เมืองไทยประกันชีวิต วางแผนการเงิน ที่ปรึกษาการเงิน


เมืองไทยประกันชีวิต วางแผนการเงิน ที่ปรึกษาการเงิน Unite Linked UDesign Elite Health Plus DHealth Plus เมืองไทยยูแอลพลัส UL Plus

ก.ล.ต. เปิด 4 กลยุทธ์ปี 2556 ผลักดัน 6 โครงการนำร่อง ยื่นมือตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไป เตรียมออกเกณฑ์กลางรองรับการเสนอขายตราสารใหม่ตามระดับความเสี่ยงและความซับซ้อน เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการเสนอสินค้าและบริการใหม่ พร้อมให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ investment supermarket สร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงตลาดทุนได้อย่างทั่วถึง

ก.ล.ต. กำหนดแผนกลยุทธ์การดำเนินงานในปี 2556 จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) การยื่นมือไปยังภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้กิจการและประชาชนใช้ประโยชน์จากตลาดทุนมากขึ้น? 2) การวางรากฐานสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน? 3) การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการกำกับดูแล และ 4) การใช้โอกาสจากการเติบโตของประเทศในเอเชียที่มีการเติบโตสูงโดยมีเป้าหมายให้ตลาดทุนไทยสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ต้องการทุนและผู้ลงทุนทุกประเภท เอื้ออำนวยให้เกิดการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจและให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน ดังนี้

1) การยื่นมือไปยังภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้กิจการและประชาชนใช้ประโยชน์จากตลาดทุนมากขึ้น? มีเป้าหมายเพื่อยกระดับความสามารถการบริหารจัดการเงินและการเข้าถึงตลาดทุนของผู้ลงทุนรายย่อยและประชาชนทั่วไป รวมถึงภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) ให้อยู่ในระดับมาตรฐานและพึ่งพาตนเองได้ โดยใช้ช่องทางการเข้าถึงในหลายรูปแบบให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โครงการนำร่องที่จัดทำขึ้น ได้แก่

? 1.1) โครงการสนับสนุนให้เกิดการบริการแนะนำการจัดสรรการลงทุนสำหรับประชาชนทั่วไป (wealth management for the mass) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดสรรเงินลงทุนและสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์ของการลงทุนของตน เพื่อให้มีทรัพย์สินเพียงพอกับการใช้จ่ายในระยาว โดยการดำเนินการผ่านทั้งช่องทางจัดจำหน่ายเดิม และส่งเสริมให้ตัวกลางอื่นมีโอกาสเข้ามาดำเนินธุรกิจ โดยจะเปิดให้มีใบอนุญาตประเภทใหม่ที่ให้บริการซุปเปอร์มาร์เก็ตเพื่อการลงทุน (investment supermarket) เพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าถึงและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ทางการเงินของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนได้อย่างสะดวกและทั่วถึงยิ่งขึ้น

? 1.2) การส่งเสริมการระดมทุนของธุรกิจเอสเอ็มอีและกิจการกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับตลาดทุนและใช้เป็นช่องทางหนึ่งในการระดมเงินทุน เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปิดเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ซึ่งเป็นการพัฒนาช่องทางโดยจัดให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ได้แก่ กิจการที่ต้องการเงินทุน ที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้สอบบัญชีที่ช่วยเตรียมความพร้อม และผู้ลงทุน (ซึ่งรวมถึงธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ venture capital) ได้มีโอกาสพบปะกันผ่านกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ เช่น เวทีพบปะสนทนา การสัมมนา การอบรม การสื่อสารผ่านเว็บไซต์หรือโซเชียล เน็ตเวิร์ค เป็นต้น? ทั้งนี้ การส่งเสริมการระดมทุนนี้ยังเป็นการต่อยอดจากโครงการที่ ก.ล.ต. ได้ริเริ่มมาในปี 2555 เช่น โครงการหุ้นใหม่ ความภูมิใจของจังหวัด ซึ่งเน้นกิจการในต่างจังหวัด

2) การวางรากฐานสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยให้ความสำคัญกับทั้งการพัฒนากิจการในตลาดทุน พัฒนาผู้ลงทุน และสร้างกลไกให้เกิด market discipline และยกระดับการบังคับใช้กฎหมาย โดยโครงการที่จัดทำ ได้แก่ การจัดทำ ?แผนแม่บทเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน? ซึ่งเป็นแผนแม่บทสำหรับพัฒนากิจการในตลาดทุนให้มีคุณภาพตามแนวคิดสากลเกี่ยวกับการเป็นบริษัทที่ดี ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาล รวมทั้งการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยกำหนดมาตรฐานและเสนอมาตรการที่ช่วยพัฒนากิจการ พัฒนาผู้ลงทุนและสร้างกลไกให้เกิดวินัยจากธุรกิจเอง (self discipline) และวินัยตลาด (market discipline)? เพื่อเสริมกฎเกณฑ์จากทางการ รวมทั้งสนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมบรรษัทภิบาลให้เป็นมาตรฐานสากล เพื่อเกื้อหนุนการเติบโตที่ยั่งยืนของเศรษฐกิจไทย

3) การเพิ่มความคล่องตัวและความยืดหยุ่นของระบบการกำกับดูแล เพื่ออำนวยความสะดวกให้ภาคธุรกิจในตลาดทุนสามารถดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว จนสามารถยกระดับการพัฒนาและศักยภาพในการแข่งขันได้เพิ่มขึ้น โดยคำนึงถึงระดับและความเร็วที่เหมาะสม เพื่อให้ทางการสามารถจัดการกับความเสี่ยงต่างๆ ได้อย่างฉับไว โดยโครงการริเริ่มที่จัดทำขึ้น ได้แก่ การจัดทำเกณฑ์กลางรองรับการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ โดยจะแยกเกณฑ์ตามระดับความเสี่ยงและความซับซ้อน เพื่อส่งเสริมให้เสนอขายสินค้าได้ทันกับความต้องการและเกิดนวัตกรรมทางการเงินที่หลากหลาย

4) การสร้างโอกาสจากการเติบโตของประเทศในภูมิภาคเอเชีย เมืองไทยประกันชีวิต มีเป้าหมายเพื่อเข้าไปมีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาของประเทศเพื่อนบ้านที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง พร้อมไปกับส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยขยายโอกาสทางธุรกิจจากกลุ่มประเทศดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อให้ตลาดทุนไทยเป็นจุดเชื่อมในการลงทุนระหว่างกันและมีบทบาทสำคัญในเวทีโลก โครงการนำร่องที่จัดทำขึ้น ได้แก่

? 4.1) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (networking and continued capacity building for Greater Mekong Subregion (GMS)) โดยประสานความร่วมมือในการยกระดับความสามารถ ตลอดจนการลงนามบันทึกความเข้าใจ และมีเวทีหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อสามารถพัฒนาไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

? 4.2) การสร้างเครื่องมือระดมทุนเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศ GMS และการขยายโอกาสของกองทุนรวมไทยจากการเติบโตของกลุ่มประเทศ เช่น กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานใน GMS? พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. จะเปิดโอกาสให้กองทุนรวมไทยสามารถลงทุนใน GMS ได้ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของกลุ่มประเทศดังกล่าว

?การริเริ่ม 6 โครงการนี้ชี้ให้เห็นถึงทิศทางการพัฒนาตลาดทุนไทยที่ชัดเจน เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ ซึ่งจัดทำขึ้นโดยประเมินสถานการณ์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะสั้นและระยะยาวทั้งในและต่างประเทศ โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตลาดทุนไทยให้สามารถตอบโจทย์ของทุกภาคส่วนได้อย่างแท้จริง ด้วยการดำเนินการเพื่อให้ตลาดทุนไทยมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งบนพื้นฐานของการมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นแหล่งทุนและแหล่งลงทุนที่สำคัญของภาคธุรกิจและผู้มีเงินออม จนกลายเป็นกลไกที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนและทัดเทียมกับนานาประเทศได้ สอดคล้องกับแผนพัฒนาตลาดทุนไทยที่ต้องการให้ตลาดทุนไทยเป็นกลไกหลักในการรวบรวม จัดสรร และติดตามดูแลการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ? นายวรพล? โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าว?

เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน

เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

นางบุษรา อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า ณ สิ้นปี 2556 ธุรกิจประกันชีวิตมีสินทรัพย์ลงทุนจากบริษัทประกันชีวิตทั้งสิ้น 1.63 ล้านล้านบาท ซึ่งเงินลงทุนส่วนใหญ่มาจากเบี้ยประกันภัยที่ได้รับจากประชาชนและบริษัท มีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายคืนให้กับผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ฯ สมาคมสนับสนุนให้บริษัทประกันชีวิตทุกบริษัท ได้ปฏิบัติตามแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อลงคะแนนเห็นด้วยกับข้อเสนอที่มีประโยชน์และเป็นธรรม และจะลงคะแนนไม่เห็นด้วย เมื่อเป็นข้อเสนอที่ไม่เป็นธรรมและไม่โปร่งใส ซึ่งจะมีผลให้บริษัทประกันชีวิตเป็นที่เชื่อถือของประชาชน และส่งผลในการขับเคลื่อนให้บริษัทจดทะเบียนไทยและตลาดทุนไทยเจริญเติบโตยิ่ง ๆ ขึ้นโดยรวม

นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า สมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้มีการส่งเสริมให้บริษัทประกันวินาศภัยมีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี(Good Corporate Governance) รวมทั้งข้อพึงปฏิบัติที่ดี (Best Practice) โดยการจัดทำออกมาเป็นคู่มือสำหรับบริษัทประกันวินาศภัยโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทประกันวินาศภัยร่วมกันสร้างความเชื่อมั่นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนให้แก่ลูกค้าหรือผู้ถือกรมธรรรม์ประกันภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ธุรกิจประกันวินาศภัยเข้าสู่จุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ (Turning Point) ที่ต้องสร้างความมั่นคงแข็งแรงและมีประสิทธิภาพ จากบทบาทที่สำคัญดังกล่าว สมาคมจึงเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนให้บริษัทประกันวินาศภัยที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้ปฏิบัติตามแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อลงคะแนนเห็นด้วยกับข้อเสนอที่มีประโยชน์และเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกราย ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจมีผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่องและมั่นคง ทั้งนี้จากปี 2556 ที่ผ่านมาธุรกิจประกันวินาศภัยมีรายได้จากการลงทุนกว่า 6,700 ล้านบาท และวงเงินลงทุน 218,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ของปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นทุกปี

ก.ล.ต. สั่งพักผู้แนะนำการลงทุน 2 ราย ฐานรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทน

วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2557 | ฉบับที่ 42 / 2557

ก.ล.ต. สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนราย {ก} ขณะกระทำผิดสังกัดบริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (บล. ยูโอบี) และ {ข} สังกัดบริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (บล. กรุงศรี) เนื่องจากรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน

ก.ล.ต. ตรวจสอบการดำเนินงานตามปกติของ บล.ยูโอบี พบว่า {ก} รับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน โดยพบบทสนทนาในลักษณะที่ลูกค้ามอบหมายให้ {ก} ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทน โดย {ก} รายงานผลการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ลูกค้าทราบทางโทรศัพท์ ซึ่งหลายรายการไม่ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับราคาและจำนวนหลักทรัพย์บางรายการลูกค้าอนุญาตให้ {ก} ตัดสินใจซื้อขายแทนและลูกค้าตอบรับตามที่ {ก} เสนอ โดยสิ้นวัน {ก} จะรายงานจำนวนเงินที่ได้รับหรือต้องชำระ ซึ่งลูกค้าไม่เคยโต้แย้งหรือปฏิเสธรายการ

กรณี {ข} ก.ล.ต. ได้รับรายงานการลงโทษผู้แนะนำการลงทุน ของ บล. กรุงศรี พร้อมทั้งตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า {ข} รับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน โดยพบบทสนทนาในลักษณะที่ลูกค้ายินยอมให้ {ข} สั่งซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้า และ {ข} ได้ตัดสินใจสั่งซื้อขายหลักทรัพย์แล้วรายงานให้ลูกค้าทราบโดยลูกค้าไม่ปฏิเสธรายการซื้อขาย รวมทั้งพบว่าบางวันมีรายการซื้อขายหลักทรัพย์ แต่ {ข} ไม่รายงานให้ลูกค้าทราบอย่างครบถ้วน

การรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 20(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ก.ล.ต. จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนราย {ก} เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2557 และ {ข} เป็นเวลา 1 เดือน แต่เมื่อคำนึงถึงกรณีที่ บล.กรุงศรี ได้ลงโทษพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุนของ {ข} ไปแล้วเป็นเวลา 15 วัน จึงกำหนดระยะเวลาพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนของ {ข} ตามคำสั่งของ ก.ล.ต. อีกเป็นเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2557

ก.ล.ต. สั่งพักผู้แนะนำการลงทุนฐานรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทน

วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2557 | ฉบับที่ 43 / 2557

ก.ล.ต. สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนราย {ก} ขณะกระทำผิดสังกัดบริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด (บล.ดีบีเอส) เนื่องจากรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน

ก.ล.ต. ได้รับรายงานการตรวจสอบกรณีลูกค้าร้องเรียนผู้แนะนำการลงทุนราย {ก} ของ บล.ดีบีเอส พร้อมทั้งตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า {ก} รับมอบหมายจากลูกค้าในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนลูกค้าเป็นระยะเวลานาน ซึ่ง {ก} ยอมรับว่าลูกค้าอนุญาตให้ดูแลบัญชีหลักทรัพย์ให้โดยต้องการให้ช่วยแก้ไขบัญชีหลักทรัพย์ที่รับโอนหลักทรัพย์ที่ขาดทุนมาจากบริษัทหลักทรัพย์อื่นและ {ก} ได้ติดต่อหารือกับลูกค้าถึงแนวทางแก้ไขมาโดยตลอด รวมทั้งรายงานผลการซื้อขายหลักทรัพย์ในแต่ละวันให้ลูกค้าทราบทางโทรศัพท์มือถือในช่วงนอกเวลาทำการ

การรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 20(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ก.ล.ต. จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนราย {ก} เป็นเวลา 1 เดือน แต่เมื่อคำนึงถึงกรณีที่ บล.ดีบีเอส ได้ลงโทษพักการปฏิบัติหน้าที่ก่อนที่ {ก} ได้ลาออกจาก บล.ดีบีเอส ไปแล้วเป็นระยะเวลาครบถ้วนตามที่ ก.ล.ต. ลงโทษ จึงถือว่า {ก} ได้รับโทษพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนตามที่ ก.ล.ต. ลงโทษแล้ว

ก.ล.ต. จัดงาน ?SEC for CEO Forum? เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนและรับมือกับความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี

วันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2557 | ฉบับที่ 44 / 2557

ก.ล.ต. จัดงาน ?SEC for CEO Forum? หวังกระตุ้นให้ภาคธุรกิจเห็นความสำคัญของการดำเนินงานโดยคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเตรียมพร้อมรองรับความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า ก.ล.ต. ได้จัดงาน ?SEC for CEO Forum? ครั้งที่ 1 ประจำปี 2557 ในหัวข้อ ?ธุรกิจยุคใหม่ ใส่ใจทุกเรื่อง รับมือทุกสถานการณ์? เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2557 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนและสำนักงาน ก.ล.ต. อย่างต่อเนื่อง ซึ่งครั้งนี้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาล และการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน พร้อมกันนี้ ได้รับเกียรติจากพลโท บรรเจิด เทียนทองดี เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม และอาจารย์ปริญญา หอมเอนก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด และกรรมการ สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี เพื่อให้ภาคธุรกิจให้ตระหนักและเตรียมตัวจัดการกับความเสี่ยงดังกล่าวได้

ก.ล.ต. สนับสนุนให้ภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนใน 3 ด้าน คือ 1) CG in substance คือ การสร้างผลการดำเนินงานที่ดีให้กิจการอย่างยั่งยืนและน่าเชื่อถือ โดยเน้นการปฏิบัติอย่างจริงจัง เช่น เสริมสร้างความอิสระของกรรมการ 2) CSR in process คือ การดำเนินธุรกิจปกติด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างสมดุล และ 3) Anti-corruption in practice คือ การเป็นบริษัทต้นแบบและสร้างวัฒนธรรมการไม่คอร์รัปชันให้ภาคธุรกิจไทย

ขณะเดียวกัน ก.ล.ต. สนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนตระหนักถึงความเสี่ยงทางธุรกิจอย่างรอบด้านและสามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงทางด้านเทคโนโลยีที่เกิดจากการโจมตีทางไซเบอร์ (cyber attack) เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานและให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดความเสียหายในด้านความปลอดภัยของข้อมูลทางธุรกิจและข้อมูลลูกค้า

?การบริหารงานของบริษัทจดทะเบียนภายใต้สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน นอกจากจะมุ่งหวังให้บริษัทมีผลประกอบการดีแล้ว บริษัทยังไม่สามารถอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยวได้อีกต่อไป แต่ต้องดำเนินงานโดยมีความรับผิดชอบต่อองค์กรของตนเองและสังคม รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีคุณภาพและน่าเชื่อถือได้ในสายตาของทั้งคนในและคนนอกองค์กร มิฉะนั้นแล้วอาจไม่สามารถแข่งขันและดำเนินงานได้ตลอดรอดฝั่ง ขณะเดียวกันต้องพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นความเสี่ยงทางธุรกิจในทุกด้าน ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงของทั้งบริษัทเองและตลาดทุนโดยรวม? นายวรพล กล่าว

ก.ล.ต. ปรับปรุงหลักเกณฑ์กรรมการอิสระของผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน

วันอังคารที่ 8 เมษายน 2557 | ฉบับที่ 45 / 2557

ก.ล.ต. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องมีกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดของบริษัท ภายในวันที่ 1 มกราคม 2559

นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับตลาดทุนเห็นชอบการแก้ไขหลักเกณฑ์การมีกรรมการอิสระของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีบุคคลที่อิสระจากฝ่ายจัดการ ทำหน้าที่สอบทานการบริหารงานของบริษัทได้อย่างเหมาะสม ให้แน่ใจได้ว่าประกอบธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นธรรม และคำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ โดยผู้ประกอบธุรกิจปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจที่บริหารงานแบบกลุ่มธุรกิจการเงิน (financial conglomerate) ต้องมีกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดของบริษัท ภายในวันที่ 1 มกราคม 2559 และผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ต้องมีกรรมการอิสระอย่างน้อยตามจำนวนขั้นต่ำดังกล่าว ก่อนวันเริ่มประกอบธุรกิจ

หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีข้อยกเว้นในบางกรณี เช่น ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุนด้านหลักทรัพย์และที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เนื่องจากเป็นธุรกิจขนาดเล็กและมีจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่มากนัก และผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ระหว่างหยุดประกอบธุรกิจทุกประเภท เป็นต้น

สำหรับสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานอื่น และได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในภายหลัง เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันชีวิต หากมีกรรมการอิสระตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานดังกล่าว ให้ถือว่ามีกรรมการอิสระตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. แล้ว

?กรรมการอิสระมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารงานของธุรกิจ เพราะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีและรักษาประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ ก.ล.ต. จึงทบทวนหลักเกณฑ์ให้สมเหตุสมผลและสอดคล้องกับการปฏิบัติ เพื่อให้ภาคธุรกิจบริหารงานได้อย่างมีมาตรฐานและคล่องตัวยิ่งขึ้น? นายวรพล กล่าว

ก.ล.ต. ไทยและกัมพูชาร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านตลาดทุน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *