แบบประกันชีวิตควบการลงทุน Unite Linked UDesign Elite Health Plus วางแผนการเงิน ที่ปรึกษาการเงิน DHealth Plus เมืองไทยยูแอลพลัส UL Plus เมืองไทยประกันชีวิต
นายตนุภัทร รัตนพูลชัย รองเลขาธิการด้านกฎหมาย คดีและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2561 เวลา 10.00 น. ตนพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สายกฎหมายและคดี และสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงาน คปภ. นำผู้เสียหายจำนวน 35 คน และผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทประกันภัยจำนวน 10 บริษัทที่ได้รับความเสียหายจากบริษัท ที.ไอ.เอส. ควอลิตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด เข้าแจ้งความต่อ พ.ต.อ.ชาคริต สวัสดี รองผู้บังคับการปราบปราม เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย ณ กองบังคับการปราบปราม แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
ทั้งนี้จากการที่สำนักงาน คปภ. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้เสียหายมากกว่า 100 รายกรณี บริษัท ที.ไอ.เอส. ควอลิตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด และนางสาวจุฑาภาส อังกาพย์ กรรมการซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของบริษัท ได้กระทำการหลอกลวงโดยได้โทรศัพท์ไปหาผู้เสียหายและกล่าวอ้างว่าติดต่อจากศูนย์บริการรถยนต์ฮอนด้า พร้อมทั้งเสนอขายประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของบริษัทประกันภัยให้แก่ผู้เสียหาย โดยบริษัท ที.ไอ.เอส. ควอลิตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด จะทำการออกเอกสารใบคำขอเอาประกันภัยซึ่งอ้างว่าเป็นของบริษัทประกันภัยหลายแห่ง และออกใบแจ้งการโอนเงินค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายตกลงทำประกันภัยรถยนต์และได้ทำการชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัยแต่เมื่อถึงกำหนดรับกรมธรรม์ ผู้เสียหายไม่ได้รับกรมธรรม์ประกันภัย จึงได้โทรศัพท์ติดต่อไปยังบริษัทประกันภัย แต่บริษัทแจ้งว่าไม่มีการแจ้งขอเอาประกันภัยแต่อย่างใด ผู้เสียหายจึงติดต่อกลับมายังบริษัท ที.ไอ.เอส. ควอลิตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด เพื่อขอยกเลิกการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยและขอเงินค่าเบี้ยประกันภัยคืน ซึ่งพนักงานของบริษัท ที.ไอ.เอส. ควอลิตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด กลับไม่ยินยอมให้ยกเลิกการซื้อกรมธรรม์ หรือบ่ายเบี่ยงการคืนเงินค่าเบี้ยประกันภัยคืนให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งถึงปัจจุบันมีเพียงผู้เสียหายบางรายเท่านั้นที่ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยคืน
รองเลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมด้วยว่าจากการตรวจสอบข้อมูลการได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัย ไม่พบว่า บริษัท ที.ไอ.เอส. ควอลิตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัยแต่อย่างใด และสำหรับตัวนางสาวจุฑาภาส อังกาพย์ เองเคยได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย แต่ได้ถูกยกเลิกใบอนุญาตแล้วเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2553 และได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า เมื่อปี 2558 นางสาวจุฑาภาส อังกาพย์ ในฐานะกรรมการของบริษัท ทีที เซอร์วิส เซ็นเตอร์ จำกัด ได้กระทำการหลอกขายประกันภัยรถยนต์ให้แก่ผู้เสียหายหลายรายในลักษณะเดียวกัน ในวันนี้ (24 มกราคม) สำนักงาน คปภ. จึงได้ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปราม ให้สอบสวนดำเนินคดีกับ บริษัท ที.ไอ.เอส. ควอลิตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด และกรรมการผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการของบริษัท ในความผิดฐานกระทำการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัยโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ตามมาตรา 63 อันมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551) ส่วนผู้เสียหายได้ร้องทุกข์กล่าวโทษในความผิดฐานฉ้อโกง
นอกจากนี้ ในการชี้ช่องหรือจัดการเพื่อให้ผู้เสียหายเข้าทำสัญญาประกันภัยดังกล่าว บริษัท ที.ไอ.เอส. ควอลิตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด และนางสาวจุฑาภาส อังกาพย์ กรรมการซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของบริษัท ได้ใช้เอกสารใบคำขอเอาประกันภัยซึ่งปรากฏชื่อของบริษัทประกันภัยหลายแห่ง ได้แก่ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท แอลเอ็มจีประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็มเอสไอจีประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท โตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดหลงเชื่อว่าเอกสารใบคำขอเอาประกันภัยเป็นของบริษัทประกันภัย รวมทั้งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทประกันภัยและธุรกิจประกันภัย โดยบริษัทประกันภัยจะได้ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษบริษัท ที.ไอ.เอส. ควอลิตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด และนางสาวจุฑาภาส อังกาพย์ กรรมการซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของบริษัท ต่อกองบังคับการปราบปรามต่อไป
“สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สำนักงาน คปภ. จะไม่นิ่งนอนใจและจะเร่งหามาตรการแก้ไขปัญหาใน เชิงรุกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุในลักษณะเดียวกันนี้อีก แต่อย่างไรก็ตามอยากแนะนำให้ประชาชนตรวจสอบว่าผู้เสนอขายประกันภัยเป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตถูกต้องหรือไม่ โดยขอดูใบอนุญาตตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัย และตรวจสอบสถานะใบอนุญาตตัวแทน/นายหน้าประกันภัย รวมทั้งรายชื่อตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ได้จากเว็บไซต์ของสำนักงาน คปภ. (www.oic.or.th) โดยค้นหาจากเมนู E-Service หรือค้นหาได้จากแอพพลิเคชั่น “รอบรู้ประกันภัย” หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. โทร 1186 เพื่อจะได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้องในการซื้อประกันภัยจากตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยที่มีคุณภาพ” รองเลขาธิการกล่าวในตอนท้าย
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ แบบประกันชีวิตควบการลงทุน
เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่จังหวัดนครนายกมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมด้านการกีฬาและการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในจังหวัดนครนายกให้มีความรู้ ความสามารถด้านกีฬา จึงร่วมกับกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 39 “ขุนด่านเกมส์” ขึ้นในระหว่างวันที่ 22-30 มกราคม 2561 ณ จังหวัดนครนายก และมีความต้องการที่จะนำระบบประกันภัยมาบริหารความเสี่ยงให้แก่คณะนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมทีม รวมทั้งสิ้น 8,360 คน เพื่อคุ้มครองอุบัติเหตุทั่วไปที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางและการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาดังกล่าว
“สำนักงาน คปภ. มีนโยบายส่งเสริมการเข้าถึงระบบประกันภัยแก่ประชาชนในทุกระดับ ตลอดจนตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนากิจกรรมด้านการกีฬาและการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจแก่เด็กและเยาวชนจึงได้ประสานกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัยผ่านทางสมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยโดยเฉพาะเป็นกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเพื่อรองรับกลุ่มดังกล่าว ผลจากการหารือทางสมาคมฯได้มอบหมายให้บริษัทประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับประกันภัยและยื่นขอรับความเห็นชอบแบบกรมธรรม์ประกันภัยและอัตราเบี้ยประกันภัยต่อนายทะเบียน ซึ่งผมในฐานะนายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มให้แก่บริษัทประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยไปแล้ว เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2561 ภายใต้ชื่อ กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มสำหรับคณะนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมทีม “ขุนด่านเกมส์” ครั้งที่ 39
เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า กรมธรรม์ฉบับนี้ให้ความคุ้มครองนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ควบคุมทีมจาก 10 เขตการแข่งขัน จำนวน 8,360 คน อายุระหว่าง 8 ปี-65 ปี ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง เนื่องจากอุบัติเหตุการเสียชีวิต ไม่รวมการถูกฆาตกรรมลอบทำร้ายร่างกาย และ/หรือ อุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท และให้ความคุ้มครองผลประโยชน์การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง เนื่องจากการถูกฆาตกรรมลอบทำร้ายร่างกาย และ/หรืออุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์จำนวนเงินเอาประกันภัย 50,000 บาท นอกจากนี้ ยังได้ให้ความคุ้มครองผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างพยาบาลพิเศษ อุปกรณ์ค้ำยันต่างๆ (ยกเว้นไม้ค้ำยัน) รถเข็นผู้ป่วย อวัยวะเทียมภายนอกร่างกาย ค่ารักษาพยาบาลโดยแพทย์ทางเลือก และการฝังเข็ม จำนวนเงินเอาประกันภัย 5,000 บาท รวมทุนประกันภัยทั้งสิ้น 836 ล้านบาท มีระยะเวลาคุ้มครอง 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 20 -31 มกราคม 2561 ซึ่งกรมธรรม์ฉบับนี้ ให้ความคุ้มครองการแข่งขันกีฬารวม 34 ชนิด ได้แก่ กรีฑา กอล์ฟ คาราเต้-โด จักรยาน เซปักตะกร้อ เทควันโด เทนนิส เทเบิลเทนนิส เนตบอล บาสเกตบอล แบดมินตัน เปตอง ฟุตบอล ฟุตซอล มวยไทยสมัครเล่น มวยสากลสมัครเล่น มวยปล้ำ ยกน้ำหนัก ยิงปืน ยิมนาสติกลีลา ยูโด รักบี้ฟุตบอล ลีลาศ วอลเลย์บอล วอลเลย์บอลชายหาด ว่ายน้ำ วูซู วู้ดบอล สนุกเกอร์ หมากล้อม ฮอกกี้ แฮนด์บอล แฮนด์บอลชายหาด และปันจักสีลัต
ด้านนายณัฐพงศ์ ศิริชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ได้เดินทางมารับมอบ กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มสำหรับคณะนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมทีม “ขุนด่านเกมส์” ครั้งที่ 39 ณ สำนักงาน คปภ. และได้กล่าวขอบคุณสำนักงาน คปภ. สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย และบริษัทประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) ที่ให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มฉบับนี้ ซึ่งเป็นขวัญและกำลังใจเป็นอย่างยิ่งให้กับคณะนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมทีมที่มาจากทั่วประเทศ
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติมาตรการหักลดหย่อนภาษีสำหรับการประกันสุขภาพ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทำประกันสุขภาพจากบริษัทประกันภัยมากขึ้น โดยให้ผู้เอาประกันภัยสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพไปหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้นั้น ต่อมากรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 315) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2560 โดยให้ผู้มีเงินได้สามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพมาลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาทนั้น
ด้วยปรากฏตามที่มีการเสนอข่าวว่ามีบริษัทประกันภัยบางบริษัทกล่าวอ้างกับผู้เอาประกันภัยว่า การขอหนังสือรับรองการชำระเบี้ยสุขภาพต้องขออนุมัติจากสำนักงาน คปภ. ก่อน เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้สำนักงาน คปภ. ขอเรียนว่า ไม่เป็นความจริง จึงขอชี้แจงว่า ผู้มีเงินได้ที่จะยื่นยกเว้นภาษีตามเงื่อนไขดังกล่าวให้ใช้เอกสารหลักฐาน ดังนี้ กรณีปีภาษี 2560 ผู้มีเงินได้สามารถใช้ใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองจากบริษัทเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการยื่นภาษี
ในส่วนของปีภาษี 2561 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับเบี้ยประกันสุขภาพให้บริษัททราบ เพื่อให้บริษัทสามารถนำส่งข้อมูลเบี้ยประกันสุขภาพให้แก่กรมสรรพากร โดยผู้มีเงินได้ไม่ต้องใช้หลักฐานประกอบการยื่นขอลดหย่อนภาษี เพียงแต่แจ้งความประสงค์การนำเบี้ยประกันสุขภาพไปลดหย่อนภาษีตามแบบฟอร์มที่ได้รับจากบริษัท ก็สามารถดำเนินการยื่นภาษีได้เลย ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถโทรศัพท์สอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีเรือสปีดโบ้ท คิงโพไซดอน 959 ประสบอุบัติเหตุเครื่องยนต์ระเบิดและเกิดเพลิงไหม้บริเวณหน้าถ้ำไวกิ้ง จังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2561 เวลาประมาณ 11.00 น. โดยมีนักท่องเที่ยวได้รับบาดเจ็บ 16 ราย ตามข่าวที่ปรากฏไปแล้วนั้น สำนักงาน คปภ. ได้เร่งตรวจสอบข้อมูลในเรื่องนี้ พบว่า ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 73 (พ.ศ.2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 กำหนดให้เจ้าของเรือหรือผู้ประกอบการเดินเรือสำหรับโดยสารต้องจัดให้มีการประกันภัยคุ้มครองผู้โดยสารในเบื้องต้น นอกจากนี้ ตามกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว พ.ศ. 2556 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องมีสำเนากรมธรรม์ประประกันภัย ประกันอุบัติเหตุให้กับนักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ และผู้นำเที่ยว ในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว
ซึ่งจากการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าขณะเกิดเหตุเรือลำดังกล่าวได้ทำประกันภัยความคุ้มครองไว้ กับบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตามกรมธรรม์เลขที่ 08628-17701/POL/00425-501 เริ่มระยะเวลาความคุ้มครองวันที่ 14 มีนาคม 2560 สิ้นสุดวันที่ 14 มีนาคม 2561 โดยให้ความคุ้มครองในกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพสิ้นเชิง จำนวน 100,000 บาท ต่อคน และกรณีบาดเจ็บจะได้รับ ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาทต่อคน รวมทั้งเรือลำนี้ได้ทำประกันภัยสำหรับธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ไว้กับบริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตามกรมธรรม์เลขที่ PU1-17-PTAE-00203 เริ่มระยะเวลาความคุ้มครองวันที่ 28 ธันวาคม 2560 สิ้นสุดวันที่ 28 ธันวาคม 2561 โดยให้ความคุ้มครองในกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพสิ้นเชิง จำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท ต่อคน และกรณีบาดเจ็บจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 500,000 บาทต่อคน
“ผมได้สั่งการให้สำนักงาน คปภ. ภาค 8 เร่งประสานงานกับบริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบภัยโดยเร็ว พร้อมสั่งการให้สำนักงาน คปภ.จังหวัดกระบี่ ในพื้นที่เกิดเหตุเร่งอำนวยความสะดวกด้านการประกันภัยให้แก่ผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียหายอย่างเต็มที่แล้ว”
>> เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
>> เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ
>> เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)
ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว
คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย