UL Plus เมืองไทยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ วางแผนการเงิน ประกันคุ้มครองชีวิต ประกันชีวิตควบคู่การลงทุน ประกันตลอดชีพ ประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษี ลดหย่อนภาษีสูงสุด
ก.ล.ต. ออกหลักเกณฑ์รองรับให้บริษัทต่างประเทศเสนอขายหุ้นต่อประชาชนได้
วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม 2557 | ฉบับที่ 102 / 2557
ก.ล.ต. เปิดให้บริษัทต่างชาติเสนอขายหุ้นต่อประชาชนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นตลาดแรก (primary listing) หรือเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรกพร้อมกับประเทศอื่น (dual offering) เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุนไทย
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่าคณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การอนุญาตให้บริษัทต่างประเทศเสนอขายหุ้นต่อประชาชน และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นตลาดแรก (primary listing) และบริษัทต่างประเทศเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรกในไทยและประเทศอื่นพร้อมกันหรือในเวลาใกล้เคียงกัน (dual offering) เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ตลาดทุนไทย และเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน อีกทั้งรองรับข้อตกลงของหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในอาเซียน (ASEAN Capital Markets Forum: ACMF) ในการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนของบริษัทในกลุ่มประเทศสมาชิก ACMF อย่างน้อยสองประเทศพร้อมกัน โดยประกาศจะมีผลบังคับใช้ประมาณเดือนสิงหาคม
บริษัทต่างประเทศจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การอนุญาต การเปิดเผยข้อมูล และหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับบริษัทไทย อาทิ การรักษาสิทธิผู้ถือหุ้น ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติม อาทิ
? เป็นการเสนอขายหุ้นที่ถูกกฎหมายและหลักเกณฑ์ของประเทศตน
? กฎหมายและหลักเกณฑ์ที่คุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นเทียบเคียงได้กับกฎหมายไทย
? หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของประเทศที่บริษัทจัดตั้งสามารถให้ความช่วยเหลือ ก.ล.ต. ในการตรวจสอบหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
? มีกรรมการสัญชาติไทยและมีถิ่นที่อยู่ในไทยอย่างน้อย 2 คน โดยอย่างน้อย 1 คนต้องเป็นกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ
? จัดทำงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีไทย หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS)
? ใช้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต.
? ใช้ที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. โดยต้องทำหน้าที่ติดตามและให้คำแนะนำต่อไปอีก 3 ปี
สำหรับกรณีบริษัทต่างประเทศจัดตั้ง holding company ในประเทศไทย โดยมีผู้ถือหุ้นหลักเป็นต่างชาติและมีธุรกิจหลักในต่างประเทศ และจะเสนอขายหุ้นต่อประชาชนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยนั้น holding company ดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมเช่นเดียวกับ primary listing เนื่องจากโดยลักษณะเสมือนบริษัทต่างประเทศมาเสนอขายหุ้นทางอ้อม แต่หากบริษัทต่างประเทศถือหุ้นโดยกลุ่มคนไทยรวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ก็จะถือว่าเป็นบริษัทไทยหรือคนไทยมีอำนาจควบคุม และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับบริษัทไทย
?ก.ล.ต. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นที่น่าสนใจในสายตาของผู้ลงทุนทั่วโลก วิธีการหนึ่งคือการเป็นแหล่งเงินทุนรองรับความต้องการขยายตัวของเศรษฐกิจและธุรกิจต่างประเทศ พร้อมไปกับเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน หลักเกณฑ์รองรับให้บริษัทต่างประเทศออกเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนไทยนี้เป็นมาตรฐานเดียวกับการออกเสนอขายหุ้นของบริษัทไทย โดยมีหลักเกณฑ์เพิ่มเติมที่จำเป็น เพื่อให้มั่นใจ
ได้ว่าผู้ลงทุนจะได้รับการคุ้มครองและรักษาสิทธิอย่างเพียงพอ ทำให้ตลาดทุนไทยสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ? นายวรพล กล่าว
ก.ล.ต. ขยายเวลาให้ VTE นำส่งงบการเงินประจำปี 2556 และงวดไตรมาส 1/2557 ฉบับแก้ไข
วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม 2557 | ฉบับที่ 103 / 2557
ก.ล.ต. ขยายระยะเวลานำส่งงบการเงินประจำปี 2556 และงวดไตรมาส 1/2557 ฉบับแก้ไขให้บริษัท วินเทจ วิศวกรรม จำกัด (มหาชน) (“VTE”) ซึ่งครบกำหนดนำส่ง ก.ล.ต. ภายในวันที่ 6 กรกฎาคม 2557 เป็นภายในวันที่ 28 ตุลาคม 2557
สืบเนื่องจาก ก.ล.ต. ได้แจ้งให้ VTE แก้ไขงบการเงินประจำปี 2556 และงวดไตรมาส 1 ปี 2557 เนื่องจากผู้สอบบัญชีเสนอรายงานการตรวจสอบ/สอบทานอย่างมีเงื่อนไขต่องบการเงินทั้ง 2 งวดดังกล่าว ตามลำดับ จากการถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบ/สอบทาน ทำให้ไม่สามารถหาหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอเกี่ยวกับมูลค่าเงินลงทุนในบริษัทร่วมรายบริษัท PT Sunhub Mining International (“SMI”) ตลอดจนส่วนแบ่งขาดทุนใน SMI
ต่อมา VTE มีหนังสือขอขยายระยะเวลาการนำส่งงบการเงินฉบับแก้ไขออกไป เนื่องจากที่ปรึกษาทางการเงินอยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารหลักฐาน เพื่อใช้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินของเงินลงทุนในต่างประเทศ รวมทั้งต้องขอ
เอกสารเพิ่มเติมจากหน่วยงานราชการของต่างประเทศมาประกอบการพิจารณา ซึ่งจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการ ก่อนที่จะนำผลประเมินดังกล่าวส่งต่อให้ผู้สอบบัญชีใช้ประกอบการตรวจสอบ/สอบทานงบการเงิน
งวดดังกล่าวต่อไป ก.ล.ต. พิจารณาแล้วจึงขยายระยะเวลาการนำส่งงบการเงินประจำปี 2556 และงวดไตรมาส 1/2557 ฉบับแก้ไข เป็นภายในวันที่ 28 ตุลาคม 2557
ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นการเสนอหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลบริษัทต่างประเทศที่เสนอขายหุ้นในไทย
วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม 2557 | ฉบับที่ 104 / 2557
ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะเสนอหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้นต่อประชาชนในประเทศไทย ซึ่งครอบคลุม 3 กรณี ได้แก่ (1) บริษัทต่างประเทศขออนุญาตออกเสนอขายหุ้นและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพียงแห่งเดียว (primary listing) (2) บริษัทต่างประเทศออกเสนอขายหุ้นต่อประชาชนและนำเข้าหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศพร้อมกันหรือในเวลาใกล้เคียงกัน แต่มีปริมาณการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศมากกว่าในไทย (dual listing, secondary listing, และ ASEAN dual offering ภายใต้กรอบ ACMF Framework ) โดยตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศนั้นต้องเป็นตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีคุณสมบัติน่าเชื่อถือและยอมรับได้ตาม ก.ล.ต. กำหนด (established exchange) และ (3) กรณีอื่นๆ นอกจาก 2 กรณีข้างต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ใกล้เคียงกับการลงทุนในบริษัทไทย แต่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาระดมทุนของบริษัทต่างประเทศมากเกินไป
ก.ล.ต. UL Plus
เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2263-6099 หรือทาง e-mail ที่ corgov@sec.or.th จนถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2557
ก.ล.ต. ขยายเวลา ให้ STHAI นำส่งงบการเงินงวดปี 2555 ฉบับแก้ไข
วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม 2557 | ฉบับที่ 105 / 2557
ก.ล.ต. ขยายระยะเวลาการนำส่งงบการเงินงวดปี 2555 ฉบับแก้ไขให้บริษัท ซันไทยอุตสาหกรรมถุงมือยาง จำกัด (มหาชน) (“STHAI”) ซึ่งครบกำหนดนำส่ง ก.ล.ต. ภายในวันที่ 26 มิถุนายน 2557 เป็นภายในวันที่ 30 กันยายน 2557
สืบเนื่องจาก ก.ล.ต. ให้ STHAI แก้ไขงบการเงินงวดปี 2555 เนื่องจากผู้สอบบัญชีถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบโดยผู้บริหารในหลายประเด็น ได้แก่ ปริมาณและมูลค่าต่อหน่วยของสินค้าคงเหลือ ค่าเผื่อการลดมูลค่าของสินค้าคงเหลือ และการด้อยค่าของสินทรัพย์ ซึ่งผู้สอบบัญชีไม่อาจใช้วิธีการตรวจสอบอื่นให้เป็นที่พอใจในรายการบัญชีดังกล่าวได้ โดย STHAI ต้องนำส่งงบการเงินฉบับแก้ไขที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี พร้อมทั้งเปิดเผยงบการเงินดังกล่าวต่อสาธารณชนภายในวันที่ 26 มิถุนายน 2557
ต่อมา STHAI มีหนังสือขอขยายระยะเวลาการนำส่งงบการเงินงวดปี 2555 ฉบับแก้ไข เนื่องจากผู้สอบบัญชีรายเดิมที่ตรวจสอบงบการเงินปี 2555 ไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชีในปี 2556 จึงไม่ได้วางแผนและจัดสรรเวลาเพื่อเข้าไปตรวจสอบงบการเงินฉบับแก้ไขให้กับ STHAI ได้ทันตามกำหนดภายในวันที่ 26 มิถุนายน 2557 ซึ่ง ก.ล.ต. พิจารณาแล้วจึงให้ขยายระยะเวลาการนำส่งงบการเงินดังกล่าว และเปิดเผยต่อสาธารณชนเป็นภายในวันที่ 30 กันยายน 2557
ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นเกณฑ์การจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล
วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม 2557 | ฉบับที่ 100 / 2557
ก.ล.ต. มีแนวคิดจะออกหลักเกณฑ์ตามมาตรา 315/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลแก่ผู้แจ้งข้อมูลการกระทำผิด ผู้นำจับ หรือผู้จับ ในกรณีที่มีการลงโทษปรับผู้กระทำความผิดฐานซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน และฐานสร้างราคาหลักทรัพย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการบังคับใช้กฎหมาย โดยหลักเกณฑ์ที่กำหนดมีสาระสำคัญเกี่ยวกับวิธีการแจ้งข้อมูลและการขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัล หลักเกณฑ์ในการพิจารณาผู้มีสิทธิขอรับเงินสินบน ขั้นตอนและวิธีการในการดำเนินการเพื่อให้มีการสั่งจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล สัดส่วนของเงินสินบนและเงินรางวัล และหลักเกณฑ์ในการรับเงินสินบนและเงินรางวัล เป็นต้น ทั้งนี้ กรรมการ ก.ล.ต. กรรมการกํากับตลาดทุน เลขาธิการ และพนักงาน ก.ล.ต. และ กรรมการ ผู้จัดการ และพนักงานตลาดหลักทรัพย์ หรือ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ไม่มีสิทธิได้รับเงินสินบนและเงินรางวัลตามมาตรานี้
ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2263-6404 หรือทาง e-mail ที่ nat@sec.or.th จนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2557
ก.ล.ต. เผยความก้าวหน้าในการประชุมความร่วมมือเพื่อพัฒนาตลาดทุนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม 2557 | ฉบับที่ 101 / 2557
ก.ล.ต. เผยผลการประชุมระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง (Mekong Capital Markets Cooperation: MCMC) ครั้งที่ 3 ที่เมืองพัทยา ทุกองค์กรเห็นพ้องถึงประโยชน์ของความร่วมมือด้านตลาดทุนเพื่อพัฒนาเศรษญกิจในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง พร้อมร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการวางรากฐานของตลาดทุนสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยภายหลัง ก.ล.ต. เป็นเจ้าภาพจัดประชุม Mekong Capital Markets Cooperation (MCMC) ครั้งที่ 3 ที่เมืองพัทยาเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนจาก 5 ประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม และไทย? ได้หารือเรื่องการวางรากฐานของตลาดทุนเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน อาทิ การยกระดับมาตรฐานกฎเกณฑ์ให้มีความใกล้เคียงกัน การพัฒนาธุรกิจกองทุนรวม การส่งเสริมความรู้ด้านการเงินของผู้ลงทุน และการยกระดับบรรษัทภิบาลที่ดีผ่านการจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมกรรมการบริษัทจดทะเบียน เพื่อสร้างโอกาสในการระดมทุนและการลงทุนข้ามประเทศ อันจะนำมาซึ่งความเจริญทางเศรษฐกิจของทั่วทั้งภูมิภาคร่วมกัน
นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับสูงจากกัมพูชา ลาว เวียดนาม และไทย? ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาตลาดทุนในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นความร่วมมือภายใต้กรอบ MCMC โดยประเทศเมียนมาร์ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุน จะพิจารณาเข้าร่วมลงนามเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้นี้
?ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศสมาชิกในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงให้ความสำคัญกับการประชุม MCMC ซึ่ง ก.ล.ต. มีส่วนสำคัญในการริเริ่มและผลักดัน โดยการประชุมนี้จะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง และหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนแต่ละประเทศหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งครั้งต่อไปมีกำหนดจะจัดขึ้นที่กัมพูชา โดยมี Securities and Exchange Commission of Cambodia เป็นเจ้าภาพ? นายวรพล กล่าวเสริม
เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ
เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)
ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว
คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2557 | ฉบับที่ 111 / 2557
ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะแก้ไขหลักเกณฑ์รองรับบริษัทต่างประเทศที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศอยู่แล้ว และจะมาเสนอขายหลักทรัพย์ในไทยโดยจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย (secondary listing) สำหรับแนวคิดในการกำกับดูแลจะเป็นทำนองเดียวกับกรณีบริษัทต่างประเทศเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรกในไทยและประเทศอื่นพร้อมกันหรือในเวลาใกล้เคียงกัน (dual offering) แต่กรณี secondary listing หากบริษัทต่างประเทศนั้นมีหน่วยงานกำกับดูแลและตลาดหลักทรัพย์ที่ ก.ล.ต. ยอมรับ รวมทั้งจดทะเบียนในกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์นั้นอย่างน้อย 1 ปี ถือว่าผ่านการพิจารณาคุณสมบัติจากหน่วยงานกำกับดูแลและตลาดหลักทรัพย์ในแนวทางที่ใกล้เคียงกับ ก.ล.ต. แล้ว ก.ล.ต. จะไม่พิจารณาคุณสมบัติในส่วนที่ซ้ำกันอีก
แนวคิดดังกล่าวมุ่งหมายให้หลักเกณฑ์กำกับดูแลการเสนอขายหุ้นของบริษัทต่างประเทศผ่านช่องทางต่าง ๆ สอดคล้องกัน และให้มั่นใจว่าผู้ลงทุนไทยจะได้รับการคุ้มครองที่เทียบเคียงกับกฎหมายไทย โดยบริษัทต้องเปรียบเทียบกฎหมายพื้นฐานของต่างประเทศที่คุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นในเรื่องสำคัญ และถ้ามีกรณีที่ไม่สามารถเทียบเคียงกันได้ บริษัทต้องกำหนดมาตรการทดแทนไว้ด้วย
ก.ล.ต. เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2263-6328 หรือทาง e-mail ที่ kosintr@sec.or.th จนถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2557
ก.ล.ต. ผ่อนคลายให้กองทุนรวม AI ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ไม่จำกัดอัตราส่วนการลงทุน
วันพุธที่ 13 สิงหาคม 2557 | ฉบับที่ 112 / 2557
ก.ล.ต. ผ่อนคลายหลักเกณฑ์ให้กองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (Accredited Investor: AI) สามารถลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้โดยไม่จำกัดอัตราส่วนการลงทุน เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุน
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับตลาดทุนเห็นชอบการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่) ให้สามารถลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้โดยไม่จำกัดอัตราส่วนการลงทุน เพื่อเพิ่มทางเลือกและสร้างประสบการณ์การลงทุนให้กับผู้ลงทุนโดยกองทุนรวมดังกล่าวยังคงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในเรื่องอื่นๆ และต้องบริหารจัดการกองทุนโดยยึดหลักความรับผิดชอบและความระมัดระวังเพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนโดยกำหนดอัตราส่วนการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสูงสุด (maximum limit) ที่กองทุนจะสามารถลงทุนได้ และเปิดเผยในหนังสือชี้ชวน รวมทั้งต้องมีระบบบริหารความเสี่ยงที่สามารถรองรับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอย่างเหมาะสม โดยจัดทำแบบทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) เพื่อประเมินและเตรียมแผนรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นด้วย สำหรับกองทุนรวม AI ที่กำหนด maximum limit มากกว่า 100% ของ NAV จะถือเป็นสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งต้องทำตามข้อกำหนดเพิ่มเติม เพื่อลดโอกาสขายสินค้าที่ไม่เหมาะสมให้กับลูกค้า (misselling) เช่น มีคำอธิบายเกี่ยวกับผลขาดทุนสูงสุดที่อาจเกิดขึ้น (worst case scenario) รวมถึงจัดเก็บหลักฐานการให้คำแนะนำแก่ผู้ลงทุน
ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยไม่ได้รับอนุญาต
วันพุธที่ 13 สิงหาคม 2557 | ฉบับที่ 113 / 2557
ก.ล.ต. กล่าวโทษ บริษัท จี.โอ.แอล.(ไทยแลนด์) จำกัด หรือ G.O.L. (Thailand) Co., Ltd. และนายจเร ชาญชัยศิลป์ กรรมการ กรณีประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยไม่ได้รับอนุญาตต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.)
นายศักรินทร์ ร่วมรังษี ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ก.ล.ต. ตรวจสอบพบว่าบริษัท จี.โอ.แอล. (ไทยแลนด์) จำกัด ได้มีการติดต่อชักชวนผู้ลงทุนโดยตรงและโฆษณาผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ รวมถึง Facebook เพื่อชักชวนให้ลงทุนในทองคำ โดยอ้างว่าเป็นการซื้อขายในตลาด Spot Gold และให้ผู้ลงทุนเปิดบัญชีซื้อขาย และดำเนินการซื้อขายผ่านทางเว็บไซต์ www.goldexasia.com แต่ในความเป็นจริงพบว่า การลงทุนที่อ้างว่าลงทุนใน Spot Gold นั้น ไม่มีการส่งมอบทองคำจริงและชำระเงินค่าซื้อขายเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งการกระทำในลักษณะดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็นการลงทุนใน Spot Gold ตามที่อ้าง แต่ถือว่าเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยมีทองคำเป็นสินค้าอ้างอิง ดังนั้น การชักชวนดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการแสดงตนว่าเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้าซึ่งมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 โดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับ ก.ล.ต. ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นการฝ่าฝืนตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ซึ่งมีระวางโทษตามมาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน คือ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละ10,000 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน ดังนั้น ก.ล.ต. จึงได้กล่าวโทษบริษัท จี.โอ.แอล. (ไทยแลนด์) และนายจเร ชาญชัยศิลป์ กรรมการบริษัท ต่อ ปอศ. และขอให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายแจ้งข้อมูลไปยัง ปอศ. ที่โทรศัพท์ 0-2237-1199 เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนดำเนินคดี