Unite Linked เมืองไทยประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี ตัวแทนประกันชีวิต


Unite Linked เมืองไทยประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี ตัวแทนประกันชีวิต ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด อันตรายที่มาในหน้าร้อน ประกันสุขภาพทำงานหนัก ไม่มีเวลาดูแลตัวเองพนักงานออฟฟิศฟรีแลนซ์สุขภาพประกันชีวิต

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเต็มตัว ?? ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าอุณหภูมิในปี 2566 นี้จะขึ้นไปแตะสูงสุดถึง 40-43 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว โดยสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวเช่นนี้อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เสี่ยงเป็นฮีทสโตรก หรือโรคลมแดดจากความร้อนที่สูงได้ ดังนั้นวันนี้เมืองไทยประกันชีวิตมีข้อมูลดี ๆ มาแนะนำเพื่อให้ทุกคนเตรียมตัวป้องกันและเฝ้าระวังโรคฮีทสโตรกภัยร้ายที่มากับความร้อนกัน

สัญญาณเตือนฮีทสโตรก ฮีทสโตรก ถือว่าเป็นหนึ่งในโรคที่มากับหน้าร้อนที่อันตรายและหากรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นควรสังเกตอาการเหล่านี้ของตัวเองเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

มีไข้ อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 40.5 องศา
ปวดศรีษะ หน้ามืด
หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบ
ชัก คลื่นไส้อาเจียน
หิวน้ำมาก
เหงื่อไม่ออก
ตัวแดง ตัวร้อนจัด

หากสังเกตได้ว่าตัวเอง หรือคนใกล้ชิดเริ่มมีอาการน่าเป็นห่วงเสี่ยงเป็นฮีทสโตรกเพราะความร้อนที่สูงขึ้น เราควรช่วยเหลือเบื้องต้นดังนี้

พาผู้ป่วยหลบเข้าที่ร่ม หรือห้องที่มีความเย็น
ให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าและสะโพกสูง
คลายเสื้อผ้าออกเท่าที่จำเป็นเพื่อระบายความร้อน
ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัว หรือประคบด้วยน้ำแข็ง
หากผู้ป่วยหมดสติให้จับนอนตะแคงเพื่อป้องกันโคนลิ้นอุดทางเดินหายใจ
แจ้งสายด่วน 1669 หรือนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที

อากาศร้อนต้องระวัง ป้องกันฮีทสโตรก
ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่เว้นแม้แต่ผู้มีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งการป้องกันจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้โรคฮีทสโตรกเกิดขึ้นกับตัวเองดังนี้

ดื่มน้ำให้เพียงพอ
ใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ระบายอากาศได้ดี
อยู่ในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเท
เลี่ยงการอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน
ใช้ครีมกันแดด SPF 15 ขึ้นไป

นอกจากนี้ควรดูแลกลุ่มเสี่ยงอย่างใกล้ชิด เช่น Unite Linked กลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว และกลุ่มอาชีพที่ทำงานกลางแจ้ง ซึ่งหากมีอาการฮีทโสตกอาจมีความรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น ๆ ได้

เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน อันตรายจากความร้อนและแสงแดดถือว่าค่อนข้างมีความรุนแรงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด ซึ่งทางที่ดีควรเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน และดูแลให้ร่างกายมีอุณหภูมิที่ใกล้เคียงปกติมากที่สุด รวมถึงวางแผนเสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายจากเมืองไทยประกันชีวิต คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ

เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

สำนักงาน คปภ.มีคำสั่งนายทะเบียนปรับปรุงเงื่อนไขความคุ้มครองความเสียหายของ ตัวรถยนต์ที่ทำประกันภัย ให้ผู้เอาประกันภัยรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก(Deductible) ลดลงจากเดิมที่กำหนดไว้ 2,000 บาท เป็น 1,000 บาทของการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง เมื่อรถยนต์ที่ทำประกันภัยได้รับความเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ และในกรณีเกิดความเสียหายจากการชนแต่ไม่สามารถระบุคู่กรณีให้บริษัททราบได้ โดยให้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

การปรับปรุงเงื่อนไขความคุ้มครองดังกล่าว นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย กล่าวว่า รถยนต์ที่ทำประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุชนกับรถคันอื่นได้รับความเสียหาย โดยผู้เอาประกันภัยไม่ทราบคู่กรณีหรือไม่สามารถแจ้งรายละเอียดของรถคู่กรณีได้ ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าซ่อมรถเองจำนวน 1,000 บาท และกรณีรอยขีดข่วนต่างๆ ที่ไม่ได้เกิดความเสียหายจากการชนหรือคว่ำ ก็มีการเพิ่มเงื่อนไขให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรกเอง 1,000 บาทด้วยเช่นกัน

“สำหรับความเสียหายจากการชนเสา รั้วบ้าน สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ ที่สามารถระบุได้ชัดเจน ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรกเองแต่อย่างใด”

นอกจากนั้น นางจันทราฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า จำนวนเงินค่าเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองนั้น เงื่อนไขกรมธรรม์ฯกำหนดไว้อย่างชัดเจนให้ผู้เอาประกันภัยรับผิดชอบต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง ฉะนั้น หากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นครั้งเดียวแต่มีอุปกรณ์หลายชิ้นได้รับความเสียหาย ผู้เอาประกันภัยก็รับผิดชอบค่าซ่อมเพียง 1,000 บาทเท่านั้น และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และสามารถลดข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้น สำนักงาน คปภ.ได้เร่งรัดให้มีการออกคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ โดยเร็วต่อไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สายด่วนประกันภัย โทร. 1186

สำนักงาน คปภ. ห่วงใยประชาชน เปิดให้บริการสายด่วนประกันภัย 1186 ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมประสานงานสำนักงาน คปภ. จังหวัดทุกจังหวัด เตรียมอำนวยความสะดวก ให้ประชาชนสอบถามข้อมูลด้านสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำประกันภัยรถภาคบังคับ พร้อมฝากเตือนผู้ใช้รถตรวจสอบการทำประกันภัยและวันหมดอายุก่อนออกเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน จะมีประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาในต่างจังหวัดและท่องเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ใช้รถยนต์เป็นพาหนะ ในการเดินทางทำให้ปริมาณรถบนถนนคับคั่ง สำนักงาน คปภ. จึงมีความห่วงใยในอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ จึงประสานสำนักงาน คปภ. จังหวัดทุกจังหวัด เตรียมอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและเป็นศูนย์กลางประสานงานเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับจากการทำประกันภัยรถ ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประสบภัยในการเรียกร้องค่าเสียหาย จากบริษัทประกันภัย เพื่อให้การจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม

นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. ได้จัดเจ้าหน้าที่ให้บริการประชาชน หากเกิดข้อสงสัยเรื่อง การประกันภัยในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ สามารถสอบถามข้อมูลได้ทางโทรศัพท์สายด่วนประกันภัย 1186 ตลอด 24 ชั่วโมงทั่วประเทศ ในส่วนของภาคเอกชนจะมีกิจกรรมและการรณรงค์ต่าง ๆ เช่น

1. สมาคมประกันวินาศภัยร่วมกับบริษัทสมาชิก จัดเตรียม โครงการ “เดินทางอุ่นใจ ด้วยประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางอุ่นใจ” ซึ่งเป็นกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุระยะสั้น เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชนในการเดินทาง ผู้สนใจสามารถตรวจสอบรายชื่อบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการได้ที่เว็บไซต์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

2. บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถร่วมกับกรมขนส่งทางบก จัดกิจกรรม “ตรวจรถก่อนใช้ปลอดภัยแน่นอน” ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 – 31 ธันวาคม 2551 และระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2551 – 4 มกราคม 2552 ร่วมกับกรมอาชีวะศึกษาจัดกิจกรรม “เปลี่ยนหลอดไฟฟรี” และในบางพื้นที่มีการจัดกิจกรรมบริการเปลี่ยนผ้าเบรกฟรีให้แก่ประชาชน

3. บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด จัดกิจกรรมร่วมกับกรมทางหลวงและตำรวจ ในการจัดกิจกรรม “รณรงค์ความปลอดภัยการเดินทาง และตรวจรถก่อนใช้ปลอดภัยแน่นอน” ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 – 31 ธันวาคม 2551 ฯลฯ

4. สมาคมอู่กลางประกันภัย ให้บริการตรวจสภาพรถฟรี 20 รายการ ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดได้จากป้ายการให้บริการของสมาคมอู่กลางประกันภัย

เลขาธิการ สำนักงาน คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้เจ้าของรถทุกคันขับรถยนต์ ด้วยความระมัดระวัง ควรตรวจสอบการทำประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. ตลอดจนวันหมดอายุของการทำประกันภัยก่อน การเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ ตรวจสภาพรถและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และที่สำคัญอย่างยิ่งคือต้องไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างขับขี่เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินโครงการประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร ร่วมกับกรมการปกครอง สมาคมประกันวินาศภัย สมาคมประกันชีวิตไทย บริษัทไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการช่วยเหลือประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยให้ได้มีหลักประกันความมั่นคงในชีวิต นอกเหนือไปจากหลักประกันสุขภาพ ซึ่งโครงการดังกล่าวมิได้มีส่วนเพียงช่วยกระตุ้นให้ประชาชนได้รับรู้เกี่ยวกับการประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทรเท่านั้น แต่ยังช่วยกระตุ้นให้ธุรกิจประกันภัยพัฒนากรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุที่มีราคาและความคุ้มครองใกล้เคียงกับกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทรออกจำหน่ายด้วย ซึ่งได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี จึงถือว่าโครงการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แม้ว่าตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาบริษัทประกันภัยที่ร่วมโครงการจะพบกับภาวะขาดทุน จนเป็นสาเหตุให้ต่างทยอยถอนตัวออกจากโครงการก็ตาม

เลขาธิการ คปภ. กล่าวชี้แจงว่า จากเหตุผลดังกล่าวทำให้สมาคมประกันวินาศภัย สมาคมประกันชีวิตไทย และบริษัทไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้บริหารโครงการ ขอหยุดการดำเนินโครงการประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทรตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป โดยผู้ร่วมโครงการได้กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับการรับประกันภัย และการบริหารจัดการค่าทดแทนไว้ดังนี้

การรับประกันภัย ผู้สนใจสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันภัยผ่านช่องทางบริษัทสมาชิก บริษัทกลางฯ ได้ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2551 ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2551 โดยมีความคุ้มครองในวันถัดไป และซื้อผ่านช่องทางกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ได้ถึงวันที่ 30 มกราคม 2552 โดยมีความคุ้มครองในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2552

การบริหารจัดการค่าทดแทน บริษัทกลางฯ และผู้บริหารโครงการจะยังคงเป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการค่าทดแทน และบริการจ่ายค่าทดแทน ในวิธีการเดิม จนถึงการเรียกร้องค่าทดแทน (Claim) สุดท้ายที่มีความคุ้มครอง (กรมธรรม์ประกันภัยสุดท้ายที่มีผลความคุ้มครองถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553) สำหรับการใช้สิทธิขอรับค่าทดแทน บริษัทสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร ยังมีความผูกพันความรับผิดจนกว่าจะหมดอายุความ

ทั้งนี้ กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทรจะยังคงเป็นกรมธรรม์ประกันภัยที่มีอยู่ในท้องตลาด และเพื่อให้ประชาชนสามารถซื้อและทำประกันภัยได้ง่าย จึงมีการพัฒนากรมธรรม์ประกันภัยฯ ในรูปแบบ “บัตรประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร” ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับบัตรเติมเงินโทรศัพท์มือถือ โดยมีราคา 300 บาท และ 550 บาท เท่าเดิม โดยสมาคมประกันวินาศภัยได้อนุญาตให้กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทรเป็นกรมธรรม์ประกันภัยสาธารณะ ซึ่งหากบริษัทประกันภัยแห่งใดต้องการจำหน่ายสามารถขอรับความเห็นชอบจากนายทะเบียนได้โดยตรง

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กำหนดให้ตัวแทนประกันภัยที่ประสงค์จะขอรับ/ขอต่อใบอนุญาตหรือนายหน้าประกันภัยที่ประสงค์จะขอต่อใบอนุญาตต้องมีหนังสือรับรองว่าผ่านการอบรมจากสำนักงานหรือผ่านการอบรมตามหลักสูตรและวิธีการที่สำนักงานประกาศกำหนดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์และจริยธรรมในวิชาชีพของตัวแทนประกันภัยและนายหน้าประกันภัยอย่างต่อเนื่อง และยกระดับคุณภาพการให้บริการและการให้คำแนะนำที่ดีแก่ผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ ผู้ขอรับ/ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันภัยหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันภัย ตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป ต้องมีหนังสือรับรองผ่านการอบรมตามหลักสูตรและวิธีการที่สำนักงาน คปภ. กำหนด ซึ่งกำหนดให้ตัวแทนประกันภัยต้องเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อปี นายหน้าประกันภัยต้องเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมงต่อปี และโดยปกติการต่ออายุใบอนุญาตสามารถยื่นต่อนายทะเบียนภายในกำหนด 2 เดือนก่อนใบอนุญาตฯ สิ้นอายุ

นอกจากนี้ นางจันทรา กล่าวเพิ่มเติมว่า รายละเอียดการกำหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันภัย สำหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทน/นายหน้าประกันภัย สามารถดูได้ที่ www.oic.or.th ภายใต้หัวข้อกฎหมายประกันภัย ประกาศสำนักงานฯ เรื่อง กำหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิต/วินาศภัย สำหรับ ผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต/วินาศภัย และนายหน้าประกันชีวิต/ วินาศภัย พ.ศ. 2551 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายกำกับบุคลากรประกันภัย โทร 0-2547-4578 0-2547-4950 และ 0-2547-4991 หรือสายด่วนประกันภัย โทร. 1186

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ทุกประเภทจะมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยให้มีความชัดเจน เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันมากขึ้น โดยจะนำหลัก Cash before Cover มาใช้ ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยลดโอกาสในการเกิดข้อขัดแย้งระหว่างผู้เอาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย เนื่องจากกรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองทันทีที่ชำระเบี้ยประกันภัยกับตัวแทน/นายหน้าประกันภัยหรือบริษัทประกันภัย

ส่วนเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่สำคัญอื่นๆ ที่ได้มีการแก้ไข เช่น

1. การขยายความคุ้มครองและการกำหนดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนขั้นต่ำสำหรับความรับผิดต่อบุคคลภายนอก เดิมกำหนดไว้เฉพาะกรณีการเสียชีวิต จะได้รับค่าสินไหมทดแทนไม่น้อยกว่า 100,000 บาทต่อคน โดยเพิ่มเติมกรณีทุพพลภาพถาวร ให้ได้รับค่าสินไหมทดแทนไม่น้อยกว่า 100,000 บาทต่อคน เช่นเดียวกับกรณีเสียชีวิต

2. ค่าเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง สำหรับความเสียหายต่อรถยนต์ กรณีความเสียหายอันเกิดจากการชนแต่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถแจ้งคู่กรณีได้ จากเดิม 2,000 บาท ลดลง เป็น 1,000 บาท และกรณีความเสียหายอันมิได้เกิดจากการชนหรือคว่ำผู้เอาประกันภัยก็ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรกเอง 1,000 บาทด้วยเช่นกัน

สำหรับการปรับปรุงเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยในประเด็นอื่นสามารถดูรายละเอียดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยได้จากคำสั่งนายทะเบียนที่ 22/2551 ลงวันที่ 29 กันยายน 2551 ทาง Web Site คปภ. www.oic.or.th

นางจันทราฯ กล่าวต่อไปอีกว่า ผู้เอาประกันภัยควรตรวจสอบวันสิ้นสุดกรมธรรม์ประกันภัยและวางแผนการทำประกันภัยไว้ล่วงหน้า โดยต้องทำประกันภัยให้ตรงหรือก่อนวันเริ่มต้นคุ้มครองและชำระเบี้ยประกันภัยทันทีเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย และเมื่อผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยกับตัวแทน/นายหน้าประกันภัยหรือบริษัทประกันภัยแล้ว ขอให้เก็บเอกสารแสดงการรับเบี้ยประกันภัยไว้เป็นหลักฐานด้วย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สายด่วนประกันภัย โทร. 1186

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวถึง บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด ซึ่งถูกสั่งให้หยุดรับประกันภัยเป็นการชั่วคราว เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 เนื่องจากบริษัทมีปัญหาในเรื่อง การบริหารงาน การขาดเงินกองทุน และมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนมาก

สำนักงาน คปภ. ได้เร่งรัดให้บริษัทแก้ไขฐานะการเงิน และบริษัทได้ส่งแผนการแก้ไขฐานะการเงิน โดยมีการนำเงินเข้ามาเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขฐานะการเงิน และจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ประชาชนเป็นระยะๆ ดังนี้

– ช่วงแรก ระหว่างเดือนสิงหาคม 2550 – ธันวาคม 2550 จำนวน 643 ราย เป็นเงิน 7.41 ล้านบาท
– ช่วงที่สอง ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 – 23 กรกฎาคม 2551 อีกจำนวน 1,113 ราย เป็นเงิน 5.36 ล้านบาท
สรุป บริษัทได้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว จำนวน 1,756 ราย เป็นเงิน 12.77 ล้านบาท

สำนักงาน คปภ. ได้เร่งรัด และติดตามการแก้ไขฐานะการเงินให้มีการนำเงินเข้ามาจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทได้แจ้งว่าขณะนี้มีผู้ร่วมทุนรายใหม่จะนำเงินเข้ามาดำเนินงาน เพื่อแก้ไขฐานะการเงินให้มีเงินกองทุนครบถ้วนตามกฎหมาย และนำมาจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ประชาชนให้ครบถ้วน หากบริษัทสามารถดำเนินการได้ประโยชน์จะบังเกิดกับผู้เอาประกันภัยและประชาชนผู้เกี่ยวข้องที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนหนี้ สำนักงาน คปภ. ได้เล็งเห็นว่า ในอดีตการเพิกถอนใบอนุญาตบริษัทประกันวินาศภัย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับค่าสินไหมทดแทนเฉลี่ยน้อยมาก เพียงประมาณ 20% และต้องผ่านขั้นตอนการบังคับคดีซึ่งใช้ระยะเวลานานกว่าที่จะได้รับเงินดังกล่าว

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อบริษัทนำเงินเข้ามาเพื่อเพิ่มทุนแล้ว สำนักงาน คปภ. จะเร่งรัดให้บริษัทดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ประชาชนอย่างครบถ้วนในทันที

เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน

เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You

พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ

เสริมความมั่นใจไปกับ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่ายครึ่งล้าน(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(2)

ซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ทั้งชดเชยรายวัน คุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก OPD หรือคุ้มครองโรคร้าย Multiple CI ก็เลือกได้ตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาหรือสูญเสียรายได้หากต้องลาหยุด เลือกจ่ายแบบรายเดือนได้สบาย ๆ ตามที่ไหว

คุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง 500,000 บาท(1)
ค่าห้อง 4,000 บาทต่อวัน(1) และรับเพิ่ม 2 เท่า หากเข้าพักในห้อง ICU
คุ้มครองเยอะขนาดนี้ แต่จ่ายเบี้ยประกันภัยแบบสบายๆ เลือกจ่ายแบบรายเดือนก็ได้
ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%

(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง

(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี

โครงการเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ แบบ เอ็กตร้าแคร์ (N)
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์

เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *