MTL Click เมืองไทยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ


MTL Click เมืองไทยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี ประกันชีวิตออนไลน์ ที่ปรึกษาประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ

คุณรู้หรือไม่ ? กำไรจากการเทรด Cryptocurrency ต้องเสียภาษีด้วย ในปัจจุบันเราจะเห็นกระแสการนำเงินไปลงทุนใน Cryptocurrency (คริปโตเคอร์เรนซี) มากขึ้น เนื่องจากกระแสการทำกำไรเร็วทันใจ บางช่วงเวลาขึ้นเป็นหลักร้อยหรือพันเปอร์เซ็น และส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมั่นที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับระบบบล็อกเชน รวมไปถึงหลายธุรกิจในต่างประเทศให้การยอมรับสกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้มากขึ้น จึงไม่น่าแปลกที่ Cryptocurrency (คริปโตเคอร์เรนซี) ก็มีท่าทีจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วย

ลดหย่อนภาษี

ทำความรู้จักกับ Cryptocurrency สินทรัพย์ดิจิทัล และ Digital Token
Cryptocurrency (คริปโตเคอร์เรนซี) คือ สกุลเงินเข้ารหัส โดยคริปโตเคอเรนซีหรือ สินทรัพย์ดิจิทัลนั้น ได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยนโดยใช้วิทยาการเข้ารหัสหรือรหัสลับ (Cryptography) ในการป้องกันและยืนยันธุรกรรม อีกทั้งยังใช้การเข้ารหัสเพื่อควบคุมการผลิตคริปโตบางประเภทอีกด้วย โดยพื้นฐานแล้วคริปโตเคอเรนซีจะมีการจำกัดการเข้าถึงฐานข้อมูล ซึ่งนั่นทำให้การเปลี่ยนแปลงข้อมูลเป็นไปได้ยากถ้าหากยังไม่ได้กรอกเงื่อนไขเฉพาะ เราสามารถซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน และสะสมคริปโตได้

สินทรัพย์ดิจิทัล คือ หน่วยดิจิทัลสมมุติที่มีอยู่อย่างจำกัดและมีคนต้องการ จึงทำให้หน่วยสมมุตินี้มีค่าขึ้นมา ลักษณะของสินทรัพย์ดิจิทัลมีส่วนที่เหมือนกับสินทรัพย์อื่นๆ คือ เป็นสิ่งที่มีมูลค่า ซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ หรือก็คือ คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) นั่นเอง แต่สินทรัพย์ดิจิทัลไม่ได้มีแค่คริปโตเคอร์เรนซีเท่านั้น แต่รวมถึงโทเคนดิจิทัล (Digital Token) ด้วย

Digital Token (โทเคนดิจิทัล) คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิของบุคคลในการร่วมลงทุน (investment token) หรือสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าและ บริการหรือสิทธิอื่นๆ (utility token) ตามที่ได้ตกลงกับผู้ออกโทเคน ซึ่งอาจเสนอขายโทเคนผ่านกระบวนการ Initial Coin Offering (ICO) ซึ่งเป็นการระดมทุนรูปแบบหนึ่งที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาช่วย โดยบริษัทจะเสนอและ กำหนดขายโทเคนที่กำหนดสิทธิหรือผลประโยชน์ต่างๆ ของผู้ลงทุน เช่น ส่วนแบ่งกำไรจากโครงการ หรือสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือ บริการที่เฉพาะเจาะจงและกำหนดให้ผู้ลงทุนที่ต้องการจะร่วมลงทุนสามารถเข้าร่วมได้โดยการนำคริปโทฯ หรือเงิน มาแลกโทเคนที่บริษัทออก โดยมีการกำหนดและบังคับสิทธิที่จะได้รับด้วย smart contract บนเทคโนโลยีบล็อกเชน

แต่คุณรู้หรือไม่ ? MTL Click กำไรจากการเทรด Cryptocurrency ต้องเสียภาษีด้วย!!
โดยรายละเอียดภาษีที่ต้องเสียจากการเทรด Cryptocurrency มีดังนี้

กำไรจากการเทรดหักภาษี 15%
1) หากเทรดสินทัพย์ดิจิทัล แล้วได้กำไรจากการเทรด จะโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% จากกำไรส่วนต่าง
ตามเงินได้ 40(4)(ฌ), 50(2)/(ฉ) ประมวลรัษฎากร

2) หากสินทรัพย์ดิจิทัลที่ถือไว้มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ หรือส่วนแบ่งกำไรให้แก่ผู้ถือ จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% จากส่วนแบ่งกำไรหรือผลประโยชน์นั้นด้วย
ตามเงินได้มาตรา 40(4)(ซ), 50(2)/(ฉ) ประมวลรัษฎากร

– เงินได้ 40(4)(ฌ) คือ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป)

– เงินได้ 40(4)(ซ) คือ เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือ ครอบครองโทเคนดิจิทัล
– มาตรา 50(2)/(ฉ) ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ซ) และ (ฌ) ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ต้องยื่นภาษีประจำปีด้วย

รายได้จากสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้ แม้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ไปแล้ว แต่ก็ยังต้องนำมายื่นภาษีประจำปีด้วยอยู่ดี ซึ่งในส่วนนี้จะแตกต่างกับรายได้จากกรลงทุนในรูปของดอกเบี้ยหรือเงินปันผลอย่างชัดเจน ที่สามารถปล่อยให้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยไม่ต้องนำมายื่นภาษีอีกก็ได้ ดังนั้น การหักภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล ณ ที่จ่าย 15% จึงเป็นเพียงการชำระภาษีล่วงหน้าเท่านั้น ยังไม่ใช่ภาษีสุดท้าย
ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายใดๆได้

เนื่องจากเงินได้ประเภทที่ 4 คือ เงินได้พึงประเมินในรูปของ ดอกเบี้ย และเงินปันผล รวมถึงรายได้ลักษณะเดียวกันที่ทำให้ผู้รับเงินมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเงินได้ประเภทที่ 4 ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้เลย แม้ว่าการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลจะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจริงเช่น ค่าเครื่องขุด, ค่าไฟฟ้า, ค่าเช่าด้วย ก็ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้

เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน

เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน 2556 | ฉบับที่ 41 / 2556

ก.ล.ต. กำหนดระยะเวลาในการรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนของ {ก} อดีตผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนสังกัดบริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด เมื่อพ้น 9 เดือน เนื่องจากรับมอบหมายจากลูกค้าในการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแทน และปกปิดข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง

ก.ล.ต. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด และตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า {ก} อดีตผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนสังกัดบริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก รับมอบหมายจากลูกค้าในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแทน โดยรายงานให้ลูกค้าทราบภายหลัง หรือบางครั้งทำรายการซื้อขายไปก่อนและรายงานให้ลูกค้าทราบเมื่อถูกสอบถาม ทั้งนี้ {ก} ได้รับมอบหมายจากลูกค้าในการซื้อขายแทนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน และมีปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจำนวนมาก ทำให้ลูกค้าเสียหายเป็นจำนวนสูงมาก นอกจากนี้ {ก} ได้ยืนยันยอดเงินหลักประกันคงเหลือในบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าไม่ตรงต่อความเป็นจริง

การกระทำของ {ก} ดังกล่าวเป็นการรับมอบหมายจากลูกค้าในการตัดสินใจซื้อขายแทน และปกปิดข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 20(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 แต่เนื่องจากการได้รับความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนของ {ก} ได้สิ้นสุดลงเพราะเหตุครบอายุการให้ความเห็นชอบ ก.ล.ต. จึงกำหนดระยะเวลาในการรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนของ {ก} เมื่อพ้น 9 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2556

ก.ล.ต. ย้ำให้ผู้ถือหุ้น GLAND ไปใช้สิทธิออกเสียง กรณีคณะกรรมการตรวจสอบ และที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเห็นว่ารายการที่ GLAND จะเข้าลงทุนเพื่อให้ได้ที่ดินจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท มีราคาไม่เหมาะสม

วันพุธที่ 17 เมษายน 2556 | ฉบับที่ 42 / 2556

ตามที่ปรากฏข่าวว่า บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) (“GLAND”) จะขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นเพื่อซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของ บริษัท บีบีทีวี มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (“BBTVM”) จากผู้ถือหุ้นเดิม เพื่อให้ได้ที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ BBTVM จำนวน 6 แปลง หลังจากนั้น GLAND จะให้ BBTVM เข้าซื้อที่ดิน 1 แปลงจากบริษัท ซีเคเอส โฮลดิ้ง จำกัด (“CKS”) โดยที่ดินทั้ง 7 แปลง อยู่ใกล้โครงการแกรนด์พระราม 9 ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่งของ GLAND ทั้งนี้ คณะกรรมการ GLAND ให้เหตุผลว่ารายการดังกล่าวเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อบริษัท และราคาในการเข้าทำรายการก็เป็นราคาที่เหมาะสม

โดยที่การทำรายการดังกล่าวขนาดของรายการมีนัยสำคัญ และเป็นการซื้อหุ้นและที่ดินจากบริษัทในกลุ่มรัตนรักษ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน GLAND จึงเข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันและรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ที่ต้องขออนุมัติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ดังนั้น GLAND จึงจะนำเสนอการทำรายการดังกล่าวในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2556 ในวันที่ 25 เมษายน 2556

อย่างไรก็ดี ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (“IFA”) เห็นว่า ผู้ถือหุ้นไม่ควรอนุมัติรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์และรายการที่เกี่ยวโยงกันในครั้งนี้ เนื่องจากราคาในการเข้าทำรายการไม่เหมาะสม กล่าวคือ ราคาซื้อขายที่ดินโดยเฉลี่ยของที่ดินทั้ง 7 แปลงมีมูลค่ารวม 1,336.81 ล้านบาท ในขณะที่ผู้ประเมินราคาอิสระ 2 ราย บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทเน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ คอนซัลแทนท์ จำกัด ให้ราคาประเมินที่มูลค่า 1,172.75 และ 1,100.72 ล้านบาท ตามลำดับ ราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงสูงกว่าราคาประเมินของผู้ประเมินราคาอิสระถึง 164 ? 236 ล้านบาท นอกจากนี้ จากข้อมูลในสารสนเทศการเข้าทำรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์และรายการที่เกี่ยวโยงกัน ซึ่ง GLAND แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรากฏว่า คณะกรรมการตรวจสอบของ GLAND ก็เห็นว่า ราคาในการเข้าทำรายการไม่เหมาะสมตามความเห็นของ IFA และขอให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความเห็นของ IFA เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติการทำรายการดังกล่าว

ก.ล.ต. จึงขอให้ผู้ถือหุ้นโปรดศึกษาข้อมูลโดยละเอียดและใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นในการรักษาประโยชน์ของตนเอง พร้อมกับขอให้ซักถามผู้บริหารบริษัทถึงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้มีข้อมูลครบถ้วนเพื่อประกอบการตัดสินใจด้วย

อนึ่ง รายการดังกล่าวข้างต้นต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยไม่นับส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย

ก.ล.ต. ห้ามปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์และเพิกถอนการปฎิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุน 1 ราย และสั่งพักการปฎิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุน 3 ราย

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2556 | ฉบับที่ 43 / 2556

ก.ล.ต. ห้ามปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) และเพิกถอนการปฏิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุนราย {ก} ขณะกระทำผิดสังกัดบริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) และสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุน 3 ราย ได้แก่ (1) {ข} ขณะกระทำผิดสังกัด บล. ฟินันซ่า จำกัด (มหาชน) (2) {ค} สังกัด บล. บีที จำกัด (ปัจจุบันคือ บล. ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด) และ (3) {ฆ} ขณะกระทำผิดสังกัด บล. บีฟิท จำกัด (ปัจจุบันคือ บล. โอเอสเค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2556

ก.ล.ต. ได้รับรายงานการตรวจสอบจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมพบว่า {ก} ซึ่งเป็นผู้อำนวยการอาวุโสด้านหลักทรัพย์และผู้แนะนำการลงทุนกระทำการเป็นตัวการร่วมกับนายสมชาย ชัยศรีชวาลา ในกรณีการสร้างราคาหลักทรัพย์บริษัท เอเซีย เมทัล จำกัด (มหาชน) (AMC) ในช่วงระหว่างวันที่ 13 กันยายน 2549 ถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 โดยเป็นผู้จัดหาบัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้าจำนวน 2 ราย เพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ AMC ในลักษณะสร้างราคาให้แก่นายสมชาย และจัดหาบัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้าอีกจำนวน 1 ราย เพื่อใช้ซื้อขายหลักทรัพย์ AMC ในลักษณะสร้างราคา และหลักทรัพย์อื่นเพื่อตนเอง รวมทั้งส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีของลูกค้าทั้ง 3 รายดังกล่าว ซึ่ง {ก} ปฏิเสธข้อกล่าวหาทุกกรณี แต่มิได้แสดงเอกสารหลักฐานอื่นที่มีน้ำหนักมาหักล้างข้อเท็จจริงที่ ก.ล.ต. ตรวจพบได้ ทั้งนี้ {ก} ได้ยินยอมเข้ารับการเปรียบเทียบความผิดฐานเป็นตัวการร่วมในการสร้างราคาหลักทรัพย์ AMC และชำระเงินค่าปรับตามคำสั่งเปรียบเทียบแล้ว

การกระทำของ {ก} เป็นการใช้บัญชีหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเองและกระทำผิดฐานเป็นตัวการร่วมในการสร้างราคาหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 20(1) และ (5) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 อันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 6(1) และ (2) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 และเนื่องจาก {ก} เป็นผู้บริหาร บล. ด้วย ก.ล.ต. จึงเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุน {ก} โดยกำหนดระยะเวลาลงโทษที่สูงขึ้นในการรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเมื่อพ้นเวลา 6 ปี และห้ามปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหาร บล. เป็นเวลา 6 ปี

กรณี {ข} ได้ใช้บัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้าซื้อขายหลักทรัพย์ AMC เพื่อบุคคลอื่น ซึ่งพบพยานหลักฐานที่น่าเชื่อว่า นายสมชายเป็นผู้จัดการซื้อขายในบัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้า {ข} โดย {ข} ยอมรับว่า นายสมชายเป็นผู้สั่งซื้อขายในบัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้ารายดังกล่าว นอกจากนี้ {ข} ยังส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ AMC ในบัญชีหลักทรัพย์ของนายสมชายและลูกค้า 1 ราย ในลักษณะแตกออเดอร์

การกระทำของ {ข} เป็นการใช้บัญชีหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบุคคลอื่น และส่งคำสั่งที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 20(1) และ (5) แห่งประกาศ ที่ ทลธ. 3/2555 อันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 6(1) และ (2) แห่งประกาศ ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 ก.ล.ต. จึงสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนราย {ข} เป็นเวลา 6 เดือน

สำหรับ {ค} และ {ฆ} เป็นผู้ส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ AMC ในบัญชีหลักทรัพย์ของนายสมชายและลูกค้า 1 รายตามลำดับ ในลักษณะแตกออเดอร์

การกระทำของ {ค} และ {ฆ} เป็นการส่งคำสั่งที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 20(5) แห่งประกาศ ที่ ทลธ. 3/2555 อันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 6(2) แห่งประกาศ ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 ก.ล.ต. จึงสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย {ค} และ {ฆ} เป็นเวลา 3 เดือน

ธนาคารโลกประเมินผลบรรษัทภิบาลตลาดทุนไทยอยู่ในระดับสูง

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2556 | ฉบับที่ 45 / 2556

ธนาคารโลกเปิดเผยผลประเมินบรรษัทภิบาลตลาดทุนไทยปี 2555 ในรายงานเรื่อง การประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านบรรษัทภิบาล (The Report on the Observance of Standards and Codes: Corporate Governance Country Assessment) หรือ CG – ROSC ซึ่งปรากฏว่าตลาดทุนไทยมีพัฒนาการที่ดีในการยกระดับบรรษัทภิบาล และเป็นผู้นำในภูมิภาคโดยได้คะแนนสูงในทุกเรื่องที่สำคัญ ซึ่งพัฒนาการดังกล่าวนี้ได้สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุน อีกทั้งยังเป็นการรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ถือหุ้นรายย่อย เพิ่มความเป็นมืออาชีพให้กับคณะกรรมการบริษัท และยกระดับความโปร่งใสของกิจการ อย่างไรก็ดี ตลาดทุนไทยยังสามารถปรับปรุงการดำเนินการด้านบรรษัทภิบาลได้อีกหลายด้านเพื่อให้ทัดเทียมสากลมากยิ่งขึ้น ดังนี้

? การยกระดับธรรมาภิบาลของรัฐวิสาหกิจและปรับปรุงบทบาทภาครัฐในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
? การส่งเสริมความเป็นอิสระและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
? การปรับปรุงกฎหมายและกฎเกณฑ์ในการกำกับดูแลให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
? การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องในส่วนที่เกี่ยวกับการเยียวยาผู้ถือหุ้น ซึ่งรวมถึงการเพิ่มบทบาทของ ก.ล.ต. ในเรื่องดังกล่าว
? การมีมาตรการให้บริษัทจดทะเบียนปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีสากลอย่างเต็มรูปแบบและเปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน รวมทั้งข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน
? การกำหนดแนวทางให้ชัดเจนเพื่อสร้างความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชีและการดำเนินงานของตัวกลางในตลาดทุน
? การดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างให้คณะกรรมการบริษัทมีความเป็นอิสระและดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

การประเมินผลบรรษัทภิบาลในครั้งนี้ ตลาดทุนไทยได้คะแนน 82.83 จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยได้คะแนนสูงสุดในหมวดการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส ซึ่งธนาคารโลกเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลในรายงานประจำปีของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานสากล อีกทั้งมีช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนที่ทำให้ผู้ลงทุนรับทราบได้หลายช่องทางและในเวลาที่เหมาะสม พร้อมกันนี้ยังได้ปรับปรุงและออกกฎหมายและหลักเกณฑ์หลายฉบับ เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาด้านบรรษัทภิบาล อาทิ การกำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้น และการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการบริษัท เป็นต้น

นายเดวิด โรบิแนท ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการพัฒนาภาคเอกชนธนาคารโลก กล่าวว่า ?ผลการประเมินในครั้งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประเทศไทยเป็นผู้นำด้านบรรษัทภิบาลในภูมิภาคเอเชียและกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ทั้งนี้ ประเทศไทยต้องส่งเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ ก.ล.ต. และ ธปท. รวมถึงยกระดับธรรมาภิบาลของรัฐวิสาหกิจให้สูงขึ้น เพื่อที่จะรักษาความเป็นผู้นำดังกล่าวไว้?

นายคอนสแตนติน ชิโคซี่ รักษาการผู้อำนวยการ ธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทย กล่าวว่า ?ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นและพยายามในการปฏิรูปบรรษัทภิบาลตลอดหลายปีที่ผ่านมาเพื่อมุ่งไปสู่มาตรฐานสากลอย่างเต็มรูปแบบ อันที่จริงแล้วประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมากในการยกระดับบรรษัทภิบาลโดยรวม สมควรให้เป็นที่ยอมรับและดำเนินการอย่างต่อเนื่องไป?

นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า ?ผลการประเมินของปี 2555 เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงบรรษัทภิบาลของตลาดทุนไทยที่ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเกิดจากความพยายามของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขกฎหมาย กฎเกณฑ์ และปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้ เพื่อให้การกำกับดูแลกิจการของตลาดทุนไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล แต่ความสำเร็จในครั้งนี้จะเป็นความสำเร็จได้อย่างแท้จริง หากทุกฝ่ายร่วมปรับปรุงและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และแนวทางอีกหลายด้านให้ดีขึ้นไปอีก จะเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุนยิ่งขึ้น โดยใช้ความมุ่งมั่นและความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เพื่อให้ตลาดทุนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก?

นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ นายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวว่า ?ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ CG- ROSC ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 นับเป็นความท้าทายสำคัญในการยกระดับบรรษัทภิบาล ของตลาดทุนไทยให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งการส่งเสริมและพัฒนาบรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียนนั้นเป็นนโยบายหลักที่สมาคมฯ ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทจดทะเบียนไทยมีการพัฒนาไปมากจนเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ผลจากการประเมิน CG-ROSC ที่ดีในครั้งนี้ เป็นผลจากความทุ่มเทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบริษัทจดทะเบียนที่เห็นความสำคัญของเรื่องดังกล่าว และจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อบริษัทจดทะเบียนในการนำข้อเสนอแนะของธนาคารโลกไปใช้ในการปรับปรุงจุดอ่อน พัฒนาจุดแข็งให้ดียิ่งขึ้นต่อไป?

อนึ่ง ธนาคารโลกร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดำเนินการยกระดับบรรษัทภิบาลตลาดทุนไทยตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1990 โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการคลัง

ก.ล.ต. สั่งพักการปฎิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *