Elite Health Plus เมืองไทยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันชีวิตควบคู่การลงทุน ประกันตลอดชีพ ประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษี ลดหย่อนภาษีสูงสุด ประกันบำนาญ ประกันชั่วระยะเวลา ออมเงินระยะสั้น
ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นการแก้ไขเกณฑ์รายงานทรัพย์สินลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจ
วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม 2557 | ฉบับที่ 93 / 2557
ก.ล.ต. มีแนวคิดจะปรับปรุงหลักเกณฑ์การรายงานทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์และตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ครอบคลุมธุรกรรมที่ยังไม่ได้มีการแยกรายการอย่างชัดเจน รวมถึงขยายขอบเขตการบังคับใช้กับธนาคารพาณิชย์และบริษัทประกันชีวิต เพื่อให้มีข้อมูลในการติดตามตรวจสอบการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าโดยแยกรายการธุรกรรมทุกประเภทธุรกิจอย่างครบถ้วน ซึ่งครอบคลุมการให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ การเป็นนายหน้า ค้า และจัดจำหน่ายหน่วยลงทุน ตลอดจนการให้บริการธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2263-6487 หรือทาง e-mail ที่ patana@sec.or.th จนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2557
ก.ล.ต. ปรับปรุงเกณฑ์เพิ่มช่องทางซื้อขายกองทุนรวม
วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม 2557 | ฉบับที่ 94 / 2557
ก.ล.ต. ปรับปรุงเกณฑ์การตั้งตัวแทนในการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน เพื่อเพิ่มช่องทางซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการลงทุนได้โดยสะดวก คาดมีผลใช้บังคับภายในต้นเดือนสิงหาคม 2557
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีมติเห็นชอบให้เพิ่มประเภทตัวกลาง (selling agent) ในการเป็นตัวแทนขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน สำหรับผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนด คือ (1) เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งไม่ใช่สถาบันการเงินและถ้าตั้งในรูปบริษัทต้องมีกระทรวงการคลังถือหุ้นโดยตรงเกินร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด (2) ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการให้บริการทางการเงิน เช่น รับฝาก-ถอน โอนเงิน หรือรับชำระเงิน (3) มีเครือข่ายเข้าถึงผู้ลงทุนในวงกว้าง (4) มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนในการให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนในระยะยาว และ (5) ความพร้อมในด้านฐานะการเงิน ระบบงานและบุคลากรในการให้บริการ
?การเพิ่มประเภทตัวกลางใหม่นี้ นอกจากจะสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจจัดการลงทุนและเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันให้แก่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่ไม่ใช่บริษัทย่อยของธนาคารพาณิชย์ได้มีช่องทางจำหน่ายหน่วยลงทุนได้กว้างขวางมากขึ้นแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีศักยภาพ เช่น ไปรษณีย์ไทย ได้เข้ามาร่วมธุรกิจตลาดทุนโดยเป็นช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงการลงทุนในกองทุนรวมได้สะดวกและลงทุนได้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ช่วยส่งเสริมนโยบายภาครัฐให้ประชาชนมีวินัยการออมและการลงทุน เตรียมพร้อมรับมือวัยเกษียณ อันจะเป็นการช่วยลดภาระของประเทศเมื่อก้าวสู่สภาวะสังคมผู้สูงอายุในอนาคต? นายวรพล กล่าวเสริม
ก.ล.ต. แต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 3 ราย
วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม 2557 | ฉบับที่ 95 / 2557
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 7/2557 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2557 มีมติแต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 3 ราย แทนกรรมการที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง โดยผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ในครั้งนี้ ได้แก่ (1) นายสุภัค ศิวะรักษ์ (2) นางโชติกา สวนานนท์ และ (3) นายสมชัย ไทยสงวนวรกุล โดยการแต่งตั้งครั้งนี้ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2557 ถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2559
ก.ล.ต. ออกเกณฑ์การเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐ
วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม 2557 | ฉบับที่ 96 / 2557
ก.ล.ต. ออกหลักเกณฑ์กำกับดูแลการออกและเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับการเสนอขายตราสารหนี้ของภาคเอกชน หวังยกระดับมาตรฐานหน่วยงานภาครัฐเทียบเท่าสากล
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่า คณะกรรมการมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การออกและเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐ ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ได้แก่ องค์การมหาชน องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 ครอบคลุมทั้งการออกและเสนอขายในประเทศที่เป็นสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ และการออกและเสนอขายผู้ลงทุนในต่างประเทศ เพื่อให้เป็นไปแนวทางเดียวกับบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด
หน่วยงานภาครัฐต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเปิดเผยข้อมูลเช่นเดียวกับภาคเอกชน กล่าวคือ หากเป็นการเสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไป ต้องยื่นคำขอต่อ ก.ล.ต. โดยมีงบการเงินเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ไม่ค้างการนำส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินต่อ ก.ล.ต. อีกทั้งต้องมีผู้บริหารที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด
นอกจากนี้ Elite Health Plus หน่วยงานภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ลงทุนโดยยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (แบบ filing) และเพิ่มเติมข้อมูลที่สำคัญต่อการตัดสินใจลงทุน เช่น กระทรวงการคลังไม่ได้ค้ำประกันทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยของตราสาร แหล่งที่มาของเงินเพื่อชำระหนี้ เป็นต้น รวมถึงลักษณะการประกอบการที่นำมาใช้วิเคราะห์ความเสี่ยงในการได้รับชำระหนี้ได้ อีกทั้งต้องรายงานผลการขายและเปิดเผยข้อมูลภายหลังการเสนอขายเช่นเดียวกับหุ้นกู้ภาคเอกชน ทั้งนี้ หากหน่วยงานภาครัฐต้องการเสนอขายแบบวงจำกัด หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการเปิดเผยข้อมูลจะผ่อนคลายมากกว่าการเสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไป
?ตราสารหนี้ได้รับความนิยมจากภาคเอกชนจำนวนมาก เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการระดมทุนจากผู้มีเงินทุนได้โดยตรง เพียงแต่ต้องมีงบการเงินที่ได้มาตรฐานและมีผู้บริหารที่มีคุณสมบัติเหมาะสม รวมถึงเปิดเผยข้อมูลสำคัญ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอสำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน การออกหลักเกณฑ์ในครั้งนี้ นับเป็นการสนับสนุนการออกและเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐให้เทียบเท่าสากลและสร้างทางเลือกในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนเพิ่มขึ้นอีกด้วย? นายวรพล กล่าว
ก.ล.ต. ร่วม 4 สถาบันอุดมศึกษาจัด ?SEC Working Papers Forum? ทุกเดือน เปิดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยสู่การปฏิบัติจริง
วันพุธที่ 9 กรกฎาคม 2557 | ฉบับที่ 97 / 2557
ก.ล.ต. ลงนามบันทึกความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ 4 แห่ง ประกอบด้วย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์จัดประชุมสัมมนา ?SEC Working Papers Forum? ทุกเดือน เปิดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างภาควิชาการกับผู้บริหารในตลาดทุน มุ่งนำบทวิจัยไปใช้ได้จริง เริ่มตั้งแต่กรกฎาคมนี้
ดร. วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า สถาบันอุดมศึกษามีผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาตลาดทุนจำนวนไม่น้อย ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาตลาดทุน ก.ล.ต. มุ่งสนับสนุนให้งานวิจัยคุณภาพดีเหล่านี้ ได้เผยแพร่ต่อสาธารณชน จุดประกายให้ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมตลาดทุน ทั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ประกอบธุรกิจตัวกลาง บริษัทจดทะเบียน ผู้ต้องการระดมทุน และผู้ลงทุน นำผลงานทางวิชาการต่อยอดสู่การปฏิบัติจริง ก.ล.ต. หวังให้ความร่วมมือนี้ สร้างโอกาสและเวทีเพื่อพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ ด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคธุรกิจในตลาดทุน
บันทึกความตกลงนี้ จะนำไปสู่การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัย 4 สถาบัน โดยแต่ละสถาบันจะเสนอประเด็นหลักที่ต้องการเผยแพร่และรับฟังความคิดเห็น โดยจะคัดเลือกผลงานวิจัยที่โดดเด่น เกี่ยวข้องกับตลาดทุน เช่น ประเด็น ?การออมเพื่อการเกษียณอายุ?โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเด็น ?จับสัญญาณลงทุนหุ้นจากหุ้นกู้? โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเด็น ?สำรวจสุขภาพบริษัทจดทะเบียน? โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประเด็น ?Sustainability Development for Thai Economy and Financial Market? โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ซึ่งในเวทีการนำเสนอผลงานวิจัยแต่ละครั้ง จะมีคณาจารย์และสถาบันที่เกี่ยวข้องในตลาดทุน อาทิ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย สมาคมบริษัทจัดการลงทุน และสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ร่วมกันแสดงความคิดเห็น เพื่อให้งานวิจัยสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
รองศาสตราจารย์ ดร. พสุ เดชะรินทร์ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการเข้าร่วมการสร้างเครือข่ายทางวิชาการกับ ก.ล.ต. และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ความร่วมมือในครั้งนี้จะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริม ผลักดันการพัฒนาทางด้านงานวิชาการของสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้งเป็นการนำความรู้ทางด้านวิชาการของสถาบันการศึกษาออกสู่สังคมและภาคธุรกิจมากขึ้น อันจะเกิดประโยชน์กับสังคมไทยโดยรวม ทางคณะฯ ขอแสดงความชื่นชมต่อ ก.ล.ต. ในการเป็นแกนหลักในการสร้างความร่วมมือในครั้งนี้ และมั่นใจว่าเครือข่ายทางวิชาการนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์กับทั้งสถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ ก.ล.ต. และสังคมไทยโดยรวม
ศาสตราจารย์ ดร. ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติในการเข้าร่วมการสร้างเครือข่ายทางวิชาการกับ ก.ล.ต. และมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่นๆ ของประเทศ โดยมีความเชื่อมั่นว่าการสร้างเวทีเสวนาที่มีทั้งนักวิชาการและนักการเงินมาร่วมให้ข้อคิดเห็น จะช่วยปรับปรุงงานวิจัยให้มีคุณภาพมากขึ้นแน่นอน โดยในเดือนสิงหาคมศกนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะนำเสนองานวิจัย 2 ชิ้น โดยเน้นเรื่องที่เกี่ยวกับการให้ข้อคิดนักลงทุนในการจับสัญญาณการลงทุนในหุ้น
ด้วยการพิจารณาหุ้นกู้ของบริษัท
รองศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล มีอำพล คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ต้องขอบคุณ ก.ล.ต. ที่ให้เกียรติทางคณะฯ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ SEC Working Papers Forum ทางคณะฯ รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับโอกาสให้ร่วมสร้างเครือข่ายงานวิจัยด้านตลาดทุนกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ และเชื่อว่าโครงการฯ นี้จะเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านตลาดทุนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกองค์กร พร้อมทั้งเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของตลาดทุนไทยและการกำกับดูแลที่ดีของ ก.ล.ต. ให้ควบคู่กันไปอย่างยั่งยืน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิพุธ อ่องสกุล คณบดีคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า ยินดีและขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเชิญจาก ก.ล.ต.ให้เข้าร่วมฟอรัมนี้ และเราเชื่อมั่นว่า จะเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดและการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ในอนาคต ในโอกาสที่นิด้าจะครบรอบ 50 ปี เราได้กำหนดหัวข้อหลักเป็นเรื่อง?Sustainability Development for Thai Economy and Financial Market? ที่เป็นความร่วมมือจากทุกคณะในนิด้ากับผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ และเราจะนำผลงานวิจัยหัวข้อนี้ มานำเสนอในฟอรัมนี้เป็นเวทีแรก
โครงการ SEC Working Papers Forum เริ่มเปิดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยเป็นครั้งแรกในวันพุธที่ 30 กรกฎาคม 2557 ภายใต้ประเด็น ?การออมเพื่อการเกษียณอายุ?โดยคณาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุม 1601 ชั้น 16 อาคารสำนักงาน ก.ล.ต. ถนนวิภาวดีรังสิต ทั้งนี้ การนำเสนอผลงานวิจัยในประเด็นที่น่าสนใจอื่นๆ จะจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน โดยมีสถาบันการศึกษาทั้ง 4 แห่งหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพร่วมกับ ก.ล.ต. ผู้สนใจเข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงานวิจัยสามารถลงทะเบียนทางอีเมลล์ได้ที่ secworkingpaper@sec.or.th ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงเกณฑ์แก้ไขฐานะการเงินเพื่อดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ
วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม 2557 | ฉบับที่ 98 / 2557
ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะปรับปรุงข้อกำหนดสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่กำลังประสบปัญหาฐานะเงินกองทุน (prudential risk) และไม่สามารถดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ตามที่ประกาศกำหนด ซึ่งข้อกำหนดที่ปรับปรุงครอบคลุมถึงระยะเวลาในการแก้ไขเงินกองทุน การจำกัดการประกอบธุรกิจขณะอยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขฐานะเงินกองทุน และการดำเนินการกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขฐานะเงินกองทุนได้ ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดโอกาสและผลกระทบที่อาจเกิดต่อลูกค้า คู่สัญญาของบริษัทหลักทรัพย์ และระบบตลาดทุนโดยรวม โดยหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่จะมีความทันสมัย สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติ
ก.ล.ต. เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2695-9930 หรือทาง e-mail ที่ kengkat@sec.or.th จนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2557
เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ
เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)
ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว
คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
?หากประชาชนได้รับการติดต่อชักชวนให้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เช่น ทองคำล่วงหน้า น้ำมันดิบล่วงหน้า ด้วยข้อเสนออัตราผลตอบแทนสูงน่าสนใจ ขออย่าได้หลงเชื่อและตรวจสอบว่าผู้ชักชวนดังกล่าวทำธุรกิจโดยได้รับใบอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนกับ ก.ล.ต. หรือไม่ จากเว็บไซต์ของ ก.ล.ต. www.sec.or.th ภายใต้หัวข้อ License Check และ Investor Alert หากพบว่ามีพฤติกรรมน่าสงสัยว่าหรือทำธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้แจ้งเบาะแสมาที่ ก.ล.ต. ที่โทร. 1207 เพื่อดำเนินการตรวจสอบต่อไป? นายศักรินทร์ กล่าวเพิ่มเติม
ก่อนหน้านี้ นายจเรได้ถูก ก.ล.ต.กล่าวโทษในฐานะที่เป็นกรรมการบริษัท ซิลเวอร์ ไลน์ เทรดดิ้ง อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัท ไดมอนด์ แอนด์ ซิลเวอร์ไลน์ กรุ๊ป จำกัด ในฐานความผิดเดียวกันในวันที่ 17 ธันวาคม 2555 ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานสอบสวน
ข่าวฉบับนี้แสดงข้อมูล ณ วันที่ออกข่าวตามที่ระบุไว้ข้างต้น หากประสงค์จะดูข้อมูลสถานะปัจจุบันของเรื่อง โปรดดู ข้อมูลการกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
ก.ล.ต. ปรับเกณฑ์หุ้นกู้อนุพันธ์ให้ชัดเจนและยืดหยุ่นมากขึ้น
วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม 2557 | ฉบับที่ 114 / 2557
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีมติเห็นชอบการปรับปรุงเกณฑ์การกำกับดูแลหุ้นกู้อนุพันธ์ให้มีความชัดเจน เข้าใจง่าย และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสกุลเงินที่จะอนุญาตให้ออกได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาทและสกุลเงินต่างประเทศ การกำหนดประเภทและคุณสมบัติของผู้ออกตราสารให้สอดคล้องกันไม่ว่าจะเสนอขายในวงจำกัด (PP) หรือในวงกว้าง (PO) การไม่กำหนดมูลค่าขั้นต่ำของตราสารไว้ที่ 10 ล้านบาททุกกรณี การยกเลิกข้อกำหนดให้มูลค่าไถ่ถอนต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของเงินต้นในกรณีที่เป็นการเสนอขายแบบ PP เป็นต้น โดยการปรับปรุงเกณฑ์ดังกล่าวสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันและการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย อันจะเป็นการสนับสนุนภาคธุรกิจในการระดมทุนด้วยหุ้นกู้อนุพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าเกณฑ์ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับได้ภายในไตรมาส 4 ของปีนี้
ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศเกณฑ์สำหรับแก้ไขฐานะการเงินเพื่อดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ
วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม 2557 | ฉบับที่ 115 / 2557
ก.ล.ต. ได้ยกร่างประกาศข้อกำหนดสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ ซึ่งปรับปรุงจากการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบธุรกิจ โดยร่างประกาศครอบคลุมถึงระยะเวลาในการแก้ไขเงินกองทุน การจำกัดการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขฐานะเงินกองทุน และการดำเนินการกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขฐานะเงินกองทุนได้ ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดโอกาสและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อลูกค้า คู่สัญญาของบริษัทหลักทรัพย์ และระบบตลาดทุนโดยรวม โดยร่างประกาศที่ปรับปรุงใหม่จะมีความชัดเจนและครอบคลุมธุรกรรมที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถให้บริการได้ และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติในปัจจุบัน
ก.ล.ต. เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2695-9930 หรือทาง e-mail ที่ kengkat@sec.or.th จนถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2557
ก.ล.ต. พร้อมสนับสนุนภาครัฐและเอกชนจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม 2557 | ฉบับที่ 116 / 2557
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ก.ล.ต. ได้ชี้แจงให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทราบถึงแนวทางการจัดตั้งกองทุนรวม โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุนไปใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยหลักเกณฑ์การจัดตั้งที่ ก.ล.ต. ได้ประกาศไปแล้วนั้นสามารถรองรับการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งจากภาครัฐและเอกชนได้ โดยปัจจุบันมีภาคเอกชนที่ได้จัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และระดมทุนไปเรียบร้อยแล้วจำนวน 3 ราย ในด้านระบบรถไฟฟ้า โรงไฟฟ้า และระบบโทรคมนาคม