ออมเงินระยะสั้น เมืองไทยประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ ประกันคุ้มครองชีวิต ประกันชีวิตควบคู่การลงทุน ประกันตลอดชีพ ประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษี ลดหย่อนภาษีสูงสุด ประกันบำนาญ ประกันชั่วระยะเวลา
ถอดบทเรียนสู้มะเร็ง 1 ล้านใน 3 เดือนแรก
เมื่อพูดถึงโรคร้ายแรงใกล้ๆ ตัว แน่นอนว่าต้องมีชื่อของ “โรคมะเร็ง” ติดอันดับต้นๆ เป็นแน่ หลายๆ ครั้งที่พบว่าคนใกล้ตัวตรวจเจอมะเร็งจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือพบแพทย์เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยบางอย่าง แต่ไปๆ มาๆ กลับตรวจพบมะเร็ง
ถึงแม้ว่ามะเร็งจะมาทักทายแบบไม่บอกล่วงหน้า ขอให้ตั้งสติเพราะโรคมะเร็งรักษาได้ ยิ่งตรวจพบไวยิ่งมีโอกาสรักษาหายได้มากกว่า แต่เพื่อความชัวร์ควรนัดพบคุณหมอเฉพาะทางท่านอื่นๆ อีก 1-2 ท่าน เพื่อเข้ารับการปรึกษาเพิ่มเติม (Second Opinion) เมื่อรู้ผลการตรวจวินิจฉัยแล้วว่าใช่มะเร็งแน่ๆ ถัดไปคือการเลือกวิธีการรักษา ทบทวนสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพรวมถึงวงเงินค่ารักษาที่มี และแผนการลางานเพื่อเข้ารับการรักษา
แต่ต้องไม่ลืมว่า ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นไม่ได้มีเฉพาะค่ารักษาเท่านั้นแต่ยังรวมถึงค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและค่าใช้จ่ายของบุคคลที่อยู่ในความดูแลของเราเองด้วย เพื่อลดความเครียดของตัวผู้ป่วยเองและครอบครัวให้คงคุณภาพชีวิตอย่างเดิมให้ได้มากที่สุด ถ้าให้คำนวณแบบคร่าวๆ มีโอกาสถึง 1 ล้านในช่วง 3 เดือนแรกเลยทีเดียวขึ้นอยู่กับ ชนิดและระยะของมะเร็ง วิธีการรักษา รวมถึงโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา
ถอดบทเรียนสู้มะเร็ง 1 ล้านใน 3 เดือนแรก
1. ค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ออมเงินระยะสั้น
(Second Opinion) เริ่มต้น 20,000 บาท*
นัดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเป็น Second Opinion หรือบางคนอาจจะหาแพทย์เพื่อความชัวร์ 3 ราย โดยขั้นตอนนี้อาจต้องทำการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องดิจิทัลเพทซีที (Digital PET CT) และค่าตรวจวินิจฉัยมีราคาเริ่มต้น 20,000 บาท*
* ค่าบริการตรวจวินิจฉัยระบบประสาทด้วยเครื่องดิจิทัลเพทซีทีของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยค่าใช้จ่ายจะแตกต่างตามแต่ส่วนของร่างกายที่ทำการสแกนรวมไปถึงความละเอียดของอวัยวะที่ทำการสแกนด้วย
2. ค่าผ่าตัดประมาณ 100,000-500,000 บาท
หากแพทย์แนะนำให้ทำการผ่าตัดชิ้นเนื้อมะเร็งออกทั้งก้อนจะมีค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด ค่าห้องโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) ค่าแพทย์ ค่าอาหาร ค่าบริการโรงพยาบาล ราคาจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของโรงพยาบาลนั้น อาจมีค่าใช้จ่ายประมาณ 100,000-500,000 บาท
3. ค่าทำคีโม / ค่าฉายแสงสูงสุด 200,000 บาท*
ในผู้ป่วยบางรายแพทย์จะแนะนำให้ทำการรักษามากกว่า 1 วิธีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการรักษาที่มากขึ้น เช่นหลังจากทำการผ่าตัดชิ้นเนื้อร้ายและฉายแสง/รับคีโมต่อเนื่องแบบผู้ป่วยนอก มีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 100,000-200,000 บาท*
*ประมาณการค่าฉายรังสีในเวลาราชการ สำหรับโรคมะเร็ง สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยค่าใช้จ่ายจะแตกต่างตามแต่ส่วนของร่างกายที่ทำการรักษาและจำนวนครั้งที่ทำการรักษา
4. ค่าใช้จ่ายในการดูแลร่างกายให้แข็งแรง
อาหารเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยมีร่างกายที่แข็งแรงพอที่จะรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นว่าต้องเป็นอาหารที่ปรุงสุก สะอาด และมีโปรตีนสูงซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของร่างกายที่จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่อ่อนเพลีย และไม่ติดเชื้อง่าย หากต้องมีการให้คีโมควรพบทันตแพทย์เพื่อทำฟันให้เรียบร้อยก่อนเข้ารับการรักษาด้วย
5. ค่ารักษาอาการแทรกซ้อน
ระหว่างที่เข้ารับการรักษาผู้ป่วยอาจมีอาการแทรกซ้อนได้หลายกรณี เช่น ผิวลอกแห้ง เป็นแผลง่าย ภาวะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด ภาวะบวมน้ำเหลือง รวมถึงการแพร่กระจายของมะเร็งไปบริเวณอวัยวะอื่นในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีค่าเดินทางจากบ้านไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ตามนัด ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถประมาณการณ์ได้
6. ค่าครองชีพหากไม่สามารถทำงานได้
ผู้ป่วยที่รักษามะเร็งด้วยการผ่าตัดแพทย์มักแนะนำให้หยุดพัก 1-3 เดือนเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการกระทบกระเทือนของแผลผ่าตัดซึ่งในระหว่างนี้อาจจะทำให้ไม่สามารถทำงานได้ แต่ค่าครองชีพประจำวันยังคงอยู่ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายในบ้าน ค่าดูแลสัตว์เลี้ยง และรวมไปถึงหนี้จากการผ่อนชำระต่างๆ ทำให้ต้องนำเงินเก็บออกมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมถึงบางคนอาจต้องจ้างผู้ดูแลในระหว่างที่ร่างกายยังไม่เต็มร้อย เริ่มต้นที่ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นอยู่กับหน้าที่ความรับผิดชอบ
ค่ารักษามะเร็งจนจบคอร์สรวมค่าใช้จ่ายระหว่างรักษาเพื่อคงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวมีโอกาสแตะ 1 ล้านได้ง่ายมากๆ ถึงแม้ว่าการรักษาในโรงพยาบาลรัฐบาลจะมีรักษาที่ย่อมเยาว์ และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็อาจจะต้องรอคิวเพื่อรับการรักษาเนื่องจากมีปริมาณผู้ป่วยรอรับการรักษาค่อนข้างเยอะ ทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวตัดสินใจเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนซึ่งมีค่ารักษาที่สูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาล 2.5-7 เท่า และค่ายามีราคาที่สูงกว่า 40-600 เท่าเลยทีเดียว (ผลการศึกษาอัตราค่าบริการของโรงพยาบาลเอกชนในปี 2552 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ))
ทางเลือกที่น่าสนใจคือการทำประกันคุ้มครองโรคมะเร็งแบบมีเงินก้อนให้ทันทีที่ตรวจพบเพื่อที่สามารถนำเงินก้อนนั้นมาวางแผนในการรักษาได้อย่างรวดเร็ว
เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
สำนักงาน คปภ. โดยนายชนะพล มหาวงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโสฝ่ายระงับข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการ ให้การต้อนรับ นางสาวเอมอร เสียงใหญ่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการระงับข้อพิพาท และคณะ จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ในโอกาสประชุมหารือ และพิจารณาแนวทางเพื่อดำเนินการร่วมกันตามกรอบบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการประกันภัย เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้องประชุม 204 อาคารสำนักงาน คปภ.
นางสาวเอมอร เสียงใหญ่ กล่าวว่าในปีงบประมาณ 2556 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จะดำเนินงานด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในชุมชุน โดยผ่านกลไกกระบวนการระงับข้อพิพาทที่เป็นภารกิจในการดูแลสิทธิประโยชน์ประชาชนของทั้งสองหน่วยงาน และยังเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชนอีกทางหนึ่ง โดยการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือในการแก้ปัญหาและลดเงื่อนไขความแตกแยกจากมูลเหตุความขัดแย้งทุกด้าน ซึ่งในภาคธุรกิจประกันภัยก็อาจมีข้อโต้แย้งจากสัญญาประกันภัยเกิดเป็นความขัดแย้ง และกลายเป็นข้อพิพาทขึ้นในที่สุด ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงได้หารือกับสำนักงาน คปภ.ในฐานะหน่วยงานภาคีภายใต้กรอบข้อตกลง (MoU) เพื่อกำหนดกรอบการดำเนินงานร่วมกัน
นายชนะพล มหาวงษ์ กล่าวว่า สำนักงาน คปภ. กับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้ให้ความร่วมมือภายใต้กรอบข้อตกลง (MoU) ในด้านวิชาการและบุคลากรเกี่ยวกับกระบวนการระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัยอย่างต่อเนื่อง และเห็นว่าแผนงาน/โครงการของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในปี 2556 นั้น เป็นแผนงานในการดูแลสิทธิประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศ เป็นภาพรวมที่มุ่งบริหารจัดการความขัดแย้งและเยียวยาผลจากความขัดแย้ง โดยเป็นการเสริมสร้างความสมานฉันท์ถึงระดับชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงาน คปภ. ที่มุ่งเน้นเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย รวมทั้งการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทที่เกิดจากการประกันภัย ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานทั้งทางด้านปฏิบัติ และงานด้านวิชาการในกระบวนการระงับข้อพิพาทของทั้งสองหน่วยงาน ซึ่งในอนาคตความร่วมมือและบูรณาการงานตามแผนงาน/โครงการต่างๆ จะมีความความเชื่อมโยงและมีความสอดคล้องกันมากขึ้น เพื่อเป็นการดูแลสิทธิประโยชน์ของประชาชนในภาพรวมต่อไป
คปภ. เร่งหารือการรับประกันภัยสต็อกข้าว
คณะกรรมาธิการ การเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กรมการค้าภายใน องค์การคลังสินค้า (อคส.) องค์การตลาดเพื่อการเกษตรกร (อตก.) สมาคมประกันวินาศภัยไทย และบริษัทประกันภัย ประชุมหารือ เรื่อง แนวทางการรับประกันภัยสต็อกข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในการพิจารณากำหนดเงื่อนไขและรูปแบบการรับประกันภัยสต๊อกข้าว เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกร และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและต่างประเทศ
นายไชยา พรหมา ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า การประชุมหารือในครั้งนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคธุรกิจประกันภัย สมาคมประกันวินาศภัยไทย โดยเฉพาะสำนักงาน คปภ. ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้การรับประกันภัยตามโครงการรับการจำนำข้าวของรัฐบาลสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ตามเจตนารมณ์และเป็นไปตามโยบายของรัฐ ในการร่วมรับความเสี่ยงภัยหากเกิดความเสียหายขึ้น โดยได้รับการตรวจสอบจากภาคธุรกิจประกันภัยว่าสต็อกข้าวมีอยู่จริงก่อนทำประกันภัย ซึ่งจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ประเทศชาติ และต่างประเทศ
ด้านนายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า สำนักงาน คปภ. เล็งเห็นความสำคัญของภาคเกษตรกรรม เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นที่เกษตรกรรมกว่าร้อยละ 70 ของประเทศ และมีการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรที่สร้างรายได้ให้กับประชาชนและประเทศชาติมีมูลค่ามหาศาล ซึ่งมีส่วนช่วยผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ดังนั้น เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรด้วยการประกันภัย สำนักงาน คปภ. จึงได้ประชุมหารือร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัย พิจารณาเงื่อนไขและรูปแบบการรับประกันภัยสต็อกข้าว เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ประกอบกับสร้างความเชื่อมั่นให้กับรัฐบาล ประชาชน และต่างประเทศว่าระบบประกันภัยจะสามารถเข้ามาร่วมรับความเสี่ยงภัย แต่อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นหัวใจหลักของการรับประกันภัย ดังนั้น หากคลังสินค้าหรือสถานที่เก็บทรัพย์สินมีระบบบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีตามมาตรฐานของการประกันภัยแล้ว บริษัทประกันภัยก็จะสามารถรับประกันภัยได้
ด้านนายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า สมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้กำหนดเงื่อนไขการรับประกันภัย ดังนี้
1. การประกันอัคคีภัย ให้คุ้มครองไฟไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่าง หรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น โดยบริษัทประกันภัยจะรับประกันภัยในอัตราร้อยละ 90 ของมูลค่าทรัพย์สิน ที่จัดเก็บในแต่ละคลังสินค้าที่เข้าร่วม และอีกร้อยละ 10 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับประกันภัยตนเอง โดยความเสียหายส่วนแรกผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดเองที่ 10% ของความเสียหาย หรืออย่างน้อย 500,000 บาท ต่อความเสียหายแต่ละครั้ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าเจ้าของทรัพย์สินได้มีการดูแลอย่างเต็มที่ และอัตราเบี้ยประกันภัย ให้เป็นไปตามพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย
2. การประกันภัยโจรกรรม ให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายของทรัพย์สิน ที่เอาประกันภัยอันเกิดจากการลักทรัพย์ หรือชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ที่ทราบสาเหตุความเสียหาย โดยบุคคลใดๆ ที่มิได้ระบุไว้ในข้อยกเว้น รวมทั้งความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากความพยายามกระทำการดังกล่าว โดยการรับประกันภัยเป็นการจำกัดจำนวนเงินความรับผิดสูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท ต่อสถานที่เอาประกันภัย และรวมกันทั้งสิ้นสูงสุดไม่เกิน 20 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย ทั้งนี้ ความเสียหายส่วนแรกผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดเอง 500,000 บาท ต่อความเสียหายแต่ละครั้ง โดยอัตราเบี้ยประกันภัยให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติจากนายทะเบียน โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข คือ ต้องมีระบบไฟฟ้าสำรอง และมีการติดกล้องวงจรปิด ทุกจุดของทางเข้า – ออก ของสถานที่เก็บทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยกล้องวงจรปิดจะต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถรับภาพผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา ซึ่งบริษัทประกันภัยสามารถรับภาพดังกล่าวได้ด้วย และจะต้องมีการเก็บบันทึกภาพไว้จนกว่าจะมีการตรวจนับครั้งต่อไป ทั้งนี้ บริษัทประกันภัยอาจขอเข้าร่วมตรวจสอบในขณะมีการรับสินค้าหรือเวลาอื่นใดตามที่เห็นสมควร
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงาน คปภ. มีความยินดีที่อุตสาหกรรมประกันภัยมีส่วนช่วยผลักดันให้ภาคธุรกิจมีมาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงทรัพย์สินที่ดีขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน และความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยนายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. ร่วมเป็นสักขีพยานในงาน “ครั้งแรกในประเทศไทยกับไมโครอินชัวรันส์ในร้านสะดวกซื้อ”ซึ่งจัดขึ้นโดยบริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด ณ ห้อง เอสเตอร์ บอลรูม โรงแรม เดอะเซนต์ รีจีส โดยมี นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ให้เกียรติเป็นประธาน
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่ากรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย หรือ ไมโครอินชัวรันส์ นับเป็นการพัฒนาอีกมิติใหม่ของการประกันภัย ที่ออกแบบมาพิเศษเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่ผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ซึ่งกรมธรรม์ประกันภัยชนิดนี้มีลักษณะพิเศษ คือ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ความคุ้มครองไม่ซับซ้อน มีขั้นตอนการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่ไม่ยุ่งยาก อีกทั้งมีอัตราเบี้ยประกันภัยที่ไม่สูง สามารถเลือกชำระค่าเบี้ยประกันภัยตามลักษณะของรายได้ เช่น รายวัน รายเดือน หรือรายปี โดยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ประชาชนจะสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ได้ผ่านร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” กว่า 6,500 สาขา ทั่วประเทศ ด้วยบริการ “All Insurance” ที่จะเปิดให้บริการด้านการประกันภัยแบบครบวงจรให้ประชาชนสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยรายย่อย และจ่ายเบี้ยประกันภัย ได้ในที่เดียว ซึ่งถือเป็นการยกระดับช่องทางการจำหน่ายประกันภัยให้ประชาชนทุกระดับทั่วประเทศได้รับความสะดวกสบายสามารถเข้าถึงระบบประกันภัยได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า เป้าหมายสำคัญที่ทุกฝ่ายในอุตสาหกรรมประกันภัยจะต้องประสานความร่วมมือกัน คือการผลักดันให้การประกันภัยเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างหลักประกันความมั่นคงให้กับชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงสนับสนุนการขยายตัวทางการค้าการลงทุนต่างๆ และการระดมเงินออมภายในประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังนั้น การที่บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด ในฐานะนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันภัยได้จัดโครงการ “ครั้งแรกในประเทศไทยกับไมโครอินชัวรันส์ในร้านสะดวกซื้อ” ขึ้น ถือเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันธุรกิจประกันภัยให้เข้าถึงประชาชนชาวไทยทุกระดับได้อย่างอย่างทั่วถึง และยังช่วยตอบสนองความต้องการด้านการประกันภัย ในการแบ่งเบาภาระความเสียหายที่อาจขึ้นในอนาคต ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างความมั่นคงทางการเงิน ยังจะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. เป็นหน่วยงานที่จัดให้มีกระบวนการระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัยด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประชาชนผู้เอาประกันภัย หรือผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัย กับบริษัทประกันภัยภายใต้ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 และระเบียบสำนักงาน คปภ. ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553
จากสถิติย้อนหลัง 4 ปี แนวโน้มความต้องการของประชาชนผู้เอาประกันภัยที่ได้รับความเสียหาย และมีข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาประกันภัย และมีความประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ มีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่มีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรม ในปี 2555 มีประชาชนมายื่นเรื่องที่สำนักงาน คปภ. ให้ระงับข้อพิพาทด้วยการประนอมข้อพิพาทและวิธีอนุญาโตตุลาการ ทั้งสิ้น 204 เรื่อง ดำเนินการแล้วมีข้อยุติ 194 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 95.09 โดยแบ่งแยกข้อพิพาทที่ยุติได้ ดังนี้
1. ยุติด้วยวิธีการประนีประนอมข้อพิพาท โดยการเชิญคู่พิพาททั้งสองฝ่ายมาหาทางประนีประนอมกันด้วยความพอใจและเป็นธรรม โดยเจ้าหน้าที่สำนักงาน คปภ. จะช่วยพิจารณาข้อเท็จจริงและการตีความข้อกฎหมาย ยุติได้เป็นจำนวน 100 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 51.54
2. ยุติด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ โดยการตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเป็นอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาและผู้ทรงคุณวุฒิสาขาอาชีพต่างๆ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นอนุญาโตตุลาการ กับสำนักงาน คปภ. โดยอนุญาโตตุลาการจะรับฟังปัญหาข้อเท็จจริงของการเกิดเหตุ และตีความข้อกฎหมายในประเด็นที่พิพาทกัน เพื่อพิจารณาให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณี และมีคำชี้ขาดข้อพิพาท ซึ่งคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะมีผลผูกพันคู่พิพาทต้องปฏิบัติตาม ยุติได้เป็นจำนวน 94 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 48.46
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า กระบวนการระงับข้อพิพาทด้านประกันภัยด้วยการประนอมข้อพิพาทและวิธีอนุญาโตตุลาการ เป็นวิธีการระงับข้อพิพาทที่สะดวกรวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรม กระบวนการมีความยืดหยุ่นกระชับ ทำให้ผู้เอาประกันภัย หรือผู้มีส่วนได้เสีย ได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเวลาที่รวดเร็ว เนื่องจากมีกรอบระยะเวลาให้คณะอนุญาโตตุลาการต้องดำเนินการให้ยุติข้อพิพาทให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน หลังการตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ นอกจากนี้สำนักงาน คปภ. ยังมีการจัดสัมมนาเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับกระบวนการระงับข้อพิพาทแก่ประชาชน พนักงานบริษัทประกันชีวิต/บริษัทประกันวินาศภัย และผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ สำหรับผู้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนคู่พิพาท เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และมีจรรยาบรรณ จะเห็นได้ว่ากระบวนการดังกล่าว เป็นการบริหารจัดการความขัดแย้งที่เกิดจากการประกันภัยอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพเป็นการสร้างความเชื่อมั่น เชื่อถือ และศรัทธาในอุสาหกรรมประกันภัย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาธุรกิจประกันภัยอีกด้วย
>> เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
>> เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ
>> เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)
ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว
คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย