แบบประกันสะสมทรัพย์ ที่ปรึกษาวางแผนสุขภาพและการเงิน ประกันคุ้มครองชีวิต เมืองไทยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ
ทำไมต้องตรวจด้วย MRI? ตรวจอะไรได้บ้าง!
หลายคนอาจคุ้นเคยกับคำว่า “ตรวจ MRI” (Magnetic Resonance Imaging) หรือที่เรียกว่าตรวจอุโมงค์แม่เหล็ก ซึ่งเป็นการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรค แต่ก็ยังมีความเข้าใจผิดๆ ว่าการตรวจ MRI จะส่งผลเสียต่อร่างกาย และยังมีค่าใช้จ่ายที่อาจจ่ายไม่ไหวหากได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ให้ตรวจ MRI กะทันหัน บางคนอาจมีประกันชีวิตและสุขภาพ แต่อาจไม่ครอบคลุมมากพอจนต้องจ่ายส่วนต่าง แต่รู้หรือไม่ว่าการตรวจด้วย MRI มีข้อดีมากกว่าที่คิด เมืองไทยประกันชีวิตจึงมีข้อมูลมาฝากอีกเช่นเคย
เครื่อง MRI ทำงานอย่างไร
เครื่อง MRI ทำงานโดยอาศัยการทำปฏิกิริยาของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นความถี่วิทยุ และอนุภาคโปรตอนที่อยู่ในส่วนประกอบของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด ซึ่งจะทำให้ได้สัญญาณภาพและจะถูกเปลี่ยนเป็นภาพของอวัยวะภายในโดยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งการตรวจ MRI ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ถึง 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับรอยโรคที่สงสัย และความร่วมมือของผู้ที่รับการตรวจ เช่น การตรวจเพื่อดูความผิดปกติของเนื้อสมองโดยรวม จะอยู่ที่ประมาณ 20-25 นาที แต่ถ้าต้องการตรวจดูหลอดเลือดด้วย เวลาที่ใช้ในการตรวจ ก็จะเพิ่มขึ้น อีก 15 นาที กรณีที่ตรวจเพื่อดูความผิดปกติของส่วนช่องท้อง จะใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที
MRI ใช้ตรวจอวัยวะใดได้บ้าง
การตรวจด้วยเครื่อง MRI ไม่ทําให้เกิดอาการเจ็บปวดระหว่างตรวจอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด และยังสามารถตรวจหาความผิดปกติได้แทบทุกอวัยวะ
ความผิดปกติของเนื้องอกส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ความผิดปกติของระบบกระดูกสันหลัง
ความผิดปกติของระบบกระดูก ข้อและกล้ามเนื้อ
ความผิดปกติบางอย่างของระบบหัวใจ
ความผิดปกติของการอุดตันหรือโป่งพองหรือความผิดปกติอื่นๆ ของระบบเส้นเลือด
หารอยโรคของตับ เช่น โรคตับแข็ง และโรคของอวัยวะอื่นๆ รวมทั้งท่อนํ้าดี ถุงน้ำดี และท่อน้ำในตับอ่อน
ความผิดปกติของถุงน้ำและเนื้องอกในไตและท่อปัสสาวะ
หาสาเหตุของอาการปวดในช่องเชิงกรานของผู้หญิง เช่น เนื้องอก
ตรวจหาเนื้องอกของเต้านม
การตรวจด้วย MRI ดีอย่างไร?
MRI แบบประกันสะสมทรัพย์ สามารถให้ภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ชัดเจน ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น สามารถทำการตรวจได้ในทุกระนาบ ไม่ใช่เฉพาะแนวขวางอย่างเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
ใช้ได้ดีกับส่วนที่ไม่ใช่กระดูก (non bony parts) คือเนื้อเยื่อ (soft tissues) โดยเฉพาะ สมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และเส้นประสาทในร่างกาย (CT scan ดูภาพกระดูกได้ดีกว่า )
ใช้ได้ดีกับ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยึดกระดูกและกล้ามเนื้อ
สามารถตรวจเส้นเลือดได้โดย ไม่ต้องเสี่ยงกับการฉีดสารทึบรังสี และการสวนสายยางเพื่อฉีดสี ซึ่งมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะมีความปลอดภัยสูงและค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำ
สะดวกสบายกว่าเพราะไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวทั้งก่อนและหลังการตรวจ สามารถกลับบ้านได้ทันทีที่ตรวจเสร็จ
ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหมือนใน CT scan เพราะไม่ใช้คลื่นรังสี
MRI และ CT Scan แตกต่างกันแค่ไหน?
CT scan (Computerized Tomography Scan) คือ การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจอวัยวะภายในร่างกาย โดยอาศัยหลักการของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการสร้างภาพ สามารถให้รายละเอียดภาพที่คมชัด และสามารถตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ได้อย่างดี และจากข้อดีของการตรวจ MRI ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหมือนใน CT scan นั้น มาดูกันดีกว่า MRI และ CT Scan แตกต่างกันอย่างไร
1. CT scan ต้องใช้รังสี แต่ MRI ไม่ใช้รังสี
2. MRI เหมาะกับการตรวจเนื้อเยื่ออ่อน แต่ CT เหมาะกับการตรวจกระดูก
3. CT ใช้เวลาในการตรวจสั้นมาก MRI ต้องใช้เวลานานกว่า
4. สารเพิ่มความชัดของภาพ (contrast media) ที่ใช้แตกต่างกัน
– การตรวจ CT ต้องมีการฉีดสารทึบแสงให้กับผู้ป่วยเพื่อเพิ่มความชัดเจนของภาพ ซึ่งมีส่วนประกอบของไอโอดีน และมีโอกาสทำให้เกิดพิษกับไตได้
– การตรวจ MRI สารเพิ่มความชัดของภาพ จะเป็น Gadolinium ไม่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ จึงไม่ทำให้เกิดพิษกับไต
5. โลหะเป็นของต้องห้ามสำหรับ MRI
– การตรวจ MRI หากมีโลหะทั้งภายในและภายนอกร่างกายเข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กอาจทำให้เกิดการเคลื่อนที่ และเป็นอันตรายได้
– ส่วนการตรวจ CT scan สามารถทำการตรวจในผู้รับการตรวจที่มีโลหะได้ เพียงแต่ภาพที่ได้อาจมีความเบลออยู่บ้าง
เมื่อทราบถึงข้อดีและประโยชน์ของการตรวจ MRI แล้ว หลายคนคงเบาใจขึ้นว่าไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย ที่สำคัญหากไม่อยากกังวลเรื่องค่ารักษา เมืองไทยประกันชีวิต ขอเสนอ สัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพแบบอีลิท เฮลท์ ที่คุ้มครองการตรวจวินิจฉัยแบบ MRI การรักษามะเร็งแบบจำเพาะเจาะจง Targeted Therapy แบบจ่ายตามจริงสูงถึง 20 – 100 ล้านบาทต่อปี คุ้มครองโรคร้ายแรงทุกระยะ โรคทั่วไป และโรคระบาด ยาวๆ ถึงอายุ 99 ปี(1) จ่ายเบี้ยเพียงเดือนละไม่เกิน 2,000 บาท(2) ให้คุณคลายกังวลทุกความเสี่ยงของเรื่องสุขภาพ
(1) ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 30 ปี แผน 1 พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย ชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
หมายเหตุ
สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ใหม่เท่านั้น
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครองและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
คปภ. แจงมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่าตามที่ได้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ส่งผลให้ทรัพย์สินของประชาชนได้ความเสียหายเป็นจำนวนมาก ประชาชนในหลายจังหวัดได้รับความเดือดร้อน โดยขณะมีผู้เสียชีวิตแล้วจำนวน 40 คนนั้น
สำนักงาน คปภ.ได้มีมาตรการให้สำนักงาน คปภ.ในส่วนภูมิภาคเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประสบภัยรีบสำรวจความเสียหายของบ้านเรือนและทรัพย์สินโดยเฉพาะรถยนต์ที่มักจะได้รับความเสียหายเป็นอันดับต้นๆเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม โดยให้รีบแจ้งบริษัทประกันภัยทราบเพื่อเข้าไปประเมินความเสียหาย ทั้งนี้ขอให้แสดงรายละเอียดความสูญเสียและมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นของทรัพย์สิน ส่วนกรณีเสียชีวิตให้แสดงหลักฐานสำเนาใบมรณะบัตร และสำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ เป็นต้น โดยมาตรการการให้ความช่วยเหลือด้านการประกันภัยในจังหวัดที่เกิดอุทกภัยมี ดังนี้
1. จัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุผู้ประสบภัยด้านการประกันภัย ใน 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และ กระบี่ ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด
2. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประสบภัยได้ทราบถึงวิธีการดำเนินการเมื่อประสบภัย รวมถึงการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัย
3. สั่งการให้บริษัทประกันภัยในพื้นที่อยู่บริการประชาชนชน ตลอด 24 ชั่วโมง จนถึงวันที่ 5 เมษายน 2554
4. ให้บริษัทประกันภัยส่งรายงานเป็นรายวัน ถึงจำนวนผู้เอาประกันภัยที่มาเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
ทั้งนี้ ได้ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ให้ผู้ประสบภัยได้รับทราบถึงมาตรการการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวแล้ว
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการให้บริการประชาชนภายหลังน้ำลด สำนักงาน คปภ. ได้ประสานอู่กลางการประกันภัย ให้ตรวจสภาพรถอีกด้วย หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลด้านการประกันภัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วนประกันภัย 1186 และสำนักงาน คปภ.จังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ
คปภ.เตรียมประเมินความเสียหาย ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่าตามที่ได้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ของไทยส่งผลให้ประชาชนหลายจังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ พัทลุง ตรัง ชุมพร สงขลา และพังงา ได้รับความเดือดร้อน บ้านเรือนและข้าวของเสียหายรวมถึงมีผู้เสียชีวิตแล้วจำนวน 13 คน โดยขณะนี้หน่วยงานภาครัฐก็ยังได้ออกประกาศเตือนให้ประชาชนเฝ้าระวังเหตุการณ์ในครั้งนี้อย่างต่อเนื่อง
สำนักงาน คปภ.ในฐานะหน่วยงานช่วยเหลือประชาชนด้านการประกันภัยได้มีมาตรการให้สำนักงาน คปภ.ในส่วนภูมิภาคเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประสบภัยรีบสำรวจความเสียหายของบ้านเรือนและทรัพย์สินโดยเฉพาะรถยนต์ที่มักจะได้รับความเสียหายเป็นอันดับต้นๆเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม โดยให้รีบแจ้งบริษัทประกันภัยทราบเพื่อเข้าไปประเมินความเสียหาย ทั้งนี้ขอให้แสดงรายละเอียดความสูญเสียและมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นของทรัพย์สิน ส่วนกรณีเสียชีวิตให้แสดงหลักฐานสำเนาใบมรณะบัตร และสำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นขอให้ประชาชนตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยที่ได้ซื้อไว้ว่ามีความคุ้มครองอะไรบ้าง โดยกรมธรรม์ประกันภัยที่มีความคุ้มครองน้ำท่วมหลักมีดังนี้
1) การประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ให้ความคุ้มครองตัวรถคันเอาประกันภัยที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นมีมูลค่าตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปของมูลค่ารถ จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนเงินเอาประกันภัย
2) การประกันอัคคีภัยที่ซื้อความคุ้มครองน้ำท่วมเพิ่มและการประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินจะได้รับความคุ้มครองตามความเสียหายตามที่ระบุไว้ในตัวกรมธรรม์
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่าอยากให้ประชาชนตระหนักว่าปัจจุบันนี้ภัยทางธรรมชาติได้สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอยู่บ่อยครั้ง โดยไม่สามารถป้องกันความสูญเสียได้ทันท่วงที ดังนั้น หากประชาชนจัดทำประกันภัยไว้ก็จะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินที่จะเกิดขึ้นภายหลังได้ โดยอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับความคุ้มครองที่เพิ่มขึ้นเป็นอัตราที่ไม่สูงมากนัก เช่น การซื้อความคุ้มครองภัยธรรมชาติ 4 ภัยสำหรับที่อยู่อาศัย(น้ำท่วม ลมพายุ แผ่นดินไหว และลูกเห็บ) มีอัตราค่าเบี้ยประกันภัยอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 0.015–0.15 ของทุนประกันภัย หรือคิดเป็นค่าเบี้ยประกันภัยประมาณ 15 – 150 บาท ต่อทุนเอาประกันภัย 100,000 บาท เป็นต้น หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลด้านการประกันภัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วนประกันภัย 1186 และสำนักงาน คปภ.จังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ
คปภ. เตือนประชาชนทำประกันภัยรับมือแผ่นดินไหว
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่าตามที่ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.8 ริกเตอร์ โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่แขวงเมืองพยาค รัฐฉาน สาธารณรัฐสหภาพพม่า ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดนของไทย เมื่อเวลาประมาณ 20.55 น. ของวันที่ 24 มีนาคม 2554 ส่งผลให้หลายจังหวัดในภาคเหนือของไทยได้รับผลกระทบจากแรงสะเทือนดังกล่าว
สำนักงาน คปภ.ขอเรียนว่ามีกรมธรรม์ประกันภัยหลายประเภทที่ให้ความคุ้มครองภัยจากแผ่นดินไหว โดยมีความคุ้มครองหลัก ดังนี้
— กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) ให้ความความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกทุกชนิด เช่น ภัยแผ่นดินไหว ภัยน้ำท่วม ภัยลมพายุ ภัยลูกเห็บ ซึ่งไม่ได้ระบุยกเว้นไว้
— กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า แรงระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับให้แสงสว่างหรือใช้ในที่อยู่อาศัย หรือภัยเพิ่มเติมอื่นๆ ซึ่ง สามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ เช่น กรณีเกิดจากแผ่นดินไหว น้ำท่วม ลมพายุ เป็นต้น
— กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (ประเภท 1) ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถที่เอาประกันภัย ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่มีค่าเสียหายส่วนแรก Deductible
ซึ่งหากทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหาย จากเหตุการณ์ดังกล่าวขอให้ตรวจสอบความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ท่านซื้อไว้ และรีบแจ้งบริษัทประกันภัยเพื่อสำรวจความเสียหายโดยเร็ว
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ หากทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้ก็จะได้รับความคุ้มครองตามสัญญาที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้สำนักงาน คปภ.ในพื้นที่ภาคเหนือเร่งสำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นการเร่งด่วนแล้ว อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นขอให้ประชาชนตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยที่ได้ซื้อไว้ว่ามีความคุ้มครองอะไรบ้าง เนื่องจากปัจจุบันมักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม บ่อยครั้งซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนซื้อประกันภัยรวมถึงความคุ้มครองเพิ่มเติมเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินของท่าน หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วนประกันภัย 1186
คปภ. ร่วมกับ สมาคมประกันวินาศภัย พัฒนากรมธรรม์ประกันภัยรถรูปแบบใหม่
ติดแถบโฮโลแกรมสามมิติ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัย เปิดตัวกรมธรรม์ประกันภัยรถรูปแบบใหม่ ติดแถบโฮโลแกรมสามมิติ ภายใต้แนวคิด “เช็ก ใช่ ชัวร์” เช็กง่ายๆ ด้วยสายตา ใช่เมื่อเห็นแถบสามมิติ และชัวร์ได้รับความคุ้มครอง
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ได้จัดโครงการตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ณ ที่ทำการขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ พบว่ามีการปลอมกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคบังคับจากกลุ่มเจ้าของรถเพื่อใช้สำหรับเสียภาษีรถยนต์ประจำปี และจากกลุ่มมิจฉาชีพ โดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการปลอม เช่น การถ่ายเอกสารสี หรือการสแกนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้เจ้าของรถที่ทำประกันภัยได้รับความเดือดร้อนเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น เนื่องจากไม่ได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัย สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับมีภารกิจหลักที่สำคัญหนึ่งคือ การคุ้มครองประชาชนให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากการประกันภัยอย่างครบถ้วน จึงได้ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัย จัดทำกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับรูปแบบใหม่ติดแถบโฮโลแกรมสามมิติ พร้อมตราสัญลักษณ์ และชื่อสมาคมประกันวินาศภัย ขนาดกว้าง 6 มิลลิเมตร ตามแนวยาวของกระดาษคล้ายกับที่ติดในธนบัตร ซึ่งจัดพิมพ์บนหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถ ทั้งนี้ จะเริ่มใช้ทุกบริษัท ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป
นายสมพร สืบถวิลกุล ประธานคณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ สมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า กรมธรรม์ประกันภัยรูปแบบใหม่นี้เป็นความร่วมมือของธุรกิจประกันภัยที่ได้ร่วมกันจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคบังคับรูปแบบใหม่ขึ้นในรูปแบบเดียวกัน เพื่อสะดวกต่อการใช้งานและช่วยป้องกันการปลอมแปลง ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมของการประกันภัยในการพิมพ์ตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือ พ.ร.บ.รถ โดยใช้กระดาษที่มีเอกลักษณ์พิเศษป้องกันการปลอมแปลง ที่มีความชัดเจนและง่ายต่อการตรวจสอบ ทั้งนี้ ผู้ที่ทำประกันภัย พ.ร.บ. หรือผู้ที่ต่ออายุพ.ร.บ.รถ สามารถตรวจสอบกรมธรรม์ที่ได้โดยการสังเกตแถบสามมิติที่อยู่ในกรมธรรม์ ที่สำคัญทุกครั้งที่ซื้อหรือต่ออายุ พ.ร.บ.รถ ควรเลือกซื้อประกันภัยผ่านตัวแทน-นายหน้าประกันวินาศภัยที่มีใบอนุญาตเท่านั้น และการจ่ายเบี้ยประกันภัยต้องได้รับเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัทประกันภัยเป็นหลักฐานทุกครั้ง พร้อมกันนี้ สมาคมประกันวินาศภัย ได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนทั่วประเทศได้รู้จักกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ.รถรูปแบบใหม่ พร้อมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจในการทำประกันภัยรถ และตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยรถด้วยตนเอง เพื่อให้มีความมั่นใจว่าได้รับความคุ้มครองอย่างครบถ้วนจากการประกันภัยกรณีที่ประสบอุบัติเหตุจากรถ นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มความสะดวกแก่กรมการขนส่งทางบกในการตรวจสอบเอกสารก่อนการต่อภาษีรถประจำปีอีกด้วย
สำนักงาน คปภ. อำนวยความสะดวกให้ผู้ประสบภัยจากรถ
ผ่านระบบสินไหมทดแทนอัตโนมัติ (E-claim)
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) อำนวยความสะดวกในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลผ่านระบบสินไหมทดแทนอัตโนมัติ (E-claim) ในวงเงิน 50,000 บาทโดยผู้ประสบภัยจากรถไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงาน คปภ. ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบสินไหมทดแทนอัตโนมัติ (E-claim) เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งคณะทำงานฯ ได้พัฒนาแนวทางและพิจารณาหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลผ่านระบบสินไหมทดแทนอัตโนมัติ (E-claim) อย่างต่อเนื่อง จากเดิมดำเนินการเฉพาะในส่วนของการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 15,000 บาท ให้สามารถเบิกจ่ายค่าเสียหายส่วนเกินผ่านระบบ E- Claim ได้ในวงเงินรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท โดยผู้ประสบภัยไม่ต้องสำรองเงินจ่ายก่อน ในกรณีรถสองคันชนกันและต่างฝ่ายต่างมีประกันภัย หรือรถมีประกันภัยประสบอุบัติเหตุเองโดยไม่มีคู่กรณี ให้เบิกจ่ายจากบริษัทที่รับประกันภัยรถคันที่โดยสาร ส่วนบุคคลภายนอกรถที่ประสบภัยให้เฉลี่ยจ่ายจากบริษัทประกันภัยทุกฝ่าย สำหรับผู้ขับขี่ที่ได้รับบาดเจ็บนั้น เมื่อทราบผลคดีว่าเป็นฝ่ายถูกแล้วก็จะได้รับการขยายวงเงินเป็น 50,000 บาท ด้วยเช่นกัน โดยมีโรงพยาบาลนำร่องที่กระทรวงสาธารณสุขคัดเลือกจำนวน 12 โรงพยาบาล ในแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งจะมีการทดลองระบบตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 และคาดว่าจะใช้เต็มระบบภายในปีนี้
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบ E-Claim เป็นระบบการเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลของผู้ประสบภัยจากรถ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ซึ่งผู้ประสบภัยไม่ต้องสำรองเงินจ่ายไปก่อน โดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้ดำเนินการตั้งเบิกค่ารักษาพยาบาลเองกับบริษัทประกันภัย ผ่านบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เพื่ออำนวยความสะดวกและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนประกันภัย 1186
>> เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
>> เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ
>> เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)
ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว
คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย