เมืองไทยยูแอลพลัส เมืองไทยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ


เมืองไทยยูแอลพลัส เมืองไทยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันชีวิตออนไลน์ ที่ปรึกษาประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ตัวแทนประกันชีวิต

เครียด! เป็นของโปรดของโรคร้าย ความเครียดคืออะไร?
ความเครียดเป็นอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเราได้เผชิญกับปัญหาที่ทำให้เกิดความรู้สึกกดดัน กลัว หรือไม่สบายใจ เมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว ร่างกายของเราจะตอบสนองอย่างอัตโนมัติด้วยอาการดังนี้ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายสูบฉีดเร็วและแรงมากขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น รวมไปถึงกล้ามเนื้อหดและเกร็งตัว เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการตอบสนองแบบอัตโนมัติที่เรียกว่า “การตอบสนองแบบสู้หรือหนี (Fight Or Flight Response)” เพื่อให้ร่างการต่อสู้และเอาชีวิตรอดจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะความเครียดนั้นๆ ไปให้ได้ แล้วเมื่อความเครียดหายไป อาการข้างต้นที่กล่าวมาก็จะหายไปด้วยเช่นกัน

สาเหตุของความเครียด
เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยมี 2 ปัจจัยใหญ่ๆ ดังนี้

ปัจจัยภายนอก เช่น เครียดจากการทำงาน ภาระหนี้สิน ตกงาน เกิดความขัดแย้งในความสัมพันธ์ หรือปัญหาสุขภาพ เป็นต้น
ปัจจัยภายใน บางคนสารเคมีในสมองไม่สมดุลทำให้เกิดอารมณ์เครียด เศร้า วิตกกังวลง่ายกว่าคนทั่วไป
ประเภทของความเครียด
สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่

Acute stress คือ ความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกัน เช่น หิวข้าว อากาศร้อนหรือหนาวเกินไป ความกลัว ตกใจ หรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย และเมื่อความเครียดหายไป ร่างกายก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม
Episodic acute stress คือ ความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและหลายครั้งติดต่อกัน เช่น มีปัญหาสุขภาพจนทำให้ตกงานและต่อมาคนสำคัญในชีวิตจากไปอย่างกระทันหัน เป็นต้น

Chronic stress คือ ความเครียดเรื้อรัง หรือความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้นได้ เช่น ความเครียดจากการทำงาน ความเหงา หรือความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งความเครียดประเภทนี้อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตใจและร่างกาย
ผลของความเครียด
ความเครียดส่งผลต่อทั้งสุขภาพจิตใจและร่างกาย

ผลต่อสุขภาพจิตใจ : อาการเครียดจะทำให้ความจำและสติปัญญาลดลง และยังมีผลต่อการทำงานของระบบสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และพฤติกรรม จึงทำให้เกิดอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลกว่าเวลาปกติ และในบางรายที่ตกอยู่ในภาวะเครียดมาอย่างยาวนาน อาจก่อให้เกิดอาการทางจิตได้
ดังนั้นเราจึงไม่ควรเก็บสะสมความเครียดให้อยู่กับเรามากเกินไป ควรหมั่นหาเวลาคลายเครียดบ้าง ทำงานอดิเรกที่เราชื่นชอบ ปล่อยวางเรื่องเครียดๆ ออกไปบ้างก็ได้ แต่หากลองทำทุกอย่างแล้วก็ยังไม่หายเครียดซักที ยังมีอีก 1 ทางเลือกคือการไปปรึกษาจิตแพทย์ ทุกวันนี้หลายๆ ท่านยังมีความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการปรึกษาจิตแพทย์อยู่ว่าจะต้องเป็นคนที่มีอาการทางจิต เป็นโรคจิต หรือเป็นบ้า แต่จริงๆ แล้วการไปปรึกษาจิตแพทย์ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นบ้าอย่างเดียว คนที่มีความเครียด นอนไม่หลับ ขี้กังวล หรือรู้สึกไม่ดีแต่ไม่ทราบว่าความรู้สึกที่ไม่ดีนี้เกิดจากอะไร ก็สามารถเข้าพบจิตแพทย์เพื่อหาแนวทางการแก้ไขและรักษาอาการนั้นๆได้ แต่ถ้ายังกลัวการเดินเข้าโรงพยาบาลไปแผนกจิตเวชอยู่ ก็ยังมีบริการรับปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตผ่านทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์หลายที่ให้คุณได้เลือกใช้บริการ

ตัวอย่างช่องทางที่ให้บริการปรึกษาด้านสุขภาพจิต

สายด่วนสุขภาพจิต : เมืองไทยยูแอลพลัส ให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยากว่า 30 ท่าน จากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

ช่องทางการติดต่อ : โทร 1323

ระยะเวลาทำการ : ตลอด 24 ชั่วโมง

อัตราค่าบริการ : ฟรี

Ooca : ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางด้านจิตใจโดยจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา

ช่องทางการติดต่อ : www.ooca.co หรือบนแอปพลิเคชั่น Ooca ทั้งระบบ Android และ ios

​ระยะเวลาทำการ : 08.00 – 02.00 น.

อัตราค่าบริการ : สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ฟรี

สำหรับบุคคลทั่วไป ปรึกษากับนักจิตวิทยาเริ่มต้น 1,000 บาท / ครั้ง, ปรึกษากับจิตแพทย์เริ่มต้น 1,500 บาท / ครั้ง

ผลต่อสุขภาพร่างกาย : อาการเครียดจะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลม เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตสูง และหากตกอยู่ในความเครียดเป็นเวลานานก็จะส่งผลให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอลงเรื่อยๆ เนื่องจากเกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบต่างๆ ของร่างกาย

หันมาดูแลรักษาร่างกายตั้งแต่วันนี้ ออกกำลังกายวันละนิด และรักษาจิตใจให้แจ่มใสวันละหน่อย เพื่อร่างกายที่มีค่าที่สุดของเรา แต่ความเครียดบางทีก็เลี่ยงยากเพราะเป็นสิ่งที่เราต้องพบเจออยู่ทุกวัน เพิ่มความอุ่นใจให้สุขภาพร่างกาย ด้วยตัวช่วยในการดูแลค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพเ แบบมีความรับผิดส่วนแรก จ่ายเบี้ยสบายๆ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินจากสวัสดิการที่มี

เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน

เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ

เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2556 | ฉบับที่ 57 / 2556

ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะนำหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหาร ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ผู้ประกอบธุรกิจ) มารวมไว้ในรูปของ more principle based เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละประเภทมีแนวทางการปฏิบัติงานสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้มีความรัดกุม เหมาะสม ยืดหยุ่น และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

โดยจะปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการติดต่อหรือให้บริการแก่ลูกค้า การเปิดเผยข้อมูล การให้คำแนะนำแก่ลูกค้า ระยะเวลาการให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดส่งข้อมูลหรือรายงานให้ ก.ล.ต. การป้องกันและการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการให้บริการโดยผู้ประกอบธุรกิจประเภทอื่น เช่น ธนาคารพาณิชย์ที่มีการให้บริการผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนด้วย

ในการนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทางโทรสารหมายเลข 0-2695-9763 หรือทาง e-mail ที่ kornwara@sec.or.th จนถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2556

ก.ล.ต. สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุน 2 ราย

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2556 | ฉบับที่ 58 / 2556

ก.ล.ต. สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุน สังกัดบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด มหาชน (บล. ฟินันเซีย ไซรัส) จำนวน 2 ราย ได้แก่ {ก} เป็นเวลา 2 เดือน และ {ข} เป็นเวลา 1 เดือน

ก.ล.ต. ตรวจสอบการดำเนินงานตามปกติ (routine inspection) พบว่า {ก} ไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าให้ครบถ้วนในปริมาณการซื้อขายที่สูง และ {ข} จัดทำเอกสารหลักฐานการรับคำสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่มาส่งคำสั่งที่ห้องค้าของสาขาไม่ครบถ้วนจำนวนหลายรายการ

ผู้แนะนำการลงทุนจะต้องบันทึกการให้คำแนะนำและการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์และ/หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากลูกค้าไว้ทุกครั้งอย่างครบถ้วน ดังนั้นการกระทำของ {ก} และ {ข} จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 20(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ก.ล.ต. จึงสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนราย {ก} และราย {ข} เป็นเวลา 2 เดือน และ 1 เดือน ตามลำดับ ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2556

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นการเพิ่มประเภทนักวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2556 | ฉบับที่ 59 / 2556

ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะเพิ่มประเภทการให้ความเห็นชอบนักวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค เพื่อยกระดับวิชาชีพของการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคและเปิดโอกาสให้บุคลากรที่สนใจทำหน้าที่วิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคเข้ามาปฏิบัติงานในตลาดทุนไทยเพิ่มมากขึ้น โดยนักวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคจะต้องผ่านการทดสอบหลักสูตรที่ ก.ล.ต. ยอมรับ และมีประสบการณ์ทำงานด้านการจัดทำบทวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค รวมทั้งไม่มีลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนและมีระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ 2 ปี

ในการนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทางโทรสารหมายเลข 0-2263-6332 หรือทาง e-mail ที่ kunpatu@sec.or.th จนถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2556

ก.ล.ต. พัฒนา Mobile App ?start-to-invest? เวอร์ชั่น 2 ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ลงทุน

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2556 | ฉบับที่ 60 / 2556

ก.ล.ต. ปรับปรุง Mobile App ?start-to-invest?เพิ่มข้อมูลสินค้าออกใหม่ทันใจ คำนวณเงินลงทุนโดยคำนึงถึงเงินเฟ้อ และเพิ่มความสะดวกในการติดต่อผู้ขายผู้ให้บริการได้ทันที

นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ก.ล.ต. พัฒนา Mobile App ?start-to-invest? เวอร์ชั่น 2 ออกเผยแพร่ให้ผู้ลงทุนและผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแล้ว หลังจากที่ได้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2555 และได้รับความนิยมเป็นอย่างดีจากผู้ลงทุนและผู้ที่สนใจจะลงทุน โดยเวอร์ชั่นใหม่นี้เพิ่มข้อมูลเครื่องมือทางการเงินครบถ้วนยิ่งขึ้น พร้อมอำนวยความสะดวกในการค้นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจลงทุนที่แม่นยำ พัฒนาสูตรการคำนวณที่คำนึงถึงเงินเฟ้อ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงความจริงมากขึ้น และผู้ใช้งานยังสามารถติดต่อสอบถามผู้ให้บริการได้จาก Mobile App นี้ ทำให้การลงทุนเป็นเรื่องที่ง่ายยิ่งขึ้นและทำได้ทันทีที่ต้องการ จึงเป็น ?Mobile App ที่พร้อมสรรพ สำหรับการลงทุน?

สำหรับ Mobile App ?start-to-invest? เวอร์ชั่น 2 นี้ ได้ปรับปรุงจากเวอร์ชั่นแรกที่สำคัญ ได้แก่ เพิ่มประเภทสินค้าใน ?เมนูสินค้าออกใหม่? ได้แก่ พันธบัตรออมทรัพย์และสินทรัพย์ทางเลือกประเภทอื่น ที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ทองคำ น้ำมัน และโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งเพิ่มข้อมูลที่สำคัญต่อการตัดสินใจลงทุน เช่น วันและราคาเสนอขาย กำไรต่อหุ้น ราคาปิดต่อกำไรสุทธิ เพิ่มจำนวนกองทุนใน ?เมนูกองทุนเด่น? เป็น 10 กองทุน โดยแบ่งตามนโยบายการลงทุน และเพิ่ม ?เมนูสินค้าในตลาด? ซึ่งมีข้อมูลสินค้าในตลาด 3 กลุ่ม ที่ผู้ลงทุนสามารถศึกษาก่อนตัดสินใจลงทุน ได้แก่ พันธบัตรและหุ้นกู้ หุ้น และสินทรัพย์ทางเลือกประเภทอื่น รวมทั้งได้ปรับปรุง ?เมนูคำนวณเงินลงทุน? ให้คำนวณโดยคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อ และให้สะดวกต่อการใช้งานและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ ผู้ลงทุนและผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ทั้งในระบบปฏิบัติการ IOS และ Android โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

?ก.ล.ต. สนับสนุนให้ประชาชนแสวงหาความรู้ด้านการเงินการลงทุนและการวางแผนทางการเงินอย่างต่อเนื่อง จึงได้พัฒนาเครื่องมือที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ พร้อมไปกับการพัฒนาเนื้อหาและวิธีการใช้งานให้ง่าย สะดวก และตอบสนองความต้องการลงทุนที่หลากหลาย จึงหวังว่าแอพพลิเคชันนี้จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยยกระดับความสามารถในการลงทุนของผู้ลงทุนไทยให้ดียิ่งขึ้น? นายวรพล กล่าว

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน รายงานฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2556 | ฉบับที่ 62 / 2556

ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน รายงานฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ เพื่อให้เข้าใจง่ายและอำนวยความสะดวกให้แก่ภาคธุรกิจสามารถนำไปปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง โดยยังคงหลักการเปิดเผยข้อมูลที่ต้องมีความสมดุลระหว่างข้อมูลที่จำเป็นสำหรับใช้ประกอบการพิจารณาลงทุนกับภาระของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์จะต้องปฏิบัติตาม นอกจากนี้ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ก.ล.ต. ได้เสนอแนวทางการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและการป้องกันคอร์รัปชัน เพื่อให้ทุกบริษัทตระหนักถึงความสำคัญและมีส่วนร่วมต่อการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวมากยิ่งขึ้น รวมทั้งปรับปรุงการจัดทำแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี (แบบ 56-2) เพื่อให้ข้อมูลมีความชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจมากขึ้น

ในการนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือ ทาง e-mail ที่ rg@sec.or.th จนถึงวันที่ 3 กรกฎาคม 2556

ก.ล.ต. เปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดกรณีใช้ข้อมูลภายในขายหุ้นบริษัท {หนึ่ง}

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2556 | ฉบับที่ 63 / 2556

ก.ล.ต. เปิดเผยกรณีคณะกรรมการเปรียบเทียบมีคำสั่งเปรียบเทียบ {ก} กรณีใช้ข้อมูลภายในขายหุ้นบริษัท {หนึ่ง} เป็นจำนวนเงินรวม 500,000 บาท

ก.ล.ต. ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า {ก} ขายหุ้นบริษัท {หนึ่ง} จำนวน 711,300 หุ้น ในบัญชีซื้อขายหุ้นของนิติบุคคลที่มี {ก} เป็นกรรมการผู้มีอำนาจและถือหุ้นอยู่ร้อยละ 99.98 ในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก โดยอาศัยข้อเท็จจริงด้านลบอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้นบริษัท {หนึ่ง} ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชนเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของบริษัท {หนึ่ง} ในงวดไตรมาส 1/2553 ซึ่งมีผลขาดทุนสุทธิจำนวน 37.65 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิจำนวน 47.09 ล้านบาท มีมูลค่าความแตกต่างกันจำนวน 84.74 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 179.95 และหากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (ไตรมาส 4/2552) ที่มีกำไรสุทธิจำนวน 22.12 ล้านบาท มีมูลค่าความแตกต่างกันจำนวน 59.77 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 270.21 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับผลประกอบการของบริษัทตลอดช่วง 3 ปีก่อนหน้า (ระหว่างปี 2550 – 2552) ที่บริษัทมีผลกำไรติดต่อกันทุกไตรมาส อันเป็นข้อมูลที่ {ก} ได้ล่วงรู้ข้อมูลภายในดังกล่าวมาจากการเป็นกรรมการของบริษัท {หนึ่ง} ในขณะนั้น

การกระทำของ {ก} ซึ่งเป็นบุคคลภายในบริษัท {หนึ่ง} เป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 241 ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 296 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยที่ {ก} ยินยอมเข้ารับการเปรียบเทียบ คณะกรรมการเปรียบเทียบจึงได้เปรียบเทียบปรับ {ก} เป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน REITs และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2556 | ฉบับที่ 64 / 2556

เพื่อเปิดกว้างและอำนวยความสะดวกให้ภาคเอกชนสามารถจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trusts : REITs) ได้อย่างเหมาะสม ก.ล.ต. จึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดตั้งและจัดการกองทุนดังกล่าวให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยการเพิ่มสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของเจ้าของทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงวิธีการขอมติและการนับคะแนนเสียง ของผู้ถือหน่วยลงทุน รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์การออกหน่วยลงทุนคล้ายหนี้ให้มีความชัดเจนขึ้น และผ่อนคลายหลักเกณฑ์การขอมติกรณีกองทุนรวมมีการลดทุน

สำหรับ REITs เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่สามารถให้บริการเป็นทรัสตีได้ยังมีข้อจำกัดในกรณีที่ธนาคารพาณิชน์รับเป็นทรัสตีที่จัดการ REITs ทั้งธนาคารพาณิชย์และบริษัทในกลุ่มจะไม่สามารถทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ REITs ได้ ก.ล.ต. จึงมีแนวคิดที่จะผ่อนคลายข้อจำกัดดังกล่าว หากทรัสตีมีกลไกในการแบ่งแยกหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ อย่างชัดเจน เพื่อจัดการหรือป้องกันการเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ นอกจากนี้ได้เสนอให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จะยื่นขอจัดตั้งภายในปีนี้จะต้องเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุชิ้นทรัพย์สินแบบแน่นอนแล้ว

ในการนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือ ทาง e-mail ที่ songyod@sec.or.th และ kittinee@sec.or.th จนถึงวันที่ 25 มิถุนายน 2556ก.ล.ต. สั่งพักผู้แนะนำการลงทุน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *