สมัครตัวแทนขายประกัน เมืองไทยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ รับสมัครตัวแทน รับสมัครทีมงาน วางแผนการเงิน ที่ปรึกษาการเงิน Unite Linked UDesign Elite Health Plus DHealth Plus เมืองไทยยูแอลพลัส UL Plus
เงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความ ข้อมูลเงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความ คืออะไร?
เงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความ ตามกฎหมายมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535
หมายถึง เงินที่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือทายาทของผู้เอาประกันภัยมีสิทธิได้รับตามกรมธรรม์ แต่มิได้มีการเรียกร้องจากบริษัทจนพ้นอายุความ ซึ่งอายุความดังกล่าว คือ 10 ปี นับแต่วันที่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ หรือทายาทของผู้เอาประกันภัย มีสิทธิได้รับเงิน โดยเมื่อล่วงพ้นระยะเวลา กฎหมายกำหนดให้บริษัทประกันชีวิต มีหน้าที่ต้องนำส่ง เงินเข้ากองทุนประกันชีวิต โดยผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับผลประโยชน์ หรือทายาท สามารถขอรับเงินดังกล่าวคืนจากกองทุนได้ภายในเวลาอีก 10 ปี
สาเหตุที่ทำให้เงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความคือ
1. บริษัทประกันไม่สามารถติดต่อผู้เอาประกันภัยบางรายได้ เนื่องจากสาเหตุเช่น ย้ายที่อยู่แล้วมิได้แจ้งให้บริษัทประกันทราบ
2. ผู้เอาประกันภัยบางราย เสียชีวิตโดยมิเคยแจ้งให้ทายาท หรือผู้รับผลประโยชน์ทราบว่าตนได้ทำประกันชีวิตไว้ทำให้ผู้รับผลประโยชน์หรือทายาทของผู้เอาประกันภัย มิได้เรียกร้องเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์
3. ผู้เอาประกันภัยบางรายไม่ส่งเบี้ยประกันภัยต่อทำให้กรมธรรม์ขาดความคุ้มครอง แต่ไม่ทราบว่ากรมธรรม์มีมูลค่าเงินสดคงเหลือ
4. ผู้เอาประกันภัย ได้รับเช็คจากบริษัทแล้ว แต่มิได้นำเช็คไปขึ้นเงิน
ทั้งนี้สามารถตรวจสอบสิทธิของตนเอง ผ่านเว็บไซต์กองทุนประกันชีวิตหากมีสิทธิรับเงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความคืนจากกองทุนประกันชีวิต ก็สามารถที่จะยื่นคำขอรับเงินผ่านช่องทางออนไลน์ หรือสามารถพิมพ์แบบคำขอ เพื่อกรอกรายละเอียดพร้อมแนบเอกสารหลักฐาน และส่งมายังที่อยู่ของกองทุนประกันชีวิต โดยกองทุนฯจะทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและเอกสารหลักฐาน และอนุมัติจ่ายเงินคืนให้กับผู้เอาประกันโดยเร็ว โดยการโอนเงินผ่านช่องทางธนาคาร หรือ เช็คต่อไป
การตรวจสอบสิทธิกรมธรรม์ที่ล่วงพ้นอายุความ และช่องทางการติดต่อกองทุนประกันชีวิต
การตรวจสอบสิทธิกรมธรรม์ที่ล่วงพ้นอายุความ ผ่านโปรแกรม “ระบบเงินล่วงพ้นอายุความ”
– เข้าไปที่ www.lifeif.or.th
– Click ที่ Menu “ค้นหาข้อมูลเงินกรมธรรม์ที่ล่วงพ้นอายุความ”
– กรอกข้อมูลแสดงตัวตนโดยใส่หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมชื่อและนามสกุล
– หากเป็นผู้มีสิทธิ จะปรากฏข้อความ “ทำประกันชีวิตกับบริษัท … / กรมธรรม์เลขที่ … / จำนวนเงิน” และระบุให้ติดต่อกองทุนประกันชีวิต (ด้วยตนเอง / ไปรษณีย์ลงทะเบียน / ออนไลน์)
– หากเป็นผู้ไม่มีสิทธิ จะปรากฎข้อความ “ไม่พบข้อมูล”
การขอรับเงินกรมธรรม์ที่ล่วงพ้นอายุความ:
– ติดต่อตรงที่กองทุนประกันชีวิต หรือสำนักงานคปภ. จังหวัด
– ออนไลน์ www.lifeif.or.th
ช่องทางการรับเงินกรมธรรม์ที่ล่วงพ้นอายุความ: โอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.lifeif.or.th หรือ คลิกที่นี่
ช่องทางติดต่อ “กองทุนประกันชีวิต”
– Facebook: Life Insurance Fund FanPage
– Line / YouTube: กองทุนประกันชีวิต
– Website: www.lifeif.or.th
– Telephone: 02-791-1333
เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย สมัครตัวแทนขายประกัน
คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน 2557 | ฉบับที่ 85 / 2557
ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะแก้ไขประกาศ 2 ฉบับ ว่าด้วยการจอง การจัดจำหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ออกใหม่และประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ โดยปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับข้อห้ามในการจัดสรรหลักทรัพย์ให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ลดข้อจำกัดของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ตามประกาศปัจจุบัน แต่ยังคงหลักเกณฑ์เพื่อคุ้มครองให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดสรรหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุน รวมถึงปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2695-9763 หรือทาง e-mail ที่ supawade@sec.or.th จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2557
ก.ล.ต. มุ่งมั่นแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน
วันอังคารที่ 17 มิถุนายน 2557 | ฉบับที่ 86 / 2557
ก.ล.ต. กระตุ้นให้ธุรกิจหลักทรัพย์ ทั้งบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันอย่างจริงจัง โดยขอให้ธุรกิจหลักทรัพย์เปิดเผยดัชนีวัดความคืบหน้าในการดำเนินการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันของบริษัทจดทะเบียนแต่ละบริษัทไว้ในบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ และในขณะเดียวกัน เร่งให้ บล. และ บลจ. ถือปฏิบัติให้ได้เป็นตัวอย่าง โดย ก.ล.ต. จะเปิดเผยดัชนีวัดความคืบหน้าในการดำเนินการเรื่องนี้ของ บล. และ บลจ. เช่นเดียวกัน เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป
นายชาลี จันทนยิ่งยง รองเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า หลังการเปิดเผยดัชนีชี้วัดความคืบหน้าการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับคอร์รัปชัน (Anti-corruption Progress Indicator) ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ ก.ล.ต. จะเปิดเผยดัชนีเดียวกันนี้ของ บล. และ บลจ. ทุกแห่ง ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป เพื่อแสดงความคืบหน้าในการดำเนินการต่อต้านคอร์รัปชันของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อให้ธุรกิจหลักทรัพย์มีส่วนร่วมสร้างวัฒนธรรมการไม่คอร์รัปชันและเป็นแบบอย่างให้แก่ภาคธุรกิจไทย
ทั้งนี้ ก.ล.ต. จะจัดสัมมนาร่วมกับสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เพื่อกระตุ้นให้คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของ บล. และ บลจ. เห็นความจำเป็นในการเข้าร่วมโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition: CAC) โดยในปัจจุบันมี บล. ที่เป็นผู้นำในเรื่องนี้โดยได้รับประกาศนียบัตรรับรองแล้ว 4 แห่ง คือ บล. กสิกรไทย บล. ทิสโก้ บล. กรุงศรี และ บล. ภัทร และมี บลจ. ที่ได้รับประกาศนียบัตรรับรองแล้ว 3 แห่ง คือ บลจ. กสิกรไทย บลจ. ทิสโก้ และ บลจ. กรุงศรี ทั้งนี้ เชื่อว่าภายในสิ้นปีนี้ บล. และ บลจ. ทั้งหมดจะสามารถเข้าสู่กระบวนการของ IOD และได้รับใบรับรองครบทุกแห่ง ซึ่งจะเปิดเผยความคืบหน้าให้ทราบต่อไป
ขณะเดียวกัน ก.ล.ต. ขอความร่วมมือ บล. ให้เปิดเผย Anti-corruption Progress Indicator ดังกล่าวไว้ใน บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ เพิ่มเติมจากปัจจุบันที่เปิดเผยเฉพาะผลประเมินด้านการกำกับดูแลกิจการ (CG) เพื่อช่วยผลักดันบริษัทจดทะเบียนให้มีนโยบายและดำเนินงานเพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันอย่างจริงจัง ขณะที่ขอให้ บล. และ บลจ. ใช้ดัชนีดังกล่าวเป็นปัจจัยพิจารณาลงทุนเพื่อกองทุนภายใต้การจัดการและพอร์ตของบริษัทเอง ตลอดจนนำแนวทางการออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นที่กลุ่มผู้ลงทุนสถาบันไทยได้ประกาศไว้ มาใช้เป็นแนวทางใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมด้วย
?ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ดูแลเงินของประชาชนจำนวนมาก จึงควรเป็นต้นแบบของธุรกิจอื่นในการให้ความสำคัญต่อการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันอย่างจริงจัง หาก บล. และ บลจ. ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าว และยึดถือเป็นแนวทางดำเนินธุรกิจ ย่อมช่วยสร้างแรงกดดันทางสังคม และเป็นแบบอย่างที่ดีให้เกิดการปฏิบัติตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทจดทะเบียนที่ต้องการการยอมรับจากผู้ลงทุนและผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงช่วยสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้ลงทุนรายอื่นเห็นความจำเป็นในการลงทุนในกิจการที่ยึดนโยบายดังกล่าว ในทางตรงกันข้าม บล. และ บลจ. อาจได้รับแรงกดดันจากสังคมได้ หากขาดความมุ่งมั่นในการดำเนินงานที่ให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ในขณะที่ผู้ร่วมธุรกิจอื่นหรือผู้เกี่ยวข้องในตลาดทุนตระหนักและดำเนินการในเรื่องดังกล่าวไปมากแล้ว? นายชาลี กล่าว
ก.ล.ต. เปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดกรณีใช้ข้อมูลภายในขายหุ้น TUCC
วันพุธที่ 18 มิถุนายน 2557 | ฉบับที่ 87 / 2557
ก.ล.ต. เปิดเผยคณะกรรมการเปรียบเทียบมีคำสั่งเปรียบเทียบนายยงยุทธ งามไกวัล กรณีใช้ข้อมูลภายในชักชวนให้นางสาววรกุล งามไกวัล ขายหุ้นบริษัทไทยยูนีคคอยล์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) (TUCC) และนางสาววรพิน งามไกวัล กรณีใช้ข้อมูลภายในขายหุ้น TUCC เป็นเงินรวม 6,159,269 บาท
ก.ล.ต. ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม ถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2554 นายยงยุทธชักชวนให้นางสาววรกุล ขายหุ้น TUCC จำนวน 17,475,100 หุ้น ในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก โดยอาศัยข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญ ต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้น TUCC ซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อประชาชน เกี่ยวกับการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้การค้ารายย่อย 26 ราย จำนวน 43.99 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้ผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/2554 ของ TUCC ขาดทุนจำนวน 104.86 ล้านบาท โดยนายยงยุทธล่วงรู้ข้อมูลดังกล่าวในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ TUCC ในขณะนั้น และนายยงยุทธได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการชักชวนดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังพบกรณีนางสาววรพินขายหุ้น TUCC จำนวนรวม 318,500 หุ้น ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของตนเอง ระหว่างวันที่ 27-28 กรกฎาคม 2554 ในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก โดยอาศัยข้อเท็จจริงข้างต้น ซึ่งนางสาววรพินได้ล่วงรู้จากการเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงินของ TUCC ในช่วงเวลาดังกล่าว
การกระทำของนายยงยุทธและนางสาววรพิน ซึ่งเป็นบุคคลวงในเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 241 ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 296 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เนื่องจากนายยงยุทธและนางสาววรพินยินยอมเข้ารับการเปรียบเทียบ คณะกรรมการเปรียบเทียบได้เปรียบเทียบปรับนายยงยุทธ เป็นเงิน 5,659,269 บาท และนางสาววรพิน เป็นเงิน 500,000 บาท
ก.ล.ต. สนับสนุน บลจ. จัดตั้งกองทุนการออมหลังเกษียณ
วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน 2557 | ฉบับที่ 88 / 2557
ก.ล.ต. ส่งเสริมให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จัดตั้งกองทุนการออมหลังเกษียณ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุนแก่ผู้เกษียณอายุให้มีเงินใช้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และป้องกันไม่ให้ใช้จ่ายเงินก้อนที่เก็บออมในวัยทำงานจนหมด
นางดวงมน จึงเสถียรทรัพย์ ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ก.ล.ต. สนับสนุนให้ บลจ. จัดตั้งกองทุนการออมหลังเกษียณ (Post retirement fund) เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการบริหารเงินสำหรับผู้เกษียณอายุ ที่ต้องการมีรายได้ประจำต่อเนื่องหลังเกษียณ และมีเงินเพิ่มพูนขึ้นจากเงินที่ได้รับตอนเกษียณ โดยลงทุนที่ไม่เสี่ยงสูงมาก แต่ยังให้ผลตอบแทนสูงกว่าราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเหมาะกับผู้เกษียณอายุที่มีความรู้ด้านการลงทุนไม่มากนักหรือต้องการผู้เชี่ยวชาญช่วยดูแลบริหารเงินให้ ในปัจจุบันประเทศไทยมีกองทุนประเภทนี้น้อยมาก ขณะที่จำนวนผู้เกษียณอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนในต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย ให้ความสำคัญกับการจัดตั้งกองทุนประเภทนี้ เพื่อให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองได้ในด้านการเงิน
กองทุนการออมหลังเกษียณจะขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้เกษียณอายุหรืออายุมาก เช่น 55 ปีขึ้นไป และนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงไม่สูงมากเป็นหลัก ได้แก่ พันธบัตร ตราสารหนี้ และเงินฝาก โดย บลจ. อาจกำหนดรูปแบบและระยะเวลาจ่ายเงินและให้ผู้ลงทุนเลือกตามความต้องการ หรืออาจเปิดให้ผู้ลงทุนกำหนดเองก็ได้ เช่น ขอรับ 5,000 บาท ทุกเดือนไปจนถึงอายุ 80 ปี หรือ 10,000 บาท ทุกไตรมาสไปจนถึงสิ้นอายุขัย สำหรับสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เกษียณอายุสามารถนำเงินจากกองทุนดังกล่าวไปลงทุนต่อในกองทุนการออมหลังเกษียณ เพื่อให้มีรายได้ประจำและต่อเนื่อง ซึ่งกองทุนอาจเสนอสิทธิพิเศษเพิ่มเติมนอกจากผลตอบแทนจากการลงทุน เช่น ประกันสุขภาพ หรือให้สิทธิผู้ถือหน่วยตรวจสุขภาพประจำปี
?การบริหารเงินออมเงินลงทุนเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญตลอดทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนวัยทำงานที่ยังสามารถหารายได้อยู่ ควรลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับความสามารถและความพึงพอใจในการรับความเสี่ยง ไม่ว่าจะกำหนดสัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์เอง หรือลงทุนในกองทุนที่จัดสรรสินทรัพย์ลงทุนตามช่วงอายุ (Target Date Fund) เพื่อสร้างผลตอบแทนที่เพียงพอสำหรับใช้จ่ายในวัยเกษียณ สำหรับผู้เกษียณอายุควรบริหารเงินที่ได้รับจากกองทุนมาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกองทุนการออมหลังเกษียณจะสามารถตอบโจทย์ได้ดี เนื่องจากมีจุดเด่นที่ให้ผู้เกษียณอายุสามารถทยอยถอนเงินต้นและดอกเบี้ยมาใช้ได้ตามที่ต้องการและสม่ำเสมอภายในวงเงินที่มีอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เกษียณอายุใช้เงินก้อนที่มีอยู่จนหมดภายในเวลาไม่กี่ปี ซึ่งจะทำให้ผู้เกษียณอายุมั่นใจได้ว่าจะมีเงินใช้เพียงพอในระยะที่กำหนด ดังนั้น บลจ. จึงควรใช้โอกาสนี้หาโอกาสทางธุรกิจด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง? นางดวงมน กล่าว
ก.ล.ต. สั่งพักผู้แนะนำการลงทุนฐานไม่ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ
วันพุธที่ 25 มิถุนายน 2557 | ฉบับที่ 89 / 2557
ก.ล.ต. สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย {ก} สังกัดบริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด (บล.โกลเบล็ก) ฐานไม่ให้ข้อมูลหรือคำแนะนำที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องอย่างเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน
จากรายงานการตรวจสอบรายการซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัท อุตสาหกรรม อีเล็คโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) (EIC) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และจากการตรวจสอบเพิ่มเติมของ ก.ล.ต. พบว่า {ก} ส่งคำสั่งซื้อหลักทรัพย์ EIC ให้ลูกค้า ในระหว่างที่ลูกค้าทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าว โดย {ก} ไม่ได้ให้ข้อมูลหรือคำแนะนำแก่ลูกค้าว่า ระหว่างเวลานับจากวันที่คำเสนอซื้อหลักทรัพย์มีผลบังคับใช้ จนถึงวันที่พ้นกำหนดระยะเวลารับซื้อที่กำหนดไว้ในคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ ลูกค้าไม่สามารถซื้อหลักทรัพย์ EIC โดยวิธีอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ตามคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ การกระทำดังกล่าวพิจารณาได้ว่า {ก} ไม่ได้ให้ข้อมูลหรือคำแนะนำที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องอย่างเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน
การไม่ให้ข้อมูลหรือคำแนะนำที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องอย่างเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 20(2) แห่งประกาศ ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ก.ล.ต. จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย {ก} เป็นเวลา 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2557
ก.ล.ต. สั่งพักผู้แนะนำการลงทุนฐานรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทน
วันพุธที่ 25 มิถุนายน 2557 | ฉบับที่ 90 / 2557
ก.ล.ต. สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย {ก} ขณะกระทำผิดสังกัดบริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) (บล. โนมูระ) เนื่องจากรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน
จากรายงานการตรวจสอบและลงโทษของ บล.โนมูระ พบว่า มีรายการซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้า {ก} รายหนึ่งไม่มีที่มาของคำสั่งจำนวนหลายรายการและเป็นเวลานาน ซึ่ง {ก} ยอมรับต่อ บล. โนมูระว่า รับคำสั่งจากผู้รับมอบอำนาจของลูกค้าทางโทรศัพท์มือถือ และจากการตรวจสอบเพิ่มเติมของ ก.ล.ต. จากเทปบันทึกการสนทนาระหว่าง {ก} กับผู้รับมอบอำนาจของลูกค้าพบการสนทนาในลักษณะที่ {ก} ได้ตัดสินใจส่งคำสั่งซื้อขายในบัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้าก่อน แล้วจึงรายงานให้ผู้รับมอบอำนาจทราบ โดยผู้รับมอบอำนาจไม่ทักท้วง และตรวจพบว่า {ก} กำหนดรายละเอียดการซื้อขาย ทั้งชื่อหลักทรัพย์ จำนวน และราคา ซึ่งผู้รับมอบอำนาจตอบรับทราบ
การรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุนเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 20(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ก.ล.ต. จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย {ก} เป็นเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2557
ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นแก้ไขเกณฑ์ให้บริษัทพฤติกรรมไม่เหมาะสม เว้นวรรคการยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน
วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน 2557 | ฉบับที่ 91 / 2557
ก.ล.ต. มีแนวคิดจะปรับปรุงหลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อประชาชนในวงกว้าง (public offering: PO) โดยจะกำหนดระยะเวลาให้บริษัทต้องเว้นวรรคการยื่นคำขออนุญาต PO หาก ก.ล.ต. พบว่าบริษัทมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมอย่างร้ายแรง เช่น ปกปิดข้อมูล หรือตกแต่งงบการเงิน เป็นต้น เพื่อให้บริษัทที่ยื่นคำขออนุญาต PO พิสูจน์ว่าได้แก้ไขปรับปรุงและเลิกพฤติกรรมไม่เหมาะสมแล้ว ก่อนให้กลับมายื่นคำขอได้อีกครั้ง
แนวคิดข้างต้นเพื่อป้องปรามมิให้บริษัทที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมสร้างความเสียหายต่อผู้ลงทุน โดยจะนำไปใช้กับบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือบริษัทต่างประเทศที่ไม่ได้จดทะเบียนในกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีลักษณะตามที่กำหนด ซึ่งหลักทรัพย์ที่จะต้องเว้นวรรคการยื่นคำขอดังกล่าว หมายถึงหลักทรัพย์ทุกประเภท อาทิ หุ้น วอร์แรนต์ หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ตลอดจนกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานหรือกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (รีทส์) ที่บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินแล้วกลับเข้ามาบริหารกองทุนรวมหรือจัดการรีทส์ด้วย
ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2695-9796 หรือทาง e-mail ที่ corporat@sec.or.th จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2557
ก.ล.ต. สนับสนุนกลุ่มธุรกิจภาพยนตร์ ดิจิตอลคอนเทนท์ และแอนิเมชัน ระดมทุนผ่านทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน
วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2557 | ฉบับที่ 92 / 2557
ก.ล.ต. สนับสนุนกลุ่มธุรกิจภาพยนตร์ ดิจิตอลคอนเทนท์ และแอนิเมชัน ให้มีทางเลือกในการระดมทุนผ่านทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน (private equity trust) เพื่อพัฒนาศักยภาพผลงานของคนไทยไปสู่สากล
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ก.ล.ต. สนับสนุนกลุ่มธุรกิจภาพยนตร์ ดิจิตอลคอนเทนต์ และแอนิเมชัน ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้เข้าร่วมโครงการ ?หุ้นนวัตกรรมและสร้างสรรค์ ความภูมิใจของไทย? โดยมีทางเลือกระดมทุนด้วยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน และนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือระดมทุนผ่านทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน ซึ่งเปิดให้ธุรกิจได้รับเงินทุนในการขยายกิจการพร้อมกับความเชี่ยวชาญในการบริหารงานจากมืออาชีพ จนสามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องและก้าวสู่เวทีโลก อีกทั้งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ในวันนี้ ก.ล.ต. ร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) จัดงาน ?เปิดโลก Digital Content สู่ตลาดทุน? เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจภาพยนตร์ ดิจิตอลคอนเทนท์ และแอนิเมชัน และกลุ่มผู้ลงทุนมีโอกาสพบปะ ได้ทราบถึงความต้องการและแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างกัน โดยมีคุณฝน ประสานสุข วีระสุนทร หนึ่งในทีมงานภาพยนตร์แอนิเมชัน ?Frozen? ซึ่งได้รับรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม ประจำปี 2014 และคุณจั๊ก สุภณวิชญ์ สมสมาน ผู้ก่อตั้งบริษัท เดอะมั้งค์ สตูดิโอ จำกัด ซึ่งมีประสบการณ์ในการผลิตภาพยนตร์ฮอลลีวูดจำนวนมาก รวมถึง ?Rango? ที่ได้รับรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชัน ประจำปี 2012 มาร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์และแสดงตัวอย่างให้เห็นถึงศักยภาพของคนไทย ให้แก่ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูง?
ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบธุรกิจดิจิตอลคอนเทนต์ที่มีศักยภาพและฝีมือทัดเทียมระดับสากลจำนวนมาก แต่มีเงินทุนในการดำเนินงานไม่เพียงพอ หรือต้องการผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยบริหารงานเพื่อนำความคิดสร้างสรรค์ไปสู่การผลิตงานที่เป็นรูปธรรม ขณะเดียวกันมีกลุ่มผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในกิจการที่มีศักยภาพในการเติบโต? แต่อาจขาดข้อมูลและช่องทางเข้าถึงกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ การระดมทุนในตลาดทุน ซึ่งรวมถึงทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนเป็นเครื่องมือทางการเงินรูปแบบใหม่ประเภทหนึ่งที่ช่วยตอบโจทย์ให้แก่ผู้ต้องการระดมทุนและผู้ลงทุน โดยมีผู้จัดการทรัสต์ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุน ทำหน้าที่นำเงินไปลงทุนในกิจการเป้าหมายที่ตกลงกับผู้ลงทุนโดย ก.ล.ต. ออกประกาศอนุญาตให้จัดตั้งทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2557
?ธุรกิจภาพยนตร์ ดิจิตอลคอนเทนต์ และแอนิเมชันเป็นธุรกิจดาวรุ่ง ประกอบไปด้วยบุคลากรที่มีฝีมืออยู่จำนวนมาก? ก.ล.ต. เชื่อว่าทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถนำจินตนาการที่มีอยู่ไปสร้างสรรค์ผลงานอย่างเป็นรูปธรรมและออกสู่สายตานานาประเทศได้มากยิ่งขึ้น ช่วยต่อยอดให้ธุรกิจหลากหลายอุตสาหกรรมและสร้างรายได้เข้าประเทศ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ต่อไป? นายวรพล กล่าว
นายนิธิพัฒน์ สมสมาน นายกสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) กล่าวว่า ?ธุรกิจแอนิเมชันและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ เป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูง ซึ่งนอกจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์แล้ว ยังสามารถนำมาประยุกต์และต่อยอดกับธุรกิจอื่น ๆ ได้อย่างไม่จำกัด ธุรกิจเหล่านี้เป็นเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศได้มาก และหากได้รับการสนับสนุนจากตลาดทุนอย่างเป็นรูปธรรม จะทำให้ธุรกิจนี้เติบโตต่อไปได้อย่างแข็งแกร่งอย่างแน่นอน?