Unite Linked UDesign Elite Health Plus DHealth Plus เมืองไทยยูแอลพลัส UL Plus เมืองไทยประกันชีวิต ประกันโรคร้ายแรง
เมืองไทยประกันชีวิต ประกันบำนาญ

4 เหตุผลที่ควรมีประกันโรคร้ายแรง ปัจจุบันคนไทยมีสถิติการป่วยทั้งแบบเรื้อรัง และไม่เรื้อรังเพิ่มมากขึ้น โดยมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ขาดการใส่ใจดูแลสุขภาพร่ายกายตัวเอง และโรคร้ายแรงที่คนไทยเป็นมากที่สุดคือ โรคมะเร็ง และโรคหัวใจ

ซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้เลยครับว่าในวันข้างหน้าเราจะเป็นโรคเหล่านี้หรือไม่ เพราะฉะนั้นการมีประกันเอาไว้ย่อมอุ่นใจกว่า และนี่ก็คือเหตุผลดีๆ ที่คุณควรมีประกันโรคร้ายแรงตั้งแต่เนิ่นๆ ครับ

4 เหตุผลสำคัญ ที่เราควรมีประกันโรคร้ายแรง

1. มีสิทธิ์เกิดได้กับทุกคน

อันดับ 1 ในไทยคือโรคมะเร็ง พบผู้ป่วยรายใหม่กว่า 120,000 คนต่อปี

2. ช่วยคุ้มครองอนาคตเราและครอบครัว

เมื่อเป็นแล้วค่ารักษาพยาบาลสูง และใช้ระยะเวลารักษานาน

3. ช่วยให้เข้าถึงการรักษาที่ดี

เพิ่มโอกาสหายจากโรคร้ายแรง

4. ไม่สามารถทำประกันโรคร้ายแรงได้
หากตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรงก่อนทำประกัน

เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน

เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ Unite Linked ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ

เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2556 | ฉบับที่ 74 / 2556

ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะปรับปรุงเกณฑ์การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อเพิ่มช่องทางการลงทุนและโอกาสในการสร้างผลตอบแทนให้แก่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากขึ้น โดยยังคงยึดหลักความมั่นคงของสินทรัพย์และการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนเป็นสำคัญ เพื่อไม่ให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกมีเงินไว้ใช้ยามเกษียณได้รับความเสี่ยงมากเกินไป สอดคล้องกับหลักการสากลของ pension fund

แนวคิดการปรับปรุงเกณฑ์ข้างต้น จะอนุญาตให้บริษัทจัดการสามารถเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในนามของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากเพื่อลดความเสี่ยง และบริษัทจัดการสามารถคุมอัตราส่วนการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นรายสมาชิกแทนการคุมอัตราส่วนการลงทุนเป็นรายกองทุนได้ โดยมีมูลค่าการลงทุนไม่เกินอัตราส่วนที่กำหนด

ในการนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทางโทรสารหมายเลข 0-2695-9987 หรือทาง e-mail ที่ sorapong@sec.or.th จนถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2556

ก.ล.ต. สั่งพักผู้แนะนำการลงทุน 3 ราย และเปิดเผยพฤติกรรม 1 ราย

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2556 | ฉบับที่ 75 / 2556

ก.ล.ต. สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุนสังกัดบริษัทหลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้ จำกัด (บล.เคที ซีมิโก้) จำนวน 3 ราย ได้แก่ {ก} และ {ข} เป็นเวลา 2 เดือน และ {ค} เป็นเวลา 1 เดือน พร้อมทั้งเปิดเผยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมราย {ฆ}

ก.ล.ต. ตรวจสอบการดำเนินงานตามปกติ (routine inspection) พบว่า {ก} (ขณะยังทำงานสังกัด บล.เคที ซีมิโก้) ได้รับมอบหมายจากลูกค้าในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนลูกค้า และไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าให้ครบถ้วนจำนวนหลายรายการ ในขณะที่ {ข} และ {ค} ไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าให้ครบถ้วนตามลำดับ จำนวนหลายรายการ

การรับมอบหมายจากลูกค้าในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนลูกค้า เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 20(2) และการไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าให้ครบถ้วน เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 20(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 อันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 6(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 ก.ล.ต. จึงสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย {ก} เป็นเวลา 2 เดือน และ {ค} เป็นเวลา 1 เดือน สำหรับ {ข} ซึ่งเคยมีประวัติการปฏิบัติไม่ถูกต้องในกรณีเดียวกันมาก่อน ก.ล.ต. สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุน เป็นเวลา 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2556

นอกจากนี้ ก.ล.ต. ได้เปิดเผยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย {ฆ} ด้วย เนื่องจากตรวจพบว่ามีพฤติกรรมไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าให้ครบถ้วน

ก.ล.ต. จัดสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดทำรายงานฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่ปรับปรุงใหม่

วันพุธที่ 7 สิงหาคม 2556 | ฉบับที่ 76 / 2556

ก.ล.ต. จะจัดงานสัมมนาหัวข้อ ?หลักเกณฑ์การจัดทำรายงานตามมาตรา 56 และการจัดทำแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (“แบบ 56-1”) ที่ปรับปรุงใหม่? จำนวน 4 ครั้ง ในวันที่ 21, 23, 26 สิงหาคม 2556 และวันที่ 3 กันยายน 2556 เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 3 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนและที่ปรึกษาทางการเงินมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดทำงบการเงินและรายงานฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และการเปิดเผยข้อมูลตามแบบ 56-1 ใหม่ รวมทั้งสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเปิดเผยข้อมูลได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ โดยหลักเกณฑ์ใหม่นี้จะมีผลใช้บังคับกับแบบ 56-1 ที่ต้องส่งต่อ ก.ล.ต. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไป

การเข้าร่วมงานสัมมนาไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้แทนของบริษัทจดทะเบียนและที่ปรึกษาทางการเงินสามารถลงทะเบียนสำรองที่นั่งได้ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2556 นี้ โดยส่งแบบฟอร์มแจ้งความจำนงเข้าร่วมสัมมนา ทางโทรสารที่หมายเลข 0-2263-6099 download แบบฟอร์มได้ที่ http://www.sec.or.th/seminar/seminar56.pdf และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 0-2263-6111 หรือ e-mail: corgov@sec.or.th

ก.ล.ต. สั่งให้ บมจ. มิลล์คอน สตีล (?MILL?) จัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ

ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตกรรมการและผู้บริหาร AMAC กับพวก รวม 8 ราย กรณีตกแต่งงบการเงิน และทุจริตยักยอกเงินของบริษัท

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2556 | ฉบับที่ 77 / 2556

ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตกรรมการและผู้บริหารบริษัทอะโกร อินดัสเตรียล แมชชีนเนอรี่ จำกัด (มหาชน) (“AMAC”) ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทแมกซ์ เมทัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“MAX”) กับพวก รวม 8 ราย ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2556 เนื่องจากมีการกระทำที่เข้าข่ายจัดทำและเปิดเผยข้อมูลเท็จในเอกสารบัญชีและงบการเงินของบริษัท และ/หรือ ทุจริตยักยอกเงินของบริษัท โดยบุคคลที่ถูกกล่าวโทษ ได้แก่ นายสุทธิศักดิ์ โล่ห์สวัสดิ์ อดีตกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายมานะ เสถบุตร อดีตกรรมการผู้จัดการ นางสาววัชรี อรรณพเพ็ชร อดีตกรรมการและผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ นางเพนนี ทศจรูญเกียรติ อดีตผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน นายนิพนธ์ ภู่ผกาพันธุ์พงษ์ อดีตผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ นายปิยวัฒน์ มากเจริญ อดีตผู้จัดการโรงงาน นางดรุณี ภูเงิน ผู้ช่วยส่วนตัวของนายสุทธิศักดิ์ และนางสาวปภาวินท์ ปิ่นวัฒนา เลขานุการส่วนตัวของนายสุทธิศักดิ์

ก.ล.ต. ตรวจสอบพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า บุคคลทั้ง 8 รายได้ร่วมกันดำเนินการ หรือมีส่วนรู้เห็นยินยอมหรือให้ความช่วยเหลือสนับสนุน ให้มีการลงข้อความเท็จในบัญชีหรือเอกสารของ AMAC หรือจัดทำบัญชีและงบการเงินปี 2551 และ 2552 ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงต่อความเป็นจริง เกี่ยวกับรายการซื้อวัตถุดิบ ว่าจ้างผลิตแม่พิมพ์อะไหล่ ขายสินค้า และรับจ้างประกอบเครื่องยนต์ รวมทั้งรายการรับคืนสินค้าและรายการแยกชิ้นส่วนสินค้าและอะไหล่เพื่อประมูลขายในราคาเศษเหล็ก ทำให้งบการเงินประจำปี 2551 และ 2552 ของ AMAC แสดงฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานที่ผิดไปจากความเป็นจริง อันเป็นการลวงบุคคลทั่วไป อันเข้าข่ายเป็นความผิดและต้องระวางโทษตามมาตรา 312 และมาตรา 315 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (“พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ”) แล้วแต่กรณี นอกจากนี้ การกระทำดังกล่าวยังทำให้ AMAC ได้รับความเสียหาย โดยนายสุทธิศักดิ์และนิติบุคคลแห่งหนึ่งซึ่งมีนางดรุณีและนางสาวปภาวินท์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ได้รับประโยชน์โดยมิชอบ การกระทำของบุคคลทั้ง 3 ราย จึงเข้าข่ายเป็นความผิดและต้องระวางโทษตามมาตรา 307 มาตรา 308 มาตรา 311 มาตรา 313 มาตรา 315 และมาตรา 89/7 ซึ่งระวางโทษตามมาตรา 281/2 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ แล้วแต่กรณี ด้วย

ทั้งนี้ บุคคลที่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษดำเนินคดีโดย ก.ล.ต. เพราะเหตุต้องสงสัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จ และ/หรือเหตุทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์ดังกล่าว เป็นบุคคลที่มีลักษณะขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้น ตามข้อ 3 ประกอบข้อ 4 (3) ของประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 8/2553 เรื่อง การกำหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 23 เมษายน 2553 โดยบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษจะต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน และจะดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารในบริษัทต่อไปไม่ได้ตามนัยมาตรา 89/4 และมาตรา 89/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ดังนั้น ก.ล.ต. จึงไม่สามารถแสดงชื่อของนายสุทธิศักดิ์ โล่ห์สวัสดิ์ ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ ก.ล.ต. กล่าวโทษ

อนึ่ง การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำผิดทางอาญาเป็นอำนาจและดุลพินิจ
ของศาลยุติธรรม

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2556 | ฉบับที่ 78 / 2556

ก.ล.ต. สั่งให้บริษัท มิลล์คอน สตีล จำกัด (มหาชน) (“MILL”) จัดให้มีการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ โดยผู้สอบบัญชีที่ตรวจสอบงบการเงินประจำปี 2555 ของ MILL หรือผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. ซึ่งสังกัดสำนักงานสอบบัญชีขนาดใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่ง (big 4) เกี่ยวกับการทำรายการค้ากับบริษัทที่อาจมีความเกี่ยวข้องกัน และการลดสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัท มิลล์เลี่ยน ไมล์ส จำกัด ซึ่งเดิมเป็นบริษัทย่อยของ MILL ทั้งนี้ ให้ MILL นำส่งรายงานการตรวจสอบกรณีพิเศษต่อ ก.ล.ต. ภายในวันที่ 7 ตุลาคม 2556 พร้อมทั้งเผยแพร่ผลการตรวจสอบดังกล่าวผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

สาเหตุของการสั่งการดังกล่าว เนื่องจากผู้สอบบัญชีของ MILL ได้แจ้งข้อสังเกตที่พบจากการตรวจสอบงบการเงินประจำปี 2555 ของ MILL ต่อคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท ตามมาตรา 89/25 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับการทำรายการค้าระหว่าง MILL กับบริษัทที่อาจมีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งอาจมีการเอื้อประโยชน์แก่กัน และการลดสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทย่อย โดยสละสิทธิ์การซื้อหุ้นเพิ่มทุนและให้บุคคลอื่นซื้อหุ้นบริษัทย่อยนั้นในราคาต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชี ทั้งนี้ แม้คณะกรรมการตรวจสอบของ MILL ได้ทำการตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวแล้วแต่ผู้สอบบัญชียังคงไม่สามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินประจำปี 2555 ได้ เนื่องจากเห็นว่ามีข้อบ่งชี้ที่อาจแสดงถึงรายการค้าที่ไม่เป็นไปตามปกติธุรกิจ สำหรับประเด็นการสละสิทธิ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนในบริษัทย่อย ปรากฏข้อเท็จจริงต่อมาว่า ผู้ซื้อหุ้นของบริษัท มิลล์เลี่ยน ไมล์ส จำกัด ได้ขายหุ้นดังกล่าวให้แก่บริษัทจดทะเบียนแห่งหนึ่งในราคาที่สูงกว่าราคาจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนอย่างมาก ทั้งที่ระยะเวลาห่างกันประมาณ 6 เดือน ซึ่งทั้ง 2 กรณีดังกล่าวอาจมีผลต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์และการตัดสินใจของผู้ลงทุน

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นให้กองทุนสามารถลงทุนในตราสารของประเทศ GMS

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2556 | ฉบับที่ 79 / 2556

ก.ล.ต. มีแนวคิดให้กองทุนไทยสามารถลงทุนในตราสารของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ได้ หวังเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ลงทุน พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นจนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2556

ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะอนุญาตให้กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนสำหรับผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย สามารถลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนและที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศในกลุ่ม GMS ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เป็นสมาชิกองค์กร ก.ล.ต. นานาชาติ? (International Organization of Securities Commissions: IOSCO) หรือซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกขององค์การตลาดหลักทรัพย์โลก (World Federation of Exchanges: WFE) ได้แก่ กัมพูชา ลาว และพม่า ได้ ทั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาสและเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนจากการเติบโตของกลุ่มประเทศเหล่านี้ โดยที่ผู้ลงทุนยังคงได้รับความคุ้มครองในระดับที่เหมาะสม ได้แก่ การกำหนดการลงทุนให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่เหมาะสมตามแต่ละประเภทของกองทุน การให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนพิจารณาความเหมาะสมของการลงทุนด้วยความระมัดระวังและให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจในทรัพย์สินที่จะลงทุน (due diligence) รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับตราสารที่ลงทุน ลักษณะความเสี่ยง และผลตอบแทนจากการลงทุน ไว้ในหนังสือชี้ชวนอย่างชัดเจนและเพียงพอ

?
ในการนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทางโทรสารหมายเลข 0-2263-6247 หรือ 0-2695-9915 หรือทาง e-mail ที่ sireetho@sec.or.th หรือ nuchanat@sec.or.th จนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2556

บริษัทจดทะเบียนไทยได้คะแนนจากการประเมินคุณภาพ AGM ปี 2556 สูงขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2556 | ฉบับที่ 80 / 2556

ก.ล.ต. สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ร่วมประกาศความสำเร็จของบริษัทจดทะเบียน จากการได้คะแนนเฉลี่ยสูงถึง 91.04 คะแนน จากการประเมินคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี (Annual General Shareholders Meeting: AGM) โดยบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ได้รับคะแนนสูงขึ้นจากการประเมินครั้งก่อน สะท้อนให้เห็นว่าตลาดทุนไทยมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ได้รับการประเมินผลตามโครงการประเมินคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2556 ของสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย จำนวน 475 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 90 ของจำนวนบริษัทจดทะเบียนในปี 2555 ด้วยคะแนนเฉลี่ย 91.04 คะแนน สูงกว่าการประเมินครั้งก่อนที่ได้ 89.43 คะแนน โดยมีบริษัทจดทะเบียนถึง 94 แห่ง หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับการประเมินได้คะแนนเต็ม 100? ขณะที่บริษัทจดทะเบียนจำนวน 222 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 47? อยู่ในช่วงคะแนน 90-99 บริษัทจดทะเบียนจำนวน 92 แห่ง หรือร้อยละ 19? อยู่ในช่วงคะแนน 80-89? และบริษัทจดทะเบียนจำนวน 67 แห่งได้คะแนนน้อยกว่า 80 คะแนน

การประเมินพบว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับคะแนนคุณภาพในการจัดประชุมผู้ถือหุ้นสูงกว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอไอ? บริษัทจดทะเบียนใน SET50 ได้รับคะแนนคุณภาพในการจัดประชุมผู้ถือหุ้นสูงกว่าบริษัทจดทะเบียนอื่น ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีบริษัทจดทะเบียนได้คะแนนเต็ม 100 จำนวนมากที่สุด คือกลุ่มธุรกิจการเงิน จำนวน 18 แห่ง รองลงมาได้แก่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม และกลุ่มบริการ ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มบริษัทจดทะเบียน มีจำนวน 12 แห่งเท่ากัน

ในการประเมินผลคุณภาพ AGM ครั้งนี้ สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยได้ปรับปรุงวิธีการจัดลำดับใหม่ โดยเปิดเผยรายชื่อเฉพาะบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับคะแนนประเมินมากกว่า 80 คะแนน จากเดิมที่เปิดเผยรายชื่อทุกบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับการประเมินในทุกช่วงคะแนน เนื่องจากต้องการยกย่องเชิดชูบริษัทจดทะเบียนที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับการกำกับดูแลกิจการอย่างจริงจัง แต่ยังคงวิธีการประเมินคุณภาพไว้เช่นเดิม

นายวรพล โสคติยานุรักษ์? เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ?ก.ล.ต. ส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนยกระดับการกำกับดูแลกิจการให้ได้มาตรฐานสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณภาพของการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี ซึ่งการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีนี้เป็นผลลัพธ์สำคัญที่แสดงคุณภาพในการบริหารกิจการตลอดทั้งปี พร้อมสามารถชี้แจงผลประกอบการต่อผู้ถือหุ้น? ก.ล.ต. จึงได้สนับสนุนให้มีอาสาพิทักษ์สิทธิผู้ถือหุ้นทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถในการเข้าร่วมประชุม AGM? ซึ่งผลประเมินคุณภาพ AGM ที่ดีในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือและความทุ่มเทของทุกฝ่าย และเป็นการตอกย้ำถึงบทบาทของบริษัทจดทะเบียนไทยในการเป็นหนึ่งกำลังสำคัญที่จะยกระดับตลาดทุนไทยให้ก้าวไปอีกขั้น?

นายมงคล ลีลาธรรม? นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย กล่าวว่า ?สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยทำการประเมินคุณภาพการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี (AGM) มาตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้เห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นเป็นลำดับ บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ได้คะแนนจากการประเมินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปีนี้ได้คะแนนเฉลี่ยถึง 91.04 คะแนน สมาคมฯ จึงเห็นควรยกย่องเชิดชูบริษัทจดทะเบียนที่เห็นความสำคัญและทุ่มเทในการปรับปรุงคุณภาพ ด้วยการเปิดเผยรายชื่อเฉพาะบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับคะแนนตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป เพื่อเป็นแรงผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนทุกแห่งเร่งพัฒนาคุณภาพ AGM ให้ดียิ่งขึ้น?

นายประทีป ตั้งมติธรรม? อุปนายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวว่า ?สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนให้ความสำคัญกับการพัฒนาและให้ความร่วมมือในการประเมินคุณภาพ AGM? ผลการประเมินโดยรวมในปีนี้เป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ขณะเดียวกันนับเป็นความท้าทายของบริษัทจดทะเบียนที่ทำคะแนนได้ดีเยี่ยมอยู่แล้วจะต้องรักษามาตรฐานให้ดีต่อไป ส่วนบริษัทจดทะเบียนที่ยังได้คะแนนไม่สูงจะต้องเร่งแก้ไขปรับปรุงคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นไป เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ถือหุ้นจะได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งจะทำให้บริษัทจดทะเบียนไทยเป็นที่ยอมรับจากนักลงทุนไทยและต่างประเทศ และสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *