UL Plus เมืองไทยประกันชีวิต ประกันกลุ่ม ลดหย่อนภาษี ประกันตลอดชีพ ประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษีสูงสุด ประกันบำนาญ ประกันชั่วระยะเวลา ออมเงินระยะสั้น
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)มีความห่วงใยประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลำเนาหรือท่องเที่ยวช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ฝากเตือนผู้ใช้รถตรวจสอบวันหมดอายุกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ก่อนออกเดินทาง พร้อมเปิดบริการสายด่วนประกันภัย 1186 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการข้อมูลและให้คำปรึกษาด้านการประกันภัย
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์คาดว่าประชาชนจะมีการเดินทางกลับภูมิลำเนา และเดินทางท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากทั้งเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวและรถโดยสารสาธารณะ ในช่วงเวลาดังกล่าวการจราจรบนท้องถนนจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นสำนักงาน คปภ. มีความห่วงใยผู้ใช้รถใช้ถนนที่ต้องเดินทางในช่วงเวลาดังกล่าว จึงมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เตรียมพร้อมให้บริการประชาชนและผู้เอาประกันภัยที่ประสบปัญหาด้านการประกันภัย ได้รับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม ด้วยการเปิดบริการสายด่วนประกันภัย 1186 ตลอด 24 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 12 – 16 เมษายน 2557และขอฝากเตือนผู้ใช้รถใช้ถนน รวมถึงผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะ ตรวจสอบสภาพยานพาหนะให้พร้อมใช้งานขับขี่ด้วยความระมัดระวังและไม่ประมาท ตรวจสอบการทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และวันหมดอายุของกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคบังคับก่อนออกเดินทาง และหากต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมก็สามารถทำประกันภัยรถภาคสมัครใจได้
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า ขอให้ประชาชนและผู้ใช้รถใช้ถนนที่เดินทางกลับภูมิลำเนาหรือเดินทางท่องเที่ยวช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ มีความสุขกับการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลวันปีใหม่ของไทย เดินทางไปและกลับด้วยความปลอดภัย เพื่อความไม่ประมาทควรทำประกันภัยคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินเพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยงหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดซึ่งขณะนี้มีกรมธรรม์ประกันภัย 200 หรือ “ประกันภัย 200” ซึ่งเป็นประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล สำหรับประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 20 – 60 ปี เบี้ยประกันราคาถูกเพียงปีละ 200 บาท ซื้อได้ไม่เกินคนละ 2 กรมธรรม์ เงื่อนไขกรมธรรม์ไม่ซับซ้อนเข้าใจง่ายให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต การสูญเสียมือ เท้า การสูญเสียสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงเนื่องจากอุบัติเหตุ 100,000 บาท หากเสียชีวิตจากการถูกฆาตกรรมลอบทำร้ายร่างกาย หรืออุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ จะได้รับค่าสินไหมทดแทน 50,000 บาท และกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยหลังกรมธรรม์มีผลคุ้มครอง 120 วัน จะได้รับค่าจัดการงานศพ 10,000 บาท ประชาชนสามารถหาซื้อได้ง่าย เช่น เคาน์เตอร์เซอร์วิส ในเซเว่นอีเลฟเว่นเทสโก้ โลตัส ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดตัวแทน/นายหน้า และบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย และบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ ลงนามในบันทึกความร่วมมือ “สร้างวัฒนธรรมขับขี่ปลอดภัยภายในองค์กรของภาคอุตสาหกรรมประกันภัย” เพื่อสร้างวัฒนธรรมให้แก่บุคลากรในองค์กรธุรกิจประกันภัย รวมถึงจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนักถึงความปลอดภัยบนถนนรัชดาภิเษกเพื่อ “สร้างวัฒนธรรมขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัย และเข็มขัดนิรภัย 100%” ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า ปัจจุบันอุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งสร้างความสูญเสียให้กับชีวิตและทรัพย์ของประชาชน สำนักงาน คปภ. ในฐานะเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการรณรงค์ลดอุบัติเหตุ มีแนวคิดที่จะปลูกฝังให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความปลอดภัยทางท้องถนน จึงได้ร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัยดำเนินโครงการ “รณรงค์ความปลอดภัยทางถนนภายในองค์กรของภาคอุตสาหกรรมประกันภัย” โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. พิธีลงนามในบันทึกความร่วมมือ “สร้างวัฒนธรรมขับขี่ปลอดภัยภายในองค์กรของภาคอุตสาหกรรมประกันภัย” ซึ่งร่วมมือกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย และบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ สนับสนุนให้ทุกฝ่ายตกลงร่วมกันรณรงค์ส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับ มีจิตสำนึกและตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยทางถนน โดยให้ผู้ใช้รถจักรยานยนต์สวมใส่หมวกนิรภัย ผู้ใช้รถยนต์คาดเข็มขัดนิรภัยทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร และให้ยึดถือปฏิบัติเป็นวัฒนธรรมขับขี่ในองค์กรต่อไป
2. รณรงค์ลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2557 โดยจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ถนนรัชดาภิเษก (ถนนสายประกันภัย) เป็นถนนแห่งการ “สร้างวัฒนธรรมขับขี่ปลอดภัย คาดเข็มขัดและสวมหมวกนิรภัย 100%” ดังนี้
– พิธีปล่อยขบวนแห่รถจักรยานยนต์ของผู้บริหารและพนักงานของบริษัทประกันภัย วิ่งรณรงค์ และประชาสัมพันธ์ไปตามถนนรัชดาภิเษก จากหน้าสำนักงาน คปภ. ไปจนถึงแยกพระราม 9 และจากแยกพระราม 9 วิ่งผ่านแยกรัชโยธิน และมาสิ้นสุดที่หน้าสำนักงาน คปภ.
– ตรวจรถจักรยานยนต์โดยให้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง และหลอดไฟฟรี โดย บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
– ตรวจสภาพการทำงานของรถยนต์ฟรี 20 รายการ โดยอู่ซ่อมรถยนต์ในเครือสมาคมสหมิตรการซ่อมรถยนต์แห่งประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการฯ ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งสามารถดูรายชื่ออู่ดังกล่าวได้จาก www.oic.or.th ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 11 เมษายน 2557
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า อุบัติเหตุทางถนนมักเกิดขึ้นโดยที่เราไม่คาดคิดจึงฝากเตือนให้ประชาชนไม่ควรประมาท ก่อนออกเดินทางทุกครั้งควรตรวจสอบสภาพรถให้พร้อมใช้งาน และตรวจสอบวันหมดอายุของการทำประกันภัย พ.ร.บ. ที่สำคัญประชาชนไม่ควรมองข้ามความสำคัญของการทำประกันภัยซึ่งปัจจุบันมี “ประกันภัย 200” ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนแล้ว โดยมีเบี้ยประกันภัยราคาถูก 200 บาทต่อปี ความคุ้มครองสูงสุด 1 แสนบาท มีเงื่อนไขไม่ซับซ้อน และหาซื้อได้ง่าย หรือจะเป็น “ประกันอุบัติเหตุเดินทางอุ่นใจ” ที่มีแผนความคุ้มครองที่เลือกระยะเวลาการเดินทางได้ เช่น มีตั้งแต่ 1 วัน 3 วัน 5 วัน 7 วัน 10 วัน หรือ 14 วัน ซึ่งประชาชนสามารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการ
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัย ได้ให้การสนับสนุนการเกิดบรรษัทภิบาลที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม และต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันมาอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้เข้าร่วมโครงการ แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย สำนักงาน คปภ. เองก็ร่วมแถลงการณ์ให้การสนับสนุนกลุ่ม ผู้ลงทุนสถาบัน ประกาศจุดยืนต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ร่วมกันกำหนดแนวปฏิบัติในการดำเนินงานและการลงทุนของผู้ลงทุนสถาบัน และในครั้งนี้ได้ให้การสนับสนุนการมีแนวปฏิบัติร่วมกันเกี่ยวกับการออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของผู้ลงทุนสถาบัน โดยเชื่อมั่นว่า การสร้างมาตรฐานแนวปฏิบัติที่ดีจะเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันที่ทำให้การประกอบธุรกิจประกันภัย บริษัท จดทะเบียนไทย รวมทั้งตลาดทุนไทยพัฒนาอย่างยั่งยืน และทัดเทียมนานาประเทศ เสริมสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีต่ออุตสาหกรรมการเงินไทย รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ความโปร่งใสอีกด้วย
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า วันที่ 24 มีนาคม 2557 เกิดอุบัติเหตุรถทัวร์โดยสาร หมายเลขทะเบียน 31-5633 กรุงเทพมหานคร นำคณะบุคคลและผู้นำชุมชนของเทศบาลท่าสายลวด จังหวัดตาก เพื่อไปศึกษาดูงานที่จังหวัดอุบลราชธานี และประเทศลาว เสียหลักตกเหว บริเวณดอยลวก บนถนนสายตาก-แม่สอด ตำบลแม่ท้อ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 29 ราย และบาดเจ็บ 23 ราย นั้น
สำนักงาน คปภ. UL Plus ได้ประสาน สำนักงาน คปภ. จังหวัดตาก ทราบเบื้องต้นว่ารถทัวร์คันดังกล่าว ได้จัดทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ไว้กับบริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และทำประกันภัยรถภาคสมัครใจ (ประเภท 3) กับบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งทายาทผู้ประสบภัยและผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันภัย ดังนี้
1. ผู้ประสบภัยที่เสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ ทายาทสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ดังนี้
1.1 ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) 200,000 บาทต่อคน
1.2 ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถภาคสมัครใจ (ประเภท 3) กรณีไม่มีผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100,000 บาทต่อคน หรือกรณีมีผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 300,000 บาทต่อคน
1.3 ความคุ้มครองจากการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) สำหรับผู้ขับขี่ 50,000 บาท และผู้โดยสาร 43 คนๆ ละ 50,000 บาท
2. ผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ได้ดังนี้
2.1 ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน และค่าชดเชยรายวัน สำหรับผู้ประสบภัยที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล วันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน
2.2 ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถภาคสมัครใจ (ประเภท 3) ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินความคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า อุบัติเหตุครั้งนี้มีความสูญเสียจำนวนมาก สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจกับญาติผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บ ในเบื้องต้นทราบว่าบริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อทายาทตามกฎหมายของผู้เสียชีวิตในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน และได้ประสานโรงพยาบาลที่รับรักษาพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บเพื่ออำนวยความสะดวกด้านค่ารักษาพยาบาลแล้ว อุบัติเหตุใหญ่ในลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นมาก ค่าสินไหมทดแทนทำได้เพียงบรรเทาแต่ไม่สามารถทดแทนความสูญเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับครอบครัวผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรที่จะได้มีการเร่งเพิ่มมาตรการกำกับดูแลผู้ประกอบการและยวดยานพาหนะที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ให้มีความเข้มงวดยิ่งขึ้นโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัยของผู้โดยสารตลอดจนสาธารณชนเป็นสำคัญ
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 0.6 ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน เป็นผลจากการหดตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ รวมถึงการลงทุนทั้งของภาครัฐ และเอกชนที่หดตัวลงร้อยละ 4.7 และ ร้อยละ 13.1 ตามลำดับ ในขณะที่ภาพรวม ปี 2556 ธุรกิจประกันภัยยังคงมีพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทั้งสิ้น 644,362 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.04 มีสัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ร้อยละ 5.42 จากธุรกิจประกันชีวิต ร้อยละ 3.71 และธุรกิจประกันวินาศภัย ร้อยละ 1.71
โดยแบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยจากธุรกิจประกันชีวิต จำนวน 441,349 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการที่ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในธุรกิจประกันชีวิตซึ่งมีการพัฒนาช่องทางการขายให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการประกันภัยได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มช่องทางการขายผ่านร้านสะดวกซื้อต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับรายย่อยใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้มีรายได้น้อยได้เป็นอย่างดี โดยการประกันชีวิตที่มีเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด คือ การประกันชีวิตประเภทสามัญ จำนวน 371,467 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 12.68 รองลงมาการประกันชีวิตประเภทกลุ่ม จำนวน 56,389 ล้านบาท ขยายตัวอย่างโดดเด่นร้อยละ 19.43 และการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล จำนวน 5,579 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.61 และจากธุรกิจประกันวินาศภัย จำนวนรวมทั้งสิ้น 203,013 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการประกันภัยรถมีเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด จำนวน 118,418 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.94 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาการประกันภัยเบ็ดเตล็ด จำนวน 67,483 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.43 และการประกันอัคคีภัย จำนวน 11,813 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 19.90
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า ปี 2556 ธุรกิจประกันภัยถือได้ว่ามีเสถียรภาพมากขึ้น สามารถพลิกฟื้นจากอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากปัจจัยรอบด้านทั้งภัยธรรมชาติ และสถานการณ์ทางการเมืองได้อย่างมั่นคง สะท้อนได้จากตัวเลขธุรกิจประกันภัยในปี 2556 มีอัตราการเจริญเติบโตถึงร้อยละ 13.04 โดยเฉพาะธุรกิจประกันวินาศภัยซึ่งมีสภาพคล่องที่ดีขึ้นกว่าปีก่อนอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ในปี 2557 สำนักงาน คปภ. ยังคงมีนโยบายที่ให้ความสำคัญกับการผลักดันให้ประชาชนในวงกว้างสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากระบบประกันภัยได้อย่างเพียงพอ และทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกันภัยสำหรับรายย่อย ซึ่งมีราคาถูก มีความคุ้มครองที่ไม่ซับซ้อน สามารถหาซื้อได้ง่าย อย่างประกันภัย 200 ซึ่งจะถือเป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญที่จะช่วยให้ประชาขนผู้มีรายได้น้อยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงมีหลักประกันที่เข้าถึงได้ง่าย ด้วยเบี้ยประกันเพียง 200 บาทต่อปี
นางสาววราวรรณเวชชสัสถ์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2557 เกิดอุบัติเหตุรถกระบะ หมายเลขทะเบียน บบ 8228 กำแพงเพชร เสียหลักพุ่งชนต้นไม้ข้างทาง บนถนนสายสลกบาตร-ปางมะค่า บริเวณหมู่ 2 บ้านส่องตาแล อำเภอขาณุวรลักษณ์ จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 1 ราย นั้น
สำนักงาน คปภ. ได้ประสานสำนักงาน คปภ. จังหวัดกำแพงเพชร เบื้องต้นทราบว่ารถกระบะคันดังกล่าว ได้จัดทำประกันภัยรถภาคสมัครใจ (ประเภท 2) กับ บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) แต่ไม่มีการจัดทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ซึ่งทายาทผู้ประสบภัยและผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันภัย ดังนี้
1. ผู้ประสบภัยเสียชีวิต ทายาทสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ดังนี้
1.1 สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นค่าปลงศพจำนวน 35,000 บาทต่อหนึ่งคน โดยขอรับจากเจ้าของรถที่มิได้จัดให้มีประกันภัย หากเจ้าของรถไม่จ่ายสามารถขอรับจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สำนักงาน คปภ. จังหวัดกำแพงเพชร
1.2 ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถภาคสมัครใจ (ประเภท 2) กรณีไม่มีผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100,000 บาทต่อคน หรือกรณีมีผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 300,000 บาทต่อคนแต่ไม่เกินวงเงินคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
1.3 ความคุ้มครองการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) สำหรับผู้ขับขี่ 100,000 บาท และผู้โดยสาร 2 คนๆ ละ 100,000 บาท รวมความคุ้มครอง 200,000 บาท ถ้ามีผู้เสียชีวิตเกิน 2 คน ต้องนำมาเฉลี่ยเท่าๆ กัน
2. ผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ได้ดังนี้
2.1 สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นสำหรับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อคน
2.2 ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถภาคสมัครใจ การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินความคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
รองเลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต ในเบื้องต้นทราบว่าเจ้าหน้าที่บริษัท ธนชาติประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ประสานโรงพยาบาลที่รับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยเพื่ออำนวยความสะดวกด้านค่ารักษาพยาบาล และติดต่อทายาทผู้เสียชีวิตเพื่อดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทน และจากการตรวจสอบรถคันดังกล่าวไม่ได้จัดทำประกันภัยรถภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. ซึ่งนอกจากจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากการทำประกันภัยรถภาคบังคับแล้ว ท่านยังมีความผิดที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอีกด้วยเพราะท่านเจ้าของรถอาจมีความเข้าใจผิดคิดว่าการทำประกันภัยรถภาคสมัครใจแล้วไม่ต้องทำประกันภัยรถภาคบังคับอีก จึงขอให้ท่านสอบถามรายละเอียดกับบริษัทประกันภัยก่อนการทำประกันภัยทุกครั้ง ทั้งนี้ขอย้ำเตือนท่านเจ้าของรถให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และการประกันภัยรถภาคสมัครใจ เพราะถ้าประสบอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดขึ้น การทำประกันภัยจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน CEO Talk เรื่อง หลักการประกันภัยที่ยั่งยืน (The Principles for Sustainable Insurance) เพื่อสร้างความเข้าใจ และลดความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างโอกาสในการจัดการคุณภาพและป้องกันความเสี่ยงสำหรับธุรกิจประกันภัยในระดับสากล ซึ่งจัดโดย สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย และบริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เมื่อวันจันทร์ที่ 17 มีนาคม 2557 ณ โรงแรม เซนต์ รีจิส กรุงเทพฯ
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผย ตัวเลขการรับประกันวินาศภัยจำแนกตามช่องทางการจำหน่าย ในช่วงเดือนมกราคม-ธันวาคม 2556 มีการขายกรมธรรม์ประกันวินาศภัยผ่านช่องทางต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 69,253,625 กรมธรรม์ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 35.37 มีเบี้ยประกันวินาศภัยรับรวมทั้งสิ้น 203,671 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.08 ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลจากประชาชนมีความตื่นตัวต่อความเสี่ยงต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านภัยธรรมชาติ และสถานการณ์ทางการเมือง จึงทำให้ตระหนักถึงความสำคัญในการทำประกันวินาศภัยมากขึ้น
ทั้งนี้ ช่องทางการขายประกันวินาศภัยที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ การขายผ่าน “นายหน้า” โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 36,620,753 กรมธรรม์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52.88 ของกรมธรรม์รวมทุกช่องทาง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 54.59 เป็นเบี้ยประกันวินาศภัยจำนวน 113,945 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55.95 ของเบี้ยประกันวินาศภัยรับรวมทุกช่องทาง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.34 โดยประกันภัยรถ และประกันภัยเบ็ดเตล็ด ประเภทการประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน มีจำนวนเบี้ยรับรวมสูงสุด ตามลำดับ รองลงมาได้แก่การขายผ่าน “ตัวแทน” มีจำนวน 10,706,285 กรมธรรม์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.46 ของกรมธรรม์รวมทุกช่องทาง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 14.17 โดยมีเบี้ยประกันวินาศภัยทั้งสิ้น 28,915 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.20 ของเบี้ยประกันวินาศภัยรับรวมทุกช่องทาง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.15 ตามมาด้วยการขายผ่าน “ธนาคาร” (Bancassurance) มีจำนวน 7,518,812 กรมธรรม์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.86 ของกรมธรรม์รวมทุกช่องทาง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.06 โดยมีเบี้ยประกันวินาศภัยทั้งสิ้น 28,378 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.93 ของเบี้ยประกันวินาศภัยรับรวมทุกช่องทาง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 11.62 ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเบี้ยรับรวมสูงสุดจากการประกันภัยเบ็ดเตล็ด ประเภทการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ในขณะที่การขายผ่านทาง“องค์กร” มีจำนวน 2,807,761 กรมธรรม์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.05 ของกรมธรรม์รวมทุกช่องทาง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.33 มีเบี้ยประกันวินาศภัยจำนวน 11,955 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.48 ส่วนการขายผ่าน“โทรศัพท์” มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 7,691,044 กรมธรรม์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.11 ของกรมธรรม์รวมทุกช่องทาง มีเบี้ยประกันวินาศภัยรวมทั้งสิ้น 8,938 ล้านบาท
>> เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
>> เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ
>> เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)