PA Safety
ไม่ต้องทนเจ็บกับอุบัติเหตุอีกต่อไปให้ PA Safety คุ้มครอง อุ่นใจ ไปทั่วโลก
จุดเด่น
ไม่ต้องทนเจ็บกับอุบัติเหตุอีกต่อไปให้ PA Safety คุ้มครอง อุ่นใจ ไปทั่วโลก
- เจ็บจากอุบัติเหตุไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็อุ่นใจ ด้วยเงินค่ารักษาพยาบาล สูงสุดถึง 300,000 บาท *
- คุ้มครองกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพจากอุบัติเหตุสาธารณะ สูงสุดถึง 20,000,000 บาท *
- ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล เพียงแสดงบัตร Easy PA Credit **
- บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน ***
- ทำได้ตั้งแต่อายุ 30 วัน – 75 ปี ****
หมายเหตุ : * สำหรับแผนความคุ้มครองแผน 7
** เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลคู่สัญญาเท่านั้น ใช้บัตร Easy PA Credit เพื่อแสดงตนใน การเข้ารับการรักษาพยาบาล ในกรณีประสบอุบัติเหตุต่อโรงพยาบาลคู่สัญญาโดยไม่ต้องสำรองค่ารักษาพยาบาลล่วงหน้า ตามวงเงินค่ารักษาพยาบาลที่ท่านเลือก ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยไม่สะดวกเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลคู่สัญญาของบริษัทฯ ผู้เอาประกันภัยสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นๆ ได้ โดยสำรองค่าใช้จ่ายและนำใบรับรองแพทย์พร้อมใบเสร็จตัวจริงมาเบิกได้ที่บริษัทฯ โดยผู้เอาประกันภัยต้องนำบัตรประชาชน หรือบัตรที่ออกให้โดยราชการ (บัตรที่มีรูปติด) ใช้ร่วมกับบัตร Easy PA Credit ทุกครั้ง
*** สำหรับแผนความคุ้มครองแผน 3-7 ,บริการในการช่วยเหลือกรณีประสบอุบัติเหตุฉุกเฉินผ่านบริการให้ความช่วยเหลือพิเศษ SOS เช่น บริการให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ในประเทศและต่างประเทศอาทิ บริการฉุกเฉินในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยบริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาล เป็นต้น
**** สำหรับแผนความคุ้มครองแผน 1-3
รายละเอียด
ความคุ้มครอง
รายละเอียดผลประโยชน์ *
ผลประโยชน์พื้นฐาน ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ (รวมการถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกาย)
แบบ อ.บ.2 คุ้มครองในกรณีที่เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวร รวมถึง จะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ตามที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งที่ได้ซื้อไว้
ผลประโยชน์เพิ่มเติม
- ขยายความคุ้มครองการขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองในกรณีที่เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวร จากการขับขี่รถจักรยานยนต์ รวมถึงจะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลต่างๆตามที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งที่ได้ซื้อไว้
- ผลประโยชน์อุบัติเหตุสาธารณะ
เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองเพิ่มเติมกรณีที่อุบัติเหตุสาธารณะ เท่ากับ 100% ของจำนวนผลประโยชน์อันจะพึงจ่ายตามข้อตกลงคุ้มครอง สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวร ถ้าการบาดเจ็บที่ได้รับทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองกรณีดังกล่าว
- ผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่ไม่ได้เกิดจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ (เฉพาะแผนความคุ้มครอง 6 – 7)
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย หากการบาดเจ็บที่ได้รับทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาล
ในกรณีที่มีความจำเป็นทางการแพทย์ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในห้องผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู) บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลให้เป็น 2 เท่าของผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ทั้งนี้ไม่เกิน 7 วัน อย่างไรก็ตามบริษัทะจ่ายผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล รวมกันสูงสุดไม่เกิน 365 วัน ต่อ่การบาดเจ็บแต่ละครั้ง
- บริการให้ความช่วยเหลือพิเศษ SOS (เฉพาะแผนความคุ้มครอง 3 – 7)
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับบริการให้ความช่วยเหลือพิเศษ SOS โดยมีรายละเอียด ดังนี้
4.1บริการให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ภายในประเทศ และต่างประเทศ เช่น บริการฉุกเฉินในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย บริการให้คำแนะนำทางการแพทย์ทางโทรศัพท์ และบริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาล การนัดหมายกับแพทย์ เป็นต้น
4.2บริการให้ความช่วยเหลือด้านการเดินทางในต่างประเทศ เช่น บริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำวีซ่าทั่วโลก บริการช่วยเหลือในกรณีกระเป๋าเดินทาง หรือหนังสือเดินทางสูญหาย และบริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานทูต อัตราแลกเปลี่ยน การฉีดวัคซีนที่จำเป็น สภาพอากาศทั่วโลก เป็นต้น
หมายเหตุ : * บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือในห้องผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู) รวมกันสูงสุดไม่เกิน 365 วัน ต่อการบาดเจ็บแต่ละครั้ง
แผนความคุ้มครอง
ตารางความคุ้มครอง
ความคุ้มครอง | แผน 1 | แผน 2 | แผน 3 | แผน 4 | แผน 5 | แผน 6 | แผน 7 |
Plancode | POC019 | POC029 | POC039 | POC049 | POC059 | POC069 | POC079 |
ความคุ้มครองในกรณีเกิดอุบัติเหตุที่ ไม่ได้เกิดจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ | |||||||
เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตาการรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวร สูงสุดไม่เกิน | 200,000 | 500,000 | 1,000,000 | 1,500,000 | 2,000,000 | 5,000,000 | 10,000,000 |
เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตาการรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวร จากการฆาตกรรม หรือถูกทำร้ายร่างกาย สูงสุดไม่เกิน | 200,000 | 500,000 | 1,000,000 | 1,500,000 | 2,000,000 | 5,000,000 | 10,000,000 |
เงินชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล | – | – | – | – | – | 2,500 | 5,000 |
ความคุ้มครองในกรณีเกิดอุบัติเหตุที่ เกิดจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ | |||||||
เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตาการรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวร สูงสุดไม่เกิน | 100,000 | 250,000 | 500,000 | 750,000 | 1,000,000 | 2,500,000 | 5,000,000 |
ผลประโยชน์เพิ่มเติม | |||||||
เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตาการรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวร จากอุบัติเหตุสาธารณะ สูงสุดไม่เกิน | 200,000 | 500,000 | 1,000,000 | 1,500,000 | 2,000,000 | 5,000,000 | 10,000,000 |
เงินค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งสูงสุดไม่เกิน | 20,000 | 50,000 | 100,000 | 100,000 | 100,000 | 200,000 | 300,000 |
บริการให้ความช่วยเหลือพิเศษ SOS | ได้ | ได้ | ได้ | ได้ | ได้ |
สมัครที่นี่
ใบคำขอเอาประกันภัย P.A. : 2-02-05-2409
หลักเกณฑ์การรับประกัน
หลักเกณฑ์ในการรับประกันภัย
- อายุเริ่มของผู้ขอเอาประกันภัย
สำหรับกลุ่มอาชีพ 1 และ 2
แผน 1 – 3 : 30 วัน – 75 ปี
แผน 4 – 6 : 16 ปี – 75 ปี
แผน 7 : 16 ปี – 60 ปี
สำหรับกลุ่มอาชีพ 3
แผน 1 – 2 : 16 ปี – 75 ปี
- การชำระเบี้ยประกันภัย : รายปี
- การตรวจสุขภาพ : ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
- บริษัทจะรับพิจารณารับประกันภัยเฉพาะกรณีภัยมาตรฐาน (Standard case) กรณีภัยต่ำกว่ามาตรฐาน จะต้องส่งให้ฝ่ายผู้ชำนาญด้านพิจารณารับประกันชีวิตเป็นผู้พิจารณา
- สำหรับผู้ขอเอาประกันภัย สามารถซื้อได้หลายสัญญา ทั้งนี้ ทุนประกันรวมสูงสุดในแต่ละช่วงอายุเป็นไปตามคำสั่งที่ 186/2559 เรื่อง ปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณารับประกันความคุ้มครองอุบัติเหตุ
- รับประกันเฉพาะกลุ่มอาชีพ 1, 2 และ 3 (กลุ่มอาชีพ 3 รับประกันภัยเฉพาะความคุ้มครองแผน 1 และแผน 2 เท่านั้น)
- บริษัทจะไม่พิจารณารับประกัน สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพที่มีลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับสูง ได้แก่
– คนเช็ดกระจก (ที่สูง)
– นักมวยอาชีพ นักมวยปล้ำ
– ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง
– คนขับรถบรรทุกสิบล้อ
– เจ้าหน้าที่ดับเพลิง
– นักแสดงกายกรรม
– ผู้แสดงแทน (ผาดโผน)
– จ๊อกกี้ เทรนเนอร์ม้า และคนเลี้ยงม้า
– ผู้ฝึกสัตว์
– นักประดาน้ำ
– คนงานประจำสวนป่า, ป่าไม่ (อยู่ในป่า)
– ตำรวจ ทหาร (ที่ปฎิบัติงานภาคสนาม)
- บริษัทสงวนสิทธิ์ในการขอเอกสารประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม
การชำระเบี้ยประกันภัยด้วยบัตรเครดิต : ไม่อนุญาตให้ชำระเบี้ยประกันภัยด้วยบัตรเครดิต และไม่อนุญาตให้ชำระเบี้ยประกันภัยผ่านบัญชีเครดิต (CCP)
ประเภทอาชีพ
ประเภทชั้นอาชีพ ชั้น 1 หมายถึง เจ้าของ ผู้ปฎิบัติงานด้านบริการ หรือการจัดการ งานเสมียน หรืองานขายในธุรกิจหรือการค้า ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานประจำในสำนักงาน และรวมถึงการทำงานฝีมือที่ไม่ใช้เครื่องจักรลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับต่ำ
ประเภทชั้นอาชีพ ชั้น 2 หมายถึง เจ้าของ ผู้ปฎิบัติงานด้านการจัดการ หรือพนักงานในธุรกิจหรือการค้าซึ่งทำงานนอกสำนักงานเป็นครั้งคราว หรือเป็นผู้ปฎิบัติทางด้านอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาชีพหรือกึ่งอาชีพเฉพาะ และบางครั้งอาจจะมีการใช้เครื่องจักร หรือเป็นผู้ปฎิบัติงานที่ใช้วิชาชีพที่ต้องทำงานกลางแจ้งเกือบตลอดเวลาลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับปานกลาง
ประเภทชั้นอาชีพ ชั้น 3 หมายถึง ผู้ปฎิบัติงานในด้านช่าง หรือกระบวนการผลิต หรือการบริการซึ่งส่วนใหญ่มีการใช้เครื่องจักรกลหนักหรือเป็นผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนผู้ปฎิบัติงานเกี่ยวกับการขนส่งที่มีการเดินทางหรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับสูง
ประเภทชั้นอาชีพ ชั้น 4 หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานที่มีอาชีพพิเศษ ซึ่งไม่สามารถจัดเข้าประเภทอาชีพชั้น 1 ชั้น 2 หรือ ชั้น 3 ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากเป็นพิเศษ