช่วยเหลือในการดำเนินงานต่างๆ เช่น การยื่นคำเสนอข้อพิพาท การยื่นคำคัดค้าน การตั้งอนุญาโตตุลาการ และการนำสืบพยานหลักฐานทั้งเอกสารและพยานบุคคลเป็นต้น ทั้งนี้ ผู้แทนของคู่พิพาทมีบทบาทสำคัญในการรักษาสิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยของฝ่ายตนโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงมีความจำเป็นที่ผู้แทนคู่พิพาท ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ กฎ ระเบียบเกี่ยวกับกระบวนการระงับข้อพิพาท รวมทั้งต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต และมีจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้กระบวนการระงับข้อพิพาทดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยให้กับคู่พิพาทอย่างถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรม
รองเลขาธิการ สำนักงาน คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดสัมมนาโครงการดังกล่าว ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่ง โดยมีประชาชนผู้สนใจ พนักงานบริษัทประกันชีวิต / บริษัทประกันวินาศภัย และผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ เข้าร่วมการสัมมนากว่า 150 คน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้แทนคู่พิพาทปฏิบัติหน้าที่ตามกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นการสร้างความเชื่อมั่น เชื่อถือ ศรัทธาในธุรกิจประกันภัยอีกทางหนึ่งด้วย
คปภ. เผยยอดผู้สอบตัวแทน/นายหน้าประกันภัย ไตรมาส 3/2555 โตร้อยละ 13.78
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยสถิติการสอบตัวแทน/นายหน้าประกันภัย ในไตรมาส 3 ของปี 2555 มีจำนวนผู้สมัครสอบตัวแทนและนายหน้าประกันภัยทั้งสิ้น 73,834 ราย เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 13.78 ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะธุรกิจประกันภัยที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
นายสรศักดิ์ ทันตสุววรณ รองเลขาธิการ คปภ. ด้านตรวจสอบ กล่าวว่า จากการวิเคราะห์สถิติผู้สมัครสอบตามประเภทแบ่งเป็น ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็น ตัวแทนประกันชีวิต 53,573 ราย คิดเป็นร้อยละ 72.56 ของผู้สมัครสอบทั้งหมด โดยมีผู้สอบผ่านทั้งสิ้นร้อยละ 71.86 ของผู้เข้าสอบทั้งหมด รองลงมาคือ นายหน้าประกันวินาศภัย (บุคคลธรรมดา) 9,763 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.22 ของผู้สมัครสอบทั้งหมด โดยมีอัตราการสอบผ่านทั้งสิ้นร้อยละ 40.92 ของผู้เข้าสอบทั้งหมด นายหน้าประกันชีวิต (บุคคลธรรมดา) 6,494 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.80 ของผู้สมัครสอบทั้งหมด สอบผ่านทั้งสิ้นร้อยละ 52.79 ของผู้เข้าสอบทั้งหมด และ ตัวแทนประกันวินาศภัย 4,004 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.42 ของผู้สมัครสอบทั้งหมด สอบผ่านร้อยละ 63.28 ของผู้เข้าสอบทั้งหมด
สำหรับการสมัครสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันภัยนั้น บริษัทประกันชีวิตที่ส่งผู้สมัครสอบมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด สาขาประเทศไทย บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด โดยจังหวัดที่มีสถิติการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตสูงสุด 3 อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดขอนแก่น ในส่วนของบริษัทประกันวินาศภัยที่ส่งผู้สมัครสอบมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอซ ไอเอ็นเอ โอเวอร์ซีส์ อินชัวรันซ์ จำกัด ทั้งนี้ จังหวัดที่มีสถิติการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
สำหรับการสมัครสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันภัย (บุคคลธรรมดา) มีจำนวนทั้งสิ้น 16,257 ราย โดยเป็นพนักงานของธนาคาร จำนวน 5,018 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 30.87 ของจำนวนผู้สมัครสอบนายหน้าประกันภัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันภัยผ่านธนาคาร (Bancassurance) กำลังได้รับความนิยมจากประชาชนในวงกว้าง ทั้งนี้ ธนาคารที่ส่งพนักงานเข้ารับการสอบมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
รองเลขาธิการ กล่าวเสริมว่า ประชาชนควรเลือกซื้อประกันภัยผ่านตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนเท่านั้น และการจ่ายเบี้ยประกันภัยต้องขอเอกสารแสดงการรับเงินทุกครั้งเพื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ สำหรับประชาชนที่สนใจเข้าสู่อาชีพการเป็นตัวแทนประกันภัยสามารถสมัครสอบได้ที่สมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัย ส่วนนายหน้าประกันภัยสามารถสมัครสอบได้ที่สำนักงาน คปภ. ส่วนกลาง และสำนักงาน คปภ. จังหวัดทั่วประเทศ หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186
คปภ. เผยรายงานช่องทางการขายประกันชีวิตยอดนิยม 7 เดือนแรก ปี 2555
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่าตัวเลขการรับประกันชีวิตจำแนกตามช่องทางการจำหน่าย ในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2555มีการขายกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านช่องทางต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 3,265,399กรมธรรม์ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.94 มีเบี้ยประกันชีวิตรับรวมทั้งสิ้น 213,826 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 18.40 ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลจากประชาชนมีความตื่นตัวต่อความเสี่ยงต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านภัยธรรมชาติ จึงทำให้ตระหนักถึงความสำคัญในการทำประกันชีวิตมากขึ้น
ทั้งนี้ ช่องทางการขายประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมสูงสุดยังคงเป็นการขายผ่าน“ตัวแทน” โดยมีจำนวนกรมธรรม์ 2,517,729 กรมธรรม์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77.10ของกรมธรรม์รวมทุกช่องทาง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.55เป็นเบี้ยประกันชีวิตจำนวน 122,162 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 57.13 ของเบี้ยประกันชีวิตรับรวมทุกช่องทาง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.13 รองลงมาได้แก่การขายผ่าน “ธนาคาร” (Bancassurance) มีจำนวน 504,903 กรมธรรม์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.46 ของกรมธรรม์รวมทุกช่องทาง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 34.29 โดยมีเบี้ยประกันชีวิตทั้งสิ้น 77,027 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.02 ของเบี้ยประกันชีวิตรับรวมทุกช่องทาง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 34.16 ถือเป็นช่องทางการขายประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามมาด้วยการขายผ่านทาง“โทรศัพท์”มีจำนวน 192,392 กรมธรรม์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.89 ของกรมธรรม์รวมทุกช่องทาง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.36 มีเบี้ยประกันภัยชีวิตจำนวน 6,449ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.23 ส่วนการขายผ่าน“ช่องทางอื่นๆ” เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต และร้านสะดวกซื้อ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 36,876กรมธรรม์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.13 ของกรมธรรม์รวมทุกช่องทาง มีเบี้ยประกันชีวิตรวมทั้งสิ้น 3,176 ล้านบาท
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่าประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวของเบี้ยประกันภัยมากที่สุด คือ แบบตลอดชีพ และ แบบบำนาญ โดยมีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 40.59 และ 41.76 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความเชื่อมั่นในการออมเงินผ่านการประกันชีวิตมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อพิจารณาเบี้ยประกันชีวิตปีแรก ปีต่อไป และจ่ายครั้งเดียว จะเห็นได้ว่าปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการจำหน่ายประกันชีวิตที่ประชาชนให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2555 เบี้ยประกันชีวิตจ่ายครั้งเดียวขายผ่านธนาคารมีจำนวนถึง 17,640 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 78.59 ของเบี้ยประกันชีวิตจ่ายครั้งเดียวรวมทุกช่องทาง ขยายตัวร้อยละ 41.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ก่อนตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต ประชาชนควรศึกษาเงื่อนไขความคุ้มครอง รายละเอียด และข้อยกเว้นให้เข้าใจเสียก่อน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคลมากที่สุด
>> เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
>> เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ
>> เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)
ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว
คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย