เมืองไทยประกันชีวิต กรุงเทพ ประกันชีวิตเพื่อสร้างมรดก Unite Linked


เมืองไทยประกันชีวิต กรุงเทพ ประกันชีวิตเพื่อสร้างมรดก Unite Linked รับสมัครตัวแทน รับสมัครทีมงาน วางแผนการเงิน ที่ปรึกษาการเงิน UDesign Elite

ดร.สุทธิพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ช่วง 1 ปี ที่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเลขาธิการ คปภ. ได้มุ่งมั่นและทุ่มเทความรู้ ความสามารถ เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการส่งเสริมอุตสาหกรรมประกันภัยให้มีความแข็งแกร่งควบคู่ไปกับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นต่อสำนักงานคปภ. และอุตสาหกรรมธุรกิจประกันภัยโดยรวม ซึ่งสอดคล้องกับ 4 ยุทธศาสตร์หลักๆ ตามแผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 3 (พ.ศ.2559-2563) ที่เริ่มขับเคลื่อนไปแล้ว โดยผลงานที่โดดเด่นทางด้าน ยุทธศาสตร์การเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมประกันภัย ได้แก่ การออกแนวปฏิบัติที่ชัดเจน เกี่ยวกับอัตราคิดลดกระแสเงินสดที่เกิดจากสัญญาประกันภัยให้เหมาะสมกับมูลค่าปัจจุบันและสอดคล้องกับมาตรฐานทางบัญชีที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมประกันภัยจากภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ จากสถานการณ์ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ ดำเนินการเชิงรุกภายใต้นโยบายของรัฐบาลในการประกันภัยข้าวนาปี จนทำให้การทำประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2559/2560 มียอดรวมทั่วประเทศสูงถึง 27.9 ล้านไร่ เป็นครั้งแรก จากเดิมในปีก่อนๆ ซึ่งมียอดการทำประกันภัยข้าวนาปีเพียง 1.5 ล้านไร่ ทั้งนี้มีเบี้ยประกันภัยข้าวนาปีการผลิต 2559/2560 รวมถึง 2,700 ล้านบาท โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการกว่า 1.5 ล้านคน นอกจากนี้ยังได้จัดทำหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลกิจกรรมของบริษัทประกันภัยที่จะทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร โดยออกประกาศ คปภ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการออกกรมธรรม์ประกันภัย การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย การชดใช้เงินตามสัญญาประกันภัย/ชีวิต โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคณะกรรมการ คปภ. เห็นชอบไปแล้ว เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2559

ผลงานที่โดดเด่นในยุทธศาสตร์ด้านนี้ยังรวมถึงการยกระดับการกำกับดูแลในเชิงรุกด้วยการจัดประชุมผู้บริหารระดับสูงด้านการประกันภัย ประจำปี 2559 (CEO Insurance Forum 2016) เต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก เพื่อแถลงทิศทางนโยบายในการพัฒนาระบบประกันภัยในระยะ 5 ปีข้างหน้า ภายใต้กรอบแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 3 และนำประเด็นร่วมสมัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับการประกันภัยมาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อพัฒนาระบบการกำกับดูแลและกฎ กติกาด้านประกันภัยให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งมีการกำกับตัวแทนประกันภัยและนายหน้าประกันภัยเชิงรุก ด้วยการจัดทำมาตรฐานแนวทางการควบคุมคุณภาพการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยของบริษัทประกันภัย บุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบ รวมถึงตัวแทน/นายหน้าประกันภัย และกำหนดมาตรการในการดำเนินการหากพบว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม และที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากคือการออกข้อแนะนำในการซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยผ่านธนาคาร 12 ข้อ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเอง รวมถึงความคุ้มครอง และข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัยให้เข้าใจอย่างถี่ถ้วน ก่อนตัดสินใจซื้อประกันภัย พร้อมกันนี้ตนและบุคลากรของสำนักงานคปภ.ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้ลงพื้นที่ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจการขายประกันภัยผ่านธนาคารพาณิชย์ พร้อมให้ข้อแนะนำต่อผู้ปฎิบัติส่งผลให้เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการบังคับซื้อประกันภัยร่วมกับธุรกรรมทางการเงิน (cross sell) ลดลงร้อยละ 77 รวมทั้งได้ยกระดับการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาฐานะการเงินและการดำเนินงานของบริษัทประกันภัยอย่างเป็นระบบยิ่งขึ้น อีกทั้งยังได้ปรับเพิ่มจำนวนเงินความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เป็นครั้งแรก โดยกรณีได้รับบาดเจ็บ จากเดิมจะได้รับค่ารักษาพยาบาล 50,000 บาทต่อคน ปรับเพิ่มเป็น 80,000 บาทต่อคน ค่าสินไหมทดแทน กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร จากเดิม 200,000 บาทต่อคน ปรับเพิ่มเป็น 300,000 บาทต่อคน และกรณีสูญเสียอวัยวะจากเดิม 200,000 บาท ปรับเพิ่มเป็นระหว่าง 200,000-300,000 บาทต่อคนอีกด้วย

สำหรับผลงานโดดเด่นในปี 2559 ในด้านยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความรู้และการเข้าถึงการประกันภัย ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย โดยออกแบบกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเพื่อคนพิการสำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เพื่อให้คนพิการมีโอกาสเข้าถึงระบบประกันภัยและใช้เป็นเครื่องมือเพื่อบริหารความเสี่ยงในชีวิตและครอบครัวของตนเองได้อย่างเหมาะสม สนับสนุนช่องทางการเข้าถึงการประกันภัยสำหรับรายย่อย โดยจัดทำประกาศ คปภ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขาย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต หรือพนักงานของบริษัท ในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200 สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 และประกาศ คปภ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขาย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200 สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 โดยปรับปรุงนิยามคำว่า “กรมธรรม์ประกันภัย 200 สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์)” ให้ครอบคลุมถึง กรมธรรม์ประกันภัยสำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) อื่นที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ ซึ่งการปรับปรุงประกาศดังกล่าวจะเอื้อต่อการเข้าถึงการประกันภัยของประชาชนและเป็นการส่งเสริมการจำหน่วยผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับรายย่อยด้วย

นอกจากนี้ยังได้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงการประกันภัยและการให้ความรู้แก่ประชาชนโดยการบูรณาการและสร้างเครือข่ายประกันภัยอย่างครบวงจรด้วยการทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับหน่วยงานต่างๆ รวม 7 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รวมทั้งเดินหน้าสู่การปฏิรูปการประกันภัยพืชผล โดยสำนักงาน คปภ.ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จัดโครงการอบรมความรู้ประกันภัย (Training for the trainers) ทั่วทุกภูมิภาคเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการประกันภัยพืชผล เริ่มจากการประกันภัยข้าวนาปีเป็นโครงการนำร่อง อีกทั้งยังส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประกันภัยประกันสุขภาพ เพื่อรองรับการจัดทำแบบผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มอื่นๆ โดยได้ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบประกันสุขภาพ ร่วมกับสำนักงานวิจัยเพื่อพัฒนาหลักประกันสุขภาพ (สวปก.) รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมด้านการประกันภัย ด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและการมีส่วนร่วมด้านการประกันภัย เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทาง นโยบาย และมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการประกันภัย กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการประกันภัย

ผลงานโดดเด่นในปี 2559 เมืองไทยประกันชีวิต กรุงเทพ ตามยุทธศาสตร์การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขัน ได้แก่ การกำหนดแนวทางพัฒนาระบบการกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย อัตราเบี้ยประกันภัย และค่าบำเหน็จสำหรับการประกันวินาศภัย นอกจากนี้ยังได้พัฒนากระบวนการอนุมัติ/อนุญาตผลิตภัณฑ์ประกันภัยทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์แล้วเสร็จ พร้อมกับสร้างความร่วมมือและพัฒนาการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยกับหน่วยงานกำกับดูแลของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจนได้มีการลงนามในเอ็มโอยูไปเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ยังได้เจรจาเพื่อจัดทำความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยอีก 2 ประเทศจนเป็นผลสำเร็จ คือ ประเทศกัมพูชา ประเทศบรูไน ซึ่งอยู่ระหว่างการรอลงนามในบันทึกข้อตกลง สำหรับมีความร่วมมือในการพัฒนาการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยกับนานาประเทศ ในปีที่ผ่านมาได้รับเป็นเจ้าภาพจัดอบรม/สัมมนาร่วมกับ The National Association of Insurance Commissioners (NAIC) และ ASEAN Insurance Training and Research Institute (AITRI) จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อย โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศสมาชิกอาเซียน เอเชีย และภูมิภาคอื่นๆเป็นจำนวนมาก

ไม่เพียงเท่านั้นยังได้เตรียมความพร้อมเข้าร่วมโครงการประเมินภาคการเงิน (Financial Assessment Program หรือ FSAP) โดยคปภ.ได้จับมือธนาคารโลก (World Bank) ร่วมพัฒนาแนวทางการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยสู่มาตรฐานสากล เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับเกณฑ์การประเมินการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยตามมาตรฐานสากล โดยมี World Bank เป็นที่ปรึกษาอีกด้วย

สำหรับผลงานโดดเด่นในปี 2559 ในด้านยุทธศาสตร์การเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการประกันภัย ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรที่เป็นปัญหาสะสมมาในองค์กรเป็นผลสำเร็จ โดยปรับปรุงข้อบังคับสำนักงาน คปภ. ว่าด้วยการจัดองค์กร ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจาก คปภ. และมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 และมีการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารระดับสูง ระดับ Key men แล้วเสร็จ ประกอบด้วย รองเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการ และผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโสหลายตำแหน่ง และคัดเลือกตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส และผู้ทรงคุณวุฒิที่ว่างอยู่ โดยคาดจะแล้วเสร็จไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ก่อนเข้าสู่กระบวนการจัดสรรพนักงานในตำแหน่งบริหารระดับกลางและตำแหน่งอื่นๆตามโครงสร้างใหม่ ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2560

นอกจากนี้ได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลแล้วเสร็จ จำนวนถึง 11 ฉบับ จัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านทรัพยากรบุคคล ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2560 – 2562) สำเร็จเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการก่อตั้งองค์กร ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการ และบทบาทหน้าที่ของสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง โดยแต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูงเป็นครั้งแรก และมีการปฏิรูปหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) ครั้งใหญ่ ทำให้หลักสูตรเป็นที่ยอมรับและประสบความสำเร็จ โดยมีผู้สนใจเข้าเรียนมากที่สุด และเป็นปีแรกที่มีผลงานของนักศึกษา วปส. ที่มีคุณภาพยิ่ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อการต่อยอดองค์ความรู้ด้านการประกันภัยสำหรับการพัฒนาระบบประกันภัยต่อไป

ผลงานที่สำคัญอื่นๆยังรวมถึงการเสนอขอแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติประกันชีวิตและพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยอย่างครบวงจรเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อทุกภาคส่วน จนร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิตและประกันวินาศภัย กลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นกลุ่มบทบัญญัติที่มุ่งเน้นให้ความคุ้มครองประชาชนโดยตรง ได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2559 นอกจากนี้ยังได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกันภัยทางทะเล พ.ศ. … สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการรอพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และมีการยกระดับมาตรฐานระบบการจัดการสินไหม และการจัดการเรื่องร้องเรียนด้านการประกันภัย โดยจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยเป็นแห่งแรกในอาเซียน ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของการระงับข้อพิพาทด้านประกันภัย โดยเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนในการที่จะสามารถเลือกใช้ผู้ไกล่เกลี่ยซึ่งเป็นผู้ชำนาญการจากภายนอกที่มีประสบการณ์และมีความเป็นกลางมาช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ยตามกติกาที่เป็นระบบสากลและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ โดยประชาชนผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

“การทำงานเชิงรุกของผมในช่วงปี 2559 ที่ผ่านมานั้น ส่งผลทำให้สำนักงานคปภ.สามารถผลิตชิ้นงานทั้งด้านนโยบายและโครงสร้างพื้นฐานทางด้านกฎ กติกา ต่างๆ รวมทั้งบุคลากรให้มีความพร้อมในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระบบให้เกิดความแข็งแกร่ง และเป็นที่เชื่อมั่นของประชาชน ดังนั้นการทำงานในปี 2560 นี้ ก็จะเป็นลักษณะของการเดินหน้าตามนโยบายที่ได้วางไว้ ติดตามผลการดำเนินการ ตลอดจนเร่งขับเคลื่อนเพื่อให้มาตรการต่างๆที่ได้เริ่มไว้ในปีที่แล้ว เกิดความคืบหน้า ขณะเดียวกันก็จะยังคงเดินหน้าการให้ความสำคัญในการคุ้มครองพี่น้องประชาชนไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ตลอดจนการพัฒนาและสร้างกลไกใหม่ๆให้สอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมประกันภัยในเวทีโลกอีกด้วย” ดร.สุทธิพล กล่าวทิ้งท้าย

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ตลาดเก่า 100 ปี สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณชุมชนเลียบสันติสุข ต. แก่งคอย อ. แก่งคอย จ.สระบุรี โดยที่เกิดเหตุเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น และได้ลุกลามไปยังบ้านไม้ 2 ชั้น ตึกแถวด้านข้างอีกจำนวน 18 คูหา ซึ่งเป็นตึก 4 ชั้น มีทั้งห้างร้านทอง ร้านค้า และคลินิก เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบ้านเรือนถูกเพลิงเผาวอด รวมทั้งสิ้น 56 หลัง นั้น

สำนักงาน คปภ. ได้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่ามีผู้เสียหายจำนวน 2 ราย ที่ได้มีการทำประกันภัยอัคคีภัย โดยรายแรกเป็นอาคารพาณิชย์ 4 คูหา ซึ่งได้ทำประกันอัคคีภัยไว้กับบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) จำนวน 2 ฉบับ รวมทุนประกันภัยทั้งสิ้น 8,000,000 บาท ฉบับแรกแบ่งเป็นความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้างตัวอาคาร (ไม่รวมฐานราก) จำนวนเงิน 800,000 บาท และความคุ้มครองสต็อกสินค้า จำนวนเงิน 1,000,000 บาท รวมทุนประกันภัย 1,800,000 บาท และกรมธรรม์ฉบับที่สอง ความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้างตัวอาคาร (ไม่รวมฐานราก) รวมเฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ จำนวนเงิน 3,200,000 บาท และสต็อกสินค้า เสื้อผ้า และของใช้เบ็ดเตล็ดต่างๆ จำนวนเงิน 3,000,000 บาท ทุนประกันภัยรวมทั้งสิ้น 6,200,000 บาท ส่วนรายที่สองเป็นอาคารพาณิชย์ 1 คูหา ได้ทำกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ไว้กับบริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้างตัวอาคาร (ไม่รวมฐานราก) จำนวนเงิน 773,150 บาท ซึ่งขณะนี้ บริษัทประกันภัยได้ส่งผู้ประเมินวินาศภัยหรือเซอร์เวย์เยอร์เข้าไปสำรวจความเสียหายแล้ว เพื่อการประเมินชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเป็นจริง ทั้งนี้ ได้สั่งการให้สำนักงาน คปภ. ภาค 4 จังหวัดสระบุรี ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ และมอบหมายให้ประสานบริษัทประกันภัยเร่งสรุปความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องและเป็นธรรมต่อไป

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า อุบัติเหตุและอุบัติภัยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยที่เราไม่คาดคิด และเมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ดังนั้น ไม่ควรประมาทและมองข้ามความสำคัญของการทำประกันภัยที่เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงที่ดีที่สุด ที่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระความเดือดร้อนของท่านได้ ทั้งนี้ กรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองหรือความเกี่ยวเนื่องกับไฟไหม้ เช่น ประกันอัคคีภัย จะให้ความคุ้มครองตัวอาคาร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สำนักงาน สต๊อกสินค้า เครื่องจักร และเครื่องตกแต่งที่ติดตั้งไว้กับตัวอาคาร โดยให้ความคุ้มครองไฟไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊สที่ใช้ทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย ส่วนการประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย จะให้ความคุ้มครอง สิ่งปลูกสร้างหรือตัวอาคารใช้เป็นที่อยู่อาศัย (ไม่รวมฐานราก) ทรัพย์สินภายในบ้าน สิ่งที่ติดกับตัวอาคาร หรือเครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้าน โดยให้ความคุ้มครอง ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยจากอากาศยาน ภัยจากน้ำที่เกิดจากการรั่วซึมภายในอาคาร (ไม่รวมน้ำท่วม) รวมถึงภัยธรรมชาติ 4 ภัย ได้แก่ ภัยน้ำท่วม ภัยลมพายุ ภัยลูกเห็บ และภัยแผ่นดินไหว สำหรับประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) จะให้ความคุ้มครองกว้างกว่าอัคคีภัย เช่น ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยน้ำท่วม ภัยแผ่นดินไหว ภัยลมพายุ ภัยลูกเห็บ การโจรกรรมและอุบัติเหตุจากสาเหตุที่ไม่ได้ระบุไว้ในข้อยกเว้น เป็นต้น โดยประชาชนผู้ประกอบการต่างๆสามารถเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยได้ตามความเหมาะสมกับสภาพความเสี่ยงของตนเอง โดยขอให้พิจารณาจากสถานที่ตั้ง และลักษณะการใช้อาคารของผู้เอาประกันภัย รวมทั้งความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยด้านการประกันภัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186 เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่ สำนักงาน คปภ. ได้ออกมาตรการสนับสนุนให้ประชาชนใช้รถใช้ถนนด้วยความปลอดภัย โดยไม่ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรทางบกด้วยการออกคำสั่งนายทะเบียนที่11/2560 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2560 ให้แก้ไขแบบข้อความกรมธรรม์ประกันภัยและเอกสารแนบท้ายของกรมธรรม์ประกันภัย โดยปรับลดปริมาณแอลกอฮอล์ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ซึ่งจากเดิมข้อยกเว้นตามเอกสารฯระบุว่า “การขับขี่โดยบุคคลซึ่งในขณะขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเส้นเลือดไม่น้อยกว่า (ตั้งแต่) 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์” แก้ไขเป็น “การขับขี่โดยบุคคลซึ่งในขณะขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์” ให้ถือว่า “เมาสุรา” ซึ่งคำสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับสำหรับการทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2560 เป็นต้นไป

สำหรับความคืบหน้าล่าสุดในเรื่องนี้ สำนักงาน คปภ.ได้ประสานไปยังสมาคมประกันวินาศภัยไทยและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อสอบถามถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ได้รับการยืนยันว่าทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความพร้อมในการปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียนฯตามที่สำนักงาน คปภ. กำหนดแล้ว

“ผมได้สั่งการให้สำนักงานคปภ.ประสานไปยังสมาคมประกันวินาศภัยและบริษัทประกันวินาศภัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับการยืนยันว่ามีความพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งฯดังกล่าว เนื่องจากสำนักงานคปภ.ได้มีการออกคำสั่งนี้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 โดยให้มีผลบังคับวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ทำให้มีระยะเวลาในการเตรียมตัวทั้งในเรื่องของเอกสาร เงื่อนไข ในกรมธรรม์ เพื่อรองรับคำสั่งนี้”

ดร.สุทธิพล กล่าวด้วยว่า สำนักงาน คปภ. มีความห่วงใยประชาชนเป็นอย่างยิ่ง การออกมาตรการดังกล่าว ถือเป็นการสนับสนุนมาตรการรณรงค์ลดอุบัติเหตุทางถนน สร้างวินัยการจราจรให้กับประชาชนและผู้ใช้รถใช้ถนน ดังนั้นจึงขอฝากเตือนผู้ใช้รถยนต์ควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการดื่มสุราระหว่างขับรถยนต์ เนื่องจากหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วตรวจพบว่า ผู้ขับรถยนต์ที่ทำประกันภัยรถภาคสมัครใจ มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะไม่ได้รับความคุ้มครองทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากกรมธรรม์ประกันภัย แต่ในส่วนของผู้ประสบภัยหรือบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายจากรถยนต์คันที่เอาประกันภัยดังกล่าวยังคงได้รับความคุ้มครอง โดยบริษัทประกันภัยของรถยนต์คันที่เอาประกันภัยฝ่ายผิดจะต้องให้ความคุ้มครองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินและจะไปไล่เบี้ยเรียกคืนค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทจ่ายไปจากผู้ขับขี่ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ต่อไป ทั้งนี้ ปริมาณแอลกอฮอล์ดังกล่าว ไม่กระทบต่อความคุ้มครองของการประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

นอกจากมาตรการส่งเสริมให้ผู้ขับรถยนต์ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์แล้ว สำนักงาน คปภ. ยังสนับสนุนให้ประชาชนจัดทำประกันภัยรถยนต์ ตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ปลอดแอลกอฮอล์ โดยผู้เอาประกันภัยจะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจทุกประเภทเป็นส่วนลดอื่นในอัตราร้อยละ 10 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิ เพียงแค่ผู้เอาประกันภัยแจ้งกับบริษัทที่รับประกันภัยว่าขอเพิ่มเติมสัญญาแนบท้ายตัวนี้เพื่อใช้เป็นหลักฐานว่าผู้เอาประกันภัยจะขับขี่รถยนต์โดยปลอดแอลกอฮอล์ก็จะได้รับส่วนลดทันทีร้อยละ 10 ซึ่งขณะนี้มีบริษัทประกันภัยที่ได้รับความเห็นชอบให้ใช้เอกสารแนบท้ายและอัตราเบี้ยประกันภัย ปลอดแอลกอฮอล์นี้แล้วทั้งสิ้น 10 บริษัท ประกอบด้วย บมจ. เทเวศประกันภัย บมจ. ทิพยประกันภัย บมจ. สมโพธิ์ เจแปน นิปปอนโคอะ ประกันภัย บมจ.ไทยศรีประกันภัย บมจ.อาคเนย์ประกันภัย บมจ.ไทยประกันภัย บมจ.กรุงเทพประกันภัย บมจ.ชับบ์สามัคคีประกันภัย บมจ. เมืองไทยประกันภัย และบมจ. ประกันภัยไทยวิวัฒน์

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) เปิดเผยว่า ตนและคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานคปภ.ได้เดินทางเข้าร่วมประชุมในเวที Asia General Insurance Executive Forum ภายใต้หัวข้อ What can we do to increase the Value of Asian general insurance ? ซึ่งจัดโดยสมาคมประกันวินาศภัยของประเทศญี่ปุ่น โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย regulators ของหน่วยงานกำกับดูแลด้านประกันภัย ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงของสมาคมประกันวินาศภัยประเทศต่างๆในเอเซีย ระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2560 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ในโอกาสนี้ตนได้นำเสนอข้อมูลเรื่องพัฒนาการระบบประกันภัยของไทยและแนวคิดในการเพิ่มคุณภาพของบริษัทประกันภัย ตลอดจนมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลอุตสาหกรรมประกันภัยภายใต้หัวข้อ “Trust-How can we ensure the public’s trust in insurance?” และหัวข้อ “ERM-How should insurers be managed?” โดยได้แสดงความคิดเห็นว่าการที่จะทำให้ประชาชนเชื่อมั่นในระบบประกันภัยนั้น จะต้องมีการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการควบคุมคุณภาพของระบบประกันภัยตั้งแต่ต้นกระบวนการไปจนถึงปลายกระบวนการ โดยเฉพาะในเรื่องช่องทางการขายมีความจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย รวมทั้งประชาชนต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องประกันภัยดีพอและต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน ส่วนในประเด็นเรื่องการบริหารความเสี่ยงของบริษัทหรือ ERM นั้นเป็นเรื่องซึ่งภาคธุรกิจประกันภัยต้องให้ความสำคัญและรู้ลักษณะของความเสี่ยง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการกำหนดยุทธศาสตร์และขับเคลื่อนนโยบายของบริษัท เพื่อจะสามารถเผชิญกับความเสี่ยงต่างๆทั้งในเรื่องภัยธรรมชาติ การจู่โจมทางไซเบอร์ ตลอดจนวิกฤติการณ์ทางด้านเศรษฐกิจที่บ่อยครั้งยากที่จะคาดการณ์ได้

เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่าตนได้นำเสนอถึงประกาศฉบับใหม่ของ คปภ. และแนวทางใหม่ซึ่งจะกำกับดูแลและตรวจสอบในเรื่องระบบการบริหารความเสี่ยงอย่างเข้มข้นและเป็นระบบ อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 3 ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคธุรกิจประกันภัย ซึ่งได้รับความสนใจ และมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในเวทีการประชุมครั้งนี้อย่างกว้างขวาง โดย คปภ.ได้รับการชื่นชมจากที่ประชุมฯ ว่ามีระบบและแนวทางการกำกับดูแลอุตสาหกรรมประกันภัยที่ดี อันจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและอุตสาหกรรมประกันภัยของประเทศไทย ทั้งยังสามารถนำแนวทางกำกับดูแลดังกล่าวไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในประเทศอื่นๆได้ด้วย

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ชื่อ “วอนนาคราย” (WannaCry) โดยมัลแวร์จะทำงานด้วยการบล็อกไฟล์เอกสารต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ของไมโครซอฟท์รุ่นเก่าต่ำกว่าวินโดวส์ 10 ด้วยการเข้ารหัสลับ ทำให้ผู้ใช้จะไม่สามารถเปิดหรือดาวน์โหลดข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ของตัวเองได้ หากต้องการที่จะปลดล็อคจะต้องจ่ายเงินค่าไถ่ นอกจากนี้ยังมีความสามารถกระจายตัวเองจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่ายได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งขณะนี้ได้ส่งผลกระทบกับประเทศต่างๆ ในวงกว้าง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *