เมืองไทยประกันชีวิต ประกันโรคร้ายแรง ประกันชีวิตออนไลน์ ที่ปรึกษาประกันชีวิต 5 ขั้นตอน เก็บเงินเปิดธุรกิจส่วนตัว ประกันออมทรัพย์ประกันควบการลงทุนสุขภาพ
ทุกวันนี้ปัดนิ้วบนหน้าฟีด Facebook ก็เห็นใครๆ ต่างเปิดธุรกิจส่วนตัวกันมากมาย บ้างก็เปิดคาเฟ่ ขายของออนไลน์ หรือต่อเติมความฝันที่ตัวเองหลงใหลกับธุรกิจเล็กๆ ส่วนตัวเรานี่สิมีไอเดีย มีแผนทุกอย่าง รู้ว่าอยากทำอะไร อยากขายอะไร แต่ขาดเพียงอย่างเดียว เงินลงทุน! ปัจจัยสำคัญของการสร้างธุรกิจในฝันให้เฉิดฉาย แต่ว่าเก็บไว้เท่าไหร่ก็ไม่อยู่สักที
วันนี้เราจึงมีเคล็ดไม่ลับในการเก็บเงินเพื่อนำไปสร้างธุรกิจของคุณมาฝาก
1. เลิกทานบุฟเฟ่ต์
เรียกว่าเป็นปัญหาสำคัญระดับท้องของเราเลย อร่อยปากลำบากกระเป๋าตังค์กับบุฟเฟ่ต์นานาชนิดที่ต่างหลั่งไหลออกโปรฯ อัดสปอนเซอร์โฆษณามาให้ใจละลายกันไม่หวาดไม่ไหวกลับกันให้คุณลองคิดดูหากคุณเลิกกินหรือลดการทานบุฟเฟ่ต์เหลือเพียงเดือนละมื้อเท่านั้น คุณจะเหลือเงินเก็บเท่าไร และถ้าคุณสามารถทำอาหารมาทานเอง หรือทานอะไรง่ายๆ แต่ดีต่อสุขภาพธุรกิจที่คุณฝันอยากจะทำก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้ิ้อมแน่นอน
2. งดช้อปปิ้ง
หากทำงานแล้วเครียด โมโหคนรอบข้าง แล้วอ้างว่าต้องช้อปปิ้งด่วนๆ ให้ลองปรับเปลี่ยนวิธีคิดใหม่จากการที่ต้องไปช้อปปิ้งเปย์เงินให้หายเครียด ลองเข้าวัดทำบุญไหว้พระ บริจาคสิ่งของ หรือนำของที่ช้อปปิ้งมานับไม่ถ้วนที่ไม่ได้ใช้แล้วมาขายก็จะเวิร์คมากแถมได้เงินคื นด้วย ให้ลองคิดอย่างมีสติหากคุณเครียดทุกวัน หรือทุกสัปดาห์ คุณจะต้องล้มละลายไปเท่าไหร่ กับคำว่าเครียดแล้วต้องออกไปช้อปปิ้ง ส่วนแอพฯ ช้อปปิ้ง ออนไลน์ลบทิ้งไปซะแล้วชีวิตจะดีงามมาก แรกๆ อาจจะดูหักดิบ ร่างกายกระสับกระส่าย จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว แต่เมื่อเห็นเงินในกระเป๋าที่งอกเงยขึ้นคุณจะยิ้มหน้าบานชัวร์
3. ใช้บัตรเครดิตอย่างมีเทคนิค
อย่าให้บัตรมาใช้เรา แต่จงใช้บัตรเครดิตให้ทำหน้าที่ของมัน เริ่มต้นก่อนเลยหากคุณมีบัตรเครดิตหลายใบจงหักทิ้งซะแล้วเก็บไว้ให้น้อยใบที่สุดเท่าที่คุณคิดว่ามันมีสิทธิเศษที่เหมาะกับคุณเวลาใช้จ่าย แล้วจงใช้มันอย่างมีสติ เพราะไม่งั้นคุณจะกลายเป็นคนเสียสติหากใช้จ่ายอย่างไม่ยั้งคิด แล้วธุรกิจที่คุณวาดฝันก็จะค่อยๆ จางหายไปในที่สุด
4. บอกลา Caf? Hopping
บอกลาการตามล่าคาเฟ่ ชิคๆ คูลๆ เมืองไทยประกันชีวิต ประกันโรคร้ายแรง ใหม่ประจำสัปดาห์ เพราะแต่ละสัปดาห์มีคาเฟ่ เกิดขึ้นมากมายคุณตามไม่ทันหรอก และเมนูเครื่องดื่ม เค้ก หรืออาหารที่คุณชื่นชอบ ราคาก็แพงเอาเรื่องตามดีไซน์การ Decorate ของร้านที่มีความยูนิค แต่ไม่ได้ห้ามว่าต้องไม่ไปเช็คอินเลยนะ การเติมคาเฟอีน และของหวานเข้าสู่ร่างกายเป็นเรื่องที่ดี ชีวิตจะได้สดชื่น พร้อมรับไอเดียใหม่ๆ ในการต่อเติมธุรกิจในฝันของคุณ
5. ลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงย
เมื่อเราลดละเลิก จากไลฟ์สไตล์ที่ฟุ่มเฟือยแล้วก็มีเงินเก็บมากขึ้น แนะนำว่าให้นำเงินเก็บบางส่วนไปลงทุน โดยทุกวันนี้มีหลากหลายวิธีที่ลงทุนแล้วให้เงินของเรางอกเงยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อกองทุน ลงทุนกับหุ้น ฝากประจำเพื่อดอกเบี้ย ซื้อประกันชีวิตสะสมทรัพย์ หรือประกันชีวิตควบการลงทุน ที่ช่วยวางแผนความคุ้มครองชีวิตและการลงทุนได้ ซึ่งถือว่าเป็นอีกช่องทางที่จะช่วยให้คุณเข้าใกล้ความฝันมากขึ้น อาจใช้เวลาและบางตัวอาจมีความเสี่ยง แต่ก็คุ้มค่าน่าลงทุน
MTL Tips : ประกันชีวิตควบการลงทุน เป็นประกันที่น่าจับตามองในเรื่องความคุ้มครองที่ได้รับ ผลประโยชน์เพิ่มเติม และพิเศษตรงที่สามารถออกแบบการลงทุนเองได้ โดยเป็นการลงทุนผ่านกองทุนรวมนั่นเอง
นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมการประกันภัยได้ทำการพิจารณาคดีความผิดของบุคคลที่ชักชวนชี้ช่องทำประกันภัย โดยบุคคลดังกล่าวไม่มีใบอนุญาตเป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัย ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 หรือพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับ ไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กรมการประกันภัยจึงขอประชาสัมพันธ์ให้บริษัทประกันภัยระมัดระวังในการตรวจสอบบุคคลก่อนตั้งให้เป็นตัวแทนประกันภัย ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของบริษัท รวมถึงเข้าข่ายการกระทำความผิดตามกฎหมายซึ่งมีระวางโทษปรับสูงสุด ถึงห้าแสนบาท ทั้งนี้ บริษัทสามารถตรวจสอบรายชื่อของตัวแทนหรือนายหน้าที่มีใบอนุญาตได้จากเว็บไซด์ของกรมการประกันภัย และในส่วนของนายหน้านิติบุคคลนั้น กรมการประกันภัย ได้เผยแพร่รายชื่อและอายุใบอนุญาตของนายหน้านิติบุคคลทางเว็บไซต์ของกรมการประกันภัย ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2549 แล้ว จึงเป็นหน้าที่ของบริษัทประกันภัย ที่ต้องตรวจสอบสถานะของนายหน้านิติบุคคลที่ส่งงานให้แก่บริษัทด้วย และขอเตือนนายหน้านิติบุคคลให้ตรวจสอบอายุของใบอนุญาตด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งงานให้บริษัทประกันภัยขณะที่ใบอนุญาตขาดต่ออายุนั้น ถือว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
กรมการประกันภัย เตือนประชาชนซื้อประกันภัย ต้องตรวจสอบหลักฐานการเป็นตัวแทน-นายหน้าประกันภัย เพื่อป้องกันบริษัทประกันภัยปฏิเสธจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือบอกเลิกสัญญาประกันภัย
นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมการประกันภัยได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน กรณีบริษัทประกันภัยปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบสาเหตุมาจากการซื้อประกันภัยของประชาชนผ่านตัวแทน-นายหน้าประกันภัยที่ไม่มีใบอนุญาตตัวแทนนายหน้าประกันภัย โดยเมื่อรับชำระเบี้ยประกันภัยแล้วกลับไม่นำส่งให้กับบริษัทประกันภัย เป็นเหตุให้บริษัทประกันภัยปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือทำการบอกเลิกสัญญาประกันภัย
จากกรณีดังกล่าว ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและสร้างภาพพจน์ที่ไม่ดีต่อธุรกิจประกันภัย กรมการประกันภัยจึงขอประชาสัมพันธ์เตือนประชาชนถึงการชำระเบี้ยประกันภัยทุกครั้งต้องขอใบเสร็จรับเงิน และในการซื้อประกันภัยผ่านตัวแทน-นายหน้าประกันภัยให้ขอดูใบอนุญาตการเป็นตัวแทน นายหน้าประกันภัยทุกครั้ง
นางสาวพจนีย์ กล่าวต่อไปอีกว่า ในส่วนของประชาชนที่สนใจเข้าสู่อาชีพ ตัวแทนประกันชีวิต หรือตัวแทนประกันวินาศภัย สามารถสมัครสอบได้ที่ สมาคมประกันชีวิตไทย หรือสมาคมประกันวินาศภัย แล้วแต่กรณี ส่วนนายหน้าประกันชีวิตและ นายหน้าประกันวินาศภัย นั้น ในส่วนกลางสามารถสมัครสอบได้ที่ ฝ่ายตัวแทนและนายหน้า ชั้น 3 กรมการประกันภัย สนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี และต่างจังหวัด สมัครได้ที่สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่สายด่วนประกันภัย 1186
จากข่าวอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2549 เวลาประมาณ 16.40 น. เกิดอุบัติเหตุ รถยนต์โดยสารสองแถวหมายเลขทะเบียน 10-0372 เพชรบุรี ซึ่งเป็นรถรับ-ส่งคนงานของโรงงาน ซีพีเอส ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ จ.สมุทรสาคร เฉี่ยวชนกับรถยนต์เก๋ง หมายเลขทะเบียน สท-4608 กรุงเทพมหานคร และรถยนต์กระบะ หมายเลขทะเบียน น-4972 และเสียหลักไปขวางถนนเป็นเหตุให้ถูกชนโดยรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ ซึ่งประกอบไปด้วยหัวลากจูงหมายเลขทะเบียน 70-1161 สุราษฎร์ธานี และรถพ่วงหมายเลขทะเบียน 70-1162 สุราษฎร์ธานี เป็นเหตุให้คนงานที่โดยสารมากับรถเสียชีวิต 18 ราย และบาดเจ็บ 8 ราย เหตุเกิดที่บริเวณแยกวัดเขาตะเครา ถนนเพชรเกษมหลักกิโลเมตรที่ 153 – 154 หมู่ที่ 1 ต.เวียงคอย อ.เมือง จ.เพชรบุรี
นางสาวชำเลือง ชาติสุวรรณ รองอธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบการประกันภัยพบว่ารถทุกคันมีการทำประกันภัยไว้ โดยรถยนต์โดยสารสองแถวมีการทำประกันภัยเฉพาะการประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. ไว้กับบริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) รถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ มีการทำประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. และภาคสมัครใจประเภท 3 ทั้งหัวลากจูง และรถพ่วง ไว้กับบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด รถยนต์เก๋ง มีการทำประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. และภาคสมัครใจประเภท 1 ไว้กับบริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันส์ จำกัด ส่วนรถยนต์กระบะมีการทำประกันภัยเฉพาะการประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. ไว้กับบริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด
เนื่องจากในขณะนี้ยังไม่ทราบผลคดีว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายประมาท ผู้ประสบภัยและทายาทสามารถเรียกร้องจากบริษัทประกันภัยตามหลักการสำรองจ่ายไปก่อน กล่าวคือ ผู้โดยสารที่อยู่ในรถยนต์โดยสารสองแถวสามารถเรียกร้องจากบริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) จากการทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. กรณีบาดเจ็บเป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงรายละไม่เกิน 50,000 บาท และกรณีเสียชีวิตรายละ 100,000 บาท ยกเว้นผู้ขับขี่จะได้รับเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น โดยกรณีเสียชีวิตจะได้รับค่าปลงศพจำนวน 35,000 บาท และกรณีบาดเจ็บจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท
นางสาวชำเลืองฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากต่อมาทราบผลคดีว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายประมาท จะสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัย แยกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. กรณีรถยนต์โดยสารสองแถวเป็นฝ่ายประมาท ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บสามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงและค่าอนามัยตามความเหมาะสมไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนทายาทของผู้ประสบภัยที่เสียชีวิตจะได้รับค่าสินไหมทดแทนรายละ 100,000 บาท ยกเว้นผู้ขับขี่รถยนต์โดยสารสองแถวจะได้รับเพียงค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 35,000 บาท (ทั้งนี้ หากได้รับค่าปลงศพหรือค่ารักษาพยาบาลตามหลักการสำรองจ่ายไปแล้วให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน)
2. กรณีรถบรรทุกพ่วงเป็นฝ่ายประมาท จะสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนทั้งจาก หัวลากจูงและรถพ่วง ซึ่งค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ประสบภัยและทายาทสามารถเรียกร้องจากการประกันภัยรวมทั้งสิ้น (หากได้รับค่าปลงศพหรือค่ารักษาพยาบาลตามหลักการสำรองจ่ายแล้วให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน) สรุปได้ดังนี้
2.1 ทายาทของผู้ที่เสียชีวิตที่อยู่ในรถยนต์โดยสารสองแถว จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัย รวมทั้งสิ้นรายละไม่เกิน 700,000 บาท แยกเป็นจากการประกันภัยตาม พ.ร.บ. 2 กรมธรรม์ๆละ 100,000 บาท และจากการประกันภัยประเภท 3 ในส่วนของความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกตามความเหมาะสมหรือตามฐานานุรูป 2 กรมธรรม์ๆละไม่เกิน 250,000 บาท
2.2 ผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บที่อยู่ในรถยนต์โดยสารสองแถว สามารถเรียกร้อง ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงและค่าอนามัยตามความเหมาะสม รวมทั้งสิ้นรายละไม่เกิน 600,000 บาท แยกเป็นจากการประกันภัยตาม พ.ร.บ. 2 กรมธรรม์ๆละไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนเกินสามารถเรียกร้องจากการประกันภัยประเภท 3 ในส่วนของความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก 2 กรมธรรม์ๆละไม่เกิน 250,000 บาท
อย่างไรก็ตาม กรมการประกันภัยจะได้ประสานไปยังบริษัทประกันภัยให้เร่งดำเนินการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยและทายาทโดยเร็วต่อไป
นางสาวชำเลืองฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นดังกล่าว เป็นเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดอย่างยิ่ง จึงขอฝากเตือนให้ผู้ที่ประกอบอาชีพรับ-ส่งผู้โดยสารจำนวนมากเช่นนี้ ได้มีการทำประกันภัย ภาคสมัครใจอย่างน้อยการประกันภัยประเภท 3 เพิ่มเติมนอกเหนือจากการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เพื่อบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเช่นครั้งนี้ให้กับผู้ประสบภัยและทายาทผู้ประสบภัยให้ได้รับการชดใช้มากขึ้น รวมถึงคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของบุคคลภายนอกด้วย และขอความร่วมมือให้ผู้ขับขี่รถทุกคนหมั่นตรวจสภาพรถและเตรียมสภาพร่างกายใ
จากอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2549 เวลา 12.30 น. รถโดยสารหมายเลขทะเบียน 10-3457 ชลบุรี พาคณะเจ้าหน้าที่และพยาบาลโรงพยาบาลกรุงเทพ พัทยา เดินทางไปสัมมนาที่เขาใหญ่ประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำตกเหว เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย บาดเจ็บสาหัส 9 ราย และบาดเจ็บเล็กน้อย 39 ราย เหตุเกิดบนถนนธนะรัชต์ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
นางสาวชำเลือง ชาติสุวรรณ รองอธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบการทำประกันภัย ปรากฏว่า รถคันดังกล่าวได้ทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.) และประกันภัยภาคสมัครใจประเภท 3 กับบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด ทายาทของผู้เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ดังนี้
1. ทายาทของผู้ที่เสียชีวิต จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัย รวมทั้งสิ้นรายละไม่เกิน 450,000 บาท แยกเป็นจากการประกันภัยตามพ.ร.บ.รายละ 100,000 บาท และจากการประกันภัยประเภท 3 ในส่วนความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกตามความเหมาะสมหรือตามฐานานุรูปไม่เกินรายละ 250,000 บาท และในส่วนของความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้ายการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลรายละ 100,000 บาท
2. ผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บ สามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงและค่าอนามัยตามความเหมาะสม รวมทั้งสิ้นรายละไม่เกิน 350,000 บาท แยกเป็นจากการประกันภัยตามพ.ร.บ. รายละไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนเกินสามารถเรียกร้องจากการประกันภัยประเภท 3 ในส่วนความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้ายการประกันภัยค่ารักษาพยาบาลรายละไม่เกิน 50,000 บาท และในส่วนความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกรายละไม่เกิน 250,000 บาท
3. ผู้ขับขี่ที่ได้รับบาดเจ็บสามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 65,000 บาท แยกเป็นจากการประกันภัยตาม พ.ร.บ. ไม่เกิน 15,000 บาท และในส่วนของความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้ายการประกันภัยค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 50,000 บาท
นางสาวชำเลืองฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมการประกันภัยได้ประสานไปยังบริษัทประกันภัยให้เร่งดำเนินการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยและทายาทโดยเร็วต่อไปแล้ว หากมีปัญหาและข้อสงสัยเกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186 กลุ่มคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขต และสำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด
นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัยเปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้บริษัท ฮาร่า (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น จำนวน 5 คูหา ตั้งอยู่เลขที่ 797/3 ซอยวัดไผ่เงิน ถนนจันทร์ แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2549 เวลาประมาณ 07.20 น. นั้น จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่า สถานที่ดังกล่าว ชั้น 1 ใช้เป็นสำนักงาน และชั้น 2 ใช้เก็บสต็อกสินค้าผ้าสำเร็จรูปยี่ห้อฮาร่าเพื่อรอจำหน่าย ได้มีการเอาประกันภัยกับบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นจำนวนเงินเอาประกันภัย 30,000,000 บาท และบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด เป็นจำนวนเงินเอาประกันภัย 10,000,000 บาท รวมมีการเอาประกันภัยทั้งสิ้น 40,000,000 บาท ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) 5,000,000 บาท
2. เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา
เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ รวมเครื่องใช้สำนักงาน
และเครื่องคอมพิวเตอร์ 3,000,000 บาท
3. สต็อกสินค้า 32,000,000 บาท
รวมทั้งสิ้น 40,000,000 บาท
อย่างไรก็ตามค่าเสียหายเบื้องต้นอยู่ระหว่างการประเมินของผู้สำรวจภัยและสาเหตุเพลิงไหม้อยู่ระหว่างการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ได้กล่าวเพิ่มว่า การทำประกันอัคคีภัยเป็นการช่วยบรรเทาความสูญเสียได้ เพื่อเป็นไปตามเงื่อนไขสัญญา เจ้าของทรัพย์สินที่มีการทำประกันภัยไว้ จะได้รับการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากบริษัทประกันภัย หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่โทร
0-2547-4551 หรือสายด่วนประกันภัย 1186
นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวง
มหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงกำหนดชนิดหรือประเภทของอาคารที่เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครอง
อาคารหรือผู้ดำเนินการต้องทำการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกาย และ
ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2548 โดยกฎกระทรวงดังกล่าว กำหนดให้ อาคารของเอกชน ได้แก่ อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน โรงมหรสพ โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ และป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไปต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายคุ้มครองชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน
ของบุคคลภายนอก โดยเจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารหรือผู้ดำเนินการดังกล่าวข้างต้น ที่ได้มี
การทำประกันภัยความรับผิดตามกฎหมาย ไว้ก่อนหน้าที่กฎกระทรวงมีผลบังคับ ให้แสดงสำเนา
ตารางกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ อาคาร นั้น และให้เจ้าของอาคาร
หรือผู้ครอบครองอาคารหรือผู้ดำเนินการ สำหรับอาคารที่มีอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และยัง
ไม่มีการทำประกันภัยต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมาย ภายใน 180 วัน นับจากวันที่กฎกระทรวงมีผลบังคับหรือวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2548) นั่นคือ ต้องจัดทำประกันภัยให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2549
นางสาวพจนีย์ฯ กล่าวต่อไปว่า กรมการประกันภัยได้เตรียมการรองรับกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว โดยได้จัดเตรียมกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกหรือกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายและอัตราเบี้ยประกันภัยไว้แล้ว และขณะนี้บริษัทประกันวินาศภัยพร้อมรับทำประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายสำหรับเจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารตามกฎกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ซึ่งกรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายของเจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารหรือผู้ดำเนินการใน 2 ส่วนคือ การเสียชีวิตหรือความบาดเจ็บต่อร่างกายหรือความ
เจ็บป่วยของบุคคลภายนอกและความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ยกเว้นบุคคลในครอบครัวหรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ ความรับผิดตามกฎหมายดังกล่าวต้องเกิดขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุเท่านั้น สำหรับอัตราเบี้ยประกันภัยของการประกันภัยดังกล่าวนี้ กำหนดไว้เป็นช่วงระหว่าง 0.01% – 5% ต่อปี ตัวอย่างเช่น จำนวนเงินจำกัดความรับผิด 1,000,000 บาท ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยอยู่ระหว่าง 100 – 50,000 บาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นเจ้าของอาคารแต่ละประเภท จึงขอเชิญชวนให้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารหรือผู้ดำเนินการ ที่สร้างใหม่หรือที่ดำเนินการอยู่แล้วและยังไม่มีการจัดทำประกันภัย ให้เร่งดำเนินการจัดทำประกันภัย เพื่อเป็นไปตามข้อบังคับของกฎหมายเกิดประโยชน์ต่อตนเองและประชาชนทั่วไป ซึ่งขณะนี้บริษัทประกันวินาศภัยพร้อมที่จะรับทำประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว ตามรายชื่อที่ปรากฏใน http://www.doi.go.th หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ โทร. 0-2547-4548 หรือ สายด่วนกรมการประกันภัย 1186
เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ
เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)
ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว
คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย