MTL Click ออมเงินระยะสั้นดอกเบี้ยสูง ออมเงินระยะยาว วางแผนเกษียณ ตะกาฟุล ตะกาฟุลเมืองไทย ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ประกันโรคร้ายแรง
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 / 2557 มีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน และการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของทั้งภาครัฐ และเอกชน ส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจประกันภัยในช่วง 6 เดือนแรก (มกราคม – มิถุนายน) ปี 2557 ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทั้งสิ้น 355,605 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.51 มีสัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ร้อยละ 5.6 จากธุรกิจประกันชีวิต ร้อยละ 4 และธุรกิจประกันวินาศภัยร้อยละ 1.7
โดยแบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยจากธุรกิจประกันชีวิต จำนวน 253,871 ล้านบาท ขยายตัวอย่างโดดเด่นที่ร้อยละ 19.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อธุรกิจประกันชีวิตซึ่งมีการพัฒนาช่องทางการขายให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการประกันภัยได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มช่องทางการขายผ่านร้านสะดวกซื้อต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับรายย่อยใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้มีรายได้น้อย โดยการประกันชีวิตที่มีเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด คือ การประกันชีวิตประเภทสามัญ จำนวน 218,269 ล้านบาท ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 23.75 รองลงมาประเภทกลุ่ม จำนวน 28,785 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 3.28 และประเภทอุตสาหกรรม จำนวน 3,921 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.19 และจากธุรกิจประกันวินาศภัย จำนวนรวมทั้งสิ้น 101,734 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการประกันภัยรถมีเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด จำนวน 59,274 ล้านบาท หดตัวเล็กน้อยที่ ร้อยละ 0.48 รองลงมาการประกันภัยเบ็ดเตล็ด จำนวน 33,999 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.25 และ การประกันอัคคีภัย จำนวน 5,745 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 2.65
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่าแม้ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาสภาวะเศรษฐกิจไทยจะอยู่ในภาวะ ชะลอตัว อย่างไรก็ตามภาพรวมธุรกิจประกันภัยยังคงมีความเข้มแข็ง สะท้อนได้จากตัวเลขธุรกิจประกันภัยในช่วง 6 เดือนแรก มีอัตราการเจริญเติบโตถึงร้อยละ 13.51 ซึ่งหากว่าธุรกิจประกันภัยยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตที่ดีได้อย่างต่อเนื่อง สำนักงาน คปภ. คาดว่าอัตราการเติบโตของธุรกิจประกันภัย เมื่อสิ้นปี 2557 จะอยู่ที่ ร้อยละ15.57 จากการประกันชีวิต ร้อยละ 22.99 และประกันวินาศภัย ร้อยละ 3.78 อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยเติบโตอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัยจะมุ่งเน้นประสานความร่วมมือในการผลักดันให้ประชาชนในวงกว้างสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากระบบประกันภัยได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกันภัยสำหรับรายย่อย ที่มีอัตราเบี้ยประกันภัยต่ำ มีความคุ้มครองที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน และหาซื้อได้สะดวก
อุตสาหกรรมประกันภัยจับมือ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ผนึกกำลังด้านส่งเสริมสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้ด้านการประกันภัย และสิทธิประโยชน์จากการได้รับความช่วยเหลือเยียวยาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาเพื่อสร้างเครือข่ายพันธมิตรและเพิ่มบทบาทให้ระบบประกันภัยเป็นปัจจัยที่ 5 แก่ทุกภาคส่วน
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยพันตำรวจเอก ดร.ณรัชต์เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สมาคมประกันชีวิตไทย โดยนายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทยโดยนายอานนท์ วังวสุนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544เพื่อสร้างเครือข่ายพันธมิตรในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัย และสิทธิประโยชน์ที่ผู้เสียหายจากคดีอาญาจะได้รับเป็นค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาให้แก่ประชาชน
ทั้งนี้การลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้ การแลกเปลี่ยนข้อมูล และสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่าง 4 หน่วยงาน โดยในส่วนของภาคอุตสาหกรรมประกันภัยจะให้ความร่วมมือในการส่งเสริมสนับสนุนด้านการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้แก่บุคลากรในองค์กร หน่วยงานเครือข่าย บริษัทประกันภัย ตัวแทน/นายหน้า ประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย และประชาชนทั้งที่อยู่ และมิได้อยู่ในระบบประกันภัยได้รับความรู้ในเรื่องดังกล่าวสำหรับในส่วนของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทด้านการอำนวยความเป็นธรรมในสังคมและแก้ไขความเดือดร้อน รวมถึงให้ความช่วยเหลือเยียวยาประชาชนซึ่งตกเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาให้ได้รับความช่วยเหลือตามกฎหมายจะช่วยประสานข้อมูลให้การส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านการประกันภัยแก่บุคลากรในองค์กรและหน่วยงานเครือข่ายด้วยเช่นกัน
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันการประกันภัยนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นประชาชน สังคม หรือเศรษฐกิจ เพราะนอกจากจะช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้วในขณะเดียวกันยังมีส่วนช่วยลดภาระให้แก่สังคมและรัฐบาลรวมถึงช่วยระดมทุนเพื่อการพัฒนาประเทศดังนั้น การสร้างเครือข่ายการเผยแพร่ความรู้ด้านการประกันภัยไปยังหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สำนักงาน คปภ. จะต้องเร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อผลักดันให้การประกันภัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต และเป็นปัจจัยที่ 5 แก่สาธารณชนในวงกว้างต่อไป
สำนักงาน คปภ. ร่วมออกบูธจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ด้านการประกันภัยและประชาสัมพันธ์กรมธรรม์ประกันภัย 200 สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ในงานมหกรรมคอนเสิร์ต “คืนความสุข ให้คนในชาติ” “มหกรรมคนสร้างสุข” เพื่อเสริมสร้างความรักความสามัคคี โดยภายในงานจัดให้มีกิจกรรมร่วมเล่นเกมส์ตอบปัญหาประกันภัยแจกของรางวัลภาย ในบูธ โดยได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งจัดขึ้นที่ จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา
นายสรศักดิ์ ทันตสุวรรณ รองเลขาธิการ ด้านตรวจสอบ สำนักงาน คปภ. ให้เกียรติต้อนรับ สำนักงานประกันภัยรถผ่านแดนแห่งชาติสปป.ลาว และคณะผู้แทนบริษัทประกันภัยแห่งชาติ สปป.ลาว ในโอกาสที่เดินทางเข้าร่วมประชุม เรื่อง การส่งเสริม และพัฒนาการประกันภัยรถ ระหว่างไทย และสปป.ลาว เพื่อประสานความร่วมมือด้านการประกันภัยรถข้ามแดน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2557 ณ สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. เดินทางเข้าร่วมการประชุมThe Inaugural International Insurance Regulators and Policymakers’ Summit ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 1 -5 กันยายน 2557โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ได้ร่วมกำหนดนโยบาย และแผนงานด้านการประกันภัย พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และกรณีศึกษาระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยรวมถึงแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการเติบโตของตลาดประกันภัย ที่จำเป็นสำหรับบริษัทประกันภัยในการลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ ในการประชุมยังได้รับเกียรติจาก Mr. John Nelson, Chairman, Lloyd’s of London บรรยายให้ความรู้ในหัวเรื่อง “Issues and Challenges in the insurance industry”
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการกรมธรรม์ประกันภัย 200 สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ที่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้ว เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2556 ซึ่งสำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัยได้ประสานความร่วมมือในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในวงกว้างได้รับทราบและเห็นความสำคัญ รวมถึงเข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ของ “ประกันภัย 200” อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2557 (มกราคม – กรกฎาคม)มีกรมธรรม์ประกันภัย 200 มีทีผลบังคับแล้ว จำนวน 78,908 กรมธรรม์ขยายตัวจากเดือนที่แล้ว ร้อยละ 9 และมีค่าเติบโตเฉลี่ยตลอด 7 เดือนอยู่ที่ร้อยละ 15 ต่อเดือน รายละเอียดจำนวนกรมธรรม์ที่มีผลบังคับและจำนวนค่าสินไหมทดแทน ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2557 จากบริษัทประกันภัยที่ร่วมโครงการฯ ทั้งหมด 23 บริษัท สรุปได้ ดังนี้
ทั้งนี้ จังหวัดที่มียอดจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัย 200 สูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ กรุงเทพฯ ร้อยละ 9.23 เชียงราย ร้อยละ 4.68 เชียงใหม่ ร้อยละ 3.52 ขอนแก่น ร้อยละ 3.24 นครราชสีมา ร้อยละ 2.99 และพิจิตร ร้อยละ 2.84 และสำหรับผลการรับประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย แบบอื่นๆของทั้งธุรกิจประกันชีวิต และประกันวินาศภัย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2557 มีจำนวนกรมธรรม์ที่มีผลบังคับทั้งสิ้น จำนวน 334,848 กรมธรรม์ และมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 399,980,445 บาท โดยแบบกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับรายย่อย อื่นๆ ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่ ประกันภัยอุบัติเหตุรายย่อย ประกันภัยข้าวนาปี และประกันภัยพืชผลจากภัยแล้ง ตามสำดับ
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัยจะยังคงมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการผลักดันให้ประชาชนในวงกว้างสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากระบบประกันภัยได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกันภัยสำหรับรายย่อย ที่มีอัตราเบี้ยประกันภัยต่ำ มีความคุ้มครองที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน และหาซื้อได้สะดวก ในร้านสะดวกซื้อ ที่ทำการไปรษณีย์ และธนาคารออมสินสำหรับประกันภัย 200 เป็นการประสานความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน เป็นรูปแบบการทำประกันภัยอุบัติเหตุที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด ด้วยเบี้ยประกันภัยต่ำสุด เฉลี่ยเพียงวันละ 55 สตางค์ และบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ ล้วนมุ่งเน้นให้เป็นกิจกรรมเพื่อสังคม
สำนักงาน คปภ. MTL Click ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทยจัดงาน CEO Forum “เดินหน้าธุรกิจประกันวินาศภัยสู่ความแข็งแกร่งในอาเซียน”เพื่อทำความเข้าใจร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทประกันวินาศภัย ในการเตรียมความพร้อมในการกำหนดแผนงาน นโยบายการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจประกันภัยไทยก่อนก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้กับสมาคมประกันวินาศภัยไทย และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทประกันวินาศภัย โดยเน้นมาตรการกำหนดจำนวนเงินกองทุนขั้นต่ำ การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง ระยะที่ 2 และการส่งเสริมให้บริษัทประกันภัยเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ
ปัจจุบันธุรกิจประกันภัยมีลักษณะ Capital-intensive ใช้เงินทุนในการดำเนินกิจการเป็นจำนวนที่สูง ดังนั้นเงินกองทุน ซึ่งเป็นส่วนของผู้ถือหุ้น ถือได้ว่ามีความสำคัญมาก ในการรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน รวมถึงการขยายการรับประกันภัยเพิ่มเติมในอนาคต ดังนั้น บริษัทประกันภัยที่จะเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนจะต้องมีเงินกองทุนมากเพียงพอที่จะพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันโดยจากการศึกษาเปรียบเทียบกับธุรกิจประกันภัยในภูมิภาคอาเซียน พบว่า แม้ว่าธุรกิจประกันภัยไทยมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก แต่ธุรกิจประกันภัยไทยมีบริษัทขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก และมีศักยภาพในการแข่งขันที่ไม่เพียงพอ จึงอาจเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ และลดทอนความสามารถในการแข่งขันกับบริษัทประกันภัยในภูมิภาคอาเซียนสำนักงาน คปภ. จึงได้มีการกำหนดมาตรการเพิ่มระดับเงินกองทุนขั้นต่ำของบริษัทประกันภัยอย่างเป็นขั้นตอน ดังนี้
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ร่วมกับสมาคมนายทะเบียนประกันภัย (National Association of Insurance Commissioners: NAIC) ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดการอบรม/สัมมนา เรื่อง แนวทางการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยของประเทศสหรัฐอเมริกา ในหัวข้อ การติดตามตรวจสอบความมั่นคงทางการเงินและระบบการจัดการด้านความเสี่ยง (The U.S. Insurance Regulation and Supervision Seminar on Solvency Monitoring and Risk Governance) ระหว่างวันที่ 4-6 สิงหาคม 2557 ณ โรงแรม โฟร์ซีซั่น กรุงเทพฯ
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรม/สัมมนาฯ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 60 ท่าน ประกอบด้วย ผู้แทนจากสมาคมนายทะเบียนประกันภัยประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้แทนจากหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในเอเชีย ผู้แทนจากธนาคารโลกประจำประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รวมทั้งเจ้าหน้าที่สำนักงาน คปภ.
การจัดอบรม/สัมมนาฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรม/สัมมนาฯ มีโอกาสเรียนรู้ และได้รับประโยชน์จากแนวทางการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีหัวข้อในการบรรยายที่สำคัญ อาทิ ภาพรวมของกระบวนการติดตามตรวจสอบความมั่นคงทางการเงินของสหรัฐอเมริกา ภาพรวมของกระบวนการวิเคราะห์ทางการเงินของสหรัฐอเมริกา การตรวจสอบและประเมินการจัดการความเสี่ยงของบริษัทประกันภัย การตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น ด้านเงินสำรอง ด้านการรับประกันภัยต่อ ด้านการลงทุน ด้านการฉ้อฉล เป็นต้น
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะมีการแข่งขันและมีการรวมตัวของตลาดประกันภัยมากขึ้นดังนั้น หน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยต้องมีการเตรียมความพร้อมในหน่วยงานกำกับดูแลของตนเอง ที่จะเผชิญกับความท้าทายจากการรวมตัวทางด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถ และส่งเสริมความร่วมมือในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยระหว่างกัน ดังนั้น หน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาการติดตามตรวจสอบความมั่นคงทางการเงินและระบบการจัดการด้านความเสี่ยง และสร้างความเชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่องในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย เพื่อให้เกิดความยุติธรรม ความปลอดภัย คุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ และความมั่นคงของระบบการเงิน ต่อไป
สำนักงาน คปภ. ร่วมออกบูธจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ด้านการประกันภัยและประชาสัมพันธ์กรมธรรม์ประกันภัย 200 สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ในงาน“มหกรรมคนสร้างสุข” ที่จัดขึ้นที่ เวทีการแสดงบริเวณสนามกีฬากลาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภายในงานจัดให้มีกิจกรรมร่วมเล่นเกมส์ตอบปัญหาประกันภัยแจกของรางวัลภาย ในบูธ แก่ประชาชนที่สนใจเป็นจำนวนมาก โดยได้รับเกียรติจาก นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. เป็นประธานกล่าวเปิดงานและมอบของรางวัล
สำนักงาน คปภ. จัดเสวนาบรรยายให้ความรู้เรื่องกรมธรรม์ประกันภัย 200 ในหัวข้อ “ทำอย่างไร ให้คนไทยมีประกันภัย 200” ให้กับผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครประกันภัย โดยได้รับเกียรติจาก นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ณ โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่2 สิงหาคม 2557 ที่ผ่านมา
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ร่วมกับบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด และสมาคมประกันวินาศภัยไทย จัดพิธีมอบรางวัล e-Claim Awards 2013 รวมทั้งสิ้น 122 รางวัล แก่โรงพยาบาล และเครือข่ายมูลนิธิ กู้ชีพ กู้ภัย บริษัทประกันภัย และบุคคลผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศที่บันทึกข้อมูลในระบบดีเด่นทางด้านจ่ายค่าสินไหมทดแทนผู้ประสบภัยจากรถอย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบ e–Claim (ระบบสินไหมอัตโนมัติ) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ระบบสินไหมอัตโนมัติหรือ e–Claim ให้มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานการให้บริการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ต่อผู้ประสบภัยจากรถอย่างแท้จริง
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ถือเป็นมาตรการทางสังคมในการเสริมสร้างหลักประกัน ด้านการคุ้มครองต่อชีวิต-ร่างกายหรืออนามัยของประชาชนผู้ประสบภัยจากรถให้ได้รับการคุ้มครองดูแลและชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วยความสะดวก รวดเร็ว โดยไม่สร้างภาระให้กับผู้ประสบภัยในการต้องสำรองจ่าย
นายนพดล สันติภากรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด กล่าวว่า เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน รวมถึงเป็นการลดขั้นตอนการเบิกจ่ายเงิน สำนักงาน คปภ. สมาคมประกันวินาศภัยไทย และบริษัทกลางฯได้ร่วมกันพัฒนาระบบอิเลคทรอนิกส์เป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน ให้โรงพยาบาลเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลตรงจากบริษัทประกันภัยได้โดยประชาชนที่ประสบภัยจากรถไม่ต้องสำรองค่ารักษาพยาบาลไปก่อน ภายใต้ชื่อ ระบบสินไหมอัตโนมัติ หรือ e-Claim เพื่อใช้ร่วมกันระหว่างโรงพยาบาล กับ บริษัทประกันภัย ซึ่งปัจจุบันมีโรงพยาบาล ทั้งภาครัฐและเอกชนลงทะเบียนเข้าใช้ระบบสินไหมอัตโนมัติจำนวนมากกว่า 1,917 แห่ง ทั่วประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและเพิ่มมาตรฐานการให้บริการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชนด้านการจัดการสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ. อย่างมีระบบ รวมถึงยกระดับการให้บริการด้านสินไหมทดแทนแก่ธุรกิจประกันวินาศภัยผ่านระบบ e-Claim อย่างเป็นรูปธรรม จึงได้มีการจัดงาน พิธีมอบรางวัลผู้ใช้ระบบสินไหมอัตโนมัติดีเด่น หรือ e-Claim Awards ประจำปี 2013 ขึ้น โดยมีโรงพยาบาลและบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ารับรางวัล จำนวนทั้งสิ้น 122 รางวัล ประกอบด้วย โรงพยาบาล 64 รางวัล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล 20 รางวัล เครือข่ายมูลนิธิกู้ชีพกู้ภัย 20 รางวัล บริษัทประกันวินาศภัย 17 รางวัล และเจ้าหน้าที่ตำรวจ 1 รางวัล
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่าสำนักงาน คปภ. โดยสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย หรือ สำนักงาน คปภ. ทุกจังหวัด ก็ใช้ระบบ e-Claim นี้ด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ระบบ e-Claim เป็นระบบมาตรฐานการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ. ซึ่งในปัจจุบันมีบริษัทประกันภัยเข้าสู่ระบบ e-Claim แล้ว 45 บริษัท ทั้งนี้ ในอนาคต เมื่อระบบสินไหมอัตโนมัติมีความพร้อมมากขึ้น ก็จะมีการขยายขอบเขตการให้บริการสนับสนุนการดำเนินงานด้านอื่นของทุกบริษัทประกันภัยที่นอกเหนือ การประกันภัย พ.ร.บ. โดยอาจมีการขยายระบบให้รองรับการประกันสุขภาพ การประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ หรือการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ต่อไป
ด้านนายแพทย์อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน กล่าวว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ มีภารกิจในการสนับสนุนชุดปฏิบัติการฉุกเฉินที่มีศักยภาพ ให้การช่วยเหลือประชาชนที่มีภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน ให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม นำส่งโรงพยาบาลที่มีศักยภาพจนพ้นภาวะวิกฤติ ผ่านสายด่วน 1669 แต่ปัจจุบันพบว่าประชาชนที่ประสบภัยจากรถจำนวนมากไม่ได้รับการชดเชย ค่ารักษาพยาบาลและสิทธิประโยชน์อื่นๆ เนื่องจากไม่มีข้อมูลเพียงพอในการเบิกจ่าย ซึ่งระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน (ITEMS) ได้รับข้อมูลตรงจากชุดปฏิบัติการที่ให้การช่วยเหลือในที่เกิดเหตุโดยตรง มีระบบรายงานที่มีมาตรฐานและสามารถเชื่อมโยงกับระบบบริการสินไหมทดแทน (e- Claim) สามารถตรวจสอบสิทธิประโยชน์ได้ทันที ทำให้ประชาชนผู้ประสบภัยได้รับการช่วยเหลือดูแลรักษาพยาบาลได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน ทั้งการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยไปรักษาพยาบาล ณ สถานพยาบาลหรือการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ณ ที่เกิดเหตุ อันเป็นการยกระดับมาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินและสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนผู้ซึ่งทำประกัน พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถและประชาชน ผู้ประสบเหตุ ดังนั้นจากการประสานความร่วมมือระหว่างสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัดและสมาคมประกันวินาศภัยไทยจึงได้บูรณาการศักยภาพและบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายเพื่อให้ผู้ประสบภัยจากรถและประชาชนผู้ประสบเหตุได้รับการรักษาพยาบาลเบื้องต้นอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มการเข้าถึงบริการสิทธิตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และเพิ่มคุณภาพของการให้บริการผู้ประสบภัยจากรถและประชาชนผู้ประสบเหตุ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โดยนายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. ร่วมเป็นประธานสักขีพยาน ในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่อง “การบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ประสบภัยจากรถ” ซึ่งมีผู้ร่วมลงนาม 3 ท่าน ประกอบด้วยนายไพบูลย์ จิรายุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการประกันภัยยานยานยนต์ นายอนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และนายนพดล สันติภากรณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
สำนักงาน คปภ. ร่วมกับ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด สถานีตำรวจสุทธิสาร โรงพยาบาลปิยะเวท สมาคมผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ไทย และร่วมด้วยช่วยกัน (ฐานปฏิบัติการ CB ห้วยขวาง) ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมความรู้ด้านการประกันภัยสู่สถาบันการศึกษา เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้านการประกันภัยรถและสิทธิประโยชน์จากการประกันภัยให้กับ นักเรียน ณ โรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2557