Elite Health Plus ประกันชีวิตควบคู่การลงทุน ลดหย่อนภาษีสูงสุด ประกันตลอดชีพ ประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษี ประกันบำนาญ ประกันชั่วระยะเวลา
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า ขอให้ท่านเจ้าของรถตรวจสภาพรถยนต์ของท่านตั้งแต่วันนี้เพราะถ้าท่านไปตรวจสภาพรถใกล้ครบกำหนดวันที่ 27 ธันวาคม 2556 อาจมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากท่านอาจพลาดการรับบริการได้ ทั้งนี้ประชาชนที่จะเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับภูมิลำเนาช่วงหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ 2557 ขอให้ตรวจสอบวันหมดอายุการประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ก่อนเดินทาง และควรทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล กรมธรรม์ประกันภัย 200 สำหรับรายย่อย หรือ ”ประกันภัย 200” เบี้ยประกันเพียง 200 บาทต่อปี ให้ความคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดขึ้น เพราะการทำประกันภัยสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของท่านและครอบครัวของท่านได้
นายชนะพล มหาวงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายระงับข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการ พร้อมด้วยนายพิศาล พิริยะสถิต อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงาน คปภ. นายสุชาติ สุขสุมิตร อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา และอนุญาโตตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงาน คปภ. พร้อมคณะ เดินทางไปประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันวางระบบการทำงานเกี่ยวกับกระบวนการระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัยด้วยวิธีประนอมข้อพิพาท และวิธีอนุญาโตตุลาการ ของสำนักงาน คปภ.จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอนุญาโตตุลาการ สำนักงาน คปภ. ภาคเหนือ รองรับการให้บริการและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานในการระงับข้อพิพาทด้านประกันภัยในพื้นที่ 18 จังหวัดภาคเหนือ และเตรียมความพร้อมในเบื้องต้นที่จะเข้าสู่ AEC เพราะกระบวนการระงับข้อพิพาทที่เกิดจากการประกันภัย ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอีกด้านหนึ่งของสำนักงาน คปภ. ที่จะเป็นการดูแลสิทธิประโยชน์ให้แก่ประชาชนผู้เอาประกันภัย อันเป็นการสร้างความเชื่อถือและให้ประชาชนเกิดความมั่นต่อธุรกิจประกันภัย รวมทั้งยังมีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นและทำประกันภัยมากขึ้นกับ โดยได้รับเกียรติจาก ร.อ.อ.วิวรรธน์ เพิ่มพูล อดีตอดีตอัยการอาวุโส สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งภาค 5 อนุญาโตตุลาการ สำนักงาน คปภ. ประจำที่ทำการสำนักอนุญาโตตุลาการ จังหวัดเชียงใหม่ และนายบุรินทร์ โชคเกิด อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา เข้าร่วมประชุมด้วย ณ โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด และที่ทำการอนุญาโตตุลาการ ภาคเหนือ สำนักงาน คปภ.ภาค 1 อาคาศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่
นายจรัญ สอนสวัสดิ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายส่งเสริม สำนักงาน คปภ. ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการรวมพลังภาคประชาชนสนับสนุนการสร้างสื่อการสอน และการเรียนรู้แห่งชาติ (Thailand Digital Education Content Kick off Campaign) เพื่อให้อนาคตของชาติและกระบวนการศึกษาสอดคล้องกับยุคสมัยของโลกที่ไร้พรมแดน โดยมีเครือข่ายร่วมสนับสนุนโครงการ “เด็กไทย ไม่แพ้ใครในโลก ด้วย Digital Content” ทั้งจากภาคสังคม ภาคธุรกิจ-อุตสาหกรรม ภาคการศึกษา ภาคการเงินการธนาคาร และภาคส่วนอื่น กว่า 90 หน่วยงาน ณ อาคารจามจุรีสแควร์ เมื่อเร็วๆนี้
นางสาววราวรรณ เวชชสัสถ์ รองเลขาธิการ ด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 เกิดอุบัติเหตุรถกระบะ หมายเลขทะเบียน ฒฬ 701 (ป้ายแดง) เสียหลักพุ่งชนขอบสะพานข้ามแยกบางกะปิ ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย นั้น
สำนักงาน คปภ. ได้ประสานสำนักงาน คปภ. เขตบางนา เบื้องต้นทราบว่ารถกระบะคันดังกล่าว ได้จัดทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และทำประกันภัยรถภาคสมัครใจ (ประเภท 1) กับ บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งทายาทผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันภัย ดังนี้
1. ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) 200,000 บาทต่อคน (ผู้ขับขี่จะได้รับเพียงค่าเสียหายเบื้องต้น) และ
2. ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถภาคสมัครใจ Elite Health Plus (ประเภท 1) กรณีไม่มีผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100,000 บาทต่อคน หรือกรณีมีผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 300,000 บาทต่อคน และ
3. ความคุ้มครองการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) สำหรับผู้ขับขี่ 1 คน และผู้โดยสาร 4 คน จำนวน 50,000 บาทต่อคน หากผู้โดยสารเสียชีวิตมากกว่า 4 ราย ค่าสินไหมทดแทนจะนำมาเฉลี่ยให้ทายาทผู้เสียชีวิตรายละเท่าๆ กัน
รองเลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตด้วย และทราบว่าเจ้าหน้าที่ของบริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ประสานทายาทผู้เสียชีวิตเพื่อดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแล้ว ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเร่งติดตามการจ่ายค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย ต่อไป ทั้งนี้เนื่องจากใกล้ช่วงวันหยุดยาวเทศกาลขึ้นปีใหม่ ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนออกเดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนาเป็นจำนวนมาก ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุย่อมมากขึ้นด้วย จึงขอให้ประชาชนตรวจสอบวันหมดอายุการทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ก่อนเดินทาง และหากต้องการความคุ้มครองเพิ่มควรทำประกันภัยรถภาคสมัครใจเพิ่ม ส่วนประชาชนทั่วไปก็สามารถทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลสำหรับรายย่อย หรือ “ประกันภัย 200” ได้ ด้วยเบี้ยประกันเพียง 200 บาทต่อปี ให้ความคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท โดยหาซื้อได้จากร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่น เทสโก้ โลตัส ไปรษณีย์ ตัวแทน/นายหน้าประกันภัย และสาขาบริษัทประกันชีวิต/บริษัทประกันวินาศภัย ซื้อที่ไหนให้ความคุ้มครองเหมือนกันหมด เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดได้ทุกเวลา การทำประกันภัยไว้จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของท่านและครอบครัวได้
นางสาววราวรรณ เวชชสัสถ์ รองเลขาธิการ ด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากช่วงก่อนหน้า เป็นผลจากอุปสงค์ภายในประเทศหดตัวลง โดยเฉพาะการใช้จ่ายในสินค้าคงทนประเภทรถยนต์หดตัวถึงร้อยละ 13.6 อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาคบริการขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจากการท่องเที่ยว และโทรคมนาคม ส่งผลให้ 3 ไตรมาสแรก (ม.ค. – ก.ย.) ธุรกิจประกันภัยมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทั้งสิ้น 470,783 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.90
โดยแบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยจากธุรกิจประกันชีวิต จำนวน 321,413 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากประชาชนในวงกว้างมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการประกันชีวิตมากขึ้น ประกอบกับแนวโน้มอายุขัยของประชากรที่มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นจากวิทยาการทางการแพทย์ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนหันมาสนใจการประกันชีวิตแบบบำนาญ และการประกันสุขภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด คือ การประกันชีวิตประเภทสามัญ จำนวน 267,659 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.20 รองลงมาการประกันชีวิตประเภทกลุ่ม จำนวน 43,626 ล้านบาท ขยายตัวอย่างโดดเด่นถึงร้อยละ 26.15 และการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล จำนวน 4,254 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.61 และจากธุรกิจประกันวินาศภัย จำนวนรวมทั้งสิ้น 149,369 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการประกันภัยรถมีเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด จำนวน 88,927 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 17.38 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาการประกันภัยเบ็ดเตล็ด จำนวน 47,785 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.14 และการประกันอัคคีภัย จำนวน 8,656 ล้านบาท ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 20.20
รองเลขาธิการ สำนักงาน คปภ. กล่าวเสริมว่าในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2556 อุตสาหกรรมประกันภัยทั้งธุรกิจประกันชีวิต และธุรกิจประกันวินาศภัยยังคงรักษามาตรฐานการขยายตัวได้ในอัตราที่น่าพอใจ ส่งผลให้สัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในช่วง 3 ไตรมาสแรกอยู่ที่ ร้อยละ 5.39 ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงไตรมาสที่แล้วซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.21 ทั้งนี้ คาดว่าหากอัตราการเติบโตของธุรกิจประกันภัยยังคงสามารถรักษาระดับที่ดีนี้ต่อเนื่องไปตลอดทั้งปีสัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมฯ น่าจะถึงเป้าหมายร้อยละ 6 ก่อนกำหนดเดิมที่ตั้งเอาไว้ภายในในปี 2557
นางสาววราวรรณ เวชชสัสถ์ รองเลขาธิการด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิตมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้เอาประกันภัย ทั้งผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบระยะสั้นที่ให้ผลตอบแทน และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบระยะยาว เช่น แบบตลอดชีพ ที่ปรับให้มีความหลากหลายขึ้นและประกันชีวิตแบบบำนาญที่มาพร้อมกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการประกันภัยได้อย่างทั่วถึง
ทั้งนี้ เบี้ยประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรได้ ดังนี้
1. เบี้ยประกันชีวิตที่สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิต สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุดถึง100,000 บาท โดยต้องเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีเงิน หรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมที่จ่ายในแต่ละช่วงเวลานั้น (ไม่รวมเงินปันผลตามกรมธรรม์ หรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดการชำระเบี้ยประกันชีวิต หรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดอายุกรมธรรม์)
2. เบี้ยประกันชีวิตสำหรับกรมธรรม์แบบบำนาญ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้เพิ่มจากเบี้ยประกันชีวิตได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
ส่วนเบี้ยประกันชีวิตสำหรับสัญญาเพิ่มเติม (เช่น อุบัติเหตุ/สุขภาพ เป็นต้น) ไม่สามารถนำไปใช้หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
รองเลขาธิการด้านกำกับ กล่าวเสริมว่า สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยให้กับประชาชน มีความห่วงใยถึงคุณภาพชีวิตที่ดีและอยากให้ประชาชนเห็นความสำคัญหันมาทำประกันชีวิตให้มากขึ้น โดยเฉพาะช่วงนี้ใกล้สิ้นปีแล้ว ถือเป็นช่วงเทศกาล ที่กลุ่มคนวัยทำงาน และประชาชนส่วนใหญ่จะเลือกการลงทุนที่ให้ผลประโยชน์สูงสุด และสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้ได้ด้วย การซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตจึงเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า เพราะนอกจากจะเป็นการออมอย่างมีวินัยแล้ว ยังให้ความคุ้มครองชีวิต ส่วนกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญหากผู้เอาประกันภัยมีอายุยืนยาวเข้าสู่วัยชราจะมีการจ่ายผลประโยชน์เป็นแบบรายเดือนหรือรายปีจนกว่าผู้เอาประกันภัยจะเสียชีวิต หรือระยะเวลาหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ดังนั้น หากประชาชนที่กำลังจะตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต ขอให้ศึกษาเงื่อนไขความคุ้มครอง ความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย และรายละเอียดของข้อยกเว้นให้เข้าใจเสียก่อน เพื่อให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของตนเองได้มากที่สุด หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนประกันภัย 1186
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)เปิดตัว“ประกันภัย 200”อย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่องาน “ประกันภัยรายย่อย เพื่อประชาชน” โดยได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย) เป็นประธานในพิธี ณ ห้องบอลรูมศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เป็นที่น่ายินดีที่สำนักงานคปภ. และภาคธุรกิจประกันภัยได้ร่วมกันดำเนินการตามนโยบายของภาครัฐ โดยนำระบบประกันภัยเข้ามามีส่วนช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย พัฒนาช่องทางการจำหน่ายและการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแบบครบวงจรที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประชาชนผู้ใช้แรงงาน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ รวมถึงผู้มีรายได้น้อยให้เข้าถึงระบบประกันภัยด้วยการจัดทำกรมธรรม์ “ประกันภัย 200” ซึ่งเป็นกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุราคาถูกเบี้ยประกันภัย 200 บาท ต่อปี ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตวงเงินสูงสุด 100,000 บาทนอกจากนี้ในส่วนของการทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยังมีการปรับเพิ่มความคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นในส่วนของค่ารักษาพยาบาลให้กับผู้ประสบภัยจากรถและพัฒนาระบบการจ่ายค่าสินไหมอัตโนมัติ รวมถึงการนำระบบประกันภัยมาช่วยรองรับความเสี่ยงภัยให้กับเกษตรกรใน“โครงการประกันภัยข้าวนาปี”
ทั้งนี้ ขอชื่นชมภาคธุรกิจประกันภัย ที่มีส่วนช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต่องบประมาณของรัฐบาล อีกทั้งยังช่วยสร้างหลักประกันคุณภาพชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนชาวไทยมาโดยตลอดอย่างไรก็ตาม ระบบประกันภัยจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า การจัดงาน “ประกันภัยรายย่อย เพื่อประชาชน” ครั้งนี้เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ ถึงการดำเนินงานเชิงรุกของอุตสาหกรรมประกันภัยตามแผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2553-2557) โดยการผลักดันให้ระบบประกันภัยเข้าถึงประชาชนได้ทุกระดับ ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย การเพิ่มประสิทธิภาพการให้ความคุ้มครอง ผ่านการประกันภัยรายย่อย ดังนี้
1. กรมธรรม์“ประกันภัย 200” ซึ่งสำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัยได้ร่วมกันพัฒนาขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสซื้อประกันภัยเพื่อคุ้มครองตนเอง และแบ่งเบาภาระทางการเงินของครัวเรือนได้เมื่อเกิดภัยขึ้น โดยกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกเป็นพิเศษ 200 บาท ต่อปี ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุวงเงินสูงสุด 100,000 บาท ไม่ว่าจะซื้อกับบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ 23 บริษัท ร้านสะดวกซื้อ ไปรษณีย์ ธนาคาร ความคุ้มครองเท่ากันหมดโดยประชาชนหาซื้อได้แล้วทั่วประเทศ
2. การประกันภัยรถภาคบังคับ สำนักงาน คปภ. ได้ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย ปรับเพิ่มความคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงจากเดิมไม่เกิน 15,000 บาท ต่อคน เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 30,000 บาทต่อคนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งคาดว่าความคุ้มครองใหม่จะมีผลบังคับใช้ในต้นปี 2557
นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาระบบสินไหมอัตโนมัติ (E-Claim) ซึ่งทำให้ผู้ประสบภัยจากรถได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที และไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน
3. การประกันภัยข้าวนาปี เป็นการสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ โดยการนำระบบประกันภัยมารองรับความเสี่ยงภัยให้กับเกษตรกร ซึ่งให้บริษัทประกันภัยเป็นผู้รับประกันภัยในส่วนที่เพิ่มเติมจากมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยของภาครัฐ
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า จากนี้ไปสำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัยจะร่วมกันรณรงค์เดินสายทั่วประเทศ และทำการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการประกันภัย และหันมาซื้อประกันภัยมากขึ้น โดยเฉพาะประกันภัย 200
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2556 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างประกาศ คปภ. เรื่อง อัตรา หลักเกณฑ์ และวิธีการวางเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทประกันวินาศภัย และเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการวางเงินสำรองประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และรับทราบบริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแปลงสภาพจากบริษัทจำกัด เป็นบริษัทมหาชนเป็นที่เรียบร้อย สามารถขายกรมธรรม์ประกันชีวิตรายใหม่ได้
ปัจจุบันบริษัทประกันภัยต้องวางเงินสำรองประกันภัยไว้กับนายทะเบียนในอัตราร้อยละ 25 ของเงินสำรองประกันภัยตามประกาศ คปภ. ว่าด้วยการวางเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท ปี พ.ศ. 2552 และฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2555 เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยให้ได้รับการชดใช้เงินตามสัญญาประกันภัย หากบริษัทประกันภัยเลิกประกอบธุรกิจ ด้วยพัฒนาการของการกำกับดูแลตามระดับความเสี่ยงที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน กรอบกับหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันของบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย สำนักงาน คปภ. จึงได้ปรับปรุงและจัดทำร่างประกาศดังกล่าว เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น สอดคล้องกับการกำกับตามระดับความเสี่ยงและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย โดยกำหนดให้บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยมีหลักการเดียวกันในวางเงินสำรอง โดยใช้มูลค่าเงินสำรองตามราคาประเมิน ตามประกาศ คปภ. เรื่องการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันภัย พ.ศ. 2554 ในรายงานการดำรงเงินกองทุนใน ไตรมาสที่ 2 รายงานฐานะการเงินและกิจการของบริษัทไตรมาสที่ 4 และรายงานการดำรงเงินกองทุนประจำปี และกำหนดให้บริษัทประกันภัยต้องนำทรัพย์สินมาวางไว้กับนายทะเบียนให้ถูกต้องภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาที่บริษัทต้องส่งรายงานดังกล่าว
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า ร่างประกาศฯ ดังกล่าวได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย รวมถึงบริษัทประกันภัยทุกบริษัทในการแสดงความคิดเห็น ณ เดือนกันยายน บริษัทประกันภัยได้นำทรัพย์สินลงทุนของบริษัทมาวางเป็นเงินสำรองกับนายทะเบียน จำนวนทั้งสิ้น 315,365.73 ล้านบาท โดยเป็นเงินสำรองของบริษัทประกันวินาศภัย จำนวน 20,500.54 ล้านบาท และเป็นของบริษัทประกันชีวิต 294,865.19 ล้านบาท
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) โดยสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง จัดประชุมสัมมนาวิชาการด้านการประกันภัย ประจำปี พ.ศ. 2556 (Thailand Insurance Symposium 2013)ภายใต้แนวคิด “รากฐานงานวิชาการ สู่การประกันภัยที่ยั่งยืน”โดยได้รับเกียรติจาก ปลัดกระทรวงการคลัง นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ เป็นประธานเปิดงานณ ณ ห้อง Grand Hall I ชั้น 2 โรงแรมพลาซ่า แอทธินีรอยัล เมอริเดียน
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่าการจัดงานประชุมสัมมนาวิชาการด้านการประกันภัยในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัย และการบริหารความเสี่ยงต่อสาธารณะชน และเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านการประกันภัย/ การบริหารความเสี่ยง และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบประกันภัย การกำหนดกรอบนโยบายการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยในปีนี้ มีผู้สนใจส่งผลงานวิชาการด้านการประกันภัย และการบริหารความเสี่ยงเข้าประกวดเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัลระดับปริญญาเอก ได้แก่ผลงาน เรื่อง “Fitting of Finite Mixture Distribution to Motor Insurance Claims” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รางวัลระดับปริญญาโทได้แก่ผลงาน เรื่อง “การคำนวณเบี้ยประกันชีวิตแบบชีวิตร่วมพหุลดลง” และรางวัลชมเชยระดับปริญญาโท 2 รางวัล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เลขาธิการ คปภ.กล่าวเสริมว่าภายในงาน ได้จัดให้มีการเสวนาในหัวเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจประกันภัย” เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์ในแง่มุมต่างๆ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจประกันภัยโดยได้รับเกียรติจากผู้เข้าร่วมเสวนา ทั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสภาธุรกิจประกันภัยไทยนอกจากนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “Global Economic and Insurance Market Trends” โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์จากบริษัท Swiss Reinsurance ประจำสาขาเขตบริหารพิเศษฮ่องกง โดยมีเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับทิศทางแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจโลก ทิศทางแนวโน้มของตลาดประกันภัยโลก ความผันผวนของวิกฤตทางการเงินและภัยพิบัติต่างๆที่มีผลกระทบต่อธุรกิจประกันภัย ทิศทางของตลาดประกันภัยในภูมิภาคเอเชีย และการพัฒนากฎระเบียบต่างๆของตลาดประกันภัย
สำนักงาน คปภ. นำประกันภัย 200 เข้าร่วมรางวัลสุดยอดนวัตกรรม ด้านสังคม ประจำปี 2014 (7 Innovation Award 2014) ซึ่งเป็นรางวัลที่ส่งเสริมเชิดชูและเป็นกำลังใจให้กับหน่วยงานหรือองค์กรที่มีการพัฒนาและสร้างผลงาน โดดเด่นและเป็นรูปธรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ได้ส่งผลงาน “กรมธรรม์ประกันภัย 200” หรือ “ประกันภัย 200” เข้าร่วมประกวด “สุดยอดนวัตกรรม 7 ประจำปี 2014” ในโครงการความร่วมมือขับเคลื่อนนวัตกรรมสำหรับประเทศ” และได้รับรางวัลนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ในฐานะเป็นหน่วยงานที่เป็นผู้ริเริ่มขับเคลื่อน “ประกันภัย 200” ให้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์และเป็นรูปธรรม รวมถึงยังมีการพัฒนาและสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมประกันภัยดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อสังคมที่สามารถตอบสนองความต้องการและการเข้าถึงประชาชนได้ทุกระดับ
สำหรับ “ประกันภัย 200” เป็นกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลขั้นพื้นฐานที่มีประโยชน์ต่อประชาชนทุกสาขาอาชีพโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย เนื่องจากมีเงื่อนไขเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน เบี้ยประกันภัยเพียง 200 บาท ต่อปี และได้รับความคุ้มครองวงเงินสูงสุด 100,000 บาท ไม่ว่าจะซื้อที่ไหนความคุ้มครองเท่ากันหมด โดยประชาชนสามารถหาซื้อได้ง่ายทั่วประเทศ อาทิ บริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า เคาน์เตอร์เซอวิสที่อยู่ในเซเว่นอีเลฟเว่น ทุกสาขา เคาน์เตอร์เทสโก้โลตัส บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และธนาคารฯ ที่เข้าร่วมโครงการ เป็นต้น
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยที่ผลักดันให้ “ประกันภัย 200” เกิดเป็นรูปธรรมได้เพราะความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างดียิ่ง ทั้งภาครัฐ สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน และสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย ประกอบกับสำนักงาน คปภ. มุ่งเน้นการดำเนินงานตามแผนพัฒนาประกันภัยฉบับที่ 2 (พ.ศ.2553-2557) ในการเสริมสร้างความเชื่อมั่น ตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันภัย และการเข้าถึงระบบประกันภัยได้ทุกระดับ จึงได้ทำการวิเคราะห์และศึกษาพฤติกรรมความต้องการของประชาชนในประเทศไทย และพบว่าปัจจุบันยังมีประชาชนจำนวนมาก ที่ยังขาดหลักประกันความมั่นคงให้กับชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้น เพื่อให้ระบบประกันภัยเข้ามามีส่วนช่วยแบ่งเบาภาระดังกล่าว จึงได้ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของประชาชนให้สามารถเข้าถึงระบบประกันภัยได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ จากสถิติ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2557 มียอดผู้ทำ “ประกันภัย 200” แล้วรวมทั้งสิ้น 26,643 ฉบับ เป็นของบริษัทประกันชีวิต 7 บริษัท จำนวน 17,694 ฉบับ และบริษัทประกันวินาศภัย 14 บริษัท จำนวน 8,949 ฉบับ สำนักงาน คปภ. ได้วางมาตรการเชิงรุกในการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเห็นประโยชน์และความสำคัญของการทำ “ประกันภัย 200” โดยประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับดำเนินการโครงการยุวชนประกันภัยและอาสาสมัครประกันภัยของสำนักงาน คปภ.
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2557 สืบเนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยปี 2554 บอร์ด คปภ. ได้ผ่อนผันมาตรการกฎระเบียบที่บังคับใช้กับบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวในหลายมาตรการเป็นการทั่วไป ทำให้บริษัทมีระยะเวลาในการฟื้นฟูฐานะการเงิน การจ่ายค่าสินไหมทดแทนจนสามารถผ่านพ้นวิกฤต แต่ปัจจุบันยังมีบริษัทประกันวินาศภัยบางบริษัทที่ยังต้องการระยะเวลาในการจัดการค่าสินไหมทดแทน และแก้ไขฐานะการเงินให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ บอร์ด คปภ. จึงได้เห็นชอบในหลักการขยายเวลามาตรการผ่อนผันกฎระเบียบที่ใช้บังคับกับบริษัทประกันวินาศภัยต่อไปอีก 1 ปี เป็นแบบเฉพาะราย จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2558 เพื่อให้บริษัทมีระยะเวลาในการฟื้นฟูฐานะทางการเงิน และสามารถดำเนินการตามแผนการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยได้ครบถ้วน
มาตรการผ่อนผันที่ได้รับความเห็นชอบ มีดังนี้
1. ยกเว้นการคำนวณเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านการประกันภัยและยกเว้นการนำค่า
PAD มารวมในการคำนวณสำรองประกันภัยสำหรับค่าสินไหมทดแทนน้ำท่วม
2. อนุญาตให้นับเงินกู้ยืมที่มีลักษณะตามที่ คปภ. เคยให้ความเห็นชอบเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2
และให้นับเป็นเงินกองทุนเกินกว่าจำนวนเงินกองทุนชั้นที่ 1 โดยมีลักษณะของเงินกู้ยืมดังนี้
– มีระยะเวลาชำระหนี้ไม่น้อยกว่า 10 ปี และห้ามชำระหนี้ก่อนครบกำหนด เว้นแต่
บริษัทได้ทำการเพิ่มทุนจดทะเบียนแล้วเสร็จตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนด
– เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมสามารถใช้สิทธิรับชำระหนี้ได้เป็นลำดับสุดท้าย หากบริษัทเลิกกิจการ
– เงื่อนไขและข้อตกลงตามสัญญากู้ยืมต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน
โดยบริษัทฯ ที่จะขอขยายเวลามาตรการผ่อนผันจะต้องยื่นเรื่องภายในวันที่ 15 มีนาคม 2557 และต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
1. ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยที่มีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนมากกว่า 10,000.- ล้านบาท
2. มีอัตราการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแล้ว
– ไม่น้อยกว่า 75% กรณีการรับประกันภัยตรง
– ไม่น้อยกว่า 50% กรณีการรับประกันภัยต่อ
3. มีแผนดำเนินการแก้ไขฐานะการเงินและการจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างชัดเจน สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันนี้ 31 มีนาคม 2558 และบริษัทต้องส่งรายงานความคืบหน้าทุก 3 เดือน
ทั้งนี้เบื้องต้น บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นเรื่องขอขยายเวลามาตรการผ่อนผัน ซึ่งบอร์ด คปภ. ได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้ บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) สามารถใช้มาตรการผ่อนผันได้ โดยให้สำนักงาน คปภ กำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมที่เห็นสมควรภายในกรอบการดำเนินการให้บริษัทเร่งรัดการชำระค่าสินไหมทดแทนให้ครบถ้วนและเสร็จสิ้น 100% เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาผ่อนผัน
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้บอร์ด คปภ. ได้เห็นชอบหลักการการขยายระยะเวลาการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทได้มาจากการชำระหนี้ หรือเป็นที่ทำการที่บริษัทเลิกใช้แล้ว จากที่ต้องจำหน่ายออกภายในระยะเวลา 5 ปี ให้ขยายระยะเวลาการจำหน่ายไปได้อีกไม่เกิน 2 ปี ทั้งนี้ บริษัทต้องยื่นคำขอขยายระยะเวลาต่อนายทะเบียนก่อนครบกำหนดอย่างน้อย 1 เดือน โดยบริษัทต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 140 และมีอัตราส่วนสินทรัพย์ลงทุนต่อเงินสำรองประกันภัย (กรณีบริษัทประกันชีวิต) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100และอัตราส่วนสภาพคล่อง (บริษัทประกันวินาศภัย) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100
2. มีอัตราการถือครองอสังหาริมทรัพย์ไม่เกินร้อยละ 10 ของสินทรัพย์รวมของบริษัท ณ สิ้นปีครั้งสุดท้าย
3. บริษัทมีแผนการจำหน่ายและเอกสารหลักฐานอย่างชัดเจนว่า ได้เร่งรัดการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์อย่างที่สุดแล้ว